ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคการแพทย์ มหิดล

    ลำดับตอนที่ #2 : เรื่องทั่วไปของคณะ

    • อัปเดตล่าสุด 20 เม.ย. 51


                  คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนในหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ และรังสีเทคนิค ประกอบด้วย ๕ ภาควิชา ได้แก่ 

         ภาควิชาเคมีคลินิก 
         ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก 
         ภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิก 
          ภาควิชาปรสิตวิทยา 
         ภาควิชารังสีเทคนิค 

                  และ ๑ สถานเวชศาสตร์ชันสูตร สำหรับสัมฤทธิผลที่ผ่านมา ทางด้านการศึกษา คณะฯ ได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนเข้าสู่ระบบโมดูล (Competency-based modularization) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพตามความสามารถที่คาดหวัง (Competency) ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ควบคู่กับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในชุมชนและสังคม (Community-based learning) โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการสร้าง “Well-rounded medical technologist” ด้านบัณฑิตศึกษา 

                 คณะฯ มีการเปิดสอนในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางเทคนิคการแพทย์ขึ้นเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ และต่อมาในปี ๒๕๔๑ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ให้เป็นหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งจวบจนปัจจุบัน คณะฯ สามารถผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคม จำนวนกว่า ๕๐ คน และในอนาคต ทางคณะฯ จะดำเนินการเปิดหลักสูตรร่วม (Fast-track and combined program) เช่น B.Sc.-Ph.D. program ที่ใช้เวลาศึกษา ๖ ปี เป็นต้น โดยคณะฯ มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิชาการ และมหาวิทยาลัยชั้นนำ อาทิ Lund University ประเทศสวีเดน, Muenster University ประเทศเยอรมนี, University of Kentucky ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

                ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปีที่ผ่านมา คณะฯ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน มีจำนวนนักเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทยมากกว่า ๗,๕๐๐ คน ซึ่งบุคลากรเหล่านี้มีบริบทที่สำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน 

                ในขณะที่ บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี ที่สามารถติดตามความก้าวล้ำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับฐานความรู้ และกระบวนการที่เหมาะสม เพื่อสร้างเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเอง โดย กระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนที่ผ่านมา นับเป็นพลังที่สำคัญในการบูรณาการศาสตร์ทางวิชาชีพ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นถิ่น และทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศให้บังเกิดผลสูงสุด 

                ในด้านงานวิจัย คณะฯ สามารถสร้างผลงานที่มีคุณูปการที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ผ่านทิศทางต่างๆ ดังนี้ Gene and protein engineering, Molecular imprinting, Infectious diseases, Genetic diseases and molecular mechanism of cancer, Free radical research, Medical imaging, Biosensor applications, Computational Simulation & Data Mining และ Area-based research ซึ่งคณะฯ มีแผนในการจัดตั้งศูนย์เพื่อการเป็นผู้นำทางด้าน Computational analysis and molecular simulation และศูนย์พัฒนานวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อไป 

                 สำหรับการผลักดันงานบริการวิชาการ คณะฯ จะดำเนินการจัดตั้ง Excellence Medical-Radiological Technology Laboratory Center ที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาสู่การเป็น International training center และเป็น Hub ที่สำคัญในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ ทางคณะฯ มีแผนการปรับปรุงพื้นที่และระบบบริการทางสุขภาพ ณ ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ วิทยาเขตศิริราช เพื่อให้สอดรับกับ Excellence Center ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลอีกด้วย โดยคณะฯ วางเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา คือ การเป็นอันดับ ๑ ในระดับ World Class
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×