ความรู้รอบตัวเรื่องโรคเอดส์ - ความรู้รอบตัวเรื่องโรคเอดส์ นิยาย ความรู้รอบตัวเรื่องโรคเอดส์ : Dek-D.com - Writer

    ความรู้รอบตัวเรื่องโรคเอดส์

    เราไม่ค่อยได้รุ้จักโรคเอดส์ในทางที่ถูกและเข้าใจง่ายๆเข้ามาอ่านดุนะคะ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,196

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1.19K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 มี.ค. 51 / 20:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ทำไมคนไทยถึงยังติดเอดส์กันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ?

      คนที่ติดเอดส์กันส่วนใหญ่ในขณะนี้ไม่ใช่เป็นคนที่ไม่มีความรู้ว่าโรคเอดส์เป็นอย่างไร น่ากลัวอย่างไรหรือป้องกันได้อย่างไร แต่ ี่ยังติดเอดส์กันอยู่ในขณะนี้ก็เพราะขาดความตระหนักคิดไม่ถึงว่ามันใกล้ตัวขนาดนี้ หรือตัวเองจะโชคร้ายขนาดนี้ สิ่งเร้าก็มีเยอะ อีกทั้งเป็นสิ่งที่ลองแล้วเกิดความสนุก เพลิดเพลิน และตื่นเต้น
      ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน โรคเอดส์ในปัจจุบันจะต้องให้ในลักษณะที่จะนำไปสู่ความตระหนัก และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ โดยต้องชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์และความง่ายดายที่จะติดเชื้อถ้าเผลอเพียงครั้งเดียว พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าถ้าเกิดติดเชื้อขึ้นมาแล้วผลกระทบต่อตัวเองและต่อครอบครัวจะมีมากเพียงใด เมื่อมีความตระหนักจะได้เป็นแรงเหนี่ยวรั้งให้ยับยั้งชั่งใจไม่กระทำในสิ่งที่จะทำให้ติดเอดส์ขึ้นมา พร้อมกันนี้การให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในปัจจุบันจะต้องสอนกระบวนการตัดสินใจที่ถูกต้องสอนให้มีอำนาจหรือพลังในการต่อรอง ต้องรู้จักต่อรองเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงนั้น เช่น เพื่อนชวนไปเที่ยวผู้หญิง จะปฏิเสธอย่างไร หรือแฟนจะชวนไปร่วมเพศจะปฏิเสธอย่างไร หรือภรรยาจะปฏิเสธการร่วมเพศกับสามีโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยทั้ง ๆ ที่ทราบว่าสามีเพิ่งไปเที่ยว นอกบ้านมาหยกๆ ได้อย่างไร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดกันหรือสอนกันอีกทั้งสอนก็สอนยากเพราะเป็นเทคนิคของแต่ละบุคคล และแตกต่างกันตามสถานการณ์และสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีบางองค์กรที่เริ่มสอดแทรกทักษะการตัดสินใจและการต่อรองในหลักสูตรการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยมีการสอนแสดงเป็นกลุ่มย่อยและการฝึกปฏิบัติ หวังว่าเทคนิคดังกล่าวจะได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายต่อไป

       

       

       

       

       

      ทำไมสังคมจึงรังเกียจผู้ติดเชื้อเอดส์ ?

      การรังเกียจผู้ติดเชื้อเอดส์เป็นความรู้สึกที่แพร่หลายในทุกประเทศทั่วโลกมากบ้างน้อยบ้าง บางรายแม้ปากจะบอกว่าไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อเอดส์ แต่การกระทำและความรู้สึกในใจลึกๆ อาจมีความรู้สึกรังเกียจบ้าง สาเหตุที่รังเกียจในบ้านเราไม่ใช่เพราะพฤติกรรมอันไม่ถูกทำนองคลองธรรมของผู้ติดเชื้อเป็นเกย์หรือเป็นคนที่ติดยาเสพติด บ้านเราค่อนข้างยอมรับพฤติกรรมดังกล่าว แต่กระนั้นก็ตาม ถ้ามีญาติ
      หรือคนในครอบครัวเกิดติดเชื้อเอดส์ขึ้นมา คนในครอบครัวมักไม่อยากให้คนอื่นรู้เพราะไม่อยากให้พฤติกรรมดังกล่าวของญาติเป็นที่เปิดเผยออกไป ซึ่งรู้สึกว่าอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่วงศ์ตระกูลได้
      สาเหตุสำคัญของความรังเกียจคือความไม่รู้จริง กลัวว่าคนที่ติดเชื้อเอดส์อาจแพร่เชื้อมาสู่ตัวได้จากการอยู่ร่วมกันในครอบครัว หรือจากการทำงานร่วมกันหรือจากการไปมาหาสู่กัน โดยกลัวว่าเชื้อเอดส์จะมากับน้ำลาย ห้องน้ำห้องส้วม ยุง หรือจากการสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยซึ่งเปรอะเปื้อนอยู่ตามที่ต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กลัวนี้ ล้วนเป็นวิธีการที่ไม่ทำให้ใครติดเอดส์ ดังนั้น เมื่อมีความรู้มากขึ้น รู้จริง ไม่คิดว่าแพทย์ปิดบังความจริง ก็จะสามารถทำให้อยู่ร่วมสังคมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ได้ดีขึ้น เพราะถ้าขืนกลัวอยู่อีกไม่ช้าไม่นานคงเป็น โรคจิตแน่เพราะคนติดเชื้อเอดส์มีอยู่ทั่วไป ที่รู้ก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ไม่รู้มีมากอีกหลายเท่าตัวและอีกไม่ช้าไม่นาน อาจมีเพื่อนหรือญาติสนิทติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาก็ได้ จะรังเกียจได้อย่างไร ?

       

       

       

       

       

       

      การบังคับตรวจเอดส์ ?

      ในปัจจุบันยังมีการบังคับหรือกึ่งบังคับตรวจเอดส์กันในการสมัครงาน การตรวจเช็คร่างกายประจำปีของที่ทำงานต่างๆ การประ กันชีวิต การสมัครเรียน การไปต่างประเทศ การตรวจรักษาหรือการผ่าตัดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ พูดถึงการบังคับตรวจเอดส์ในสถานประกอบการ ในแง่ของผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ แน่นอนเขาย่อมอยากได้คนที่ดีที่สุดและมีสุขภาพแข็งแรงเข้าทำงานจะได้ทำงานให้เขาได้เต็มที่ ลดความสูญเปล่าในการฝึกอบรมหรือพัฒนาบุคลากรอีกทั้งยังไม่ต้องเป็นภาระในการรักษาพยาบาลเมื่อผู้นั้นเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา แต่ผู้ติด เชื้อหลายคนร้องขอว่าจะตรวจเอดส์ตอนสมัครงานก็ได้ แต่ขอทำงานแม้จะตรวจพบโดยจะขอเซ็นสัญญาว่าหากป่วยขึ้นมาจะไม่ขอรบกวนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทและถ้าป่วยจนทำงานไม่ไหวก็จะขอลาออก โดยที่บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินสวัสดิการเป็นก้อนให้เขา ขอเพียงแต่ให้เขา ได้ใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาได้ทำงานในช่วงที่สุขภาพยังแข็งแรงอยู่ก็พอใจแล้ว แสดงให้เห็นถึงจิตใจอันมุ่งมั่นของเขาเหล่านั้นที่ไม่ต้องการเอาเปรียบสังคม เพียงขอให้สังคมเข้าใจและให้โอกาสเขาก็พอแล้ว
      รัฐมีนโยบายเด่นชัดห้ามไม่ให้หน่วยราชการหรือบริษัทห้างร้านตรวจเลือดเอดส์ผู้มาสมัครงานหรือไล่คนที่ติดเชื้อเอดส์ออกจาก งาน แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนตรวจเอดส์ผู้มาสมัครงานและตรวจเอดส์ในพนักงานของตัวเองอยู่ ไม่มีกฎหมายอะไรที่จะมาบังคับให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐได้ จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?
      บริษัทเอกชนมักจะโยนภาระนี้ให้กับรัฐ ยังไม่เคยมีใครจัดเวทีให้มีการจับเข่าคุยกันระหว่างผู้บริหารของประเทศกับผู้บริหารของบริษัทเอกชนรายใหญ่ๆ ในประเทศไทยว่าปัญหาดังกล่าวจะร่วมแก้ไขกันอย่างไร ถ้าทุกคนทุกแห่งตรวจเอดส์กันหมด ตรวจพบก็ให้ออกจากงานจะมีคนที่ต้องตกงาน 1 ล้านคน คนที่จะต้องลำบากซึ่งรวมถึงภรรยาเขา ลูกเขา พ่อแม่เขา รวมกันแล้วคงหลายล้านคนมีรัฐบาลไหนสามารถหางานให้คนเกือบล้านคนทำได้พร้อม ๆ กันหรือไม่ ? ถ้าไม่ได้ ถ้าคนเหล่านี้เกิดออกมาขอทานกลางถนน หรือเกิดอดตายขึ้นมาริมถนน หรือเกิดเป็นโจรปล้นขึ้นมา รัฐบาลอยู่ได้หรือไม่ ? ถ้ารัฐบาลอยู่ไม่ได้ เอกชนอยู่ได้หรือไม่ ? ถ้าอยู่ไม่ได้ควรที่เอกชนจะช่วยรัฐแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?
      ถ้าวิเคราะห์หรือคุยกันด้วยเหตุและผลแล้ว เชื่อว่าส่วนใหญ่จะเข้าใจ และยอมรับว่าภาระของผู้ติดเชื้อเอดส์เป็นภาระที่ทุกฝ่ายจะ ต้องร่วมกันแก้ ไม่สามารถผลักภาระให้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียวได้ ดังนั้น เอกชนก็ต้องรับภาระผู้ติดเชื้อเอดส์ส่วนหนึ่งไปทำงาน อาจต้องเฉลี่ยกันไปตามสัดส่วนของพนักงานเช่น อาจต้องกำหนดว่าร้อยละ 2 ของพนักงานจะต้องเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ และสุดท้ายไหนๆ จะต้องรับผู้ติดเชื้อเอดส์เข้าทำงานแล้ว ความจำเป็นที่จะต้องไปตรวจผู้มาสมัครงานใหม่หรือพนักงานเก่าก็จะหมดไป เอาค่าใช้จ่ายส่วนนั้นมาให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่พนักงาน เพื่อไม่ให้พนักงานติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้น จะเกิดประโยชน์ต่อบริษัทในระยะยาวมากกว่า
      แนวคิดดังกล่าวยังไม่เคยมีใครเอามาทำกันอย่างจริงจัง ถ้าจะให้เกิดผลต้องทำกันทั้งประเทศตั้งแต่รัฐและบริษัทเอกชนใหญ่ๆ ลง ไปจนถึงบริษัทเล็กๆ ให้เกิดเป็นความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ทุกฝ่ายจะต้องยอมรับ ไม่ใช่บริษัทใดจะทำตามนโยบายของรัฐได้ก็ทำไปถ้าทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ต่อไปถ้ามีบริษัทใดจะทำตามนโยบายของรัฐได้ก็ทำไป ถ้าทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ต่อไปถ้ามีบริษัทใดไม่ทำตาม สัญญาประชาคมดังกล่าว ก็ต้องจัดการให้มีการลงฑัณฑ์โดยประชาคม(Social punishment) โดยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบังคับใช้ จะมีผู้นำของประเทศคนใดที่มีความกล้าหาญ หรือมีเวลามากพอที่จะมาจัดการปัญหานี้อย่างจริงจังหรือไม่ ? หรือยังคิดว่าเป็นปัญหาเล็ก และมี ปัญหาเร่งด่วนอื่นที่สำคัญกว่า ?

       

       

       

       

       

       

       

      ข้อแนะนำสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์
      เป็นบางส่วนจากหนังสือ โรคเอดส์และตัวท่าน ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการ ศูนย์โรคเอดส์สภากาชาดไทย น่ะฮะ และเป็นฉบับปรับปรุงแล้ว มีบทความที่เป็นประโยชน์เยอะแยะเลยฮะ เลยเอามาฝากให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
      ข้อแนะนำสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์
      (1) ควรบอกภรรยา สามี หรือคู่นอนให้ทราบเพื่อที่คู่นอนจะได้ไปตรวจดูว่าตัวเองติดเอดส์ด้วยหรือไม่ โชคดี
      ที่เขาอาจจะยังไม่ติด จะได้หาทางป้องกันไม่ให้เขาติดขึ้นมาโดยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่ร่วมเพศ การที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อแล้วไม่กล้าบอกคู่นอนของตัวเองด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ และยังคงมีเพศสัมพันธ์ต่อ
      ไปโดยไม่ได้ป้องกัน โดยคิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งคงต้องติดด้วยแล้วแน่นอน ถือว่าเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ
      และจงใจฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
      (2) ถ้ายังไม่มีอาการอะไรก็สามารถทำงานได้ตามปกติ ยกเว้นการขายบริการทางเพศนอกจากจะทำให้ลูกค้า
      ทุกคนใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง
      (3) คนที่เพิ่งตรวจพบว่าตัวเองติดเชื้อเอดส์ ควรรีบไปพบแพทย์สักครั้งแม้จะยังไม่มีอาการอะไรก็ตาม
      เพื่อที่แพทย์จะได้ซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อประกอบการแนะนำที่ถูกต้องต่อไปเพราะ
      มีลักษณะของโรคบางอย่างที่ผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการอะไรเลย
      หรืออาจเข้าใจว่าไม่ใช่อาการสำคัญอะไร
      (4) ผู้ที่ตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอตรวจระดับภูมิคุ้มกัน หรือซีดี-4(CD4)สักครั้งหนึ่ง
      เพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ว่า ผู้ติดเชื้อควรได้ยาต้านเอดส์ หรือยาป้องกันโรคติดเชื้อแทรกซ้อน
      แล้วหรือยัง เพราะหลายๆ คนอาจไม่มีอาการอะไร เลย แต่มีระดับ ซีดี-4 ต่ำมากๆ ถ้าตรวจครั้งแรก
      ระดับซีดี-4 ยังดีอยู่ ก็ควรตรวจซ้ำใหม่ในอีก 4-6 เดือน โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศไทยสามารถตรวจซีดี-4
      ได้ โรงพยาบาลอื่น ๆ ก็สามารถส่งเลือดผู้ป่วยไปขอตรวจซีดี-4 ที่โรงพยาบาลศูนย์ได้ หรืออาจมาใช้บริการ
      ที่คลินิกนิรนามของสภาภาชาดไทย ทุกวันศุกร์เช้าเพื่อตรวจซีดี-4 ก็ได้
      (5) ถ้ามีอาการไม่สบายอะไร ไม่ว่าจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคเอดส์ก็ตาม ควรไปปรึกษาแพทย์ทันทีและบอกให้แพทย์ทราบถึงสภาวะของการติดเชื้อโรคเอดส์ของตัวเอง เพื่อที่แพทย์
      ์จะได้เริ่มให้การบำบัดรักษาโดยไม่เสียเวลา แต่บางครั้งการบอกความ จริงเช่นนี้อาจกลับทำให้ตัวเองถูก
      ปฏิเสธการรักษาจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ กรณีเช่นนี้ให้ไปหาสถานบำบัดรักษาอื่นที่มีความ
      พร้อมในการให้บริการแก่ผู้ที่ติดเชื้อโรคเอดส์โดยเฉพาะ
      (6) ห้ามบริจาคเลือด อวัยวะ หรือเชื้ออสุจิให้แก่ผู้อื่น
      (7) ใส่ถุงยางอนามัยหรือให้คู่นอนใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีการร่วมเพศแม้ว่าคู่นอนจะติดเชื้อด้วยแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแลกเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมเชื้อเอดส์แก่กันและกัน และเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วย
      (8) สามารถกินอยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวได้ โดยไม่จำเป็นต้องแยกห้องนอน แยกห้องน้ำห้องส้วม
      หรือแยกสำรับกับข้าวของตนเอง อย่างดีก็ใช้ช้อนกลางก็เพียงพอแล้ว ขบวนการซักล้างเสื้อผ้าหรือทำความ
      สะอาดเครื่องกิน เครื่องใช้ที่ทำอยู่ตามปกติสามารถฆ่าเชื้อโรคเอดส์ได้แล้ว
      (9) ควรมีแปรงสีฟัน หวี และมีดโกนของตัวเองแยกจากผู้อื่น
      (10) ไม่ควรให้เลือด หรือน้ำเหลืองของตนเปรอะเปื้อนตามที่ต่างๆ อันอาจทำให้ผู้อื่นที่มีบาดแผลรับเชื้อเข้าไปได้
      (11) แม่ที่ติดเชื้อเอดส์ไม่ควรตั้งครรภ์ ถ้าเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อพิจารณาการใช้ยาต้าน
      ไวรัสเอดส์ เช่น เอ-แซด-ที ในการช่วยลดโอกาสการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก ถ้ามีปัญหาเรื่องค่ายาก็สามารถขอรับยา
      ฟรีได้จากกระทรวงสาธารณสุข หรือสภากาชาดไทย แต่ถ้าคู่สามีภรรยาและสภาพครอบครัวไม่พร้อมที่จะมีลูก ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอยุติการตั้งครรภ์ได้ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความสมัครใจของคู่สามีภรรยาเอง
      (12) แม่ที่ติดเชื้อเอดส์เมื่อคลอดบุตรออกมาแล้วสามารถเลี้ยงดูบุตรได้ แต่ไม่ควรให้นมบุตร เพราะบุตรอาจ
      ได้รับเชื้อทางน้ำนมได้
      (13) ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ไม่จำเป็นต้องบอกให้นายจ้าง ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานทราบ ถ้าการบอกนั้นจะนำ
      ไปสู่ปัญหายุ่งยากตามมา ตราบเท่าที่งานการของเขาจะไม่ทำให้ผู้ร่วมงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ไม่จำเป็นต้องบอกให้สมาชิกอื่นในครอบครัวที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาทราบ
      และหากการบอกนั้นจะก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในครอบครัว อาจขอให้แพทย์ หรือนักจิตวิทยาที่รู้เรื่องของ
      ตนดีร่วมในการบอกความจริง อาจช่วยให้สถานการณ์ผ่อนจากหนักเป็นเบาได้
      (14) ควรเลิกพฤติกรรมเสี่ยงเดิม เพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่นและเพื่อจะได้ไม่รับเชื้อเอดส์และเชื้ออื่นๆ เพิ่มเข้าไปอีก มิฉะนั้นแล้วอาจนำไปสู่การเร่งให้เกิดโรคเอดส์เต็มขั้นเร็วขึ้นก็ได้ มีผู้ติดยาเสพติดหลายคนสามารถหยุด
      พฤติกรรมเสี่ยงได้ด้วยเหตุผลข้อนี้
      (15) พักผ่อนให้พอ ทำจิตใจให้สบาย จะช่วยให้สุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย
      (16) ออกกำลังแต่พอควรเท่าที่สุขภาพจะอำนวย ร่างกายจะได้แข็งแรง
      (17) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากๆ ให้ได้สารอาหารครบ แม้จะเบื่ออาหารบ้างก็ต้องพยายามฝืน
      ทานให้มากๆ อะไรที่ชอบ หรือหรืออะไรที่ทานได้ก็พยายามทานให้มากและทานให้บ่อย และควรงดรับประทาน
      อาหารที่สุกๆ ดิบๆ
      (18) งดเว้นสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ เพราะจะทำให้สุขภาพทรุดโทรม และภูมิคุ้มกันถดถอย
      (19) ไม่ควรมีสัตว์เลี้ยงประเภทนก หรือแมว เพราะอาจติดเชื้อรา หรือเชื้อพยาธิในสิ่งปฏิกูลของสัตว์เหล่านี้ได้

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ถ้ามีคนในบ้านหรือคนที่ทำงานติดเอดส์เราควรทำอย่างไร ?

      ต้องเริ่มต้นด้วยการบอกว่า เราไม่มีสิทธิ์ไปสอดรู้สอดเห็นว่าใครในบ้านหรือใครในที่ทำงานเราติดเอดส์ เพราะแม้เขาจะติดเอดส์ เขาก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเรา นอกจากจะไปร่วมเพศกับเขา หรือไปใช้เข็มฉีดยา หรือของมีคมร่วมกับเขาขณะเดียวกันคนที่ติดเชื้อเอดส์เองก็อยากเก็บเป็นความลับ ไม่อยากเปิดเผยให้ใครทราบ แต่ถ้าเกิดรู้ขึ้นมาแล้วว่ามีใครคนหนึ่งคนใดที่เรารู้จักติดเอดส์ สิ่งพึงปฏิบัติคือ
      (1)ทำเป็นว่าเราไม่รู้เรื่องนอกจากเขาจะเอ่ยขึ้นก่อนหรือบอกเราเองเพราะเชื่อใจในตัวเราหรือต้องการคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือ จากเรา
      (2) ไม่ควรไปรื้อฟื้นหาตะเข็บว่าใครเป็นฝ่ายผิด หรือไปติดเชื้อมาได้อย่างไรควรให้อภัยในข้อผิดพลาดซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
      (3) ให้กำลังใจผู้ติดเชื้อว่าทุกคนยังรักเขาอยู่ เข้าใจ ไม่ทอดทิ้ง ยินดีที่จะช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้และให้ความหวังว่า อาจมียา หรือวัคซีนออกมายืดชีวิตเขาออกไปได้นานๆ
      (4) ไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อ ปฏิบัติหรือคบหาสมาคมกับเขาเหมือนเดิม เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน การไปเที่ยวด้วยกัน การนอนห้องเดียวกันและใช้ส้วมเดียวกันเป็นต้น
      (5) ช่วยปรนนิบัติและพยาบาลผู้ติดเชื้อที่ป่วยจนไม่สามารถจะช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น ช่วยจัดยา เช็ดตัว หุงหาอาหาร ทำความสะอาดบ้าน หรือพาไปพบแพทย์เป็นต้น
      (6) ไม่ร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อโดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยและไม่ใช้ของมีคนร่วมกับผู้ติดเชื้อ
      (7) ช่วยอุปถัมภ์เลี้ยงดูบุตรของผู้ติดเชื้อเมื่อผู้ติดเชื้อล้มป่วยจนไม่สามารถจะเลี้ยงดูลูกได้ หรือหลังจากที่ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตลง แล้ว และเด็กกำพร้าทั้งพ่อและแม่

       

       

       

       

       

      1.บทนำ
      โรคเอดส์เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอช-ไอ-วี (HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus) ซึ่งจะโจมตีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดในร่างกายทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดีหรือถูกทำลายไปในที่สุด มีผลทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย บางโรคก็มียารักษา บางโรคก็ยังไม่มียารักษา รักษาโรคหนึ่งหายก็จะเป็นอีกโรคหนึ่ง ทำให้สุขภาพทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆจนเสียชีวิตในที่สุด ในปัจจุบันยังไม่มียาอะไรที่จะกำจัดเชื้อเอช-ไอ-วี ให้หมดไปจากร่ายกายได้ จะมีก็แต่ยาที่จะลดปริมาณเชื้อลงจน ถึงระดับที่จะไม่ไปทำอันตรายระบบภูมิต้านทานของร่างกาย แต่ยาราคาแพง และต้องกินไปเรื่อยๆ คนที่ไม่มีสตางค์จะซื้อยากินชีวิตก็จะสั้น ฟังดูแล้วโรคเอดส์ก็น่าจะเหมือนโรคเรื้อรังทั่วไปที่ต้องกินยารักษาไปเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคเอดส์ไม่ใช่เป็นโรคทาง กายอย่างเดียว แต่มีผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้ป่วยและครอบครัวมากกว่าโรคร้ายๆ อื่นๆ เช่นมะเร็งหลายเท่าตัว คนที่ติดเชื้อหรือครอบครัวของคนที่ติดเชื้อจะไม่กล้าเล่าให้คนอื่นฟังว่าตนเอง หรือญาติของตนเองติดเชื้อ เพราะกลัวคนอื่นจะรังเกียจหรือดูถูก นอกจากนี้โรคเอดส์ยังมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมทั้งในระดับครอบครัว และระดับประเทศ จนเป็นที่คาดกันว่าบางประเทศอาจล่มสลายเพราะโรคนี้
      ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำเรื่องโรคเอดส์มาพูดกันบ่อย ๆ เพื่อเตือนสติป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เพราะเป็นโรคที่ป้องกันได้ และเพื่อลดผลกระทบจากโรคเอดส์ในผู้ที่ติดเชื้อแล้วให้เบาบางลง



