บันทึกองค์การเรียนรู้ (ได้หรือเปล่า)
บันทึกคำคมของศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่ปรากฏในบันทึกองค์การเรียนรู้ (ได้หรือเปล่า) ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
ผู้เข้าชมรวม
394
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บันทึกคำคมของศ.นพ.ประเวศ วะสี
บันทึกองค์การเรียนรู้ (ได้หรือเปล่า) ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
ขณะนี้มนุษย์มีจิตเล็ก รู้เห็นเล็กๆ แบบแยกส่วน คิดและทำแบบแยกส่วน ซึ่งนำไปสู่การเสียดุลยภาพของทั้งหมด วิกฤตการณ์ปัจจุบันเกิดจากการมีจิตเล็ก การที่ทั้งหมดจะมีความถูกต้องได้ ต้องการจิตสำนึกใหม่ของมนุษย์
ปิยวาจายังหมายถึงอย่างอื่นๆ อีกมาก เช่น การพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่นินทา ไม่พูดถากถาง เสียดสี ไม่ยกตนข่มท่าน ประการหลังนี่เราอดไม่ค่อยได้ บางทีไปว่าคนอื่นอย่างนั้นอย่างนี้ แท้ที่จริงก็เพื่อจะแสดงว่าเราดีกว่าเขา
บางคนเรียนหนังสือตกมิตกแหล่ ทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง แต่พอไปทำงานในทางที่ตนเองชอบและถนัด ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แสดงว่าระบบการศึกษาของเราคับแคบ เพราะไปบังคับให้คนที่ต่างๆ กันต้องเรียนเหมือนกัน
ความรู้กับปัญญาต่างกันตรงนี้ คือความรู้หมายถึงรู้เป็นเรื่องๆ ปัญญาหมายถึงรู้อย่างเชื่อมโยง เชื่อมโยงจนรู้ทั้งหมด ทั้งหมดหมายถึงรู้ตัวเองด้วย เมื่อรู้นอกตัวและรู้ในตัวก็สามารถจัดความสัมพันธ์ได้ถูกต้อง ปัญญาจึงรวมจริยธรรมอยู่ด้วย
พระพุทธเจ้าเลือกยุทธศาสร์ขจัดทุกข์ ฝรั่งเลือกยุทธศาสตร์สร้างสุข การสร้างสุขนำไปสู่กิเลสตัณหา การแย่งชิง การทำลาย และความรุนแรง ส่วนการขจัดทุกข์ นำไปสู่ปัญญา และการอยู่รวมกันด้วยสันติสุข
อิสรภาพไม่ได้หมายถึงการทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากที่สุด แต่หมายถึงจิตใจที่หลุดจากความบีบคั้นด้วยความเห็นแก่ตัว จากความบีบคั้นด้วยระบบคุณค่า จากโครงสร้างสังคม จากความคับแคบของความรู้และความคิด
ศักดิ์ศรีของความเป็นคนอยู่ที่คุณค่า ไม่ใช่เงิน หรือความงามของรูปกาย หรือยศ ความเป็นมนุษย์อยู่ที่คุณค่าซึ่งสูงกว่าเรื่องทางกามหรือวัตถุ มนุษย์ทุกคนควรสร้างจิตสำนึกของความเป็นคน โดยเคารพความเป็นคนของตนเองและผู้อื่น
การเรียนรู้ของมนุษย์นี่เป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าไม่เรียนรู้จะเกิดปัญหาต่างๆ มากมายตลอดชีวิต ตั้งแต่เล็กก็ต้องเรียนรู้ที่จะเดิน ที่จะกิน ที่จะทำอะไรต่ออะไร ซึ่งคือการเรียนทั้งนั้น ถ้าหยุดการเรียนรู้ก็จะเกิดปัญหา เพราะมันจะไปหยุดสิ่งทั้งหลายซึ่งมันเป็นอนิจจัง
สังคมไทยมีวัฒนธรรมอำนาจมากกว่าวัฒนธรรมปัญญา นิยมใช้ความเห็นมากกว่าการสร้างความรู้ สังคมทั้งสังคมจึงอ่อนแอทางปัญญา จะว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางปัญญาก็ได้ ความอ่อนแอทางปัญญาทำให้ไม่สามารถประคองตัวอยู่ในสมดุลได้จึงเจ็บป่วยและวิกฤต
ระบบการศึกษามักจะพยายามบีบให้คนเห็นเหมือนๆ กัน จะทำอะไรก็ให้ทำเหมือนกัน เราต้องเข้าใจว่าในความเป็นจริง คนเราไม่เห็นอย่างเดียวกัน เพราะธรรมชาติมีความหลากหลาย ที่นี้พอคนออกมาเจอความหลากหลายเข้าก็ไม่เข้าใจ
วิกฤตการณ์ทางสังคมก็คือ วิกฤตการณ์แห่งการอยู่ร่วมกัน เพราะการพัฒนาของโลกเอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้งแบบแยกส่วน โดยมุ่งไปที่ "เงินนิยม" เป็นสำคัญ ไม่ใช่เงินไม่สำคัญ เงินสำคัญในการเป็นเครื่องมือของการอยู่ร่วมกัน นั้นคือเอาการอยู่ร่วมกันเป็นตัวตั้ง
มนุษย์มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน และศักยภาพแห่งความสร้างสรรค์ แต่ถูกบดบังลงด้วยเหตุต่างๆ ถ้าเราเข้าใจเหตุเหล่านี้ ล้วงเอาศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ในแต่ละคนออกมา มนุษย์จะประสบอิสรภาพ ความรัก ความงาม ความสุข ศานติสุข และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลงานอื่นๆ ของ TaKe ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ TaKe
ความคิดเห็น