ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #81 : ราชวงศ์โจวตะวันออก หรือ ยุคชุนชิว (770-256 ปีก่อนคริสตศักราช)(ยุคโบราณ)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 762
      1
      26 พ.ค. 51

    ยุคชุนชิว (แปลว่า ยุคฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง หรือ ฤดูวสันต์และฤดูสารท ภาษาอังกฤษ: Spring and Autumn Period, ภาษาจีน: 春秋時代, พินอิน: Chūnqiū Shídài) ยุคสมัยหนึ่งกินระยะเวลาประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 221 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งการรบในยุคเลียดก๊กนั้นหลายเรื่องได้ถูกอ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา

    อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม้อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง
    กำเนิดยุคชุนชิว

    ราชวงศ์โจวปกครองด้วยกษัตริย์อย่างเข้มแข็งมากว่า 17 องค์ จนกระทั่งถึงรัชกาลของโจวอิวหวาง รัชกาลที่ 12 อำนาจของราชวงศ์โจวก็เริ่มเสื่อมถอย เพราะโจวอิวหวางมัวแต่หมกมุ่นกับสุราและนารี จนกระทั่งถูกข้าศึกจับกุมตัวไป 7 ปีต่อมา กองทัพผสมของอ๋องต่าง ๆ ในแต่ละรัฐได้รวมตัวกันขับไล่ข้าศึกออกไป และอัญเชิญโอรสของโจวอิวหวางขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า โจวผิงหวาง ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากเมืองเฮ่าจิง มาอยู่ที่ลกเอี๋ยง (ลั่วหยาง ในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ยุคนี้ต่อมานักประวัติศาสตร์จึงได้เรียกว่า ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก (Eastern Zhou) หรือ ยุคชุนชิว นั่นเอง (ที่เรียกว่า ชุนชิว ที่หมายถึง ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงนั้นมาจากชื่อคำภีร์ของขงจื๊อที่บันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในยุคนี้ ที่ชื่อ บันทึกแห่งฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง หรือ ชุนชิว ซึ่งเป็นคำภีร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของขงจื๊อด้วย ผู้คนจึงเรียกชื่อยุคนี้ตามคำภีร์ และคำภีร์เล่มนี้ก็นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ชุนชิว เช่นกัน) ซึ่งยุคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุคใหญ่ต่อเนื่องกัน ๆ คือ

    • ยุคชุนชิว (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 221 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
    • ยุคจ้านกว๋อ (477 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 222 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
    กระบี่ ที่ใช้เป็นอาวุธในสงครามยุคชุนชิว ในภาพเป็นกระบี่ประจำตัวของเย่วอ๋องโกวเจี้ยน อ๋องแห่งรัฐเยว่ ขุดพบเจอจากสุสานที่เขาวั่งซาน เมืองเจียงหลิง (กังเหล็ง)มณฑลหูเป่ย เมื่อ ค.ศ. 1965 ตัวกระบี่ยาว 55.7 เซนติเมตร กว้าง 4.6 เซนติเมตร ด้ามยาว 8.4 เซนติเมตร ตัวกระบี่มีลวดลายสลักสวยงาม มีอักษรแกะสลักใจความว่า "กระบี่ของเยว่อ๋องโกวเจี้ยน" เนื้อกระบี่ทำมาจากโลหะผสมหลายอย่าง ปัจจุบันสภาพยังดีอยู่แม้ผ่านเวลามาแล้วกว่า 2,500 ปี
    กระบี่ ที่ใช้เป็นอาวุธในสงครามยุคชุนชิว ในภาพเป็นกระบี่ประจำตัวของเย่วอ๋องโกวเจี้ยน อ๋องแห่งรัฐเยว่ ขุดพบเจอจากสุสานที่เขาวั่งซาน เมืองเจียงหลิง (กังเหล็ง)มณฑลหูเป่ย เมื่อ ค.ศ. 1965 ตัวกระบี่ยาว 55.7 เซนติเมตร กว้าง 4.6 เซนติเมตร ด้ามยาว 8.4 เซนติเมตร ตัวกระบี่มีลวดลายสลักสวยงาม มีอักษรแกะสลักใจความว่า "กระบี่ของเยว่อ๋องโกวเจี้ยน" เนื้อกระบี่ทำมาจากโลหะผสมหลายอย่าง ปัจจุบันสภาพยังดีอยู่แม้ผ่านเวลามาแล้วกว่า 2,500 ปี