       

       

       

      2.ประวัติโรคเอดส์
      โรคเอดส์มีการรายงานเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2524 ในประเทศสหรัฐอเมริกา นับถึงปัจจุบันก็ได้ 20 ปีแล้ว โดยพบว่าชายรักร่วมเพศ(เกย์) และคนที่ฉีดยาเสพติดตามเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคติดเชื้อซึ่งโดยปกติแล้วจะพบในคนที่ภูมิต้านทานไม่ดีเช่น คนแก่ คนที่เป็นมะเร็ง หรือคนไข้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน จึงเรียกโรคที่พบใหม่นี้ว่าโรคภูมิต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์ (AIDS ย่อมากจากคำว่า Acquired= เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ใช่เป็นแต่กำเนิด, Immune= ภูมิคุ้มกัน, Deficiency= บกพร่องหรือเสียไป, Syndrome= กลุ่ม อาการหรือมีอาการได้หลาย ๆ อย่าง) ดังนั้นโรคเอดส์จึงเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องไปซึ่งไม่ได้เป็นมาโดย กำเนิดและจากการที่เกิดโรคเอดส์ขึ้นพร้อมๆ กันในคนเฉพาะกลุ่ม(เกย์ และคนที่ติดยาเสพติด) จึงทำให้สงสัยว่าโรคเอดส์น่าจะเป็นโรคติดต่อ โดยติดต่อแพร่กระจายในคนกลุ่มนั้น ๆ จึงมีความพยายามที่จะแยกหรือเพาะเลี้ยงเชื้อจากเลือด และสิ่งคัดหลั่งของผู้ที่เป็นโรคเอดส์ จน ในที่สุดในปีพ.ศ. 2526 ศาสตราจารย์โรเบิร์ต กาลโล (Robert Gallo) จากสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ลุค มอนทาเนียร์
      (Luc Montagnier) จากฝรั่งเศสก็สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ได้ เรียกชื่อไวรัสนี้ว่า เอช-ไอ-วี HIV=Human Immunodeficiency Virus หรือไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานบกพร่องในคน)
      ปัจจุบันพบว่าเชื้อเอช-ไอ-วี มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ กระจัดกระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่พบในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ B ซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเกย์ และคนที่ติดยาเสพติด กับสายพันธุ์ E หรือ A/E ซึ่งแพร่ระบาดในคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง สายพันธุ์ที่ต่างกันมีความสำคัญในการพัฒนาวัคซีนที่จะใช้กับกลุ่มคนหรือประเทศที่ต่างกัน และอาจมีความสำคัญในการทดสอบตรวจหาเชื้อ ซึ่งในบางกรณีอาจต้องใช้น้ำยาที่ใช้กับสายพันธุ์นั้นๆ โดยเฉพาะ
      สำหรับประวัติของโรคเอดส์ในประเทศไทยนั้น โรคเอดส์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี2527 และเริ่มพบคนไข้ที่อยู่ในประเทศ ไทยเองตั้งแต่ปี2528 โดยในช่วง 3-4 ปีแรก แพร่ระบาดส่วนใหญ่ในกลุ่มเกย์ ต่อมาปีพ.ศ. 2531 จึงเริ่มแพร่ระบาดในกลุ่มที่ติดยาเสพติด โดยการฉีด ปีถัดมาจึงเริ่มระบาดเข้าไปในกลุ่มหญิงบริการทางเพศ ในปี 2533 เริ่มพบว่าชายที่เที่ยวหญิงบริการและเป็นกามโรคมีการติดเชื้อเอดส์เพิ่มสูงขึ้น และตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา โรคเอดส์ก็แพร่เข้าไปในสถาบันครอบครัวเต็มรูปแบบ กล่าวคือสามีแพร่ให้ภรรยา ภรรยาตั้งครรภ์ก็ถ่ายทอดไปสู่ลูก เลยทำให้ระบาดไปเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วคล้ายไฟลามทุ่ง เพราะสังคมหรือสถาบันชาติประกอบด้วยสถาบันครอบครัวย่อยๆมารวมกัน



       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      3.ไวรัสเอดส์ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร ?
      ไวรัสเอดส์(HIV) มีสายพันธุกรรมหรือยีนส์เป็นอาร์-เอ็น-เอ (RNA) แทนที่จะเป็นดี-เอ็น-เอ(DNA) เหมือนกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงทั่วไป สายพันธุกรรมจะถูกอัดแน่นอยู่ในแกนกลาง ซึ่งจะถูกห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งด้วยเปลือกนอกซึ่งมีปุ่มยื่นออกมาภายนอก (รูปที่ 1 ปุ่มเหล่านี้ (ซึ่งมีชื่อว่า gp120) มีความสำคัญในการไปเกาะติดกับเซลส์ของร่างกายที่ไวรัสเอดส์จะบุกรุกเข้าไป เซลล์เหล่านี้จะมีโปรตีนพิเศษบนเซลล์ (เรียก CD4) ซึ่งพอเหมาะที่จะให้gp120 ของไวรัสมาเกาะ เมื่อเกาะแล้ว ไวรัสเอดส์จึงจะเข้าสู่เซลล์ของร่ายกายได้ โดยถอดเปลือกนอกออก เอาแต่สายพันธุกรรมหรืออาร์-เอ็น-เอ ของไวรัสเข้าไปในเซลล์
      เมื่อเข้าไปภายในเซลล์ ไวรัสเอดส์จะสามารถเปลี่ยนสายพันธุกรรมของมันจาก อาร์-เอ็น-เอ ให้กลายเป็น ดี-เอ็น-เอ ซึ่งจะสามารถสอดแทรกเข้าไปในสายพันธุกรรมของเซลล์ร่างกายซึ่งเป็น ดี-เอ็น-เอได้ เมื่อสอดแทรกเข้าไปเรียบร้อยแล้ว เวลาเซลล์ของร่างกายแบ่งตัวก็จะมีสายพันธุกรรมชนิด ดี-เอ็น-เอของไวรัสแบ่งตัวตามเข้าไปอยู่ในเซลล์ใหม่ด้วย ทำให้ไวรัสเอดส์ถูกกำจัดให้หมดจากร่างกายได้ยาก
      ในขณะเดียวกันไวรัสเอดส์ในเซลล์ก็สามารถแบ่งตัวได้ด้วย โดยเปลี่ยนสายพันธุกรรมกลับมาเป็น อาร์-เอ็น-เอ และสร้างโปรตีนมาเป็นเปลือกห่อหุ้มตัวแล้วแตกตัวออกจากเซลล์ที่อาศัยอยู่เดิม ไปบุกรุกเซลล์อื่นต่อไป โดยเซลล์เดิมอาจถูกทำลายหรือตายได้
      เซลล์ของร่างกายคนที่สามารถถูกไวรัสเอดส์บุกรุกเข้าไปได้ส่วนใหญ่ จะเป็นเซลล์ที่มี CD4 อยู่บนผิวเซลล์ ที่สำคัญได้แก่เม็ดโลหิตขาวชนิดลิมโฟซัยท์ย(Lymphocyte) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก ที-ลิม-โฟ-ซัยท์ ซึ่งมีหน้าที่ถูกทำลายไปภูมิต้านทานของร่างกายก็จะเสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิต้านทานชนิดอาศัยเซลล์ ซึ่งใช้ต่อสู้หรือกำจัดจุลชีพง่ายๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และกำจัดเซลล์มะเร็งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากจุลชีพจำพวกฉกฉวยโอกาสเหล่านี้ได้ง่าย และเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่าย ซึ่งก็เป็นกลุ่มอาการของโรคเอดส์นั่นเอง นอกจากนี้ ไวรัสเอดส์ยังสามารถบุกรุกเข้าไปในเซลล์อื่นๆ เช่นเซลล์ที่เกี่ยวกับการรับรู้สิ่งแปลกปลอม เซลล์สมอง และเซลล์ของ เยื่อบุทางเดินอาหารเป็นต้น ผลลัพธ์คือทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเสียไป และมีอาการทางสมอง หรือทางเดินอาหารได้
      เนื่องจากไวรัสเอดส์พบส่วนใหญ่ในเม็ดโลหิตขาว ดังนั้นเลือดของผู้ป่วยจึงมีเชื้อเอดส์อยู่มากที่สุดรองลงมาเป็นน้ำกามของผู้ชาย และน้ำเมือกที่อยู่ในช่องคลอดของผู้หญิง โดยถ้ายิ่งมีเม็ดโลหิตขาวปะปนอยู่ในน้ำเหล่านี้มากก็ยิ่งมีไวรัสเอดส์อยู่มาก ส่วนน้ำลาย น้ำตา และสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ของผู้ป่วย ก็อาจพบมีไวรัสเอดส์ปะปนอยู่ได้บ้างแต่มีปริมาณน้อยมากๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณของเม็ดโลหิตขาวที่ปะปนอยู่ในสิ่งคัดหลั่งหรือในสิ่งขับถ่ายเหล่านี้ ดังนั้นเหงื่อน้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะของคนที่ติดเชื้อเอดส์จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นนอกจากจะมีเลือดปน



       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      4. อาการของโรคเอดส์
      คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์ หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกาย ไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไป ขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัส จำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกาย ถ้ามีการติดเชื้อ อาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
      ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
      ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดา
      ราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลย เพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือด หรือที่เรียก ว่าเลือดเอดส์บวก ซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้ว ร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody) เป็นเครื่องแสดงว่าเคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้ว แต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน 6 เดือน โดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยา และห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้น
      ผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้ โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็น
      เดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง(รูปที่ 2) ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม ่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์ โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
      ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
      เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก(รูปที่ 3), งูสวัด(รูปที่ 4), เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง(รูปที่ 5)
      จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
      ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
      เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อย ๆ และเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น แคโปซี่ ซาร์โคมา(Kaposi's sarcoma) และมะเร็งปากมดลูก
      การติดเชื้อฉกฉวยโอกาส หมายถึง การติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำ ไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลง เช่นจากการเป็นมะเร็ง หรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอด ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คลิปโตค็อกคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง(รูปที่ 6) ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม(รูปที่ 7) บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน
      นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น
      ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6 ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้10-20 ปี และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      5. จะทราบได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อเอดส์ ?
      การตรวจเลือดเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกว่ามีการติดเชื้อไวรัสเอดส์หรือไม หลักการของการตรวจเลือดเอดส์ก็คือการดูว่าในเลือดมีแอนติบอดีย์หรือภูมิคุ้นเคยที่ทำปฎิกิริยากับไวรัสเอดส์หรือไม่ ถ้ามีก็จะทำให้เปลี่ยนสีของน้ำยาที่ใช้ทดสอบในกรณีที่ชุดทดสอบนั้นใช้หลักการของอีไลซ่า (ELISA) หรือทำให้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติอื่นๆ แล้วแต่วิธีการของชุดทดสอบที่ใช้วิธีทดสอบบางชนิดอาจใช้เวลาเพียง 2 นาที ก็ทราบผลแล้ว นอกจากจะใช้เลือดในการทดสอบการติดเชื้อเอดส์แล้วยังสามารถใช้น้ำลายและปัสสาวะได้ด้วย ทำให้ไม่ต้องเจ็บตัว จากการเจาะเลือดและได้ความแม่นยำเกือบเท่าการใช้เลือดตรวจ การใช้น้ำลาย หรือปัสสาวะตรวจเอดส์แทนเลือดได้นั้น ไม่ได้แปลว่าน้ำลายหรือปัสสาวะแพร่เชื้อเอดส์ได้ เพราะเป็นการตรวจหาแอนติบอดีย์หรือภูมิคุ้นเคยที่อยู่ในน้ำลายหรือปัสสาวะไม่ได้ตรวจหาตัวไวรัสเอดส์เอง
      วิธีตรวจเลือดเอดส์หรือตรวจน้ำลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีความไวและความแม่นยำสูงมาก คือ มีความไวสูงถึง 99.8-100% กล่าวคือคนที่มีการติดเชื้อเอดส์ 1,000 คนอาจตรวจพบเลือดเอดส์บวก 998 คน ซึ่งก็นับว่าดีมาก ๆ แต่ยังมีอีก 2 คนใน 1,000 คนที่ยังอาจตรวจไม่พบในทำนองเดียวกัน คนที่ไม่มีการติดเชื้อเอดส์ 1,000 คนไปตรวจเลือด อาจพบว่า 998 คนจะมีเลือดเอดส์ลบ แสดงว่ามี ความแม่นยำหรือความจำเพาะถึง 99.8% แต่ก็ยังมีอีก 2 คนใน 1,000 คน ที่จะมีเลือดเอดส์บวกซึ่งจะมีผลกระทบทางด้านจิตใจและสังคมอย่างมากมาย จึงจำต้องทดสอบยืนยันให้แน่นอนเสียก่อน โดยอาจใช้ชุดทดสอบอีไลซ่าของอีกบริษัทหนึ่งหรือใช้วิธีทดสอบที่มีหลักการที่แตกต่างกัน เช่น วิธีพาร์ติ-เคิล แอ๊กกลูติเนชั่น เป็นต้นด้วยเหตุผลที่ว่าการทดสอบเอดส์อาจมีทั้งผลบวก และผลลบเทียมและมีผลกระทบมากมายต่อผู้ถูกทดสอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผลทดสอบออกมาเป็นบวก บางคนถึงกับฆ่าตัวตายเลยก็มี ดังนั้นจึงควรต้องมีการให้คำปรึกษาแนะนำที่ดีก่อนและหลังการทดสอบทุกครั้ง เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจเอดส์ และความหมายของการทีมีผลเลือดเอดส์เป็นลบหรือเป็นบวก เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาในอนาคต หรือไม่แพร่เชื้อเอดส์ให้ผู้อื่น
      การให้คำปรึกษาแนะนำ
      ก. การให้คำปรึกษาแนะนำก่อนการทดสอบเอดส์
      (1) จะต้องมีการอธิบายให้ผู้มาขอรับการทดสอบเข้าใจว่าการตรวจเลือดเอดส์นั้นเป็นอย่างไร เป็นการตรวจว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสโรคเอดส์หรือไม่ ไม่ได้บอกว่าเป็นโรคเอดส์แล้วเสมอไป และเวลานี้ก็คงจะยังมีไวรัสโรคเอดส์อยู่ในตัวซึ่งการที่เป็นโรคเอดส์แล้วชีวิตอาจจะสั้นแต่การที่ติดเชื้อเฉยๆอาจมีชีวิตอยู่ไปได้อีก 10-15 ปี แต่มีไวรัสเอดส์ในตัวซึ่งสามารถแพร่ไปสู่คนอื่นๆได้
      (2) จะต้องถามเหตุจูงใจหรือเหตุผลในการขอตรวจเอดส์ เพราะตัวเองไปมีพฤติกรรมเสี่ยงมา จึงอยากรู้ว่าเพลี่ยงพล้ำมีการติดเชื้อเอดส์หรือไม่ หรือว่าถูกนายจ้างบังคับให้ตรวจหรือมาตรวจ ๆ ตามคนอื่นหญิงบริการหลายคนเข้าใจว่า การตรวจเลือดเอดส์เป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
      (3) จะต้องถามว่าถ้ารู้ว่าผลเลือดเป็นลบเขาจะทำอะไร (ซึ่งหญิงบริการหลายคนตอบว่าจะได้ทำงานต่อไป) หรือถ้าผลเจาะเลือดเอดส์เป็นบวกเขาจะทำยังไง ถ้าตอบว่าเลือดเอดส์บวกจะได้ฆ่าตัวตายเช่นนี้ก็ต้องคุยกันนานหน่อยหรืออาจไม่เจาะตรวจให้เลยก็ได้ในขณะนั้น
      ข. การให้คำปรึกษาในกรณีที่ผลการทดสอบเป็นลบ
      (1) จะต้องอธิบายให้ผู้ที่ผ่านการตรวจเอดส์แล้ว ให้เข้าใจว่าแม้ผลจะเป็นลบ เขาก็ยังอาจมีการติดเชื้อเอดส์อยู่ในตัวซึ่งสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้เพราะ 2 คนใน 1,000 คน ที่ติดเชื้ออาจให้ผลเลือดเอดส์เป็นลบได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ายังเร็วเกินไปที่จะตรวจพบเนื่องจากยังอยู่ในระยะฟักตัวของการที่มีเลือดบวกคือช่วง 2-3 เดือนแรกภายหลังได้รับเชื้อเข้าไป หรืออาจเป็นเพราะว่าภูมิต้านทานของเขาไม่ดี จึงไม่สามารถสร้างแอนติบอดีย์หรือภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์ได้ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท จึงควรใส่ถุงยางอนามัยเวลาที่จะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและไม่ไปบริจาคเลือดให้กับผู้อื่น รออีก 3 เดือน จึงไปตรวจอีกครั้งให้มั่นใจ
      (2) การที่มีเลือดเอดส์ลบ ไม่ใช่เป็นหนังสือรับรองว่า เขาสามารถมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อไปได้เพราะปลอดภัยแล้ว ในทางกลับกัน การที่ผลตรวจเลือดเอดส์ยังเป็นลบอยู่ทั้งๆ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ควรถือเป็นศุภฤกษ์ที่ตัวเองจะเปลี่ยนหรือปรับพฤติกรรมเสี่ยงนั้นเสีย ให้ไม่เสี่ยงหรือเสี่ยงน้อยลง แทนที่จะเสี่ยงต่อไปเรื่อยๆ แล้วต้องใจหายใจคว่ำกับการตรวจเลือดแต่ละครั้ง ดังนั้นการที่ได้ผลเลือดเอดส์เป็นลบจึงเป็นโอกาสดีที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ ไม่ใช่สักแต่ส่งผลการตรวจเลือดออกไปเฉยๆ

      ค. การให้คำปรึกษาในกรณีที่ผลเลือดเอดส์เป็นบวกจริง
      (1) ห้ามบอกผลทางโทรศัพท์หรือทางไปรษณีย์
      (2) ควรให้มารับทราบผลการตรวจจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อจะได้ทราบพฤติกรรมเสี่ยง จะได้ตรวจร่างกาย และให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมทั้งจะได้เจาะเลือดตรวจเอดส์ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันการสลับหลอดเลือดกันหรือความผิดพลาดทางเทคนิคอื่นๆ
      (3) ในกรณีที่ยังไม่ทราบผลการทดสอบยืนยัน และมีความจำเป็นที่จะต้องให้คำปรึกษาแนะนำไปก่อนก็อธิบายให้เข้าใจว่าการทดสอบเอดส์อาจมีผลบวกเทียมได้ ให้รอคอยผลการทดสอบยืนยัน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเชิงไม่ไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่นไปพลางก่อน
      (4) ควรให้ผู้ติดเชื้อทราบว่าการมีเลือดเอดส์บวก ไม่ได้บอกว่าจะต้องเป็นโรคเอดส์เต็มขั้นหรือต้องตายเสมอไป จะมีเพียงบางคนเท่านั้นเองที่จะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงตายในที่สุด บางรายอาจไม่มีอาการอะไรเลยเกิน 10 ปีขึ้นไป และถึงตอนนั้นอาจมียาชงัด ๆ ออกมารักษาก็ได้จึงอย่าเพิ่งหมดกำลังใจ
      (5) ผู้ติดเชื้อควรเลิกพฤติกรรมเสี่ยง เพราะถ้าทำต่อ การได้รับเชื้อเอดส์และเชื้ออื่นๆเข้าไปอีก จะยิ่งทำให้ภูมิต้านทานเสื่อมลงไปมากขึ้น ไวรัสเอดส์อาจกำเริบขึ้นมา และทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
      (6) การที่มีเลือดเอดส์บวก ส่วนใหญ่จะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัว จึงสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ๆ เขาจึงควรระวังป้องกันไม่ให้เชื้อเอดส์ในเลือดหรือในสิ่งคัดหลั่งของเขาติดไปสู่คนอื่น เช่น ต้องใส่ถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศ ห้ามไปบริจาคเลือด และไม่ควรใช้ของมีคมร่วมกับคนอื่น เป็นต้น

       

       

       

      6. ประโยชน์ของการตรวจเอดส์
      การเจาะเลือดเอดส์มีประโยชน์ถ้าผู้ถูกเจาะมีความเข้าใจ และต้องการจะเจาะเองไม่ได้ถูกใครบังคับมา มีการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างดีทั้งก่อนและหลังการทดสอบผลการทดสอบถูกเก็บเป็นความลับสุดยอด โดยรู้เฉพาะผู้ตรวจและผู้ถูกตรวจ ผลการตรวจไม่ถูกนำมาใช้ในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ถูกตรวจ เช่นการจ้างงาน การรักษาพยาบาล และสุดท้ายจะต้องมีแหล่งส่งต่อให้ผู้ติดเชื้อไปเข้ารับการรักษาพยาบาลต่อไปได้ ไม่ใช่ว่าเจาะเจอแล้วเคว้งไม่รู้จะไปติดตามที่ไหนต่อ
      ถึงแม้จะเจาะเลือดแล้วพบว่าไม่ติดเอดส์ หลายคนสามารถเลิกพฤติกรรมเสี่ยงได้จากความรู้และคำปรึกษาแนะนำที่ได้รับก่อนและหลังการเจาะเลือด บางรายใช้คำว่า "เข็ดจนตาย!"
      ส่วนรายที่เจาะแล้วเอดส์บวก ก็ยังมีประโยชน์อยู่ เพราะจะได้ระมัดระวังป้องกันไม่ให้คนที่เป็นที่รักติดเชื้อเอดส์ตามตนได้ และทำให้ตนเองรู้ตัว ถ้ามีอาการผิดปกติขึ้นจะได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องโดยรวดเร็ว หรือถ้ามียาหรือวัคซีนใหม่ ๆ เข้ามาทดลองก็อาจไปอาสาทดลองได้ ซึ่งก็จะยังมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้การรู้ตัวแล้วสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงก็จะช่วยให้ตัวเองไม่รับเชื้ออื่น ๆ เพิ่มเข้าไป จะได้ไม่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นหรือตายเร็วตามที่กล่าวแล้ว


       

       

       

       

       

       

