ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ว่าด้วยหลักสูตร
หลักสูตรนี้หลายๆ คนคงอึ้งตั้งแต่ชื่อแล้ว คงเหมือนกับฉันเวลาที่ต้องตอบคำถามใครต่อใครว่าเรียนอะไรอยู่ ก็มีบ้างที่คนอื่นเข้าใจว่าเรียนเภสัชฯ หรือแพทย์ฯ จนต้องพูดต่อท้ายทุกครั้งไปด้วยชื่อภาษาอังกฤษว่า Human Sexuality หรือบางคนก็ได้ยินว่าเพศศึกษา แต่อันนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของหลักสูตรเท่านั้น
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะที่สังกัดคือบัณฑิตวิทยาลัย เนื่องจากความเป็นสหสาขา เพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เราต้องมองให้รอบด้าน ทั้งการแพทย์ การให้คำปรึกษา หลักสูตรการสอน กฏหมาย ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
หลักสูตรนี้มีที่อื่นอีกหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่าหลักสูตรภาษาไทยนี้ ที่นี่มีที่เดียว แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างคล้ายกันคือหลักสูตรของSeaconsortium ของม.มหิดล ส่วนหลักสูตรสตรีศึกษาที่ม.เชียงใหม่ และม.ธรรมศาสตร์ก็จะเน้นกันคนละด้าน แต่โดยรวมหลักสูตรเหล่านี้ยังจำกัดว่าเป็นหลักสูตรปริญญาโทเท่านั้น
หลักสูตรนี้เปิดมานานแล้วหรือยัง? หลักสูตรนี้เปิดมาได้สี่ปีแล้ว มีนิสิตประมาณสามสิบคน ผู้ก่อตั้งหลักสูตรนี้คือศาสตราจารย์นายแพทย์นิกร ดุสิตสิน และคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ดร.จีน แบรี่ ศาสตราจารย์นายแพทย์เอนก และศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุวัทนา อารีพรรค
หลายคนที่มาถามฉันว่าเรื่องเพศมีเรื่องราวที่จำเป็นต้องเรียนรู้กันเป็นศาสตร์เลยเหรอ? แสดงว่าคุณคงไม่เคยได้ยินว่ามีการประชุมวิชาการSexology ประจำทุกปีที่ยุโรป (ถึงจะมาหลังการประชุมสตรีโลกก็ตาม) แต่สิ่งที่ทำให้ฉันตัดสินใจเรียนต่อที่นี่เนื่องจากความเป็นสหสาขา และบทความของรศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพรเรื่อง "เซ็กส์: กิจกรรมที่คุณชอบทำแต่ไม่กล้าพูด" (ถึงแม้ว่าอาจารย์ไชยันต์จะไม่ได้สอนหลักสูตรนี้เลยก็ตาม) ฉันก็เลยคิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยมุมมองที่น่าค้นหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศสรีระ (Sex) เพศสภาพ (Gender) เพศวิถี (Sexuality) ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล วัฒนธรรม และกาลเวลา
หมายเหตุ: เพศสรีระ (Sex) หมายถึง เพศตามโครโมโซม และร่างกาย
เพศสภาพ (Gender) หมายถึง การรับรู้ตัวเองว่าเป็นเพศไหน ซึ่งอาจจะไม่ตรงตามเพศของร่างกายก็ได้ เพศวิถี (Sexuality) หมายถึง การแสดงออกทางเพศ ความปรารถนาทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศ
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะที่สังกัดคือบัณฑิตวิทยาลัย เนื่องจากความเป็นสหสาขา เพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เราต้องมองให้รอบด้าน ทั้งการแพทย์ การให้คำปรึกษา หลักสูตรการสอน กฏหมาย ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
หลักสูตรนี้มีที่อื่นอีกหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่าหลักสูตรภาษาไทยนี้ ที่นี่มีที่เดียว แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างคล้ายกันคือหลักสูตรของSeaconsortium ของม.มหิดล ส่วนหลักสูตรสตรีศึกษาที่ม.เชียงใหม่ และม.ธรรมศาสตร์ก็จะเน้นกันคนละด้าน แต่โดยรวมหลักสูตรเหล่านี้ยังจำกัดว่าเป็นหลักสูตรปริญญาโทเท่านั้น
หลักสูตรนี้เปิดมานานแล้วหรือยัง? หลักสูตรนี้เปิดมาได้สี่ปีแล้ว มีนิสิตประมาณสามสิบคน ผู้ก่อตั้งหลักสูตรนี้คือศาสตราจารย์นายแพทย์นิกร ดุสิตสิน และคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ดร.จีน แบรี่ ศาสตราจารย์นายแพทย์เอนก และศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุวัทนา อารีพรรค
หลายคนที่มาถามฉันว่าเรื่องเพศมีเรื่องราวที่จำเป็นต้องเรียนรู้กันเป็นศาสตร์เลยเหรอ? แสดงว่าคุณคงไม่เคยได้ยินว่ามีการประชุมวิชาการSexology ประจำทุกปีที่ยุโรป (ถึงจะมาหลังการประชุมสตรีโลกก็ตาม) แต่สิ่งที่ทำให้ฉันตัดสินใจเรียนต่อที่นี่เนื่องจากความเป็นสหสาขา และบทความของรศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพรเรื่อง "เซ็กส์: กิจกรรมที่คุณชอบทำแต่ไม่กล้าพูด" (ถึงแม้ว่าอาจารย์ไชยันต์จะไม่ได้สอนหลักสูตรนี้เลยก็ตาม) ฉันก็เลยคิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยมุมมองที่น่าค้นหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศสรีระ (Sex) เพศสภาพ (Gender) เพศวิถี (Sexuality) ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล วัฒนธรรม และกาลเวลา
หมายเหตุ: เพศสรีระ (Sex) หมายถึง เพศตามโครโมโซม และร่างกาย
เพศสภาพ (Gender) หมายถึง การรับรู้ตัวเองว่าเป็นเพศไหน ซึ่งอาจจะไม่ตรงตามเพศของร่างกายก็ได้ เพศวิถี (Sexuality) หมายถึง การแสดงออกทางเพศ ความปรารถนาทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น