    ซึ่งในยุคชุนชิวนั้น นครรัฐต่าง ๆ ที่เคยมีอย่างมากมายในยุคราชวงศ์โจวก่อนหน้านั้น เหลือเพียง 140 รัฐ จากการถูกผนวกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับรัฐที่เข้มแข็งกว่า มีบันทึกว่า รัฐหลู่ทำลาย 58 รัฐ รัฐจิ้นทำลาย 24 รัฐ รัฐฉินทำลาย 15 รัฐ รัฐฉีทำลาย 14 รัฐ รัฐเจิ้งทำลาย 6 รัฐ รัฐอู๋ทำลาย 5 รัฐ และรัฐทั้ง 140 รัฐนี้ มีรัฐที่เรียกได้ว่าเป็นรัฐขนาดใหญ่ มีอำนาจที่แท้จริงไม่ถึง 10 รัฐ

    รัฐใหญ่เหล่านี้ มีผู้ปกครองเรียกว่า "อ๋อง" มเหสีเรียกว่า "ฮองเฮา" และอัครมหาเสนาบดีเรียกว่า "ไจ่เซี่ยง" เช่นเดียวกับราชวงศ์โจว แม้กษัตริย์ของราชวงศ์โจวยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่ก็ต้องโอนเอียงไปตามความปรารถนาของอ๋องแต่ละรัฐ นับได้ว่าเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น

    สำหรับเจ้าผู้ครองรัฐใหญ่เหล่านี้ ต่างแย่งชิงกันเป็น "ป้าจู่" (ปาอ๋อง) หมายถึง เจ้าผู้ปกครองรัฐที่มีอำนาจสูงสุด สำหรับอ๋องในยุคชุนชิวที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ปาอ๋อง อย่างแท้จริงมี 5 คน คือ ฉีหวนกง, จิ้นเหวินกง, ฉู่จังอ๋อง, อู๋อ๋องเหอหลี และ เยว่อ๋องโกวเจี้ยน

    อุบายนางงามไซซี

    ไซซี หรือ ซีซือ (อังกฤษ: Xi Shi จีน: 西施 พินอิน: Xī Shī) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ ค.ศ. 506 ก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในรัฐเยว่ (State of Yue)

    ไซซีได้รับฉายานามว่า "มัจฉาจมวารี" (จีน: 沉魚 พินอิน: chén yú) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ" (so beautiful as to make swimming fish sink)

    ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละรัฐรบกันนั้น รัฐอู๋เป็นรัฐที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะรัฐเยว่และจับตัวเยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่รัฐอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดีเพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ

    ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋องเห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่รัฐเยว่ เมื่อกลับสู่รัฐเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติทันที โดยมีฟ่านหลี่เป็นอำมาตย์คอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลี่ได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ ฝึกฝนกองกำลังทหาร พัฒนาด้านกสิกรรม และ ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน (ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตางดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งตัน (แต้ตัน) ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี่ (เถาจูกง) เสนาบดีรัฐเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับรัฐอู่ เพื่อมอมเมาให้อู่อ๋องฟูซา เจ้านครรัฐอู่ ลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูซาหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งตัน ทำให้นางเจิ้งตันน้อยใจจนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ผ่านไป 13 ปี เมื่อรัฐอู่อ่อนแอลง รัฐเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จในที่สุด

    ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูซา ฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับอำมาตย์ฟ่านหลี่ที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ทะเลสาบไซ้โอว (ทะเลสาบซีหู) เป็นต้นรูปวาดในจินตนาการ นางไซซี ขณะฟอกด้ายอยู่ริมลำธาร

    รูปวาดในจินตนาการ นางไซซี ขณะฟอกด้ายอยู่ริมลำธาร
    สิ้นสุดราชวงศ์โจว

    ราชวงศ์โจวและยุคชุนชิวยุคสุดท้าย คือ ยุคจ้านกว๋อ หรือ เลียดก๊ก ซึ่งเป็นยุคที่แต่ละรัฐรบกันอย่างต่อเนื่อง ในปี 246 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินหวังเจิ้ง (ต่อมาคือ ฉินสื่อหวง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้องค์แรกของจีน) ได้สืบราชบัลลังก์รัฐฉินต่อมา โดยมีที่ปรึกษาเช่น เว่ยเหลียว, หลี่ซือ เป็นต้น ช่วยเหลือในการรวบรวมแผ่นดิน บ้างใช้เงินทองล่อซื้อบรรดาขุนนางของ 6 รัฐที่เหลือ แทรกซึมเข้าไปก่อความวุ่นวายในการปกครองของนครรัฐทั้ง 6 บ้าง อีกทั้งส่งกองกำลังรุกเข้าประชิดดินแดนปีแล้วปีเล่า เมื่อถึงปี 230 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉินโจมตีนครรัฐหานแตกพ่ายไป เมื่อถึงปี 221 ก่อนคริสต์ศักราชกำจัดรัฐฉีสำเร็จ จากนั้น 6 นครรัฐต่างก็ทยอยถูกรัฐฉินกลืนตกไป แผ่นดินจีนจึงรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ในยุคใหม่ คือ ราชวงศ์ฉิน
    แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุคชุนชิว

    แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุคชุนชิว
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×