      7. "คลินิกนิรนาม" คืออะไร ?
      คลินิกนิรนามในการตรวจเอดส์คือ สถานที่ที่ผู้ซึ่งอยากมีความรู้หรือมีข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคเอดส์สามารถไปขอความรู้ คำปรึกษาและขอรับการตรวจเอดส์ได้โดยไม่ต้องบอกชื่อและที่อยู่ ทางคลินิกจะใช้รหัสเลขที่แทนชื่อของผู้มาใช้บริการ เมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อเอดส์จะมีเฉพาะผู้มาใช้บริการเท่านั้นที่ทราบผล ไม่มีการรายงานผลการตรวจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือนายจ้างทราบ จึงมั่นใจได้ว่าความลับจะไม่ถูกเปิดเผย สาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งคลินิกนิรนามขึ้นก็เพราะมีคนหลายๆคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง แต่ไม่กล้าไปตรวจเอดส์ เพราะกลัวคนรู้จักหรือกลัวว่าถ้าตรวจเจอจะมีการรายงานชื่อตนไปที่เจ้าเหน้าที่ของรัฐซึ่งอาจส่งคนมาติดตามจนทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทั้งแก่ตนเอง และวงศ์ตระกูลได้ การกลัวความลับจะรั่วไหลทำให้ไม่กล้าไปเจาะทั้งๆ ที่ใจอยากจะรู้ ทำให้เกิดทุกข์ใจอย่างมากในบางราย บางรายก็แอบไปบริจาคเลือดเพราะรู้ว่าจะได้รับการตรวจเอดส์โดยอัตดนมัติ บริจาคมาแล้วก็มานั่งรอใจหายใจคว่ำว่าเมื่อไหร่จะได้รับจดหมายจากธนาคารเลือด ให้ไปตรวจเลือดซ้ำใหม่ เมื่อไม่ทราบผลเลือดก็คงดำเนินพฤติกรรมเสี่ยงแพร่เชื้อต่อไปเรื่อยๆ "การไปแอบบริจาคเลือด" ก็อาจเป็นภัยต่อผู้อื่นได้ เพราะเลือดขวดนั้นอาจยังตรวจไม่เจอว่าเลือดเอดส์บวกแต่มีเชื้อซึ่งแพร่ให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการรักษาความลับของคนไข้จึงมีคลินิกนิรนามขึ้น
      คลีนิคนิรนามของสภากาชาดไทย(โปรดสังเกตการสะกดชื่อ คำว่า "คลีนิค" ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะของคลินิกนิรนามของสภากาชาด ไทย) เป็นคลินิกนิรนามสมบูรณ์แบบคลินิกแรกที่ตั้งขึ้นในประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณสถานเสาวภา (กองวิทยาศาสตร์) ของสภากาชาดไทยบนมุมถนนอังรีดูนังกับพระราม 4 ใกล้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2534 เปิดทำการ ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 12.00-19.00 น. และวันเสาร์เวลา 9.00-12.00 น. เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ คลีนิคนิรนามของ สภากาชาดไทยให้บริการให้คำปรึกษาแนะนำ และตรวจเลือดเกี่ยวกับเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี และซิฟิลิส เพราะทั้ง 3 โรคมีวิธีการติดต่อคล้าย ๆ กัน ก่อนและหลังการตรวจทุกครั้งจะได้รับคำปรึกษาแนะนำอย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความชำนาญของสภากาชาดไทย และถ้าพบว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง จะมีบริการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป ผู้สนใจสามารถโทรศัพท์ไปสอบถามดูได้ก่อนที่เบอร์ 256-4109
      นอกจากนี้ ทุกวันศุกร์เช้า (8.30 - 11.30 น.) คลินิกนิรนามของสภากาชาดไทยยังเปิดให้บริการตรวจวัดระดับ ซีดี-4 (CD 4) ซึ่งเป็นตัวชี้บ่งระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้กับผู้ติดเชื้อเอดส์แบบนิรนามด้วย เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำว่าระดับ ซีดี-4 ใดควรจะไปพบ แพทย์เพื่อรับยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนหรือยาต้านไวรัสเอดส์ ถ้าระดับ ซีดี-4 ยังดีอยู่ก็อาจรอดูก่อน อีก 4-6 เดือนค่อยมาตรวจซ้ำ ใหม่ การรู้จักดูแลตัวเองเช่นนี้จะทำให้สามารถรับการรักษาต่าง ๆได้แต่เนิ่น ๆ โดยไม่ต้องรอจนให้มีอาการ จึงไปพบแพทย์ ซึ่งอาจสายเกินไปที่จะรักษาให้ได้ผลก็เป็นได้และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา คลินิกนิรนามของสภากาชาดไทยก็ยังได้เปิดบริการตรวจวัดปริมาณไวรัสเอดส์ในเลือด(Viral load) ให้กับผู้ติดเชื้อเอดส์ด้วย ค่าตรวจค่อนข้างแพง มีประโยชน์ในการติดตามผลของการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ และใช้ในการตัดสินใจเริ่มให้ยาต้านไวรัสเอดส์แก่คนที่มีระดับ ซีดี-4 สูงๆ ซึ่งยังไม่ต้องใช้ยา แต่ถ้ามีปริมาณไวรัสมาก ๆ อาจต้องเริ่มยาต้านไวรัสเอดส์


       

       

       

       

       

       

       

       

       

      8. โรคเอดส์รักษากันได้อย่างไร ?
      การรักษาโรคเอดส์แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน
      (1) การรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อน
      ได้แก่โรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสมะเร็ง และอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โรคหรืออาการบางอย่างก็มียารักษา บางอย่างก็ไม่มียารักษาหรือรักษาไม่หายขาด ในปัจจุบันมีการให้ยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนหลายอย่างๆ เมื่อระดับภูมิคุ้มกันลดลงมาถึงระดับหนึ่ง และก่อนที่จะเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นมาจริง ๆ เช่น การให้ยาป้องกันปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสตีส ยาป้องกันเชื้อราขึ้นสมอง และยาป้องกันวัณโรค เป็นต้น พบว่าสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปในบางกรณีแม้จะรักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนให้หายแล้วก็ตาม ก็ยังจะต้องให้ป้องกันไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำใหม่ เช่นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อนิ่วโมซีสตีส

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      วัคซีนเอดส์มีความก้าวหน้าเพียงใด ?

      เนื่องจากยารักษาโรคเอดส์มีราคาแพง และความหวังที่จะรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดโดยการใช้
      ยาต้านไวรัสเอดส์แรง ๆ หลายตัวร่วมกันก็ยังดูเลือนลางอยู่ประกอบกับคำประกาศเจตนารมณ์ของประธานาธิบดีคลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อกลางปี 2540 ว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้นำในการคิดค้น
      วัคซีนเอดส์ให้สำเร็จภายใน 10 ปี ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจเรื่องวัคซีนเอดส์อีกครั้งหนึ่ง วัคซีนเอดส์
      อาจทำจากไวรัสเอดส์ที่ทำให้ตายแล้ว หรือถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง หรือผลิตโดยอาศัยขบวนการทาง
      วิศวกรรมพันธุศาสตร์หรือโดยการสังเคราะห์ขึ้นมาโดยตรง ได้มีการศึกษาวัคซีนเอดส์หลายชนิดในสัตว์
      ทดลองและคนอาสาสมัคร ปรากฏว่าวัคซีนมีความปลอดภัย 100 % ไม่มีใครติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาจากการ
      รับวัคซีน สัตว์ทดลองหรือคนที่ได้รับวัคซีนจะมีภูมิต้านทานซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเอดส์ในหลอดทดลองได้ เมื่อลองฉีดภูมิต้านทานที่ได้จากการฉีดวัคซีนเข้าไปในลิงซิมแปนซี แล้วตามด้วยการให้ไวรัสเอดส์เป็น ๆ แก่ลิงตัวนั้น พบว่าลิงไม่ติดเชื้อเอดส์ แสดงว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีด
      วัคซีนมีประโยชน์ในการป้องกันโรคจริง แต่การที่จะบอกว่าเอาวัคซีนเอดส์มาฉีดคนแล้วจะป้องกันคน
      ให้รอดพ้นจากการติดเชื้อเอดส์ได้หรือไม่พิสูจน์ได้ยาก เพราะจะเอาเชื้อเอดส์มาแอบฉีดให้กับอาสาสมัคร
      ที่ฉีดวัคซีนแล้วย่อมทำไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ กล่าวคือติดตามที่ฉีดวัคซีนกับคน
      ที่ฉีดน้ำเปล่า กลุ่มใหญ่ ๆ ไปสักระยะเวลาหนึ่ง (2-3 ปี) โดยที่อธิบายกรอกหูให้ฟังทุกวันว่า ที่ทำอยู่นี้เป็นการศึกษาว่าวัคซีนเอดส์ได้ผลหรือไม่ อาจไม่ได้ผลก็ได้ และท่านได้รับอาจเป็นวัคซีนจริงหรือวัคซีน
      เทียม (น้ำเปล่า) ก็ได้ ไม่มีใครรู้ เรากำลังพิสูจน์กันอยู่ เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของเขาเอง เขาควรจะต้องไม่ไปมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือถ้าจะไปเสี่ยงบ้างก็ต้องป้องกันเช่น ใช้ถุงยางอนามัย บางคนแย้ง
      ว่าถ้าไปบอกเขาแบบนี้ ทุกคนใส่ถุงยางอนามัยหมด แล้วจะไปพิสูจน์ได้ยังไงว่าวัคซีนได้ผล เราต้อง
      ยอมรับความจริงว่า ถึงแม้เราตอกย้ำอาสาสมัครอย่างไร การเป็นมนุษย์ปุถุชนจะยังมีอยู่ กล่าวคือ ก็ยัง
      คงมีคนไปเที่ยวผู้หญิงบ้าง และมีที่เผลอไม่ใส่ถุงยางอนามัยบ้าง สุดท้ายก็จะมีคนติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาบ้าง เมื่อติดตามไปได้สักระยะหนึ่ง ก็มาดูว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีนมีคนที่ติดเอดส์น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้วัคซีนหรือ
      ไม่ ถ้าน้อยกว่าก็แสดงว่าวัคซีนนั้นป้องกันได้ผล อาจได้ผล 20%, 60% ฯลฯ จะต้องให้ได้ผลสักเท่า
      ไรจึงจะเอามาฉีดกับคนทั่วไปได้ หรือเอามาขายได้ยังไม่มีใครมีคำตอบ การทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบที่เรียกว่าระยะที่ 3 หรือการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนซึ่งต้องใช้อาสาสมัครที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ (เช่น ชายนักเที่ยวหรือหญิงบริการทางเพศ หรือคนที่ติดยาเสพติดโดยการฉีด) จำนวนกลุ่มละหลายพันคน และติดตามไป 2-3 ปี ในปัจจุบันมีวัคซีนเพียงขนาบเดียวที่เข้าสู่การทดสอบระยะที่ 3 ในคน ซึ่งกว่าจะทราบผลก็คงประมาณปี พ.ศ. 2545
      นอกจากจะเอามาฉีดให้กับคนที่ยังไม่ติดเชื้อแล้ว วัคซีนเอดส์ยังสามารถนำมาฉีดให้กับคนที่
      ติดเชื้อเอดส์แล้วได้ด้วย พบว่าปลอดภัยเช่นเดียวกัน ไม่มีใครตายด้วยโรคเอดส์เร็วขึ้น ขณะเดียวกัน
      พบว่าภูมิต้านทานที่เป็นประโยชน์ในการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสเอดส์ก็มีเพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานของผู้ติด
      เชื้อสามารถคงอยู่ในระดับที่ดีได้นาน โรคติดเชื้อแทรกซ้อนก็เป็นน้อยลง จึงเป็นความหวังที่ผู้ติดเชื้อทั่วโลกกำลังรอคอยอยู่ว่าการฉีดวัคซีนเอดส์ร่วมไปกับการให้ยาต้านไวรัสเอดส์อาจสามารถทำให้ชีวิตของพวกเขายืนยาวขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
      การทดสอบวัคซีนเอดส์ครั้งแรกในประเทศไทยทำ โดยคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์
      มหาวิทยาลัย และโครงการโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2537 โดยใช้วัคซีนสังเคราะห์ของบริษัท UBI ฉีดให้กับอาสาสมัครที่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์จำนวน 30 คน โครงการนี้ได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2538 ผลการศึกษาพบว่าวัคซีนปลอดภัย 100 % และเกือบร้อยละ 90 ของอาสาสมัครมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น การพัฒนาต่อไปคือการทำให้ภูมิต้านทาน
      ที่เกิดขึ้นมีระดับที่สูงอยู่ในร่างการไปได้นาน ๆ และสามารถทำปฏิกิริยาได้กับเชื้อเอดส์ ทุกสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ เมื่อได้วัคซีนที่เชื่อว่าดีแน่ จึงจะมีการนำไปทดสอบประสิทธิภาพต่อไป การทดสอบวัคซีนเอดส์ของสภากาชาดไทยเป็นการสร้างการรับรู้ และการยอมรับในสังคมไทย เปิดทางให้มีการศึกษาทดสอบวัคซีนเอดส์อื่น ๆ อีกหลายตัวในระยะเวลาต่อมา ซึ่งหวังว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าควรจะมี
      วัคซีนเอดส์ออกมาใช้ได้ในบ้านเรา 

       

      เอดส์ โรคติดเชื้อ HIV, AIDS

      ประเทศไทยมีการติดเชื้อ HIV เป็นจำนวนมากแม้ว่าเวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการสมควรที่ทุกคนจะเรียนรู้ถึงโรคและการป้องกัน หากท่านมีผลเลือดบวกแสดงว่าท่านได้รับเชื้อ HIV จากการร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ได้ป้องกัน หรืออาจจะเกิดจากการฉีดยาเสพติด

      HIV และ AIDS ต่างกันอย่างไร

      เชื้อ Human Immunodeficiency Virus(hiv) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะแบ่งตัวอย่างมากและมีการเกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ ไตและที่สำคัญคือจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่สร้างถูมิเพื่อต่อต้านการติดเชื้อและมะเร็งบางชนิด ในการสร้างภูมิจะต้องอาศัยเซลล์หลายชนิดที่สำคัญได้แก่เซลล์ CD4+ lymphocytes ซึ่งเป็นเซลล์ที่เชื้อ HIV ชอบ เมื่อเซลล์ CD4+ lymphocytes ถูกทำลายโดยเชื้อมากจะทำให้ภูมิของร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นปัญหาที่สำคัญของคนติดเชื้อ HIV คือปัญหาของโรคที่เกิดจาดภูมิที่อ่อนแอลงเช่นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส opportunistic
      infections เช่นโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมะเร็งบางชนิด ปัจจุบันพบเชื้อ HIV มี2 ชนิดคือ

      • HIV-1 เป็นชนิดที่แพร่ระบาดทั่วโลก
      • HIV-2 พบที่แถบประเทศ Africa
      • HIV-1มี sub-types หลายชนิด 

      HIV disease คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อHIV และยังไม่เกิดอาการจากเชื้อฉวยโอกาสและมีจำนวนเซลล์ CD4+ lymphocytes มากกว่า 200 cells/mm3(ปกติมากกว่า 100 cell/mm)โดยทั่วไปไม่มีอาการเป็นเวลา 5-10 ปีแม้ว่าจะไม่มีอาการเชื้อก็แบ่งตัวและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและเมื่อภูมิถูกทำลายมากจนกระทั่งเกิดโรคที่เกิดจากภูมิบกพร่อง

      Acquired Immunodeficiency Syndrome หรือโรคเอดส์ คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV และโรคได้ลุกลามจนภูมิคุ้นกันบกพร่อง และอาจจะทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสและมะเร็ง ตามองค์การควบคุมโรคติดเชื้อของอเมริกาหมายถึง

      • โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Pneumocystis carinii pneumonia (PCP), and cryptococcal meningitis 
      • มะเร็งบางชนิดเช่น cervical cancer, Kaposi’s sarcoma, และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาท( central
        nervous system lymphoma )
      • CD4+ count น้อยกว่า 200 cells/mm3(ค่าปกติ 600-1000) หรือ 14 percent of lymphocytes 

      AIDS ทำลายร่างกายอย่างไร

      • ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและมะเร็ง
      • สมองถูกทำลายทำให้สมองเสื่อมและความจำเสื่อม
      • ทำให้หัวใจวายมีอาการเหนื่อยง่าย บวมเท้าและท้อง
      • ทำให้ไตวาย
      • ไม่สามารถทำงานประจำวันได้เช่น การขับรถ
      • มีการเปลี่ยนแปลงทางน้ำหนักและท้องร่วงเรื้อรัง 

      อาการของโรคติดเชื้อ HIV

      อาการของการติดเชื้อ HIV จะมีความหลากหลายขึ้นกับระยะของโรค เนื่องจากเชื้อ HIV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งอาการของการติดเชื้อ HIV จะเหมือนอาการของไข้หวัดคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น อ่อนเพลีย เราไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อ HIV จะไม่มีอาการแต่เขาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้  ฉะนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรได้รับการเจาะเลือด ในช่วงแรกของการติดเชื้อ HIV คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้

      • ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต มักจะเป็นอาการอันแรกของการติดเชื้อ
      • ท้องร่วง บางคนอาจจะเรื้อรัง
      • น้ำหนักลด.
      • มีไข้
      • ไอและหายใจลำบาก

      เมื่อไม่ได้รับการรักษาเชื้อก็จะแบ่งตัวเรื่อยและทำลายระบบภูมิคุ้มกันและกลายเป็นโรคเอดส์ซึ่งจะมีอาการดังนี้

      • เหงื่ออกกลางคืน
      • ไข้หนาวสั่น ไข้สูงเรื้อรัง
      • ไอเรื้อรังและหายใจลำบาก
      • ท้องร่วงเรื้อรัง
      • ลิ้นเป็นฝ้าขาว
      • ปวดศีรษะ
      • ตามัวลงหรือเห็นเป็นเส้นลอยไปมา
      • น้ำหนักลด
      • การติดเชื้อฉวยโอกาส 
      • เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย
      • หากเป็นผู้หญิงก็มีอาการตกขาวบ่อย
      • เพลียและเหนื่อยง่าย
      • บางคนมีผื่นตามตัว

      ท่านที่ติดเชื้อ HIV จะมีสุขภาพดีจะต้องทำอย่างไร

      ท่านที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีสุขภาพดีได้โดยจะต้องปฏิบัติตัวโดยเคร่งคัดดังนี้

      • ปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคนี้
      • ไปตามที่แพทย์นัด รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หากมีผลข้างเคียงของยาต้องปรึกษาแพทย์ห้ามหยุดยาเอง 
      • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม 
      • ให้หยุดสรุปบุหรี่
      • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
      • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
      • พักผ่อนให้เต็มที่
      • รู้จักผ่อนคลาย

      การดำเนินของโรค HIV 

      ผู้ป่วยบางคนที่ได้รับเชื้อ HIV และดำเนินไปสู่โรค AIDS เร็ว บางคนก็ดำเนินช้า ผู้ป่วยที่ดำเนินช้า (A slow progress) อาจจะเนื่องจากพันธุกรรม หรือได้รับเชื้อชนิดที่มีความรุนแรงน้อยซึ่งภูมิของร่างกายสามารถคุมเชื้อได้ และการปฏิบัติตัวที่ดี ส่วนผู้ที่การดำเนินของเชื้อเร็วอาจจะเนื่องจากได้รับสายพันธ์ที่มีความรุนแรงมาก เชื้อมีการแบ่งตัวมาก อายุมาก ติดยาเสพติด ติดสุรา

       

      การรักษา

      ตั้งแต่ได้รับเชื้อHIV จนกระทั่งเป็นAIDS ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่เชื้อกำลังทำลายร่างกายอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะมียารักษาโรคหรือป้องกันการไปสู่โรค AIDS หลายคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV จะไม่ยอมเจาะเลือดเพราะกลัวเจอเชื้อซึ่งยังไม่มีการรักษาแต่ปัจจุบันได้ค้นพบยาหลายชนิดซึ่งสามารถลดการแย่งตัวของเชื้อทำให้ป้องกันโรค AIDS ได้ หากว่ารู้ว่าติดเชื้อ HIV ตั้งแต่เริ่มแรกการให้ยาป้องกันโรค AIDS จะได้ผลดี

      การติดต่อของเชื้อ HIV 

      เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้หลายทางดังต่อไปนี้

      1.       ทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะไม่ได้ใส่ถุงยางคุมกำเนิดเมื่อร่วมเพศกับกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ(ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ไม่ทราบสถานะของคู่ขา ) ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศระหว่างชายหญิงหรือทางทวารหนัก หรือทางปาก หรือการใช้อุปกรณีทางเพศร่วมกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด เช่นถุงยางคุมกำเนิด การที่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เช่นหนองใน แผลริมอ่อน หรือการใช้ยาฆ่า sperm จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV  พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์

      2.       การใช้เข็มร่วมกันสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดท่านควรจะใช้เข็มครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่นโดยเฉพาะใช้ร่วมกันหลายคนและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับอักเสบ บี

      3.       เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ถูกเข็มตำ อัตราการติดเชื้อพบได้ 3/1000 ราย

      4.       ติดต่อโดยการให้เลือดที่มีเชื้อโรค ซึ่งปัจจุบันการตรวจเลือดและการคัดกรองการบริจาคทำให้ปัญหานี้ลดลง

      5.       การติดต่อจากแม่ไปลูก เด็กประมาณ1/4-1/3ของผู้หญิงที่ติดเชื้อ HIV ที่ไม่ได้รับการรักษาจะติดเชื้อ HIV แต่ถ้าหากแม่ได้รับการรักษาโอกาสติดเชื้อจะลดลงโดยเฉพาะหากผ่าตัดทางหน้าท้อง

       

       

       

       

      กิจกรรมที่ไม่ติดต่อ

      หลายท่านที่มีเพื่อนหรือญาติเป็นโรค AIDS กังวลจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจนำไปสู่การซึมเศร้าท่านไม่สามารถติดเชื้อจาก อากาศ อาหาร น้ำ ยุงหรือแมลงกัด ห้องน้ำ ช้อนส้อม ท่านสามารถช่วยผู้ป่วยใส่เสื้อผ้า ช่วยป้อนอาหารอาบน้ำโดยที่ไม่ติดเชื้อ กิจกรรมที่ดำเนินตามปกติมักจะไม่ติดต่อเช่น

      • การจับมือหรือการสัมผัสภายนอก
      • การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
      • การใช้ถ้วยชามร่วมกัน
      • สัมผัสกับเหงื่อหรือน้ำตาก็ไม่ติดต่อ
      •  การว่ายน้ำในสระเดียวกัน
      • การใช้โถส้วมเดียวกัน
      • ถูกแมลงหรือยุงกัด
      • การจูบกัน
      • การบริจาคเลือด

      ความสำคัญของการวินิจฉัย

      หลายคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ไม่กล้าเจาะเลือดเพราะเข้าใจผิดว่าไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ หากท่านรอจนกระทั้งเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสจึงรู้ว่าเป็นโรค aids โอกาสที่จะรักษาและป้องกันก็จะน้อยลง ดังนั้นท่านที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อ HIV เช่นใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น มีเพศสัมพันธ์กับคู่ขาหลายคนโดยที่ไม่ได้ป้องกัน รักร่วมเพศ จะต้องรีบตรวจหาเชื้อ หากผลเลือดให้ผลบวกจะได้รับยาที่ชลอการเกิดโรคAIDS และยาที่ลดการติดเชื้อฉวยโอกาสหากท่านไม่เจาะรอจนกระทั้งเป็น AIDS ภูมิของท่านรวมทั้งอวัยวะภายในจะถูกทำลาย 

       

       

       

       

       

      โรคติดเชื้อ HIV และระบบภูมิคุ้มกัน

      เมื่อเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV) เข้ากระแสเลือดเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน การทำลายภูมิอาจจะเร็วต่างกันในแต่ละคน บางคนทำลายเร็วไม่กี่ปีก็เป็นโรคเอดส์ แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 10 ปีจึงจะกลายเป็นโรคเอดส์ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงที่ควรทราบดังนี้

      • การเจาะเลือดหาปริมาณเชื้อ HIV ในเลือด (viral load )จะสามารถคาดการณ์ไดว่าเชื้อจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันเร็วแค่ไหน ถ้าเชื้อมีปริมาณมากจะทำลายภูมิของร่างกายเร็ว ยาต้านไวรัส HIV ที่ดีจะสามารถยับยังการแบ่งตัวของเชื้อทำให้หยุดยั้งการดำเนินของโรค
      • การเจาะเลือดหาเซลล์ CD-4 จะบ่งบอกสภาพภูมิของร่างกาย เซลล์ CD-4 ยิ่งต่ำภูมิยิ่งบกพร่องมากขึ้นเท่านั้น
      • หากไม่ได้รักษาเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันอย่างมากทำให้ร่างกายติดเชื้อฉวยโอกาส โดยเฉพาะปริมาณเซลล์ CD-4 น้อยกว่า 300 ถ้าหากต่ำกว่า 100 จะมีการติดเชื้อรุนแรง

