ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #27 : ซุนวู (ตำราพิชัยสงครามซุนวู)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 662
      1
      22 เม.ย. 51

    ซุนวู (孙武; พินอิน : Sūn Wǔ; ซุนอู่) เป็นผู้เขียน ตำราพิชัยสงคราม ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน และปัจจุปันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์ ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง หลักการที่สำคัญเช่น รู้เข้ารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

    คาดว่าซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาลตำราพิชัยยุทธของซุนวู ได้มีการกล่าวถึงหลายคราในนิยายเรื่อง สามก๊ก
    ข้อมูลชีวประวัติ

    ข้อมูลที่มีหลงเหลืออยู่เกี่ยวกับชีวประวัติของซุนวู คือ ชีวประวัติที่เขียนขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยนักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซือหม่าเซียนได้บรรยายถึงซุนวูว่า เป็น แม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐวู ในช่วงประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยุ่ในยุคเดียวกันกับ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่ ขงจื๊อ. อย่างไรก็ตามชีวประวัตินี้ขัดแย้งกับหลักฐานอื่น ๆ ของยุคนั้น รวมทั้งลักษณะการเขียน และ เนื้อหาของ ตำราพิชัยสงคราม ก็บ่งชี้ว่าไม่น่าจะเป็นงานที่เขียนขึ้นในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล

    งานเขียน ตำราพิชัยสงคราม ของซุนวูนี้ ได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัย ๆ ถึงชีวิตของซุนวู เช่น รถม้าใช้ในการสงคราม ที่อธิบายโดยซุนวูนั้น มีการใช้เพียงแค่เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในช่วงยุค 400ปีก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าบางส่วนของงานเขียนนี้ก็อยู่ในช่วงเวลานั้น

    นักวิชาการหลายคนได้สรุปว่า งานเขียนของซุนวูนั้นที่จริงแล้วถูกเขียนขึ้นโดยนักปรัชญาจีนไร้นาม และ ซุนวูก็ไม่ได้เป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์

    ในเลียดก๊ก ซุนวูเป็นสหายกับอู๋จื่อซี อู๋จื่อซีได้ชักชวนซุนกวนให้มารับราชการในแคว้นอู๋ โดยทำหน้าที่ฝึกทหารให้แก่ อู๋อ๋องเหอหลี อ๋องแห่งแคว้นอู๋ ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บรรพ แต่อู๋อ๋องเหอหลียังไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอฝึกนางสนมของอู๋อ๋องเหอหลี อู๋อ๋องเหอหลีอนุญาต ในการฝึกมีนางสนม 2 นางได้หัวเราะอย่างสนุกสนานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของซุนวู ซุนวูจึงสั่งประหารสนม 2 นางนี้ทันที เพื่อให้เห็นถึงความเอาจริง ท้ายที่สุด อู๋อ๋องเหอหลี จึงได้เชื่อมั่นในตัวซุนวูและตำราพิชัยสงครามอย่างเต็มที่ ในก่อนคริสต์ศักราช 507 ปี อู๋อ๋องเหอหลีแต่งตั้งให้ซุนวู เป็นแม่ทัพ อู๋จื่อซีและป๋อผีเป็นรองแม่ทัพ ยกทัพคน 1 แสน ไปตีแคว้นฉู่ สามารถตีแคว้นฉู่ที่ใหญ่กว่า เข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ แต่ต่อมาสถานการณ์พลิกผลัน เพราะฉู่เจาอ๋อง อ๋องแคว้นฉู่ได้หลบหนีไปซะก่อน เย่วอ๋องยุ่นฉาง อ๋องแคว้นเยว่ ฉวยโอกาสที่แคว้นอู๋ว่างยกมาตี อู๋อ๋องเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับทันที เย่วอ๋องยุ่นฉางจึงหนีไป ทำให้อู๋อ๋องเหอหลีผูกใจเจ็บคิดจะล้างแค้นเย่วอ๋องยุ่นฉางตลอดไป

    ต่อมาในก่อนคริสต์ศักราช 497 ปี เย่วอ๋องยุ่นฉางจึงแก่กรรม โกวเจี้ยนผู้บุตรได้ขึ้นครองแคว้นแทน จึงคิดฉวยโอกาสไปตีตอนนี้ แต่ซุนวูและอู๋จื่อซีคัดค้าน แต่อู๋อ๋องเหอหลีไม่ฟัง ยกทัพ 3 หมื่นไปตีแคว้นเยว่ ผลคือทั้งคู่ปะทะกันที่จุ้ยหลี่ ในที่สุดอู๋อ๋องเหอหลีกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และตนเองก็ถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่กรรมระหว่างการเดินทางกลับบังไม่ถึงแคว้นอู๋ด้วยซ้ำ

    ฟูซา จึงได้ขึ้นครองแคว้นแทนบิดา เป็น อู๋อ๋องฟูซา อู๋อ๋องฟูซาแรกทีเดียวดำเนินการอย่างเข้มแข็ง หมายจะล้างแค้นให้บิดาให้ได้ แต่ต่อมาความประพฤติได้เหลวไหล หลงแต่สุราและนารี จากแผนนางงามไซซี จนในที่สุดต้องฆ่าตัวตาย อู๋จื่อซือก็ได้ฆ่าตัวตายไปในก่อนคริสต์ศักราช 485 ปี ในส่วนของซุนวูเมื่อได้รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของอู๋อ๋องฟูซา คิดว่าต่อไปภายภาคหน้า แคว้นอู๋ต้องล่มสลายแน่ จึงลาออกจากราชการในก่อนคริสต์ศักราช 495 ปี

