ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคโนโลยีในปัจจุบัน กับ ในโลกไซไฟ

    ลำดับตอนที่ #6 : หา? อะไรนะ นอกจากระเบิดปรมาณูแล้วยังมีอะไรอีกเหรอ?

    • อัปเดตล่าสุด 15 ต.ค. 54


    ระเบิดนิวตรอน (Neutron bombs)


    อาวุธแบบเทอร์โมนิวเคลียร์อีกแบบหนึ่งที่ให้รังสีปริมาณมากออกมา เรียกว่า ระเบิดชนิดรังสีสูง (enhanced radiation) คือ ระเบิดนิวตรอน ซึ่งเป็นระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ขนาดเล็ก เมื่อเกิดการระเบิดจากปฏิกิริยาฟิวชัน จะให้นิวตรอนออกมา โดยตัวระเบิด ได้รับการออกแบบมา ไม่ให้ถูกดูดกลืนนิวตรอน จากวัสดุภายในของระเบิดเอง โดยการหุ้มด้วยโลหะโครเมียม หรือนิกเกิล ทำให้รังสีนิวตรอน ถูกปล่อยออกมาภายนอกได้ง่าย ระเบิดแบบนี้จะทำให้เกิดความร้อนและคลื่นกระแทก น้อยกว่าระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์แบบปกติ แต่รังสีนิวตรอนพลังงานสูงที่มีความเข้มมากนี้ มีอำนาจทะลุทะลวงผ่านวัตถุได้มากกว่ารังสีแกมมา จึงเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตมากกว่า อาวุธชนิดนี้จึงมีจุดประสงค์ในการทำลายชีวิตผู้คน โดยยังคงรักษาสิ่งก่อสร้างเอาไว้ โดยมีบางส่วนเท่านั้น ที่ถูกทำลายจากแรงกระแทก และความร้อนจากการระเบิด รังสีนิวตรอนที่เกิดขึ้นจะมีปริมาณสูง ในช่วงที่มีการระเบิดเท่านั้น โดยไม่มีรังสีตกค้างปริมาณมาก ดังเช่นในกรณีของการะเบิดแบบ fallout

    ผลของระเบิดนิวเคลียร์ (Effects of a nuclear explosion)

    พลังงานที่ให้ออกมาจากอาวุธนิวเคลียร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่

    • แรงของคลื่นกระแทกจากการระเบิด (Blast) — 40 - 60% ของพลังงานทั้งหมด
    • รังสีความร้อน (Thermal radiation) — 30-50% ของพลังงานทั้งหมด
    • รังสีแบบไอออไนซ์ — 5% ของพลังงานทั้งหมด
    • รังสีตกค้างจาก fallout — 5 - 10% ของพลังงานทั้งหมด

    ปริมาณรังสีแต่ละประเภทอาจจะมากหรือน้อยขึ้นกับลักษณะการ ออกแบบ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดการระเบิด รังสีตกค้างจาก fallout เป็นพลังงานที่ให้ออกมาในภายหลัง ขณะที่พลังงานอีก 3 ประเภทให้ออกมาในทันทีที่เกิดการระเบิด

     






    ระเบิดโปรตอน

    ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย. ถึง ปัจจุบัน ทาง CERN (The European Organization for Nuclear Research) ได้สร้างเครื่องเร่งอนุภาคขึ้นใต้ศูนย์วิจัยของเขาที่สวิสเซอร์แลนด์ โดยการแตกโปรตอนจากธาตุฮีเลียมออกมาให้เป็นโปรตอนอิสระจากนั้นก็นำเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคโดยให้มันหมุนรอบเครื่องเร่งนั้น ที่มีลักษณะเป็นวงกลมไปเรื่อยๆโดยใช้สนามแม่เหล็กตรึงไม่ให้โปรตอนหลุดออกไป

    จุดมุ่งหมายของการทดลองนี้นั้นทาง CERN ได้มีอยู่หลายจุดประสงค์ครับ แต่หนึ่งในนั้นคือการต้องการดูจุดเริ่มต้นของเอกภพ ซึ่งดูได้จากหลุมดำนั่นเอง(หลายคนอาจเข้าใจผิดจากที่เขาพูดว่าเครื่องนี้เปรียบเสมือนไทม์แมชชีน ในคำพูดนี้ไทม์แมทชีนไม่ใช่ในแบบโดราเอมอนใช้กันแต่เป็นการย้อนรำลึกจำลองเหตุการณ์ครั้งในอดีตการณ์) ทาง CERN จึงได้วางแผนในการตรึงโปรตอน 2 ขบวนที่วิ่งทิศสวนกันให้มาชนกระแทกกันเพื่อให้พลังงานในขณะชนสร้างหลุมดำขนาดจิ๋วขึ้นมา และในขณะนั้นพวกเขาก็จะสามารถศึกษาตัวมันได้ ไม่ต้องกลัวไปนะครับว่าหลุมดำเกิดมาแล้วโลกจะโดนดูดไป หลุมดำตัวนี้จะคงอยู่ได้เพียงเสี้ยววินาที ทำให้ไม่สามารถดูดอะไรเพื่อไปเพิ่มขนาดตัวเองได้ทัน

    สิ่งนี้เองที่เรียกได้ว่า “ระเบิดโปรตอน” สนรุปก็คือถ้ามีการระเบิดของโปรตอนเกิดขึ้นก็จะพบกับแสงสว่างจ้าแสบตากับหลุมดำขนาดย่อมนั่นเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×