      ใครควรที่จะต้องเจาะเลือดหาเชื้อHIV

      • ผู้ที่ได้รับเลือดและหรือน้ำเหลืองก่อนปี ค.ศ.1970-1980
      •  รักร่วมเพศ
      • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นโดยไม่ได้ป้องกัน
      • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HIV
      • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
      • ผู้ที่มีคู่ขาหลายคน
      • ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข่นซิฟิลิส หนองใน
      • ผู้ติดยาเสพติดเข้าเส้น
      • คนท้อง

      คนท้องกับโรคAIDS

      คนท้องทุกคนควรได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากผลเลือดบวกก็ควรจะได้รับยา antiretrovirals เพื่อป้องกันเชื้อถ่ายจากแม่ไปลูก และไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง

       

      การตรวจหาการติดเชื้อ

      เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิของโรค

      • เจาะเลือดตรวจหาภูมิโดยวิธี enzyme-linked immunoabsorbent assay (ELISA) ถ้าให้ผลบวกต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธีการ Western Blot แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้เร็วคือหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 6 เดือนจึงให้ผลบวก
      • การตรวจ HIV PCR เป็นการตรวจหาตัวเชื้อหลังจากสัมผัสโรคโดยที่ภูมิยังไม่ขึ้น

      การตรวจเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น|ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ใหม่ | การป้องการติดเชื้อ HIV | แนวทางการรักษา | การรักษา | การดูแลผู้ที่ติดเชื้อ HIV | การป้องกันติดเชื้อฉวยโอกาส | การฉีดวัคซีน
      1.บทนำ
      โรคเอดส์เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอช-ไอ-วี (HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus) ซึ่งจะโจมตีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดในร่างกายทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดีหรือถูกทำลายไปในที่สุด มีผลทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย บางโรคก็มียารักษา บางโรคก็ยังไม่มียารักษา รักษาโรคหนึ่งหายก็จะเป็นอีกโรคหนึ่ง ทำให้สุขภาพทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆจนเสียชีวิตในที่สุด ในปัจจุบันยังไม่มียาอะไรที่จะกำจัดเชื้อเอช-ไอ-วี ให้หมดไปจากร่ายกายได้ จะมีก็แต่ยาที่จะลดปริมาณเชื้อลงจน ถึงระดับที่จะไม่ไปทำอันตรายระบบภูมิต้านทานของร่างกาย แต่ยาราคาแพง และต้องกินไปเรื่อยๆ คนที่ไม่มีสตางค์จะซื้อยากินชีวิตก็จะสั้น ฟังดูแล้วโรคเอดส์ก็น่าจะเหมือนโรคเรื้อรังทั่วไปที่ต้องกินยารักษาไปเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคเอดส์ไม่ใช่เป็นโรคทาง กายอย่างเดียว แต่มีผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้ป่วยและครอบครัวมากกว่าโรคร้ายๆ อื่นๆ เช่นมะเร็งหลายเท่าตัว คนที่ติดเชื้อหรือครอบครัวของคนที่ติดเชื้อจะไม่กล้าเล่าให้คนอื่นฟังว่าตนเอง หรือญาติของตนเองติดเชื้อ เพราะกลัวคนอื่นจะรังเกียจหรือดูถูก นอกจากนี้โรคเอดส์ยังมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมทั้งในระดับครอบครัว และระดับประเทศ จนเป็นที่คาดกันว่าบางประเทศอาจล่มสลายเพราะโรคนี้
      ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำเรื่องโรคเอดส์มาพูดกันบ่อย ๆ เพื่อเตือนสติป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เพราะเป็นโรคที่ป้องกันได้ และเพื่อลดผลกระทบจากโรคเอดส์ในผู้ที่ติดเชื้อแล้วให้เบาบางลง

      2.ประวัติโรคเอดส์
      โรคเอดส์มีการรายงานเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2524 ในประเทศสหรัฐอเมริกา นับถึงปัจจุบันก็ได้ 20 ปีแล้ว โดยพบว่าชายรักร่วมเพศ(เกย์) และคนที่ฉีดยาเสพติดตามเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคติดเชื้อซึ่งโดยปกติแล้วจะพบในคนที่ภูมิต้านทานไม่ดีเช่น คนแก่ คนที่เป็นมะเร็ง หรือคนไข้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน จึงเรียกโรคที่พบใหม่นี้ว่าโรคภูมิต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์ (AIDS ย่อมากจากคำว่า Acquired= เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ใช่เป็นแต่กำเนิด, Immune= ภูมิคุ้มกัน, Deficiency= บกพร่องหรือเสียไป, Syndrome= กลุ่ม อาการหรือมีอาการได้หลาย ๆ อย่าง) ดังนั้นโรคเอดส์จึงเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องไปซึ่งไม่ได้เป็นมาโดย กำเนิดและจากการที่เกิดโรคเอดส์ขึ้นพร้อมๆ กันในคนเฉพาะกลุ่ม(เกย์ และคนที่ติดยาเสพติด) จึงทำให้สงสัยว่าโรคเอดส์น่าจะเป็นโรคติดต่อ โดยติดต่อแพร่กระจายในคนกลุ่มนั้น ๆ จึงมีความพยายามที่จะแยกหรือเพาะเลี้ยงเชื้อจากเลือด และสิ่งคัดหลั่งของผู้ที่เป็นโรคเอดส์ จน ในที่สุดในปีพ.ศ. 2526 ศาสตราจารย์โรเบิร์ต กาลโล (Robert Gallo) จากสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ลุค มอนทาเนียร์
      (Luc Montagnier) จากฝรั่งเศสก็สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ได้ เรียกชื่อไวรัสนี้ว่า เอช-ไอ-วี HIV=Human Immunodeficiency Virus หรือไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานบกพร่องในคน)
      ปัจจุบันพบว่าเชื้อเอช-ไอ-วี มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ กระจัดกระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่พบในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ B ซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเกย์ และคนที่ติดยาเสพติด กับสายพันธุ์ E หรือ A/E ซึ่งแพร่ระบาดในคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง สายพันธุ์ที่ต่างกันมีความสำคัญในการพัฒนาวัคซีนที่จะใช้กับกลุ่มคนหรือประเทศที่ต่างกัน และอาจมีความสำคัญในการทดสอบตรวจหาเชื้อ ซึ่งในบางกรณีอาจต้องใช้น้ำยาที่ใช้กับสายพันธุ์นั้นๆ โดยเฉพาะ
      สำหรับประวัติของโรคเอดส์ในประเทศไทยนั้น โรคเอดส์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี2527 และเริ่มพบคนไข้ที่อยู่ในประเทศ ไทยเองตั้งแต่ปี2528 โดยในช่วง 3-4 ปีแรก แพร่ระบาดส่วนใหญ่ในกลุ่มเกย์ ต่อมาปีพ.ศ. 2531 จึงเริ่มแพร่ระบาดในกลุ่มที่ติดยาเสพติด โดยการฉีด ปีถัดมาจึงเริ่มระบาดเข้าไปในกลุ่มหญิงบริการทางเพศ ในปี 2533 เริ่มพบว่าชายที่เที่ยวหญิงบริการและเป็นกามโรคมีการติดเชื้อเอดส์เพิ่มสูงขึ้น และตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา โรคเอดส์ก็แพร่เข้าไปในสถาบันครอบครัวเต็มรูปแบบ กล่าวคือสามีแพร่ให้ภรรยา ภรรยาตั้งครรภ์ก็ถ่ายทอดไปสู่ลูก เลยทำให้ระบาดไปเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วคล้ายไฟลามทุ่ง เพราะสังคมหรือสถาบันชาติประกอบด้วยสถาบันครอบครัวย่อยๆมารวมกัน

      3.ไวรัสเอดส์ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร ?
      ไวรัสเอดส์(HIV) มีสายพันธุกรรมหรือยีนส์เป็นอาร์-เอ็น-เอ (RNA) แทนที่จะเป็นดี-เอ็น-เอ(DNA) เหมือนกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงทั่วไป สายพันธุกรรมจะถูกอัดแน่นอยู่ในแกนกลาง ซึ่งจะถูกห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งด้วยเปลือกนอกซึ่งมีปุ่มยื่นออกมาภายนอก (รูปที่ 1 ปุ่มเหล่านี้ (ซึ่งมีชื่อว่า gp120) มีความสำคัญในการไปเกาะติดกับเซลส์ของร่างกายที่ไวรัสเอดส์จะบุกรุกเข้าไป เซลล์เหล่านี้จะมีโปรตีนพิเศษบนเซลล์ (เรียก CD4) ซึ่งพอเหมาะที่จะใ ห้gp120 ของไวรัสมาเกาะ เมื่อเกาะแล้ว ไวรัสเอดส์จึงจะเข้าสู่เซลล์ของร่ายกายได้ โดยถอดเปลือกนอกออก เอาแต่สายพันธุกรรมหรอือาร์-เอ็น-เอ ของไวรัสเข้าไปในเซลล์
      เมื่อเข้าไปภายในเซลล์ ไวรัสเอดส์จะสามารถเปลี่ยนสายพันธุกรรมของมันจาก อาร์-เอ็น-เอ ให้กลายเป็น ดี-เอ็น-เอ ซึ่งจะสามารถสอดแทรกเข้าไปในสายพันธุกรรมของเซลล์ร่างกายซึ่งเป็น ดี-เอ็น-เอได้ เมื่อสอดแทรกเข้าไปเรียบร้อยแล้ว เวลาเซลล์ของร่างกายแบ่งตัวก็จะมีสายพันธุกรรมชนิด ดี-เอ็น-เอของไวรัสแบ่งตัวตามเข้าไปอยู่ในเซลล์ใหม่ด้วย ทำให้ไวรัสเอดส์ถูกกำจัดให้หมดจากร่างกายได้ยาก
      ในขณะเดียวกันไวรัสเอดส์ในเซลล์ก็สามารถแบ่งตัวได้ด้วย โดยเปลี่ยนสายพันธุกรรมกลับมาเป็น อาร์-เอ็น-เอ และสร้างโปรตีนมาเป็นเปลือกห่อหุ้มตัวแล้วแตกตัวออกจากเซลล์ที่อาศัยอยู่เดิม ไปบุกรุกเซลล์อื่นต่อไป โดยเซลล์เดิมอาจถูกทำลายหรือตายได้
      เซลล์ของร่างกายคนที่สามารถถูกไวรัสเอดส์บุกรุกเข้าไปได้ส่วนใหญ่ จะเป็นเซลล์ที่มี CD4 อยู่บนผิวเซลล์ ที่สำคัญได้แก่เม็ดโลหิตขาวชนิดลิมโฟซัยท์(Lymphocyte) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก ที-ลิม-โฟ-ซัยท์ ซึ่งมีหน้าที่ถูกทำลายไปภูมิต้านทานของร่างกายก็จะเสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิต้านทานชนิดอาศัยเซลล์ ซึ่งใช้ต่อสู้หรือกำจัดจุลชีพง่ายๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และกำจัดเซลล์มะเร็งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากจุลชีพจำพวกฉกฉวยโอกาสเหล่านี้ได้ง่าย และเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่าย ซึ่งก็เป็นกลุ่มอาการของโรคเอดส์นั่นเอง นอกจากนี้ ไวรัสเอดส์ยังสามารถบุกรุกเข้าไปในเซลล์อื่นๆ เช่นเซลล์ที่เกี่ยวกับการรับรู้สิ่งแปลกปลอม เซลล์สมอง และเซลล์ของ เยื่อบุทางเดินอาหารเป็นต้น ผลลัพธ์คือทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเสียไป และมีอาการทางสมอง หรือทางเดินอาหารได้
      เนื่องจากไวรัสเอดส์พบส่วนใหญ่ในเม็ดโลหิตขาว ดังนั้นเลือดของผู้ป่วยจึงมีเชื้อเอดส์อยู่มากที่สุดรองลงมาเป็นน้ำกามของผู้ชาย และน้ำเมือกที่อยู่ในช่องคลอดของผู้หญิง โดยถ้ายิ่งมีเม็ดโลหิตขาวปะปนอยู่ในน้ำเหล่านี้มากก็ยิ่งมีไวรัสเอดส์อยู่มาก ส่วนน้ำลาย น้ำตา และสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ของผู้ป่วย ก็อาจพบมีไวรัสเอดส์ปะปนอยู่ได้บ้างแต่มีปริมาณน้อยมากๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณของเม็ดโลหิตขาวที่ปะปนอยู่ในสิ่งคัดหลั่งหรือในสิ่งขับถ่ายเหล่านี้ ดังนั้นเหงื่อน้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะของคนที่ติดเชื้อเอดส์จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นนอกจากจะมีเลือดปน

      4. อาการของโรคเอดส์
      คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์ หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกาย ไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไป ขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัส จำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกาย ถ้ามีการติดเชื้อ อาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
      ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
      ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดา
      ราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลย เพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือด หรือที่เรียก ว่าเลือดเอดส์บวก ซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้ว ร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody) เป็นเครื่องแสดงว่าเคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้ว แต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน 6 เดือน โดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยา และห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้น
      ผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้ โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็น
      เดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง(รูปที่ 2) ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม ่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์ โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
      ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
      เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก(รูปที่ 3), งูสวัด(รูปที่ 4), เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง(รูปที่ 5)
      จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
      ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
      เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อย ๆ และเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น แคโปซี่ ซาร์โคมา(Kaposi's sarcoma) และมะเร็งปากมดลูก
      การติดเชื้อฉกฉวยโอกาส หมายถึง การติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำ ไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลง เช่นจากการเป็นมะเร็ง หรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอด ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง(รูปที่ 6) ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม(รูปที่ 7) บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน
      นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น
      ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6 ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้10-20 ปี และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้

      5. จะทราบได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อเอดส์ ?
      การตรวจเลือดเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกว่ามีการติดเชื้อไวรัสเอดส์หรือไม หลักการของการตรวจเลือดเอดส์ก็คือการดูว่าในเลือดมีแอนติบอดีย์หรือภูมิคุ้นเคยที่ทำปฎิกิริยากับไวรัสเอดส์หรือไม่ ถ้ามีก็จะทำให้เปลี่ยนสีของน้ำยาที่ใช้ทดสอบในกรณีที่ชุดทดสอบนั้นใช้หลักการของอีไลซ่า (ELISA) หรือทำให้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติอื่นๆ แล้วแต่วิธีการของชุดทดสอบที่ใช้วิธีทดสอบบางชนิดอาจใช้เวลาเพียง 2 นาที ก็ทราบผลแล้ว นอกจากจะใช้เลือดในการทดสอบการติดเชื้อเอดส์แล้วยังสามารถใช้น้ำลายและปัสสาวะได้ด้วย ทำให้ไม่ต้องเจ็บตัว จากการเจาะเลือดและได้ความแม่นยำเกือบเท่าการใช้เลือดตรวจ การใช้น้ำลาย หรือปัสสาวะตรวจเอดส์แทนเลือดได้นั้น ไม่ได้แปลว่าน้ำลายหรือปัสสาวะแพร่เชื้อเอดส์ได้ เพราะเป็นการตรวจหาแอนติบอดีย์หรือภูมิคุ้นเคยที่อยู่ในน้ำลายหรือปัสสาวะไม่ได้ตรวจหาตัวไวรัสเอดส์เอง
      วิธีตรวจเลือดเอดส์หรือตรวจน้ำลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีความไวและความแม่นยำสูงมาก คือ มีความไวสูงถึง 99.8-100% กล่าวคือคนที่มีการติดเชื้อเอดส์ 1,000 คนอาจตรวจพบเลือดเอดส์บวก 998 คน ซึ่งก็นับว่าดีมาก ๆ แต่ยังมีอีก 2 คนใน 1,000 คนที่ยังอาจตรวจไม่พบในทำนองเดียวกัน คนที่ไม่มีการติดเชื้อเอดส์ 1,000 คนไปตรวจเลือด อาจพบว่า 998 คนจะมีเลือดเอดส์ลบ แสดงว่ามี ความแม่นยำหรือความจำเพาะถึง 99.8% แต่ก็ยังมีอีก 2 คนใน 1,000 คน ที่จะมีเลือดเอดส์บวกซึ่งจะมีผลกระทบทางด้านจิตใจและสังคมอย่างมากมาย จึงจำต้องทดสอบยืนยันให้แน่นอนเสียก่อน โดยอาจใช้ชุดทดสอบอีไลซ่าของอีกบริษัทหนึ่งหรือใช้วิธีทดสอบที่มีหลักการที่แตกต่างกัน เช่น วิธีพาร์ติ-เคิล แอ๊กกลูติเนชั่น เป็นต้นด้วยเหตุผลที่ว่าการทดสอบเอดส์อาจมีทั้งผลบวก และผลลบเทียมและมีผลกระทบมากมายต่อผู้ถูกทดสอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผลทดสอบออกมาเป็นบวก บางคนถึงกับฆ่าตัวตายเลยก็มี ดังนั้นจึงควรต้องมีการให้คำปรึกษาแนะนำที่ดีก่อนและหลังการทดสอบทุกครั้ง เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจเอดส์ และความหมายของการทีมีผลเลือดเอดส์เป็นลบหรือเป็นบวก เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาในอนาคต หรือไม่แพร่เชื้อเอดส์ให้ผู้อื่น
      การให้คำปรึกษาแนะนำ
      ก. การให้คำปรึกษาแนะนำก่อนการทดสอบเอดส์
      (1) จะต้องมีการอธิบายให้ผู้มาขอรับการทดสอบเข้าใจว่าการตรวจเลือดเอดส์นั้นเป็นอย่างไร เป็นการตรวจว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสโรคเอดส์หรือไม่ ไม่ได้บอกว่าเป็นโรคเอดส์แล้วเสมอไป และเวลานี้ก็คงจะยังมีไวรัสโรคเอดส์อยู่ในตัวซึ่งการที่เป็นโรคเอดส์แล้วชีวิตอาจจะสั้นแต่การที่ติดเชื้อเฉยๆอาจมีชีวิตอยู่ไปได้อีก 10-15 ปี แต่มีไวรัสเอดส์ในตัวซึ่งสามารถแพร่ไปสู่คนอื่นๆได้
      (2) จะต้องถามเหตุจูงใจหรือเหตุผลในการขอตรวจเอดส์ เพราะตัวเองไปมีพฤติกรรมเสี่ยงมา จึงอยากรู้ว่าเพลี่ยงพล้ำมีการติดเชื้อเอดส์หรือไม่ หรือว่าถูกนายจ้างบังคับให้ตรวจหรือมาตรวจ ๆ ตามคนอื่นหญิงบริการหลายคนเข้าใจว่า การตรวจเลือดเอดส์เป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
      (3) จะต้องถามว่าถ้ารู้ว่าผลเลือดเป็นลบเขาจะทำอะไร (ซึ่งหญิงบริการหลายคนตอบว่าจะได้ทำงานต่อไป) หรือถ้าผลเจาะเลือดเอดส์เป็นบวกเขาจะทำยังไง ถ้าตอบว่าเลือดเอดส์บวกจะได้ฆ่าตัวตายเช่นนี้ก็ต้องคุยกันนานหน่อยหรืออาจไม่เจาะตรวจให้เลยก็ได้ในขณะนั้น
      ข. การให้คำปรึกษาในกรณีที่ผลการทดสอบเป็นลบ
      (1) จะต้องอธิบายให้ผู้ที่ผ่านการตรวจเอดส์แล้ว ให้เข้าใจว่าแม้ผลจะเป็นลบ เขาก็ยังอาจมีการติดเชื้อเอดส์อยู่ในตัวซึ่งสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้เพราะ 2 คนใน 1,000 คน ที่ติดเชื้ออาจให้ผลเลือดเอดส์เป็นลบได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ายังเร็วเกินไปที่จะตรวจพบเนื่องจากยังอยู่ในระยะฟักตัวของการที่มีเลือดบวกคือช่วง 2-3 เดือนแรกภายหลังได้รับเชื้อเข้าไป หรืออาจเป็นเพราะว่าภูมิต้านทานของเขาไม่ดี จึงไม่สามารถสร้างแอนติบอดีย์หรือภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์ได้ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท จึงควรใส่ถุงยางอนามัยเวลาที่จะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและไม่ไปบริจาคเลือดให้กับผู้อื่น รออีก 3 เดือน จึงไปตรวจอีกครั้งให้มั่นใจ
      (2) การที่มีเลือดเอดส์ลบ ไม่ใช่เป็นหนังสือรับรองว่า เขาสามารถมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อไปได้เพราะปลอดภัยแล้ว ในทางกลับกัน การที่ผลตรวจเลือดเอดส์ยังเป็นลบอยู่ทั้งๆ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ควรถือเป็นศุภฤกษ์ที่ตัวเองจะเปลี่ยนหรือปรับพฤติกรรมเสี่ยงนั้นเสีย ให้ไม่เสี่ยงหรือเสี่ยงน้อยลง แทนที่จะเสี่ยงต่อไปเรื่อยๆ แล้วต้องใจหายใจคว่ำกับการตรวจเลือดแต่ละครั้ง ดังนั้นการที่ได้ผลเลือดเอดส์เป็นลบจึงเป็นโอกาสดีที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ ไม่ใช่สักแต่ส่งผลการตรวจเลือดออกไปเฉยๆ

      ค. การให้คำปรึกษาในกรณีที่ผลเลือดเอดส์เป็นบวกจริง
      (1) ห้ามบอกผลทางโทรศัพท์หรือทางไปรษณีย์
      (2) ควรให้มารับทราบผลการตรวจจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อจะได้ทราบพฤติกรรมเสี่ยง จะได้ตรวจร่างกาย และให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมทั้งจะได้เจาะเลือดตรวจเอดส์ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันการสลับหลอดเลือดกันหรือความผิดพลาดทางเทคนิคอื่นๆ
      (3) ในกรณีที่ยังไม่ทราบผลการทดสอบยืนยัน และมีความจำเป็นที่จะต้องให้คำปรึกษาแนะนำไปก่อนก็อธิบายให้เข้าใจว่าการทดสอบเอดส์อาจมีผลบวกเทียมได้ ให้รอคอยผลการทดสอบยืนยัน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเชิงไม่ไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่นไปพลางก่อน
      (4) ควรให้ผู้ติดเชื้อทราบว่าการมีเลือดเอดส์บวก ไม่ได้บอกว่าจะต้องเป็นโรคเอดส์เต็มขั้นหรือต้องตายเสมอไป จะมีเพียงบางคนเท่านั้นเองที่จะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงตายในที่สุด บางรายอาจไม่มีอาการอะไรเลยเกิน 10 ปีขึ้นไป และถึงตอนนั้นอาจมียาชงัด ๆ ออกมารักษาก็ได้จึงอย่าเพิ่งหมดกำลังใจ
      (5) ผู้ติดเชื้อควรเลิกพฤติกรรมเสี่ยง เพราะถ้าทำต่อ การได้รับเชื้อเอดส์และเชื้ออื่นๆเข้าไปอีก จะยิ่งทำให้ภูมิต้านทานเสื่อมลงไปมากขึ้น ไวรัสเอดส์อาจกำเริบขึ้นมา และทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
      (6) การที่มีเลือดเอดส์บวก ส่วนใหญ่จะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัว จึงสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ๆ เขาจึงควรระวังป้องกันไม่ให้เชื้อเอดส์ในเลือดหรือในสิ่งคัดหลั่งของเขาติดไปสู่คนอื่น เช่น ต้องใส่ถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศ ห้ามไปบริจาคเลือด และไม่ควรใช้ของมีคมร่วมกับคนอื่น เป็นต้น