    เนื้อหาโดยย่อเป็นดังนี้

    ตำราพิชัยสงครามของซุนวู และเงาคี้

    • บรรพ 1 ประมาณสถานการณ์
    • บรรพ 2 การทำศึก
    • บรรพ 3 ยุทธศาสตร์การรบรุก
    • บรรพ 4 ท่าที
    • บรรพ 5 กำลังพล
    • บรรพ 6 ความอ่อนแอ-เข้มแข็ง
    • บรรพ 7 การดำเนินกลยุทธ์
    • บรรพ 8 สิ่งผันแปร 9 ประการ
    • บรรพ 9 การเดินทัพ
    • บรรพ 10 ภูมิประเทศ
    • บรรพ 11 พื้นที่ต่างกัน 9 อย่าง
    • บรรพ 12 การโจมตีด้วยไฟ
    • บรรพ 13 การใช้สายลับ
    ตัวอย่างพิชัยยุทธของซุนวู

     รบร้อยชนะร้อย

    ซุนวูกล่าวไว้ใน ตำราพิชัยสงคราม ว่า การรบถ้ารู้จักการวางแผนที่ดีมีสิทธิที่จะชนะทุกร้อยครั้งเหมือนสิงโต ถ้าคราวใดที่ไม่สามารถจะล่าเหยื่อได้จะไม่ออกล่าเหยื่อ ในสงคราม เมื่อมีการรู้กำลังของกองทัพของเราเองรู้ความสามารถของแม่ทัพ รู้ความสามารถของกองทหารของฝ่ายเรา โอกาสรบชนะจะมีครึ่งหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่เราเรียนรู้กองกำลังของข้าศึก เรียนรู้ความสามารถของแม่ทัพข้าศึก และรู้ความสามารถของกองทหารของข้าศึก โอกาสรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งก็ไม่ไปไหนไกล แต่เมื่อใดก็ตามที่ออกรบ แม่ทัพไม่รู้กำลังของตัวเอง ไม่รู้กำลังของกองทหารตัวเอง ไม่ว่าจะออกรบกี่ครั้งก็ต้องแพ้ย่อยยับกลับมาทุกครั้ง

    ศาสตร์ข้อนี้ได้มีการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย ยกตัวอย่าง ทฤษฎี SWOT Analysis

     ตีใกล้แสร้งไกล ตีไกลแสร้งใกล้

    ซุนวูกล่าวไว้ใน ตำราพิชัยสงคราม ว่า เมื่อใดก็ตามที่จะรุกโจมตีเมืองที่ไกลห่างออกไป จงหลอกล่อให้ข้าศึกรู้ว่าเราจะตีเมืองอื่นที่ใกล้กับเรา หลอกให้ศัตรูคิดว่าเราไม่สามารถไปตีถึงเมืองนั้นได้ เมื่อคราใดที่เราเข้าโจมตี ศัตรูจะไหวตัวไม่ทันทำให้รบชนะได้อย่างง่ายดาย เฉกเช่นเดียวกับโจมตีเมืองที่อยู่ใกล้ แต่หลอกศัตรูว่าเราจะไปตีเมืองที่ไกลห่างออกไป

     จงสู้รบให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

    • ไฟ - เมื่อยามบุก จงบุกให้เหมือนไฟ ให้รุกกระหน่ำให้โหมหนักไปเรื่อยเรื่อยจนทุกอย่างมอดไหม้
    • ภูเขา - เมื่อยามที่ตั้งรับ จงนิ่งสงบอย่างหุบเขา ไม่ให้ศัตรูจับได้ว่าเราซ่อนตัวอยู่ที่ไหน
    • ลม - เมื่อยามเคลื่อนทัพ จงเคลื่อนให้เหมือนสายลม รวดเร็วโดยไม่ทิ้งร่องรอย

     ผู้ที่ปกครองห้ามทำผิดกฏ 3 ข้อดังต่อไปนี้ หากไม่ทำตามจะทำให้ประสบกับความพ่ายแพ้ได้

    • สั่งให้รุกขณะไม่ควรรุก หรือสั่งให้ถอยขณะเป็นต่อข้าศึก ทำให้กองทัพ ระส่ำระสาย
    • ไม่เข้าใจในกิจการของกองทัพ แต่สั่งการตามอำเภอใจ หรือสามัญสำนึกของตน ทำให้เหล่าขุนพลสับสน
    • ไม่เข้าใจหลักการผสมผสานการใช้กำลังทหารเหล่าต่าง ๆ ในการดำเนินกลยุทธ์ แต่เข้าแสดงบทผู้บัญชาการ ทำให้เหล่านายทหารเกิดความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ เมื่อเหล่าทัพต่าง ๆ ตกอยู่ในสภาพลังเล สงสัย สับสน ไม่แน่ใจ ก็เกิดความระส่ำ ระสายในกองทัพ ศัตรูก็ฉวยโอกาสนี้เข้ากระทำ และได้รับชัยชนะเป็น ต่อฝ่ายเรา

    การนำกองทัพสู่ชัยชนะมีปัจจัย 5 ประการ

    • รู้ว่าเมื่อใดควรรบ และไม่ควรรบ
    • รู้จักการออมกำลัง
    • นาย และพลทหารเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน
    • วางแผนและเตรียมการดี
    • มีขุนพลผู้ที่สามารถ และไม่ถูกแทรกแซงจากผู้ปกครอง

    ที่กล่าวมา 5 ประการนี้ผู้ใดรู้จักใช้จะพบกับชัยชนะ

    รูปวาดนักยุทธศาสตร์สงคราม ซุนวู
    รูปวาดนักยุทธศาสตร์สงคราม ซุนวู
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×