ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ▌Λttività ▌

    ลำดับตอนที่ #8 : - ห้องเรียน .. ดาราศาสตร์

    • อัปเดตล่าสุด 10 ต.ค. 56




    สวัสดี.....ยินดีต้อนรับสู่วันที่ 10 วันนี้เป็นอีกวันที่เราจะได้เริ่มเรียนรู้บทใหม่ :)
    เอาเป็นว่า ก่อนเริ่มเรียนเรียน ฉันขอชื่นชม Celine Van Roxanne 
    เธอส่งการบ้านเพียงคนเดียว และยังถูกด้วย ฉันเพิ่มเงินให้เธอแล้วนะ

    เอาล่ะ!มาเรียนบทเรียนที่สองกันเกี่ยวกับดาราศาสตร์สุริยะ...

    ดวงอาทิตย์ เป็นเป้าหมายการศึกษาทางดาราศาสตร์ยอดนิยมแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 8 นาทีแสง เป็นดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ในแถบลำดับหลักโดยเป็นดาวแคระประเภท G2 V มีอายุประมาณ 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์ของเรานี้ไม่นับว่าเป็นดาวแปรแสง
    แต่มีความเปลี่ยนแปลงในการส่องสว่างอยู่เป็นระยะอันเนื่องจากจากรอบปรากฏของจุดดับบนดวงอาทิตย์
    อันเป็นบริเวณที่พื้นผิวดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นผิวอื่นๆ อันเนื่องมาจากผลของความเข้มข้นสนามแม่เหล็ก
    ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดอายุของมัน นับแต่เข้าสู่แถบลำดับหลักก็ได้ส่องสว่างมากขึ้นถึง 40% แล้ว
    ความเปลี่ยนแปลงการส่องสว่างของดวงอาทิตย์ตามระยะเวลานี้มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อโลกด้วย

    ตัวอย่างเช่นการเกิดปรากฏการณ์ยุคน้ำแข็งสั้นๆ ช่วงหนึ่ง (Little Ice Age) ระหว่างช่วงยุคกลาง
    ก็เชื่อว่าเป็นผลมาจาก Maunder Minimum
    พื้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นเรียกว่า โฟโตสเฟียร์
    เหนือพื้นผิวนี้เป็นชั้นบางๆ เรียกชื่อว่า โครโมสเฟียร์ จากนั้นเป็นชั้นเปลี่ยนผ่านซึ่งมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
    ชั้นนอกสุดมีอุณหภูมิสูงที่สุด เรียกว่า โคโรนา
     
    ใจกลางของดวงอาทิตย์เรียกว่าย่านแกนกลาง เป็นเขตที่มีอุณหภูมิและความดันมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
    เหนือจากย่านแกนกลางเรียกว่าย่านแผ่รังสี (radiation zone) เป็นที่ซึ่งพลาสมาแผ่คลื่นพลังงานออกมาในรูปของรังสี
    ชั้นนอกออกมาเป็นย่านพาความร้อน (convection zone) ซึ่งสสารแก๊สจะเปลี่ยนพลังงานกลายไปเป็นแก๊ส
    เชื่อว่าย่านพาความร้อนนี้เป็นกำเนิดของสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์
    ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคของพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะแผ่ออกไปจนกระทั่งถึงแนว heliopause
    เมื่อลมสุริยะทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้เกิดแนวการแผ่รังสีแวนอัลเลนและออโรร่า
    ในตำแหน่งที่เส้นแรงสนามแม่เหล็กโลกไหลเวียนในชั้นบรรยากาศ

    โอย..ลายตา เข้าเรื่องการบ้านกัน
    ง่ายสุดๆ ง่ายมาก

    การบ้าน = ระบบสุริยะมีดวงดาวกี่ดวง ชื่ออะไรบ้าง

    ใช้อินเตอร์เน็ตได้หรือไม่ใช้ก็แล้วแต่
    ส่งวันที่ 15 ตุลาคม  2556 หมดเวลาส่ง 12:00 น.
    เงินรางวัล 100 จีเวลนะเพราะมันแค่พื้นฐานเหมือนเดิม
     
    ส่งการบ้านทางห้องของอาจารย์นะ คลิก
    เม้นมาว่า "..คำตอบ.." ชื่อของนักเรียน
      ★tenta tivo
    Small Grey Outline Pointer
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×