      6. ประโยชน์ของการตรวจเอดส์
      การเจาะเลือดเอดส์มีประโยชน์ถ้าผู้ถูกเจาะมีความเข้าใจ และต้องการจะเจาะเองไม่ได้ถูกใครบังคับมา มีการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างดีทั้งก่อนและหลังการทดสอบผลการทดสอบถูกเก็บเป็นความลับสุดยอด โดยรู้เฉพาะผู้ตรวจและผู้ถูกตรวจ ผลการตรวจไม่ถูกนำมาใช้ในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ถูกตรวจ เช่นการจ้างงาน การรักษาพยาบาล และสุดท้ายจะต้องมีแหล่งส่งต่อให้ผู้ติดเชื้อไปเข้ารับการรักษาพยาบาลต่อไปได้ ไม่ใช่ว่าเจาะเจอแล้วเคว้งไม่รู้จะไปติดตามที่ไหนต่อ
      ถึงแม้จะเจาะเลือดแล้วพบว่าไม่ติดเอดส์ หลายคนสามารถเลิกพฤติกรรมเสี่ยงได้จากความรู้และคำปรึกษาแนะนำที่ได้รับก่อนและหลังการเจาะเลือด บางรายใช้คำว่า "เข็ดจนตาย!"
      ส่วนรายที่เจาะแล้วเอดส์บวก ก็ยังมีประโยชน์อยู่ เพราะจะได้ระมัดระวังป้องกันไม่ให้คนที่เป็นที่รักติดเชื้อเอดส์ตามตนได้ และทำให้ตนเองรู้ตัว ถ้ามีอาการผิดปกติขึ้นจะได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องโดยรวดเร็ว หรือถ้ามียาหรือวัคซีนใหม่ ๆ เข้ามาทดลองก็อาจไปอาสาทดลองได้ ซึ่งก็จะยังมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้การรู้ตัวแล้วสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงก็จะช่วยให้ตัวเองไม่รับเชื้ออื่น ๆ เพิ่มเข้าไป จะได้ไม่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นหรือตายเร็วตามที่กล่าวแล้ว

      7. "คลีนิคนิรนาม" คืออะไร ?
      คลินิกนิรนามในการตรวจเอดส์คือ สถานที่ที่ผู้ซึ่งอยากมีความรู้หรือมีข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคเอดส์สามารถไปขอความรู้ คำปรึกษาและขอรับการตรวจเอดส์ได้โดยไม่ต้องบอกชื่อและที่อยู่ ทางคลินิกจะใช้รหัสเลขที่แทนชื่อของผู้มาใช้บริการ เมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อเอดส์จะมีเฉพาะผู้มาใช้บริการเท่านั้นที่ทราบผล ไม่มีการรายงานผลการตรวจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือนายจ้างทราบ จึงมั่นใจได้ว่าความลับจะไม่ถูกเปิดเผย สาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งคลินิกนิรนามขึ้นก็เพราะมีคนหลายๆคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง แต่ไม่กล้าไปตรวจเอดส์ เพราะกลัวคนรู้จักหรือกลัวว่าถ้าตรวจเจอจะมีการรายงานชื่อตนไปที่เจ้าเหน้าที่ของรัฐซึ่งอาจส่งคนมาติดตามจนทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทั้งแก่ตนเอง และวงศ์ตระกูลได้ การกลัวความลับจะรั่วไหลทำให้ไม่กล้าไปเจาะทั้งๆ ที่ใจอยากจะรู้ ทำให้เกิดทุกข์ใจอย่างมากในบางราย บางรายก็แอบไปบริจาคเลือดเพราะรู้ว่าจะได้รับการตรวจเอดส์โดยอัตดนมัติ บริจาคมาแล้วก็มานั่งรอใจหายใจคว่ำว่าเมื่อไหร่จะได้รับจดหมายจากธนาคารเลือด ให้ไปตรวจเลือดซ้ำใหม่ เมื่อไม่ทราบผลเลือดก็คงดำเนินพฤติกรรมเสี่ยงแพร่เชื้อต่อไปเรื่อยๆ "การไปแอบบริจาคเลือด" ก็อาจเป็นภัยต่อผู้อื่นได้ เพราะเลือดขวดนั้นอาจยังตรวจไม่เจอว่าเลือดเอดส์บวกแต่มีเชื้อซึ่งแพร่ให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการรักษาความลับของคนไข้จึงมีคลินิกนิรนามขึ้น
      คลีนิคนิรนามของสภากาชาดไทย(โปรดสังเกตการสะกดชื่อ คำว่า "คลีนิค" ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะของคลินิกนิรนามของสภากาชาด ไทย) เป็นคลินิกนิรนามสมบูรณ์แบบคลินิกแรกที่ตั้งขึ้นในประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณสถานเสาวภา (กองวิทยาศาสตร์) ของสภากาชาดไทยบนมุมถนนอังรีดูนังกับพระราม 4 ใกล้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2534 เปิดทำการ ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 12.00-19.00 น. และวันเสาร์เวลา 9.00-12.00 น. เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ คลีนิคนิรนามของ สภากาชาดไทยให้บริการให้คำปรึกษาแนะนำ และตรวจเลือดเกี่ยวกับเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี และซิฟิลิส เพราะทั้ง 3 โรคมีวิธีการติดต่อคล้าย ๆ กัน ก่อนและหลังการตรวจทุกครั้งจะได้รับคำปรึกษาแนะนำอย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความชำนาญของสภากาชาดไทย และถ้าพบว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง จะมีบริการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป ผู้สนใจสามารถโทรศัพท์ไปสอบถามดูได้ก่อนที่เบอร์ 256-4109
      นอกจากนี้ ทุกวันศุกร์เช้า (8.30 - 11.30 น.) คลีนิคนิรนามของสภากาชาดไทยยังเปิดให้บริการตรวจวัดระดับ ซีดี-4 (CD 4) ซึ่งเป็นตัวชี้บ่งระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้กับผู้ติดเชื้อเอดส์แบบนิรนามด้วย เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำว่าระดับ ซีดี-4 ใดควรจะไปพบ แพทย์เพื่อรับยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนหรือยาต้านไวรัสเอดส์ ถ้าระดับ ซีดี-4 ยังดีอยู่ก็อาจรอดูก่อน อีก 4-6 เดือนค่อยมาตรวจซ้ำ ใหม่ การรู้จักดูแลตัวเองเช่นนี้จะทำให้สามารถรับการรักษาต่าง ๆได้แต่เนิ่น ๆ โดยไม่ต้องรอจนให้มีอาการ จึงไปพบแพทย์ ซึ่งอาจสายเกินไปที่จะรักษาให้ได้ผลก็เป็นได้และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา คลีนิคนิรนามของสภากาชาดไทยก็ยังได้เปิดบริการตรวจวัดปริมาณไวรัสเอดส์ในเลือด(Viral load) ให้กับผู้ติดเชื้อเอดส์ด้วย ค่าตรวจค่อนข้างแพง มีประโยชน์ในการติดตามผลของการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ และใช้ในการตัดสินใจเริ่มให้ยาต้านไวรัสเอดส์แก่คนที่มีระดับ ซีดี-4 สูงๆ ซึ่งยังไม่ต้องใช้ยา แต่ถ้ามีปริมาณไวรัสมาก ๆ อาจต้องเริ่มยาต้านไวรัสเอดส์

      8. โรคเอดส์รักษากันได้อย่างไร ?
      การรักษาโรคเอดส์แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน
      (1) การรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อน
      ได้แก่โรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสมะเร็ง และอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โรคหรืออาการบางอย่างก็มียารักษา บางอย่างก็ไม่มียารักษาหรือรักษาไม่หายขาด ในปัจจุบันมีการให้ยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนหลายอย่างๆ เมื่อระดับภูมิคุ้มกันลดลงมาถึงระดับหนึ่ง และก่อนที่จะเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นมาจริง ๆ เช่น การให้ยาป้องกันปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสตีส ยาป้องกันเชื้อราขึ้นสมอง และยาป้องกันวัณโรค เป็นต้น พบว่าสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปในบางกรณีแม้จะรักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนให้หายแล้วก็ตาม ก็ยังจะต้องให้ป้องกันไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำใหม่ เช่นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อนิวโมซีสตีส หรือเชื้อราในสมองเป็นต้น นอกจากนี้ มีการใช้ยาที่จะช่วยบรรเทาอาการแทรกซ้อนต่างๆของผู้ป่วยเอดส์ เช่นอาการคันตามตัวอาการท้องเสียเรื้อรัง และน้ำหนักลด เป็นต้น
      (2) การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์
      การรักษาที่มุ่งกำจัดไวรัสเอดส์ ในปัจจุบัน ยังไม่มียาที่ได้ผลแน่นอนในการฆ่าทำลายไวรัสเอดส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสที่หลบอยู่ในเซลล์ เม็ดโลหิตขาว จะมีก็แต่ยาที่ไปหยุดยั้งการแบ่งตัวของไวรัสเอดส์ เช่น
      - ยาไซโดวูดีน(Zidovudine, หรือ เอ-แซด-ที AZT), ไดดีอ๊อกซีไอโนซีน(dideoxyinosineหรือ ดี-ดี-ไอ ddI), ไดดีอ๊อกซีซัยติดีน(dideoxycytidine หรือ ดี-ดี-ซี,ddc) สตาวูดีน (stavudine หรือ ดี-โฟ-ที d4T), ลามิวูดีน (lamivudine หรือ ทรี-ที-ซี 3TC), และ อะ บาคาเวีย(abacavir), เนวิราปีน (nevirapine), เอฟฟาไวเรนส์ (efavirenz)
      - และยาในกลุ่มที่เรียกว่าโปรตีเอส อินฮิบิเตอร(Protease inhibitors) เช่น อินดินาเวีย(indinavir) เนลฟินาเวีย(nelfinavir) และโลปินาเวีย(lopinavir) ยาเหล่านี้สามารถยืดชีวิตคนไข ้เอดส์ออกไปได้ เป็นโรคติดเชื้อแทรกซ้อนน้อยลงน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับไปทำงานได้และแม้คนไข้ที่ยังไม่มีอาการแต่ระดับภูมิคุ้มกันเริ่มต่ำลงแล้วหรือแม้ระดับภูมิคุ้มกัน (ซีดี-4) จะยังไม่ต่ำ แต่มีปริมาณไวรัสในเลือดมาก การให้ยาต้านไวรัสเอดส์จะทำให้ภูมิคุ้มกันของเขาอยู่ในระดับดีได้นานๆติดเชื้อแทรกซ้อนช้าลงหรือน้อยลง ดังนั้นช่วงที่ผ่านมาจึงนิยมที่จะให้ยาต้าน ไวรัสเอดส์แก่ผู้ติดเชื้อตั้งแต่ระยะต้นๆ และให้ยา 3 ตัวพร้อมกันเพื่อให้มีฤทธิ์ในการลดปริมาณไวรัสเอดส์สูงสุด ขณะเดียวกันก็เพื่อลด โอกาสที่เชื้อเอดส์จะดื้อยาด้วย
      ปัญหาที่เกิดตามมาก็คือ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะต้องสูงขึ้น เพราะต้องใช้ยาหลายตัว และต้องใช้ยานานขึ้น กล่าวคือ ถ้าเริ่มใช้ก็ต้องใช้ไปตลอดชีวิตและมีคนที่ต้องใช้ยามากขึ้น เพราะเริ่มใช้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการ จึงเป็นการยากที่คนไข้หรือรัฐจะจัดซื้อยาให้ใช้ได้อย่างทั่วถึง ยิ่งในสภาวะเงินบาทลอยตัวอย่างในปัจจุบัน เพราะค่าใช้จ่ายในการให้ยา 3 ตัวพร้อมกันจะประมาณ 15,000-28,000ในคนที่ไม่มีเงินมากพอก็อาจกินยาร่วมกันเพียง 2 ตัว ซึ่งจะตกประมาณเดือนละ 4,000 -10,000 บาท แล้วแต่ตัวยาชนิดใด เป็นที่น่ายินดีว่าสภากา ชาดไทยได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของประเทศเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลียจัดตั้งศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทย -ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (เรียกชื่อย่อว่า "HIV-NAT") ขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2539 เพื่อทำการศึกษาวิจัยผลของ การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ 2-3 ตัว พร้อมกันในสูตรผสมต่างๆ กันในคนไทย ทำให้คนไทยเกือบหนึ่งพันคนได้รับยาดีๆ ฟรีเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบันมีผลงานเผยแพร่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
      เป็นที่น่ายินดีว่า ยาต้านเอดส์บางตัวได้มีราคาลดลงค่อนข้างมาก ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันของกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อในประเทศ ทำให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาต้านเอดส์บางตัวออกมาซึ่งราคาถูกกว่ายาต้นตำรับมาก ส่งผลให้บริษัทยาข้ามชาติต้องลดราคายาลงประมาณร้อยละ 40 เพื่อจะได้ขายแข่งกับยาขององค์การเภสัชกรรมทุกฝ่ายได้แต่คาดหวังกันว่า ยาทุกตัวจะมีราคาถูกลงในที่สุด กรมควบคุมโรคติดต่อเองก็ได้พยายามเจรจาขอลดราคายาต้านเอดส์กับบริษัทยาในกรณีสั่งซื้อคราวละมาก ๆ อีกทั้งองค์การเอดส์สหประชาชาติก็ได้พยายามช่วยเจรจากับบริษัทยาต่างๆ ให้ลดราคายาลง จึงหวังว่ายาต้านเอดส์ 3 ตัว น่าจะมีราคาลดลงเหลือเพียงไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ถึง ตอนนั้นก็หวังว่ารัฐบาลจะจัดงบซื้อยาต้านไวรัสให้ผู้ติดเชื้อทานมากขึ้น ไม่ใช่ยาราคาถูกลง คนไข้ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ยาอยู่ดี เพราะการที่เขามียาดีๆกินโอกาสที่จะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติและสังคมจะมีมากขึ้น เพราะจะไม่ป่วยและมีอายุยืนเหมือนคนทั่วไป สามารถทำงานรับใช้ชาติ ทำงานเสียภาษีให้รัฐ มีผลผลิตทำรายได้เข้าประเทศ รัฐเองก็ไม่ต้องเสียเงินในการรักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนไม่ต้องสร้างโรงพยาบาล vหรือผลิตหมอมากขึ้นไม่ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูบุตร หรือพ่อแม่ที่แก่เฒ่าของผู้ติดเชื้อ พูดง่าย ๆ คือจะมีกำไรเข้ากระเป๋าของรัฐมากกว่า ถ้ารัฐจัดหายาต้านไวรัสเอดส์ดี ๆให้คนไข้รับประทานคล้ายกับที่ประเทศรวยๆ อื่นๆ เขาสรุปกันไว้ก่อนแล้ว
      การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่ไปสู่ลูก
      เป็นที่ทราบกันมา 6-7 ปี แล้วว่ายาต้านไวรัสเอดส์สามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกได้ เช่นถ้าให้ เอ-แซด-ที อย่างเดียวแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ตั้งแต่ครรภ์ได้14 สัปดาห์ จนถึงเด็กคลอดออกมาและให้ยาแก่เด็กต่ออีก 6 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกลงได้ 2 ใน 3 กล่าวคือถ้าไม่ให้ยาอะไรเลย ลูกจะติดเอดส์จากแม่ประมาณร้อย 25 ถ้าแม่และลูกได้ยา เอ-แซด-ที ในกำหนดดังกล่าว พร้อมกับการงดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกจะติดเอดส์จากแม่เพียงร้อยละ 8 การให้ยาดังกล่าวไม่เป็นอันตราย และไม่เกิดผลเสียทั้งต่อแม่ และเด็ก จึงถือเป็นมาตรฐานทั่วโลกว่าถ้าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอดส์ และต้องการจะตั้งครรภ์ต่อไปควรให้โอกาสหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิ์ตัดสินใจในการรับยาต้านเอดส์และในการงดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อลดโอกาสทีลูกจะติดเอดส์จากแม่ ในประเทศที่ร่ำรวย แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต้านเอดส์ 2 หรือ 3 ตัวร่วมกัน เพื่อลดอัตราการถ่ายทอดเอดส์ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดเอาเด็กคลอดออกทางหน้าท้องด้วย ซึ่งจะยิ่งลดโอกาสการติดเชื้อเอดส์ลงไปอีกเพราะเด็กจะสัมผัสกับเลือดแม่น้อยลง
      ปัญหาหลักของการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกโดยการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์คือการที่จะรู้ได้ยังไงว่าใครติดเอดส์ ค่ายาที่จะใช้และค่านมผงที่จะใช้เลี้ยงทารก ส่วนประเด็นความคุ้มที่จะต้องมีเด็กกำพร้าพ่อแม่เพิ่มขึ้นไม่เป็นประเด็นอีกแล้วเพราะค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อจะแพงกว่าและไม่คุ้มค่าเท่ากับการเลี้ยงดูเด็กกำพร้า ซึ่งบางรายโตขึ้นอาจเป็นหมอ เป็นวิศวกร หรือเป็นนายกรัฐมนตรี การจะร ู้ว่าหญิงตั้งครรภ์คนใดติดเชื้อเอดส์ก็ต้องตรวจเลือดระหว่างไปฝากครรภ์ ซึ่งต้องเป็นการตรวจโดยสมัครใจ มีการให้คำปรึกษาแนะนำที่ถูก ต้องทั้งก่อนและหลังตรวจและต้องมีการรักษาความลับอย่างเคร่งครัด โรงพยาบาลบางแห่งแม้ในประเทศไทยเองก็อาจจะยังทำไม่ได้ครบเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวจนต้องมีองค์กรเอกชนบางกลุ่มออกมาเรียกร้องให้แพทย์ และโรงพยาบาลเคารพสิทธิของหญิงในการตรวจเลือด ในการรับยา และในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งแน่นอน ต้องเป็นสิทธิของพ่อและแม่ของเด็กในครรภ์ที่จะตัดสินใจหลังได้รับข้อมูลที่ถูกต้องทั้งด้านบวกและลบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมของพ่อ แม่ และทารกในครรภ์ แพทย์ไม่ควรไปบังคับหรือชักจูงการตัดสินใจของเขา
      ในประเทศยากจนแถบอัฟริกา การใช้นมผงเลี้ยงทารกมีปัญหาทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย ความสะอาดของน้ำและอุปกรณ์ที่จะนำมาผสมนมผงให้ทารกดื่มและการเสี่ยงต่อการถูกผู้อื่นรู้ว่าติดเชื้อเพราะคนอื่นๆ ต่างก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งนั้น ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงยังไม่กล้าแนะนำให้แม่ที่ติดเชื้อในอัฟริกาใช้นมผงเลี้ยงลูก เพราะกลัวว่าจะมีเด็กทารกเสียชีวิตจากการขาดสารอาหารหรือจากโรคติดเชื้อของทาง เดินอาหารจากการรับประทานนมสกปรกมากกว่าจะเสียชีวิตจากโรคเอดส์ จะใช้นมผงก็ต่อเมื่อครอบครัวมีเศรษฐกิจฐานะดี ดังนั้นเมื่อยัง ต้องให้นมแม่อยู่ ก็ทำให้ผลการใช้ยาต้านเอดส์ในการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกไม่สู้ดีนักเพราะเด็กจะยังได้รับเชื้อเอดส์จากน้ำนมแม่ ภายหลังคลอด เรื่องค่ายาต้านเอดส์ที่ต้องให้แม่ และลูกกินก็เป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศที่ยากจนเฉพาะ เอ-แซด-ที เดียวๆ ตามสูตรที่พิสูจน์ว่าได้ผลและใช้กันอยู่ในต่างประเทศก็จะตกประมาณ 10,000 บาท ยิ่งถ้าต้องให้ยาหลายตัวร่วมกัน ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นจึงมีผู้พยายามคิดหาสูตรยาอื่นๆ ที่ราคาอาจถูกลง หรือการให้ยาช่วงสั้นลงจะได้ประหยัด หลังจากใช้เวลาทดสอบอยู่หลายปีก็พอได้สูตรยาที่ประหยัดบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่า เอ-แซด-ที ที่ใช้กันอยู่เดิม สูตรประหยัดเหล่านี้อาจพอนำมาใช้กับประเทศที่ยากจนซึ่งก็จะยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ในช่วงปลายปี 2538 ขณะที่หลายๆฝ่ายกำลังรอผลการทดสอบสูตรยา เอ-แซด-ที ที่ประหยัดซึ่งกำลังทดสอบอยู่ในประเทศ ไทยและกว่าจะรู้ผลก็คาดว่าจะเป็นปี พ.ศ. 2541-2542 สภากาชาดไทยเห็นว่าในระหว่างที่รออยู่นั้น องค์กรการกุศล เช่น สภากาชาดไทย น่าจะทำอะไรได้ไปพลางๆ ก่อนในการลดจำนวนเด็กที่จะติดเชื้อเอดส์จากแม่ลงได้โดยการรณรงค์หาผู้บริจาค เพื่อซื้อยา เอ-แซด-ที ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่ยากจน จึงเป็นที่มาของโครงการบริจาคเพื่อช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกของสภากาชาดไทย ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงรับโครงการดังกล่าวไว้ในพระอุปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539 โครงการดังกล่าวได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์และยากจนจำนวนเกือบ 4,000 ราย จากทั่วประเทศได้รับยา เอ-แซด-ที เต็มสูตรจากโครงการบริจาค ฯ จนถึงสิ้นปี 2543 ปรากฏว่าได้ผลดีเท่ากับที่ต่างประเทศรายงานไว้ คือลดอัตราการติดเชื้อเอดส์ลงมาได้เหลือประมาณ 5% ซึ่งเท่ากับว่าช่วยชีวิตเด็กไว้ได้ประมาณ 600 รายจากแม่ที่ได้รับยาทั้งสิ้น 4,000 ราย ผู้สนใจจะร่วมทำบุญเพื่อไถ่ชีวิตเด็ก สามารถบริจาคมาได้ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยโทร 256-4107-9 หรือติดต่อบริจาคผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย" เลขที่บัญชี 045-2-00423-6 หรือบริจาคผ่านทางธนาณัติ สั่งจ่ายผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ณ ที่ทำการไปรษณีย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      (3) การรักษาที่มุ่งเสริมหรือกระตุ้นภูมิต้านทานที่เสียไป
      ในปัจจุบันมีการทดลองยาหลายตัวในกลุ่มนี้ เช่น อินเตอร์ลุยคินทู (IL-2) และวัคซีนโรคเอดส์ เป็นต้น เป็นที่คาดว่าถ้าให้ยาในกลุ่มนี้ร่วมไปกับยาต้านไวรัสเอดส์ น่าจะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
      (4) การรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วย
      ได้แก่การให้คำปรึกษาแนะนำ กำลังใจ การสงเคราะห์ด้านอาชีพ การรักษาเพื่อให้เลิกใช้ยาเสพติดตลอดจนถึงการให้การรักษาอาการทางจิตที่อาจเกิดขึ้นจากแรงกดดันหลายๆ ด้าน

      9. สถานการณ์ของโรคเอดส์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
      ตัวเลขของคนที่เป็นโรคเอดส์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกประเทศทั่วโลกตัวเลขล่าสุดจากโครงการเอดส์สหประชาชาติจนถึง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 พบมีผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับรายงานทั่วโลก 2,201,461 คน ส่วนตัวเลขล่าสุด ของกระทรวงสาธารณสุขไทยจนถึง 31 กรกฎาคม 2543 พบว่ามีผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับรายงานแล้ว 149,266 ราย โดยจำนวนผู้ป่วยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี
      2535 เป็นต้นมา
      (ดูตารางประกอบ)
      ตาราง : สถิติผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้นในประเทศไทย แยกตามรายปี ตั้งแต่ 2527 ถึง 31 กรกฎาคม 2543
      พ.ศ จำนวนผู้ป่วยเอดส์เต็มขึ้น รวม

      พ.ศ จำนวนผู้ป่วยเอดส์เต็มขึ้น รวม
      2527 - 2534 850 -
      2535 1,759 2,609
      2536 6,884  9,493 
      2537 13,799 23,292
      2538 20,488 43,780
      2539 24,324 68,104
      2540 26,312 94,416
      2541 26,280 120,696
      2542 21,698 142,394
      2543 (กรกฎาคม) 6,872  149,266

      ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขของผู้ป่วยเอดส์เฉพาะที่มีการรายงานเข้ากระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่ได้รายงานหรือแพทย์ยังวินิจฉัยไม่ได้คงมีอีก 2-3 เท่าตัว
      จากรายงานล่าสุดของโครงการโรคเอดส์สหประชาชาติ คาดประมาณว่าจนถึงสิ้นปี 2542 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์แล้วทั้งสิ้น 18.8 ล้านคน และยังมีชีวิตอยู่อีก 34.3 ล้านคน ซึ่งจะอยู่ในทวีปอัฟริกา 24.5 ล้านคน และอยู่ในทวีปเอเซีย 6.1 ล้านคน และเฉพาะ ในปี พ.ศ. 2542 ปีเดียว มีผู้ตายจากโรคเอดส์ 2.8 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อใหม่ 5.4 ล้านคนทั่วโลก
      ส่วนยอดจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ทั่วประเทศไทยจากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข 10 ปี ที่ผ่านมา ประมาณการได้ว่ามีผู้ติด เชื้อเอดส์ทั่วประเทศไทยที่ยังมีชีวิตอยู่ราว 1 ล้านคน เมื่อสิ้นปี 2542 การสำรวจล่าสุดพบว่ากลุ่มผู้ติดยาเสพติดจะพบติดเชื้อเอดส์ราวร้อย ละ 40 ซึ่งแนวโน้มสูงขึ้น หญิงบริการทางเพศติดเอดส์ร้อยละ 17 ซึ่งมีแนวโน้มต่ำลง ผู้ชายทั่วไปในวัย 20-50 ปี ติดเอดส์ร้อยละ 1
      และผู้หญิงทั่วไปในวัย 15-50 ปี ติดเอดส์ร้อยละ 2 ซึ่งประชากร 2 กลุ่มหลังเป็นประชากรส่วนใหญ่ของชาติที่น่าเป็นห่วง คืออัตราการติด เชื้อเอดส์ในหญิงมีครรภ์ทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง จนขณะนี้พบประมาณ ร้อยละ 2 ของหญิงที่มาฝากครรภ์ติดเชื้อเอดส์เรามีเด็กคลอดปีละล้านคนทั่วประเทศ หรือ 20,000 คน ที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ ในจำนวนนี้ราว 1ใน 3 หรือประมาณ 6,000 คน เด็กจะติดเอดส์จากแม่ โดยสรุป เวลานี้เอดส์เข้ามาถึงทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าคนนั้นจะไปมี พฤติกรรมเสี่ยงมาเอง เช่น สามีที่ชอบเที่ยว หรือไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงอะไร แต่เคราะห์ร้ายติดจากสามี แล้วเป็นผลทำให้ลูกในครรภ์ติดเชื้อตามไปโดยเด็กไม่รู้อิโหน่อิเหน่หรือไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธเลย

      ประมาณร้อยละ 5-6 ของผู้ติดเชื้อเอดส์จะมีอาการเอดส์เต็มขั้นเกิดขึ้นในแต่ละปีๆ ที่ผ่านไปหลังจากติดเชื้อเข้าไป ซึ่งเป็นที่มาของคำพูดที่ว่าระยะฟักตัวโดยเฉลี่ยของโรคเอดส์คือ 8-10 ปี กล่าวคือประมาณครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของคนที่ติดเชื้อจะมีอาการของโรคเอดส ์เต็มขึ้นเกิดขึ้นภายใน 8-10 ปี(5% ต่อปี x10 ปี = 50% หรือ 6% ต่อปี x8 ปี = 48% หรือเกือบ 50%) ดังนั้นด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศ 1,000,000 คนเมื่อสิ้นปี 2542 ทำให้คำนวณได้ว่าจะมีผู้ป่วยเอดส์ใหม่เกิดขึ้นปีละ 50,000-60,000 คน (5-6% ของ 1,000,000 คน)
      คนที่เป็นเอดส์เต็มขั้นขึ้นมาแล้วจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 2 ปี จึงเห็นได้ว่าเมื่อมีผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้นสะสมมากขึ้นก็จะมีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ตัวเลขจริงๆ ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์หาได้ค่อนข้างลำบาก เพราะญาติผู้เสียชีวิตหลาย ๆ คนไม่อยากให้ระบุว่าเสียชีวิตจากโรคเอดส์ เพราะเกรงจะทำให้ครอบครัวเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือไปเบิกค่ารักษาพยาบา หรือเบิกเงินประกันชีวิตไม่ได้นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจเสียชีวิตโดยยังไม่ทราบว่าเป็นเอดส์ จึงถูกระบุว่าเสียชีวิตจากโรคปอดหรือโรคทางเดินอาหารตามสาเหตุของการเสียชีวิต อย่างไรก็ตามจากการประเมินสาเหตุการตาย ในโรงพยาบาลบางแห่งอย่างละเอียด พบว่าเอดส์เป็นสาเหตุการตายที่นำหน้าโรค หัวใจ อุบัติเหตุและมะเร็ง ซึ่งเข้าได้กับสถานะการณ์จริงในหมู่บ้านที่คนหนุ่มคนสาวป่วยและตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผู้ประเมินกันว่าในแต่ละปีจะมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคเอดส์ประมาณ 30,000 - 40,000 คน จากที่ป่วยขึ้นมาใหม่ปีละ 50,000 -60,000 คน ซึ่งก็พอสมเหตุสมผลกัน แต่ที่น่าห่วงคือคนที่ตายล้วนเป็นคนหนุ่มคนสาวที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้

      10. โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร
      เพื่อให้เข้าใจและจำกันได้ง่ายๆ เชื้อโรคเอดส์ติดต่อกันได้ 2 ทางใหญ่ๆ คือ ทางเพศและทางเลือดทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์สำ ส่อนระหว่างชายกับชาย และชายกับหญิงจะมีโอกาสติดเชื้อโรคเอดส์ได้ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีเชื้ออยู่ในตัว เพราะเชื้อโรคเอดส์จะออกมากับน้ำกามของผู้ชาย และออกมากับน้ำเมือกในช่องคลอดของผู้หญิงที่เป็นโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในเม็ดโลหิตขาวที่ปะปนออกมากับน้ำกามและน้ำเมือก ดังนั้นถ้ายิ่งมีเลือดออก เช่น การร่วมเพศขณะมีประจำเดือนหรือขณะที่ประจำเดือนยังไม่หมดดีหรือถ้ามีบาดแผล เช่น การมีแผลกามโรคมีเลือด หรือ น้ำเหลืองไหลเยิ้มมาก็ยิ่งถ่ายทอดโรคให้คนอื่นได้ง่ายขึ้น หรือถ้าฝ่ายผู้รับเชื้อมีบาดแผลเช่นบาดแผลที่เกิดจากการฉีดขาดระหว่างการร่วมเพศ (เช่นการถูกร่วมเพศทางทวารหนักหรือการร่วมเพศที่รุนแรงเกินไป) หรือที่เกิดจากการที่มีแผลกามโรคอยู่เดิมก็จะยิ่งทำให้รับเชื้อเอดส์ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การรักษาแผลกามโรคและการใส่ถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศกับคนที่ไม่ใช่เป็นภรรยาหรือสามีของตนจึงเป็นทางหนึ่งที่จะป้องกันโรคเอดส์ได้
      อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์เพียงครั้งเดียวโดยไม่ได้ป้องกัน หรือโดยไม่มีบาดแผล ก็สามารถติดเอดส์ได้ และการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสมัครเล่น(ไม่ใช่หญิงบริการ) ก็สามารถติดเอดส์ได้เช่นเดียวกัน เพราะไม่ทราบว่าเขาไป "สมัครเล่น" กับคนอื่นอีกกี่คนก่อนมาถึงเรา !
      ทางเลือด หรือผลิตภัณฑ์ของเลือด
      - การรับเลือดที่มีเชื้อเอดส์เข้าไป เช่นโดยการถ่ายเลือด แต่เลือดที่ให้กันในบ้านเราในปัจจุบัน
      ได้รับการตรวจเอดส์อย่างดีแล้ว โอกาสติดเอดส์จึงมีน้อยมาก
      - การใช้เข็มฉีดยาที่เปื้อนเลือดของคนที่ติดเชื้อโรคเอดส์ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดโดยการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
      - การติดต่อจากแม่ไปสู่ลูก โดยผ่านรก หรือโดยการปนเปื้อนเลือดแม่ระหว่างคลอด เช่น เข้าทางรอยตัดของสายสะดือเด็กหรือโดยการกลืนกินเลือดหรือน้ำคร่ำของแม่เข้าไปในระหว่างคลอด ส่วนการติดต่อโดยผ่านทางน้ำนมก็เกิดจากมีเม็ดโลหิตขาวปะปนอยู่ในน้ำนมของแม่ที่ติดเชื้อ จึงอาจอนุโลมจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับการติดต่อทางเลือด
      - การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือการผสมเทียม ถ้าอวัยวะหรือน้ำอสุจิที่นำมาให้กับคนไข้มาจากคนที่มีเชื้อเอดส์อยู่ เนื่องจากมีการปนเปื้อนด้วยเลือดหรือเม็ดโลหิตขาวที่มีเชื้ออยู่
      - การถูกเข็มหรือของมีคมที่เปื้อนเลือดเอดส์ตำ เช่น การที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกเข็มที่เปื้อนเลือดตำ การใช้เข็มหรือเครื่องมือทางการแพทย์ไม่สะอาด การสัก การฝังเข็ม การเจาะรูตุ้มหู รวมตลอดจนถึงการเสริมสวยที่ใช้ของมีคม ซึ่งไม่สะอาด แต่โอกาสติดเอดส์ จากวิธีเหล่านี้มีน้อยมากคือ น้อยกว่า 0.5%
      ดังนั้น การที่รู้ว่าโรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร จะได้นำไปคิดและนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองติดเชื้อโรคเอดส์ หรือป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเอดส์จากตัวเองแพร่ไปสู่ผู้อื่นในกรณีที่ตัวเองติดเชื้ออยู่แล้ว

      11. โรคเอดส์ไม่ติดต่อกันทางใด ?
      ในปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่พอจะรู้แล้วว่าโรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไรและป้องกันได้อย่างไร แต่ที่ยังไม่ค่อยรู้ หรือรู้แล้วแต่ก็ไม่ค่อยมั่นใจหรือไม่ค่อยจะเชื่อก็คือวิธีที่จะไม่ติดเอดส์ ทำให้เกิดความกลัวไปต่างๆ นานา ดังนั้นแนวทางการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคเอดส์ในอนาคตจะต้องเน้นให้รู้อย่างถ่องแท้ว่าโรคเอดส์ไม่ติดต่อกันทางใด เพื่อจะช่วยลดความแตกตื่นหรือความกลัวอย่างไม่มีเหตุผลต่อโรคเอดส์ลง ซึ่งจะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น ไม่เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในสังคม ในที่ทำงานหรือในสถานพยาบาล และยอมรับในการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในบ้านเรา
      (1) โรคเอดส์ไม่ติดต่อกัน โดยผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก น้ำตา เสมหะ ปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่อ แม้ว่าอาจพบเชื้อโรคเอดส์ในน้ำคัดหลั่งเหล่านี้ได้ก็ตาม แต่ปริมาณเชื้อมีไม่มาก และโอกาสที่ผู้รับจะมีบาดแผลให้เชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายเลยมีน้อย โอกาสจะติดจึงยาก มีผู้ประเมินเล่นๆ ว่าการที่จะติดเชื้อเอดส์จากน้ำลายได้นั้นคงต้องกันน้ำลายกันทีละหลายสิบลิตรทีเดียว ! ดังนั้นการพูดจา การร่วมรับประ ทานอาหาร การทำงานใกล้ชิด การจับเนื้อต้องตัว การพยาบาล การใช้แก้วน้ำ การใช้ส้วมหรือสระว่ายน้ำร่วมกับคนที่ติดเชื้อโรคเอดส์จึงไม ่เป็นการเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ เพราะมิฉะนั้นแล้วคนรอบข้างของผู้ป่วยโรคเอดส์กว่าสองแสนคนทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คงจะมีการติดเชื้อเข้าไปแล้วล้านๆ คน ซึ่งหาเป็นเช่นนั้นไม่ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่คนรอบข้างของผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ก็เพราะไวรัสโรคเอดส์ง่ายต่อการถูกทำลายด้วยความร้อน ความแห้ง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ มากกว่าเชื้อวัณโรค เชื้อไวรัสตับอักเสบ และเชื้ออื่นๆ อีกหลายชนิด
      ช่วงปลายปี 2543 มีข่าวทางสื่อมวลชนว่า พบมีไวรัสตัวใหม่ ซึ่งติดต่อทางน้ำลาย ชื่อ HHV-8 (human herpes virus type 8) ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสเริมและงูสวัด ซึ่งติดต่อกันได้โดยน้ำลายและสิ่งคัดหลั่ง เมื่อไวรัสนี้เข้าไปในคนที่ติดเชื้อเอดส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นชายรักร่วมเพศ จะทำให้ผู้ติดเชื้อเอดส์คนนั้นมีโอกาสจะเกิดมะเร็งของผนังหลอดเลือดที่เรียกว่า แคโปซี ซาร์โคม่า ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรคเอดส์ได้ ไม่ได้แปลว่าไวรัสตัวนี้ หรือน้ำลายจะทำให้ติดเอดส์ได้ เพราะมีประชาชนหลายคนเริ่มตื่นกลัว
      (2) ยุงไม่นำโรคเอดส์ แม้ว่าจะพบเชื้อโรคในตัวยุงได้ถ้ายุงไปกัดคนที่เป็นเอดส์ แต่เชื้อโรคเอดส์ในตัวยุงไม่แบ่งตัว โดยจะอยู่ในตัวยุงได้ไม่กี่ชั่วโมงก็จะตายไป เลือดผู้ป่วยที่เปื้อนอยู่ที่ปากยุงก็มีไม่มาก และอาจถูกทำลายโดยน้ำย่อยที่อยู่ในน้ำลายยุง ดังนั้นจึงยังไม่พบมีการระบาดของโรคเอดส์ภายในบ้านหรือหมู่บ้านที่มีคนไข้โรคเอดส์อยู่และยุงมากในบ้านหรือหมู่บ้านนั้น มิฉะนั้นแล้วเด็กซึ่งมักถูกยุงกัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่จะต้องติดเชื้อโรคเอดส์ตามคนในบ้านไปมากมายแล้ว

      12. ประชาชนทั่วไปจะมีวิธีป้องกันโรคเอดส์ได้อย่างไร ?
      (1) ควรมีความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ว่าติดต่อกันได้อย่างไร และติดต่อไม่ได้อย่างไรและนำมาคิด นำมาปฎิบัติกับตัวเองเพื่อละเว้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ เนื่องจากโรคเอดส์เป็นโรคที่ป้องกันได้ สาเหตุที่ติดเชื้อโรคเอดส์ส่วนใหญ่เป็นเพราะทำตัวเองหรือพาตัวเองให้ไปรับเชื้อมา และจากสถานการณ์ในปัจจุบันทุกคนในสังคมเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์หมด ถ้าขาดความระมัดระวังตัวในการป้องกัน โรคเอดส์เป็นโรคที่ใกล้ตัวของทุก ๆ คน และการที่รู้ว่าโรคเอดส์ไม่ติดต่อ โดยวิธีใดจะช่วยลดความวิตกกังวลอันไม่จำเป็นเกี่ยวกับโรคเอดส์ลงไปอันจะนำไปสู่ความสงบเรียบร้อยของสังคม และสถานประกอบการ
      (2) สามีภรรยาที่แต่งงานกันแล้วนานๆ ต้องรักษาความรัก และความซื่อสัตย์ต่อกันและกันเหมือนตอนแต่งงานกันใหม่ ๆ ต้องรักษาชีวิตสมรสให้สดชื่นและตื่นเต้นตลอดเวลา ต้องหันหน้าคุยและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ ต้องมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวโดยไม่นำตัวเองไปรับเชื้อเอดส์ และไม่นำเชื้อเอดส์มาแพร่ให้คู่ครอง โดยถ้าเกิดพลั้งเผลอนอกใจต่อภรรยา ต้องกล้าบอกความจริงและต้องรับผิดชอบโดยใส่ถุงยางเวลานอนกับภรรยาจนกว่าจะตรวจแล้วไม่ติดเอดส์แน่นอน
      (3) พ่อแม่ควรอบรมสั่งสอนลูกชายไม่ให้ระรานผู้หญิง ควรให้เกียรติผู้หญิงการหลอกผู้หญิงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ การเที่ยวผู้หญิงเป็นสิ่งที่น่าละอาย การเป็นผู้ชายไม่ใช่จะต้องสูบบุหรี่ กินเหล้า เที่ยวผู้หญิง หรือมีแฟนมากๆ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอาจเกิดท้องขึ้นมา ติดกามโรคและติดเอดส์ ถ้าติดเอดส์ พ่อแม่จะเสียใจ
      (4) พ่อแม่ควรสอนลูกสาวให้รู้จักพฤติกรรมทางเพศของเด็กผู้ชาย รู้จักวิธีหลีกเลี่ยงการกระทำที่ "เปิดโอกาส" ให้กับเด็กผู้ชาย เช่น การไปไหนต่อไหนเพียงลำพังสองคน หรือการอยู่ในที่ลับตาคน การจับมือถือแขนและการพลอดรักซึ่งมักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ใน ท้ายที่สุด วิธีที่ลูกสาวจะปฏิเสธ(Say No) อย่างนุ่มนวลกับผู้ชาย อีกทั้งชี้ให้เห็นโทษของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานหรือในขณะที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมยังไม่พร้อม ประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกของผู้หญิงมักจะไม่ได้มีการเตรียมตัวป้องกันมาก่อน(เช่น การใช้ถุงยางอนามัย) จึงอาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ การติดเชื้อกามโรคและเชื้อเอดส์ เพราะไม่มีทางแน่ใจว่าแฟนของตนจะไม่ไปยุ่งกับคนอื่นมาก่อน และอาจมีเชื้อเอดส์อยู่ในตัวแล้วก็เป็นไปได้ ในปัจจุบัน ต้องแนะนำว่าชายหญิงที่รักกันต้องซื่อสัตย์ต่อกัน อย่าไปชักนำความตายหรือโรคเอดส์มาให้คนรัก และก่อนที่จะแต่งงานหรือร่วมเพศกัน ควรไปตรวจเอดส์ทั้งคู่อย่างน้อย 6เดือน ก่อนจะร่วมหอลงโรงกัน
      (5) พ่อแม่ในภาคเหนือของประเทศไทยต้องมีเจตคติใหม่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกสาว เพื่อหวังพึ่งพาลูกสาวให้กู้ฐานะของครอบครัว การขายลูกสาวเป็นพฤติกรรมที่น่าละอาย และเท่ากับเป็นการส่งลูกสาวไปตายด้วยโรคเอดส์ การเอาอย่างความฟุ้งเฟ้อของเพื่อนบ้านโดยเอาชีวิตลูกสาวเข้าไปแลกเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่ากัน ส่วนฝ่ายเด็กสาวก็ต้องปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดที่ว่า การไปขายตัวเป็นสิ่งที่ไม่ดีอาจประสบภยันตรายต่างๆ จนถึงแก่ชีวิต เรามีทางที่จะตอบแทนบุญคุณพ่อแม่อีกหลายๆ วิธีนอกเหนือจากการขายตัว
      (6) ต้องมีการสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้องในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เด็กวัยรุ่นก่อนอายุ13 -15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ โดยถ้าจะให้ได้ประโยชน์ครอบคลุมเยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ควรเริ่มสอนเพศศึกษาในชั้นประถม 5-6 ก่อนที่เด็กจะพ้น การศึกษาภาคบังคับ การสอนเพศศึกษาไม่ใช่การสอนเทคนิคการร่วมเพศ หรือสอนให้รู้จักตำแหน่งหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสืบ พันธุ์อย่างเดียว แต่จะสอนสิ่งอื่นๆ ร่วมไปด้วยตามวุฒิภาวะของเด็ก เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีป้องกัน ปรัชญาของการมีชีวิตคู่ ความต้องการทางเพศอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และการตอบสนองที่ถูกต้อง เป็นต้น ยังต้องมีการอบรมครูและพ่อแม่ให้มีความรู้ด้านเพศศึกษาที่จะสอน หรือให้ความรู้แก่ศิษย์และลูกหลานอย่างถูกต้องอีกมาก และจะต้องเลิกมัวแต่โต้แย้งกันว่าเป็นการชี้โพรงให้กระรอก เพราะถึงแม้เราไม่สอน ก็มีตัวอย่างเพื่อน สถานเริงรมย์ ภาพยนตร์ วีดีโอ และสิ่งพิมพ์ที่เด็กจะเรียนรู้และนำไปปฏิบัติแบบผิดๆ จึงควรที่ทุกฝ่ายจะ ต้องเร่งสอน ให้ความรู้และคำแนะนำอย่างถูกต้อง
      (7) เพื่อนจะต้องช่วยเตือนเพื่อนไม่ให้มั่วเพศและมั่วเข็ม ไม่ใช่กลับสนับสนุนหรือชักชวนกันไปกระทำสิ่งดังกล่าว หรือถือเป็นธุระไม่ใช่ เพื่อนที่ดีจะต้องเตือนสติเพื่อนแรงๆ เพราะเป็นห่วงชีวิตเพื่อน ต้องสร้างทัศนคติในสังคมว่าการเที่ยวผู้หญิง หรือการมั่วเพศกับคนนั้น คนนี้เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่ใช่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจและเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับไม่ได้
      (8) ประชาชนทุกคนทุกหมู่เหล่า จะต้องช่วยกันถ่ายทอดความรู้โรคเอดส์ไปสู่คนอื่นๆ ให้ทุกคนมีความตระหนักในสถานการณ์ และในความจำเป็นที่จะป้องกันตนเองและครอบครัวให้ปลอดจากโรคเอดส์ สร้างหรือร่วมกิจกรรมกลุ่มที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันก็มีความเข้าใจและเห็นใจผู้ติดเชื้อ ให้เขาอยู่กับครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุขเพราะโรคเอดส์ไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ผู้ติดเชื้อจึงไม่ได้เป็นอันตรายกับใครถ้าไม่ไปร่วมเพศหรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับเขา
      (9) ผู้ประกอบการทุกสาขาที่ทำงานซึ่งเกี่ยวกับการใช้ของมีคมเช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ช่างเสริมสวย ช่างตัดผมชาย คนที่รับจ้างสักหรือเจาะรูตุ้มหูควรมีมาตรการในการใช้ของมีคมให้สะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรคเอดส์ โดยถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อสัง คมร่วมกัน

      13. ทำไมคนไทยถึงยังติดเอดส์กันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ?
      คนที่ติดเอดส์กันส่วนใหญในขณะนี้ไม่ใช่เป็นคนที่ไม่มีความรู้ว่าโรคเอดส์เป็นอย่างไร น่ากลัวอย่างไรหรือป้องกันได้อย่างไร แต่ท ี่ยังติดเอดส์กันอยู่ในขณะนี้ก็เพราะขาดความตระหนักคิดไม่ถึงว่ามันใกล้ตัวขนาดนี้ หรือตัวเองจะโชคร้ายขนาดนี้ สิ่งเร้าก็มีเยอะ อีกทั้งเป็นสิ่งที่ลองแล้วเกิดความสนุก เพลิดเพลิน และตื่นเต้น
      ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน โรคเอดส์ในปัจจุบันจะต้องให้ในลักษณะที่จะนำไปสู่ความตระหนัก และการปรับเปลี่ยนพฤติการรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ โดยต้องชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์และความง่ายดายที่จะติดเชื้อถ้าเผลอเพียงครั้งเดียว พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าถ้าเกิดติดเชื้อขึ้นมาแล้วผลกระทบต่อตัวเองและต่อครอบครัวจะมีมากเพียงใด เมื่อมีความตระหนักจะได้เป็นแรงเหนี่ยวรั้งให้ยับยั้งชั่งใจไม่กระทำในสิ่งที่จะทำให้ติดเอดส์ขึ้นมา พร้อมกันนี้การให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในปัจจุบันจะต้องสอนกระบวนการตัดสินใจที่ถูกต้องสอนให้มีอำนาจหรือพลังในการต่อรอง ต้องรู้จักต่อรองเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงนั้น เช่น เพื่อนชวนไปเที่ยวผู้หญิง จะปฏิเสธอย่างไร หรือแฟนจะชวนไปร่วมเพศจะปฏิเสธอย่างไร หรือภรรยาจะปฏิเสธการร่วมเพศกับสามีโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยทั้ง ๆ ที่ทราบว่าสามีเพิ่งไปเที่ยว นอกบ้านมาหยกๆ ได้อย่างไร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดกันหรือสอนกันอีกทั้งสอนก็สอนยากเพราะเป็นเทคนิคของแต่ละบุคคล และแตกต่างกันตามสถานการณ์และสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีบางองค์กรที่เริ่มสอดแทรกทักษะการตัดสินใจและการต่อรองในหลักสูตรการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยมีการสอนแสดงเป็นกลุ่มย่อยและการฝึกปฏิบัติ หวังว่าเทคนิคดังกล่าวจะได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายต่อไป

      14. ทำไมสังคมจึงรังเกียจผู้ติดเชื้อเอดส์ ?
      การรังเกียจผู้ติดเชื้อเอดส์เป็นความรู้สึกที่แพร่หลายในทุกประเทศทั่วโลกมากบ้างน้อยบ้าง บางรายแม้ปากจะบอกว่าไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อเอดส์ แต่การกระทำและความรู้สึกในใจลึกๆ อาจมีความรู้สึกรังเกียจบ้าง สาเหตุที่รังเกียจในบ้านเราไม่ใช่เพราะพฤติกรรมอันไม่ถูกทำนองคลองธรรมของผู้ติดเชื้อเป็นเกย์หรือเป็นคนที่ติดยาเสพติด บ้านเราค่อนข้างยอมรับพฤติกรรมดังกล่าว แต่กระนั้นก็ตาม ถ้ามีญาติ
      หรือคนในครอบครัวเกิดติดเชื้อเอดส์ขึ้นมา คนในครอบครัวมักไม่อยากให้คนอื่นรู้เพราะไม่อยากให้พฤติกรรมดังกล่าวของญาติเป็นที่เปิดเผยออกไป ซึ่งรู้สึกว่าอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่วงศ์ตระกูลได้
      สาเหตุสำคัญของความรังเกียจคือความไม่รู้จริง กลัวว่าคนที่ติดเชื้อเอดส์อาจแพร่เชื้อมาสู่ตัวได้จากการอยู่ร่วมกันในครอบครัว หรือจากการทำงานร่วมกันหรือจากการไปมาหาสู่กัน โดยกลัวว่าเชื้อเอดส์จะมากับน้ำลาย ห้องน้ำห้องส้วม ยุง หรือจากการสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยซึ่งเปรอะเปื้อนอยู่ตามที่ต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กลัวนี้ ล้วนเป็นวิธีการที่ไม่ทำให้ใครติดเอดส์ ดังนั้น เมื่อมีความรู้มากขึ้น รู้จริง ไม่คิดว่าแพทย์ปิดบังความจริง ก็จะสามารถทำให้อยู่ร่วมสังคมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ได้ดีขึ้น เพราะถ้าขืนกลัวอยู่อีกไม่ช้าไม่นานคงเป็น โรคจิตแน่เพราะคนติดเชื้อเอดส์มีอยู่ทั่วไป ที่รู้ก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ไม่รู้มีมากอีกหลายเท่าตัวและอีกไม่ช้าไม่นาน อาจมีเพื่อนหรือญาติสนิทติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาก็ได้ จะรังเกียจได้อย่างไร ?

      15. การบังคับตรวจเอดส์ ?
      ในปัจจุบันยังมีการบังคับหรือกึ่งบังคับตรวจเอดส์กันในการสมัครงาน การตรวจเช็คร่างกายประจำปีของที่ทำงานต่างๆ การประ กันชีวิต การสมัครเรียน การไปต่างประเทศ การตรวจรักษาหรือการผ่าตัดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ พูดถึงการบังคับตรวจเอดส์ในสถานประกอบการ ในแง่ของผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ แน่นอนเขาย่อมอยากได้คนที่ดีที่สุดและมีสุขภาพแข็งแรงเข้าทำงานจะได้ทำงานให้เขาได้เต็มที่ ลดความสูญเปล่าในการฝึกอบรมหรือพัฒนาบุคลากรอีกทั้งยังไม่ต้องเป็นภาระในการรักษาพยาบาลเมื่อผู้นั้นเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา แต่ผู้ติด เชื้อหลายคนร้องขอว่าจะตรวจเอดส์ตอนสมัครงานก็ได้ แต่ขอทำงานแม้จะตรวจพบโดยจะขอเซ็นสัญญาว่าหากป่วยขึ้นมาจะไม่ขอรบกวนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทและถ้าป่วยจนทำงานไม่ไหวก็จะขอลาออก โดยที่บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินสวัสดิการเป็นก้อนให้เขา ขอเพียงแต่ให้เขา ได้ใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาได้ทำงานในช่วงที่สุขภาพยังแข็งแรงอยู่ก็พอใจแล้ว แสดงให้เห็นถึงจิตใจอันมุ่งมั่นของเขาเหล่านั้นที่ไม่ต้องการเอาเปรียบสังคม เพียงขอให้สังคมเข้าใจและให้โอกาสเขาก็พอแล้ว
      รัฐมีนโยบายเด่นชัดห้ามไม่ให้หน่วยราชการหรือบริษัทห้างร้านตรวจเลือดเอดส์ผู้มาสมัครงานหรือไล่คนที่ติดเชื้อเอดส์ออกจาก งาน แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนตรวจเอดส์ผู้มาสมัครงานและตรวจเอดส์ในพนักงานของตัวเองอยู่ ไม่มีกฎหมายอะไรที่จะมาบังคับให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐได้ จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?
      บริษัทเอกชนมักจะโยนภาระนี้ให้กับรัฐ ยังไม่เคยมีใครจัดเวทีให้มีการจับเข่าคุยกันระหว่างผู้บริหารของประเทศกับผู้บริหารของบริษัทเอกชนรายใหญ่ๆ ในประเทศไทยว่าปัญหาดังกล่าวจะร่วมแก้ไขกันอย่างไร ถ้าทุกคนทุกแห่งตรวจเอดส์กันหมด ตรวจพบก็ให้ออกจากงานจะมีคนที่ต้องตกงาน 1 ล้านคน คนที่จะต้องลำบากซึ่งรวมถึงภรรยาเขา ลูกเขา พ่อแม่เขา รวมกันแล้วคงหลายล้านคนมีรัฐบาลไหนสามารถหางานให้คนเกือบล้านคนทำได้พร้อม ๆ กันหรือไม่ ? ถ้าไม่ได้ ถ้าคนเหล่านี้เกิดออกมาขอทานกลางถนน หรือเกิดอดตายขึ้นมาริมถนน หรือเกิดเป็นโจรปล้นขึ้นมา รัฐบาลอยู่ได้หรือไม่ ? ถ้ารัฐบาลอยู่ไม่ได้ เอกชนอยู่ได้หรือไม่ ? ถ้าอยู่ไม่ได้ควรที่เอกชนจะช่วยรัฐแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?
      ถ้าวิเคราะห์หรือคุยกันด้วยเหตุและผลแล้ว เชื่อว่าส่วนใหญ่จะเข้าใจ และยอมรับว่าภาระของผู้ติดเชื้อเอดส์เป็นภาระที่ทุกฝ่ายจะ ต้องร่วมกันแก้ ไม่สามารถผลักภาระให้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียวได้ ดังนั้น เอกชนก็ต้องรับภาระผู้ติดเชื้อเอดส์ส่วนหนึ่งไปทำงาน อาจต้องเฉลี่ยกันไปตามสัดส่วนของพนักงานเช่น อาจต้องกำหนดว่าร้อยละ 2 ของพนักงานจะต้องเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ และสุดท้ายไหนๆ จะต้องรับผู้ติดเชื้อเอดส์เข้าทำงานแล้ว ความจำเป็นที่จะต้องไปตรวจผู้มาสมัครงานใหม่หรือพนักงานเก่าก็จะหมดไป เอาค่าใช้จ่ายส่วนนั้นมาให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่พนักงาน เพื่อไม่ให้พนักงานติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้น จะเกิดประโยชน์ต่อบริษัทในระยะยาวมากกว่า
      แนวคิดดังกล่าวยังไม่เคยมีใครเอามาทำกันอย่างจริงจัง ถ้าจะให้เกิดผลต้องทำกันทั้งประเทศตั้งแต่รัฐและบริษัทเอกชนใหญ่ๆ ลง ไปจนถึงบริษัทเล็กๆ ให้เกิดเป็นความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ทุกฝ่ายจะต้องยอมรับ ไม่ใช่บริษัทใดจะทำตามนโยบายของรัฐได้ก็ทำไปถ้าทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ต่อไปถ้ามีบริษัทใดจะทำตามนโยบายของรัฐได้ก็ทำไป ถ้าทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ต่อไปถ้ามีบริษัทใดไม่ทำตาม สัญญาประชาคมดังกล่าว ก็ต้องจัดการให้มีการลงฑัณฑ์โดยประชาคม(Social punishment) โดยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบังคับใช้ จะมีผู้นำของประเทศคนใดที่มีความกล้าหาญ หรือมีเวลามากพอที่จะมาจัดการปัญหานี้อย่างจริงจังหรือไม่ ? หรือยังคิดว่าเป็นปัญหาเล็ก และมี ปัญหาเร่งด่วนอื่นที่สำคัญกว่า ?

      16. ข้อแนะนำสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์
      (1) ควรบอกภรรยา สาม หรือคู่นอนให้ทราบเพื่อที่คู่นอนจะได้ไปตรวจดูว่าตัวเองติดเอดส์ด้วยหรือไม่ โชคดีเขาอาจจะยังไม ่ติด จะได้หาทางป้องกันไม่ให้เขาติดขึ้นมาโดยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่ร่วมเพศ การที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อแล้วไม่กล้าบอกคู่นอนของตัวเองด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ และยังคงมีเพศสัมพันธ์ต่อไปโดยไม่ได้ป้องกัน โดยคิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งคงต้องติดด้วยแล้วแน่นอน ถือว่าเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ และจงใจฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
      (2) ถ้ายังไม่มีอาการอะไรก็สามารถทำงานได้ตามปกติ ยกเว้นการขายบริการทางเพศนอกจากจะทำให้ลูกค้าทุกคนใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง
      (3) คนที่เพิ่งตรวจพบว่าตัวเองติดเชื้อเอดส์ ควรรีบไปพบแพทย์สักครั้งแม้จะยังไม่มีอาการอะไรก็ตาม เพื่อที่แพทย์จะได้ซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อประกอบการแนะนำที่ถูกต้องต่อไปเพราะมีลักษณะของโรคบางอย่างที่ผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการอะไรเลยหรืออาจเข้าใจว่าไม่ใช่อาการสำคัญอะไร
      (4) ผู้ที่ตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอตรวจระดับภูมิคุ้มกัน หรือซีดี-4(CD4)สักครั้งหนึ่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ว่า ผู้ติดเชื้อควรได้ยาต้านเอดส์ หรือยาป้องกันโรคติดเชื้อแทรกซ้อนแล้วหรือยัง เพราะหลายๆ คนอาจไม่มีอาการอะไร เลย แต่มีระดับ ซีดี-4 ต่ำมากๆ ถ้าตรวจครั้งแรก ระดับซีดี-4 ยังดีอยู่ ก็ควรตรวจซ้ำใหม่ในอีก 4-6 เดือน โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศไทยสามารถตรวจซีดี-4 ได้ โรงพยาบาลอื่น ๆ ก็สามารถส่งเลือดผู้ป่วยไปขอตรวจซีดี-4 ที่โรงพยาบาลศูนย์ได้ หรืออาจมาใช้บริการที่คลีนิคนิรนามของสภาภาชาดไทย ทุกวันศุกร์เช้าเพื่อตรวจซีดี-4 ก็ได้
      (5) ถ้ามีอาการไม่สบายอะไร ไม่ว่าจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคเอดส์ก็ตาม ควรไปปรึกษาแพทย์ทันทีและบอกให้แพทย์ทราบถึงสภาวะของการติดเชื้อโรคเอดส์ของตัวเอง เพื่อที่แพทย์จะได้เริ่มให้การบำบัดรักษาโดยไม่เสียเวลา แต่บางครั้งการบอกความ จริงเช่นนี้อาจกลับทำให้ตัวเองถูกปฏิเสธการรักษาจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ กรณีเช่นนี้ให้ไปหาสถานบำบัดรักษาอื่นที่มีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้ที่ติดเชื้อโรคเอดส์โดยเฉพาะ
      (6) ห้ามบริจาคเลือด อวัยวะ หรือเชื้ออสุจิให้แก่ผู้อื่น
      (7) ใส่ถุงยางอนามัยหรือให้คู่นอนใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีการร่วมเพศแม้ว่าคู่นอนจะติดเชื้อด้วยแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแลกเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมเชื้อเอดส์แก่กันและกัน และเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วย
      (8) สามารถกินอยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวได้ โดยไม่จำเป็นต้องแยกห้องนอน แยกห้องน้ำห้องส้วม หรือแยกสำรับกับข้าวของตนเอง อย่างดีก็ใช้ช้อนกลางก็เพียงพอแล้ว ขบวนการซักล้างเสื้อผ้าหรือทำความสะอาดเครื่องกิน เครื่องใช้ที่ทำอยู่ตามปกติสามารถฆ่าเชื้อโรคเอดส์ได้แล้ว
      (9) ควรมีแปรงสีฟัน หวี และมีดโกนของตัวเองแยกจากผู้อื่น
      (10) ไม่ควรให้เลือด หรือน้ำเหลืองของตนเปรอะเปื้อนตามที่ต่างๆ อันอาจทำให้ผู้อื่นที่มีบาดแผลรับเชื้อเข้าไปได้
      (11) แม่ที่ติดเชื้อเอดส์ไม่ควรตั้งครรภ์ ถ้าเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อพิจารณาการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ เช่น เอ-แซด-ที ในการช่วยลดโอกาสการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก ถ้ามีปัญหาเรื่องค่ายาก็สามารถขอรับยาฟรีได้จากกระทรวงสาธารณสุข หรือสภากาชาดไทย แต่ถ้าคู่สามีภรรยาและสภาพครอบครัวไม่พร้อมที่จะมีลูก ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอยุติการตั้งครรภ์ได้ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความสมัครใจของคู่สามีภรรยาเอง
      (12) แม่ที่ติดเชื้อเอดส์เมื่อคลอดบุตรออกมาแล้วสามารถเลี้ยงดูบุตรได้ แต่ไม่ควรให้นมบุตร เพราะบุตรอาจได้รับเชื้อทางน้ำนมได้
      (13) ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ไม่จำเป็นต้องบอกให้นายจ้าง ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานทราบ ถ้าการบอกนั้นจะนำไปสู่ปัญหายุ่งยากตามมา ตราบเท่าที่งานการของเขาจะไม่ทำให้ผู้ร่วมงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ไม่จำเป็นต้องบอกให้สมาชิกอื่นในครอบครัวที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาทราบ และหากการบอกนั้นจะก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในครอบครัว อาจขอให้แพทย์ หรือนักจิตวิทยาที่รู้เรื่องของตนดีร่วมในการบอกความจริง อาจช่วยให้สถานการณ์ผ่อนจากหนักเป็นเบาได้
      (14) ควรเลิกพฤติกรรมเสี่ยงเดิม เพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่นและเพื่อจะได้ไม่รับเชื้อเอดส์และเชื้ออื่นๆ เพิ่มเข้าไปอีก มิฉะนั้นแล้วอาจนำไปสู่การเร่งให้เกิดโรคเอดส์เต็มขั้นเร็วขึ้นก็ได้ มีผู้ติดยาเสพติดหลายคนสามารถหยุดพฤติกรรมเสี่ยงได้ด้วยเหตุผลข้อนี้
      (15) พักผ่อนให้พอ ทำจิตใจให้สบาย จะช่วยให้สุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย
      (16) ออกกำลังแต่พอควรเท่าที่สุขภาพจะอำนวย ร่างกายจะได้แข็งแรง
      (17) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากๆ ให้ได้สารอาหารครบ แม้จะเบื่ออาหารบ้างก็ต้องพยายามฝืนทานให้มากๆ อะไรที่ชอบ หรือหรืออะไรที่ทานได้ก็พยายามทานให้มากและทานให้บ่อย และควรงดรับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ
      (18) งดเว้นสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ เพราะจะทำให้สุขภาพทรุดโทรม และภูมิคุ้มกันถดถอย
      (19) ไม่ควรมีสัตว์เลี้ยงประเภทนก หรือแมว เพราะอาจติดเชื้อรา หรือเชื้อพยาธิในสิ่งปฏิกูลของสัตว์เหล่านี้ได้


      17. ถ้ามีคนในบ้านหรือคนที่ทำงานติดเอดส์เราควรทำอย่างไร ?
      ต้องเริ่มต้นด้วยการบอกว่า เราไม่มีสิทธิ์ไปสอดรู้สอดเห็นว่าใครในบ้านหรือใครในที่ทำงานเราติดเอดส์ เพราะแม้เขาจะติดเอดส์ เขาก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเรา นอกจากจะไปร่วมเพศกับเขา หรือไปใช้เข็มฉีดยา หรือของมีคมร่วมกับเขาขณะเดียวกันคนที่ติดเชื้อเอดส์เองก็อยากเก็บเป็นความลับ ไม่อยากเปิดเผยให้ใครทราบ แต่ถ้าเกิดรู้ขึ้นมาแล้วว่ามีใครคนหนึ่งคนใดที่เรารู้จักติดเอดส์ สิ่งพึงปฏิบัติคือ
      (1)ทำเป็นว่าเราไม่รู้เรื่องนอกจากเขาจะเอ่ยขึ้นก่อนหรือบอกเราเองเพราะเชื่อใจในตัวเราหรือต้องการคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือ จากเรา
      (2) ไม่ควรไปรื้อฟื้นหาตะเข็บว่าใครเป็นฝ่ายผิด หรือไปติดเชื้อมาได้อย่างไรควรให้อภัยในข้อผิดพลาดซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
      (3) ให้กำลังใจผู้ติดเชื้อว่าทุกคนยังรักเขาอยู่ เข้าใจ ไม่ทอดทิ้ง ยินดีที่จะช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้และให้ความหวังว่า อาจมียา หรือวัคซีนออกมายืดชีวิตเขาออกไปได้นานๆ
      (4) ไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อ ปฏิบัติหรือคบหาสมาคมกับเขาเหมือนเดิม เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน การไปเที่ยวด้วยกัน การนอนห้องเดียวกันและใช้ส้วมเดียวกันเป็นต้น
      (5) ช่วยปรนนิบัติและพยาบาลผู้ติดเชื้อที่ป่วยจนไม่สามารถจะช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น ช่วยจัดยา เช็ดตัว หุงหาอาหาร ทำความสะอาดบ้าน หรือพาไปพบแพทย์เป็นต้น
      (6) ไม่ร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อโดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยและไม่ใช้ของมีคนร่วมกับผู้ติดเชื้อ
      (7) ช่วยอุปถัมภ์เลี้ยงดูบุตรของผู้ติดเชื้อเมื่อผู้ติดเชื้อล้มป่วยจนไม่สามารถจะเลี้ยงดูลูกได้ หรือหลังจากที่ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตลง แล้ว และเด็กกำพร้าทั้งพ่อและแม่

      18. การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์ที่บ้านและชุมชนเป็นอย่างไร ?
      ในปัจจุบันร้อยละ 20-50 ของเตียงด้านอายุรกรรม ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั่วประเทศ จะถูกครองโดยผู้ป่วยเอดส์ ทำให้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ หรือผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ๆ ขาดโอกาสที่จะเข้าไปนอนในโรงพยาบาล จึงทำให้ต้องพยายามหาวิธีที่จะให้ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลออกจากโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ภายหลังจากได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจนอาการดีขึ้นถึงระดับหนึ่ง แล้วให้มารับการรับการรักษาต่อที่ โรงพยาบาลแบบเช้าไป-เย็นกลับ หรือให้ญาติพี่น้องช่วยดูแลต่อที่บ้าน การดูแลที่บ้านอาจต้องมีการจัดยาให้ผู้ป่วยตามที่แพทย์สั่ง การทำ แผล การเช็ดตัว การให้กำลังใจ และการให้การสงเคราะห์ในแง่ต่างๆ นอกจากนี้ ครอบครัวยังต้องมีความสามารถที่จะวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนง่าย ๆได้และให้การรักษาได้ พร้อมทั้งรู้ว่าอาการใดเป็นมาก จะต้องรีบพาไปพบแพทย์ ทั้งนี้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์และภาระของโรงพยาบาล ให้ดูแลเฉพาะรายที่หนักจริงๆ
      การที่จะให้สมาชิกครอบครัวสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านแทนแพทย์และพยาบาลได้ จะต้องมีการอบรมและให้ความรู้แก่ครอบครัวและตัวผู้ป่วยเอง บางครั้งครอบครัวนั้นอาจไม่มีคนที่ดูแลผู้ป่วย
      เป็น (อบรมไม่ขึ้น) หรือไม่มีคนที่อยู่บ้านกับผู้ป่วยเพราะต้องออกไปทำงานกันหมด ก็ต้องอาศัยเพื่อน
      หรือเพื่อนบ้านของผู้ป่วยหรือบางครั้งต้องอาศัยอาสาสมัครในชุมชน ซึ่งก็ต้องนำมาฝึกอบรมเช่นกัน
      สภากาชาดไทยได้ทำหลักสูตร และผลิตคู่มือการอบรมการดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน พร้อมวีดีทัศน์
      ประกอบสำหรับใช้สอนญาติผู้ป่วยและอาสาสมัครในชุมชนให้รู้จักดูแลผู้ป่วยที่บ้านเอง ตามแนวความ
      คิดที่กล่าวแล้ว โดยมีการจัดการอบรมเป็นรุ่น ๆ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่แผนกอบรม
      อนามัยในบ้าน สำนักงานกลาง สภากาชาดไทย โทร. 2564041-2
      มีผู้ป่วยบางรายไม่มีญาติจริง ๆ บางรายไม่มีบ้านจะอยู่ บางรายครอบครัวรับไม่ได้ หรือถูก
      ครอบครัวขับไล่ไสส่ง ก็จำต้องมีสถานที่ในกลางชุมชนที่จะให้ผู้ป่วยเหล่านี้เข้าพักอาศัย ตัวอย่างเช่นที่
      วัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อาจเป็นการพักชั่วระยะสั้นเพื่อรอให้ครอบครัวปรับตัว
      หรืออาจเป็นการพักช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต ก่อนจะสิ้นใจอย่างสงบท่ามกลางผู้ที่ให้ความรักและความ
      เห็นใจ
      การมีชุมชนบำบัดเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเอดส์ ควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง
      ในทุกจังหวัด แต่บางครั้งประชาชนก็ต่อต้านด้วยความไม่เข้าใจ กลัวว่าจะทำให้มีการแพร่ระบาดของ
      โรคเอดส์ ถ้ามีการทำความเข้าใจกับชุมชนดี ๆ แล้ว ปัญหาการต่อต้านจะหมดไป ผลเสียอีกประการ
      หนึ่งของการมีชุมชนบำบัด คือจะทำให้ครอบครัวมีข้ออ้างที่จะไม่ให้มีการดูแลรักษาที่บ้านเพราะมีทาง
      ออกในการส่งผู้ป่วยไปอยู่ที่ชุมชนบำบัดได้ บางครั้งเอาผู้ป่วยไปทิ้งโดยไม่กลับไปเยี่ยมเยียนหรือไปรับ
      กองกระดูกของผู้ป่วยที่ทางวัดเผาให้แล้วกลับบ้านก็มี ?

      19. ชมรมเพื่อนวันพุธคืออะไร ?
      ในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา หลายคนอาจได้ยินคำว่า "ชมรมเพื่อนวันพุธ" หรือคำว่า "งาน
      เทียนส่องใจ" แต่ไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร ?
      ชมรมเพื่อนวันพุธ เป็นชมรมผู้ติดเชื้อเอดส์ของสภากาชาดไทย เป็นการรวมกลุ่มของผู้ติด
      เชื้อเอดส์ ซึ่งเป็นคนไข้ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวันที่มีคลินิกเอดส์ (เรียกคลินิกภูมิคุ้มกัน)
      ซึ่งเป็นวันอังคารเช้า คนไข้ที่มาตามแพทย์นัดก็จะชุมนุมปรึกษาหารือกัน โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ และพยาบาลของโรงพยาบาลเป็นผู้ประสานงาน ขณะที่รอแพทย์ตรวจหรือหลังจากตรวจกับแพทย์
      เสร็จแล้วก็จะมาทำความรู้จักกัน ถามไถ่ทุกข์สุขกัน ล่าสู่กันฟังถึงความรู้หรือความก้าวหน้าใหม่ ๆ
      เกี่ยว กับการรักษาโรคเอดส์ที่ตนทราบมาหรือได้อ่านได้ฟังมาคนไข้ใหม่จะได้พบกับคนไข้เก่า ได้เรียน
      รู้ถึงวิธีปรับตัวและปรับใจหลังการตรวจพบเอดส์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าคนที่จะปลอบใจหรือให้คำปรึกษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ติดเชื้อด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำปรึกษาในลักษณะเป็นกลุ่มให้แต่
      ละคนมีโอกาสได้พูดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และปลอบใจซึ่งกันและกันจะได้ผลดีกว่าการแพทย์
      หรือนักจิตวิทยาเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ คนไข้ที่ทำหน้าที่ช่วยในกิจกรรมกลุ่มจะได้รบการอบรม
      จากวิทยากรของสภากาชาดไทย ให้มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับโรคเอดส์ และรู้จักเทคนิคในการให้คำ
      ปรึกษาแนะนำทั้งแบบตัวต่อตัวและแบบเป็นกลุ่ม
      หลังจากการพบปะกันในวันที่มีคลินิกเอดส์ ผู้ติดเชื้อจะจัดให้มีการรวมกลุ่มกันอีกเดือนละ
      ครั้งในทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน (จึงเป็นที่มาของ "ชมรมเพื่อนวันพุธ") เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันซึ่ง
      อาจเป็นการฝึกนั่งสมาธิ การนวดเพื่อผ่อนคลายความเครียด การฝึกการบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับ
      โรคเอดส์ เป็นต้น
      นอกจากนี้ก็มีการจัดทัศนศึกษาตามที่ต่าง ๆ เพื่อพักผ่อนพร้อมทั้งสอดแทรกกิจกรรมที่เป็น
      ประโยชน์ มีการนัดเลี้ยงสังสรรค์ มีการจัดตั้งกองทุนที่จะใช้ซื้อยาในราคาถูกมาขายต่อให้กับสมาชิก
      หรือให้สมาชิกที่ขัดสนยืมเป็นค่ารถ หรือค่ายา เป็นต้น นอกจากนี้ชมรมยังทำประโยชน์แก่สังคม
      โดยการเป็นวิทยากรรับเชิญบรรยายตามที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้อง
      กันโรคเอดส์ การที่มีคนติดเชื้อแล้วเตือนสติดูว่ามีน้ำหนักมากกว่าการให้ผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายให้รู้จัก

      วิธีป้องกัน ! และยังร่วมจัดงาน "เทียนส่องใจ" ของสภากาชาดไทย ในวันเอดส์โลก (1 ธันวาคม)
      เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ติดเชื้อ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมในลักษณะที่เกื้อ
      กูลประโยชน์ต่อกัน โดยได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2534

      20. สมุนไพรรักษาโรคเอดส์ได้ผลจริงหรือไม่ ?
      หลายปีที่ผ่านมาหลายคนอาจได้ยินเรื่องราวที่มีผู้อวดอ้างว่ามียา หรือวิธีการในการรักษาโรค
      เอดส์ให้หายขาดได้ อย่างเช่นวันก่อนก็มีข่าวฮือฮาว่ารัฐบาลจะให้มะระขี้นกเป็นของขวัญปีใหม่ 2541
      แก่ผู้ติดเชื้อเอดส์ทั่วประเทศ มีผู้ติดเชื้อหลงเชื่อไปรับการรักษาเป็นพัน ๆ ราย บางรายก็เรียกค่ารักษา
      ไม่แพง หรือแล้วแต่บริจาค เอาปริมาณเข้าว่า บางรายก็เรียกกันแพง ๆ แล้วแต่ฐานะของผู้ป่วย
      มีคนไข้มาปรึกษาบ่อย ๆ ว่าจะไปรักษาด้วยสมุนไพดีไหม ? คำตอบที่ให้ไปก็คือ ถ้าจะไป
      ลองรักษาดูก็ไม่ว่าอะไร เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะดิ้นรนไปหาสิ่งที่ดีกว่า เพราะยังมีความ
      หวัง เนื่องจากรู้อยู่ว่าโรคนี้ทางการแพทย์ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเมื่อมีใครมาเสนอว่ามี
      ยาที่รักษาหายได้ ก็อยากจะลองไปเป็นของธรรมดา จึงไม่คัดค้านถ้าคนไข้จะลองไปใช้สมุนไพรรักษา
      ดูแต่ต้องแน่ใจว่าไม่เป็นการหลอกหลวงกัน โดยที่มีการเรียกค่ารักษาแพง ๆ จนผู้รักษารวยเอา ๆ ใน
      ขณะที่ผู้ถูกรักษาจนลง ๆ และไม่มีการตั้งความหวังไว้สูงเกินไป เช่นรักษาแล้วหายขาด เพราะถ้า
      ผิดหวังอาจกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เอาแค่รักษาแล้วดีขึ้นก็พอใจแล้ว นอกจากนี้ต้องมั่นใจ
      ว่าสมุนไพรหรือยาที่ใช้จะไม่ทำให้เกิดเป็นพิษเป็นภัยขึ้นมาโดยดูจากผู้ถูกรักษาเดิม หรือดูจากคุณสมบัติของสมุนไพรนั้น และจะยอมไม่ได้หากมีการบอกว่าการรักษาด้วยยาสมุนไพรจะต้องหยุดยาฝรั่งด้วย
      เพราะจะเป็นการสูญเสียโอกาส และอาจเกิดผลเสียแก่คนไข้ก็ได้
      ต้องยอมรับว่าคงมีสมุนไพรบางอย่างที่รับประทานแล้วกระตุ้นให้ภูมิต้านทานดีขึ้น น้ำหนักขึ้น
      ท้องเสียดีขึ้น ผื่นคันลดลง ฯลฯ เพียงแต่อาการดีขึ้นก็น่าพอใจแล้ว ต้องช่วยกันพัฒนาออกมาใช้แพร่
      หลาย เพื่อจะลดการสั่งเข้ายาจากต่างประเทศ ขบวนการพัฒนาต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหมอพื้น
      บ้านผู้ป่วย และวงการแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะช่วยพิสูจน์ให้เร็วขึ้น ส่วนการที่
      จะมีสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสเอดส์ก็อาจเป็นไปได้ แต่คงต้องการขบวนการอีกมาก และ
      อีกยาวนานที่จะพิสูจน์ว่าได้ผลเพียงใด แต่ที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้นคงต้องเป็นปาฏิหารย์แน่

      21. วัคซีนเอดส์มีความก้าวหน้าเพียงใด ?
      เนื่องจากยารักษาโรคเอดส์มีราคาแพง และความหวังที่จะรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดโดยการใช้
      ยาต้านไวรัสเอดส์แรง ๆ หลายตัวร่วมกันก็ยังดูเลือนลางอยู่ประกอบกับคำประกาศเจตนารมย์ของประธานาธิบดีคลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อกลางปี 2540 ว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้นำในการคิดค้น
      วัคซีนเอดส์ให้สำเร็จภายใน 10 ปี ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจเรื่องวัคซีนเอดส์อีกครั้งหนึ่ง วัคซีนเอดส์
      อาจทำจากไวรัสเอดส์ที่ทำให้ตายแล้ว หรือถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง หรือผลิตโดยอาศัยขบวนการทาง
      วิศวกรรมพันธุศาสตร์หรือโดยการสังเคราะห์ขึ้นมาโดยตรง ได้มีการศึกษาวัคซีนเอดส์หลายชนิดในสัตว์
      ทดลองและคนอาสาสมัคร ปรากฏว่าวัคซีนมีความปลอดภัย 100 % ไม่มีใครติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาจากการ
      รับวัคซีน สัตว์ทดลองหรือคนที่ได้รับวัคซีนจะมีภูมิต้านทานซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเอดส์ในหลอดทดลองได้ เมื่อลองฉีดภูมิต้านทานที่ได้จากการฉีดวัคซีนเข้าไปในลิงซิมแปนซี แล้วตามด้วยการให้ไวรัสเอดส์เป็น ๆ แก่ลิงตัวนั้น พบว่าลิงไม่ติดเชื้อเอดส์ แสดงว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีด
      วัคซีนมีประโยชน์ในการป้องกันโรคจริง แต่การที่จะบอกว่าเอาวัคซีนเอดส์มาฉีดคนแล้วจะป้องกันคน
      ให้รอดพ้นจากการติดเชื้อเอดส์ได้หรือไม่พิสูจน์ได้ยาก เพราะจะเอาเชื้อเอดส์มาแอบฉีดให้กับอาสาสมัคร
      ที่ฉีดวัคซีนแล้วย่อมทำไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ กล่าวคือติดตามที่ฉีดวัคซีนกับคน
      ที่ฉีดน้ำเปล่า กลุ่มใหญ่ ๆ ไปสักระยะเวลาหนึ่ง (2-3 ปี) โดยที่อธิบายกรอกหูให้ฟังทุกวันว่า ที่ทำอยู่นี้เป็นการศึกษาว่าวัคซีนเอดส์ได้ผลหรือไม่ อาจไม่ได้ผลก็ได้ และท่านได้รับอาจเป็นวัคซีนจริงหรือวัคซีน
      เทียม (น้ำเปล่า) ก็ได้ ไม่มีใครรู้ เรากำลังพิสูจน์กันอยู่ เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของเขาเอง เขาควรจะต้องไม่ไปมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือถ้าจะไปเสี่ยงบ้างก็ต้องป้องกันเช่น ใช้ถุงยางอนามัย บางคนแย้ง
      ว่าถ้าไปบอกเขาแบบนี้ ทุกคนใส่ถุงยางอนามัยหมด แล้วจะไปพิสูจน์ได้ยังไงว่าวัคซีนได้ผล เราต้อง
      ยอมรับความจริงว่า ถึงแม้เราตอกย้ำอาสาสมัครอย่างไร การเป็นมนุษย์ปุถุชนจะยังมีอยู่ กล่าวคือ ก็ยัง
      คงมีคนไปเที่ยวผู้หญิงบ้าง และมีที่เผลอไม่ใส่ถุงยางอนามัยบ้าง สุดท้ายก็จะมีคนติดเชื้อเอดส์ขึ้นมาบ้าง เมื่อติดตามไปได้สักระยะหนึ่ง ก็มาดูว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีนมีคนที่ติดเอดส์น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้วัคซีนหรือ
      ไม่ ถ้าน้อยกว่าก็แสดงว่าวัคซีนนั้นป้องกันได้ผล อาจได้ผล 20%, 60% ฯลฯ จะต้องให้ได้ผลสักเท่า
      ไรจึงจะเอามาฉีดกับคนทั่วไปได้ หรือเอามาขายได้ยังไม่มีใครมีคำตอบ การทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบที่เรียกว่าระยะที่ 3 หรือการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนซึ่งต้องใช้อาสาสมัครที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ (เช่น ชายนักเที่ยวหรือหญิงบริการทางเพศ หรือคนที่ติดยาเสพติดโดยการฉีด) จำนวนกลุ่มละหลายพันคน และติดตามไป 2-3 ปี ในปัจจุบันมีวัคซีนเพียงขนาบเดียวที่เข้าสู่การทดสอบระยะที่ 3 ในคน ซึ่งกว่าจะทราบผลก็คงประมาณปี พ.ศ. 2545
      นอกจากจะเอามาฉีดให้กับคนที่ยังไม่ติดเชื้อแล้ว วัคซีนเอดส์ยังสามารถนำมาฉีดให้กับคนที่
      ติดเชื้อเอดส์แล้วได้ด้วย พบว่าปลอดภัยเช่นเดียวกัน ไม่มีใครตายด้วยโรคเอดส์เร็วขึ้น ขณะเดียวกัน
      พบว่าภูมิต้านทานที่เป็นประโยชน์ในการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสเอดส์ก็มีเพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานของผู้ติด
      เชื้อสามารถคงอยู่ในระดับที่ดีได้นาน โรคติดเชื้อแทรกซ้อนก็เป็นน้อยลง จึงเป็นความหวังที่ผู้ติดเชื้อทั่วโลกกำลังรอคอยอยู่ว่าการฉีดวัคซีนเอดส์ร่วมไปกับการให้ยาต้านไวรัสเอดส์อาจสามารถทำให้ชีวิตของพวกเขายืนยาวขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
      การทดสอบวัคซีนเอดส์ครั้งแรกในประเทศไทยทำ โดยคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์
      มหาวิทยาลัย และโครงการโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2537 โดยใช้วัคซีนสังเคราะห์ของบริษัท UBI ฉีดให้กับอาสาสมัครที่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์จำนวน 30 คน โครงการนี้ได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2538 ผลการศึกษาพบว่าวัคซีนปลอดภัย 100 % และเกือบร้อยละ 90 ของอาสาสมัครมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น การพัฒนาต่อไปคือการทำให้ภูมิต้านทาน
      ที่เกิดขึ้นมีระดับที่สูงอยู่ในร่างการไปได้นาน ๆ และสามารถทำปฏิกิริยาได้กับเชื้อเอดส์ ทุกสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ เมื่อได้วัคซีนที่เชื่อว่าดีแน่ จึงจะมีการนำไปทดสอบประสิทธิภาพต่อไป การทดสอบวัคซีนเอดส์ของสภากาชาดไทยเป็นการสร้างการรับรู้ และการยอมรับในสังคมไทย เปิดทางให้มีการศึกษาทดสอบวัคซีนเอดส์อื่น ๆ อีกหลายตัวในระยะเวลาต่อมา ซึ่งหวังว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าควรจะมี
      วัคซีนเอดส์ออกมาใช้ได้ในบ้านเรา

      22. ในปัจจุบันคนไข้เอดส์ไม่มีสตางค์จะซื้อยาจะทำอย่างไร
      ตั้งแต่ต้นปี 2540 เป็นต้นมา ก่อนเงินบาทจะลอยตัว คนไข้เอดส์ทั่วประเทศเริ่มประสบกับปัญหาเรื่องค่ายาเพราะยาป้องกันโรคติดเชื้อแทรกซ้อน และยาต้านไวรัสเอดส์บางตัว ซึ่งแต่เดิมโรงพยาบาลต่าง ๆ สามารถเบิกได้ฟรีจากกระทรวงสาธารณะสุขเริ่มจะขาดมือลง โรงพยาบาลต้องให้คน
      ไข้ซื้อเอง คนไข้ส่วนใหญ่ก็ไม่มีเงินจะซื้อได้เอง เพราะตกเดือนละ 8,000-30,000 บาท แล้วแต่ยาที่
      ต้องใช้ จึงทำให้หลายคนหมดอาลัยตายอยาก เลิกมาติดตามรักษาเลย ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าอีกไม่นาน โรงพยาบาลต่าง ๆ จะเต็มไปด้วยคนไข้ที่กลับมาด้วยอาการเอดส์กำเริบเพราะขาดการรักษาต่อเนื่อง
      กระทรวงสาธารณสุขมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนการดูแลรักษา โรคเอดส์เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลตามปกติ กล่าวคือให้แต่ละโรงพยาบาลให้การสงเคราะห์คนไข้เอดส์ที่ยากจนเหมือนกับการให้
      การสงเคราะห์คนไข้โรคอื่น ๆ ที่ยากจนทั่วไปคือคนไข้ออกค่ารักษาเองบางส่วน โรงพยาบาลให้การ
      สงเคราะห์บางส่วน แต่เนื่องจากค่ายาเอดส์มีราคาแพง และต้องรักษายาวนาน ประกอบกับแต่ละโรง
      พยาบาลไม่ได้เตรียมตั้งงบประมาณไว้ก่อน กับความเคยชินที่เคยได้ยาฟรีมาหลายปีจึงทำให้หลายโรง
      พยาบาลปฏิเสธการให้การสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเอดส์ กล่าวคือถ้าไม่สามารถจ่ายค่ายาได้เต็มราคา ก็จะ
      ไม่มียาให้ไปเลย ทำให้เกิดการร้องเรียนขึ้นมาทางหน้าหนังสือพิมพ์ เดือดร้อนถึงสภากาชาดไทยต้อง
      จัดสรรงบพิเศษ 15 ล้านบาทให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อสมทบเป็นค่ายาบางส่วนของผู้ป่วยเอดส์
      เงิน 15 ล้านบาทถูกใช้หมดภายใน 4 เดือน หนทางออกมีอย่างไร ?
      กระทรวงสาธารณสุขรับปากว่าจะของบค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้มีรายได้น้อยจากรัฐบาลเพื่อ
      แจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อรองรับปัญหาต้านโรคเอดส์ แต่รัฐจะตอบสนองได้มากน้อยเพียงใดในสภาวะเศรษฐกิจยุคไอเอ็มเอฟยังไม่ค่อยแน่ใจ แต่ก็อยากเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นถึงความ
      สำคัญด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเอดส์มากขึ้นหลังจากที่เราให้ความสำคัญด้านการประชาสัมพันธ์ ให้
      ความรู้ และด้านการป้องกันมาหลายปีแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาที่คนที่ติดเชื้อเดิมจะเริ่มป่วยแล้วครับ
      โรงพยาบาลแต่ละแห่งก็ต้องทำใจ ต้องเอาเงินบำรุงโรงพยาบาลที่มีอยู่บางส่วนมาใช้เป็นค่ายา
      ของคนไข้เอดส์บ้าง มิฉะนั้นแล้วเมื่อคนเหล่านี้ป่วยหนักต้องเข้าโรงพยาบาลมา โรงพยาบาลอาจต้อง
      สิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาลมากกว่านี้ก็ได้
      คนไข้ก็ต้องพยายามช่วยตัวเองให้มากที่สุด ญาติพี่น้องที่พอมีสตางค์ก็ควรช่วยสนับสนุนค่ายา
      บ้าง คนไหนที่เบิกค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดได้ก็พยายามเบิกจากต้นสังกัด ในขณะเดียวกันต้น
      สังกัด ในขณะเดียวกันต้นสังกัดที่ทำหน้าที่ในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลก็ต้องมีความระมัดระวังไม่
      ให้ความลับของคนไข้รั่วไหลจนเขาถูกไล่ออก
      ธุรกิจเอกชนใหญ่ ๆ ที่ยังมีกำไรอยู่ก็ควรเข้ามามีบทบาทช่วยรัฐในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
      ด้านการรักษาพยาบาลของลูกจ้าง หรือคนงานตัวเองที่ติดเชื้อเอดส์กองทุนประกันสังคมก็ควรมีการปรับ
      เปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลด้านโรคเอดส์แก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์บ้าง
      แพทย์เองก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรักษา โดยต้องประหยัดมากขึ้นใช้เฉพาะยาที่จำเป็น
      จริง ๆ ยาตัวใดที่ไม่น่าจะมีประโยชน์ก็กล้าจะลองหยุดดู หรือกล้าเลือกใช้สูตรการรักษาที่ถูกกว่า ถ้า
      ผลไม่ต่างกันหรืออาจจะด้วยกว่ากันเพียงเล็กน้อย
      กล่าวโดยสรุป ทุกฝ่ายต้องช่วยกันครับในสภาวะเศรษฐกิจที่รัดตัวอย่างในปัจจุบัน

      23. บทสรุป
      โรคเอดส์ เป็นโรคร้าย ในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่ได้ผลที่จะรักษาหรือป้องกันได้ ดังนั้น
      วิธีป้องกันโรคเอดส์ที่ดีที่สุดก็คือ การให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าทุกเพศ ทุกวัยมีความรู้และความเข้าใจ
      เกี่ยวกับโรคเอดส์อย่างถูกต้อง เพื่อที่เขาจะได้ประพฤติปฏิบัติไม่ให้ตัวเองติดเชื้อเอดส์ขึ้นมา เพราะโรค
      เอดส์เป็นโรคที่ป้องกันได้ ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง ดังนั้น จึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะได้ช่วยให้
      ทุกคนรู้จักป้องกันตนเองโรคเอดส์ โดยที่ในขณะเดียวกันก็ไม่ตื่นกลัวเอดส์จนไร้เหตุผล และควรตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ไม่ว่าจะมีภาระหน้าที่อะไร จะต้อง
      ช่วยกันเผยแพร่ความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์แก่ญาติสนิทมิตรสหายและผู้อื่นที่รู้น้อยกว่าเราต้องช่วยกัน
      ปลุกให้เกิดสามัญสำนึก และความตระหนักถึงภัยของโรคเอดส์ว่ามันมาเคาะประตูบ้านของทุกคนแล้ว
      จะต้องใส่ใจในการป้องกันตนเอง ถ้าพลั้งเผลอ ลูกเมียของเราจะรับเคราะห์กรรมไปด้วย ในขณะเดียวกันต้องรู้ให้จริงว่าโรคเอดส์ไม่ติดต่อทางสัมผัส ทางลมหายใจ ทางอาหาร ทางน้ำลาย คนที่ติดเชื้อเอดส์
      ไม่เป็นภัยต่อใคร ถ้าไม่ไปร่วมเพศหรือไปใช้เข็มฉีดยาร่วมกับเขา ไม่ต้องไปกลัวเขามากให้ความรักและ
      ความเห็นใจเขาบ้างเถอะ อย่างน้อย ๆ ก็เป็นคนไทยด้วยกันอีกหน่อยอาจมีญาติเรา ลูกเราโชคร้ายอย่าง
      นั้นบ้างก็ได้

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×