ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #25 : ซากมนุษย์ปักกิ่งในโจวโข่วเตี้ยน (มรดกโลกในจีนตอนที่5)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 245
      0
      13 เม.ย. 51

         ซากมนุษย์ปักกิ่งในโจวโข่วเตี้ยนตั้งอยู่บนภูเขาหลงกู่หมู่บ้านโจวโข่วเตี้ยนเขตฝางซานนครปักกิ่ง ห่างจากตัวเมืองปักกิ่งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 48 กิโลเมตร  ด้านตะวันตกเฉียงใต้คือที่ราบหวาเป่ย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือคือเขตภูเขา อยู่ในเขตที่เขตบรรจบกับเขตที่ราบ เขตภูเขาในบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูน ด้วยเหตุถูกน้ำกัดกร่อน จึงมีถ้ำธรรมชาติทั้งใหญ่และ น้อยเป็นจำนวนมาก บนภูเขาหลงกู่มีมีถ้ำธรรมชาติถ้ำหนึ่งที่มีความยาวจากด้านตะวันตกสู่ด้าน ตะวันออกประมาณ 140 เมตร ชื่อถ้ำมนุษย์วานร เป็นถ้ำแรกในโจวโข่วเตี้ยนที่พบซากมนุษย์ปักกิ่ง เมื่อปี 1929

    เขตซากมนุษย์ปักกิ่งในโจวโข่วเตี้ยนเป็นเขตซากมนุษย์โบราณยุคหินเก่า ที่สำคัญที่สุดในเขตนี้ก็คือ ถ้ำแรกที่พบซากมนุษย์ปักกิ่ง นักวิชาการชาวสวีเดนผู้หนึ่งเป็นผู้พบถ้ำนี้คนแรกเมื่อปี 1921 นักวิชาการชาวแคนาดาเป็นผู้ขุดซากมนุษย์ปักกิ่งอย่างเป็นกิจลักษณะเมื่อปี 1927  พร้อมทั้งตั้งชื่อฟัน มนุษย์ 3 ซี่ที่พบในโจวโข่วเตี้ยนว่าเป็นฟันมนุษย์วานรจีนพันธุ์ปักกิ่ง เมื่อปี 1929 นายเผยเหวินจง นักโบราณคดีของจีนได้ขุดพบกระดูกกระโหลกศีรษะชิ้นแรกของมนุษย์ปักกิ่งในถ้ำนี้ จึงเป็นเรื่องครึกโครมไปทั่วโลก

     

    งานขุดซากมนุษย์ปักกิ่งทำบ้างเว้นบ้างเป็นเวลากว่า 80 ปี ปัจจุบัน งานวิจัยยังคงดำเนินอยู่ จนถึงปัจจุบัน ถ้ำแรกได้ขุดไปแล้วกว่า 40 เมตร แต่ก็ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสิ่งที่ทับถมไว้ในถ้ำ

    ในถ้ำแรกยังได้พบซากในการใช้ไฟ เป็นเหตุให้ประวัติการใช้ไฟของมนุษยชาติได้เลื่อนเวลาเร็วขึ้น กว่าที่ได้พบเมื่อก่อนถึงหลายแสนปี ในถ้ำได้พบซากเถ้าถ่านที่มีหลายชั้น 5 แห่ง ซากกองเถ้าถ่าน 3 กองและซากกระดูกที่ถูกเผาอีกจำนวนมาก ซากเถ้าถ่านหลายชั้นที่หนาที่สุดหนาถึง 6 เมตร ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ปักกิ่งไม่เพียงแต่รู้จักใช้ไฟเท่านั้น หากยังรู้จักเก็บเชื้อเพลิงด้วย

    ในถ้ำยังได้ขุดพบเครื่องหินหลายหมื่นชิ้น เครื่องหินช่วงแรกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนใหญ่ เป็นเครื่องฟัน เครื่องตัดและเครื่องทุบ เครื่องหินช่วงกลางมีขนาดเล็กลง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องแหลม ๆ หรือเครื่องที่ใช้เหลาของ เครื่องหินช่วงปลายยิ่งมีขนาดเล็กลง เช่น หินหมาด เป็นต้น

    จากสิ่งที่ได้ขุดพบในถ้ำพิสูจน์ให้เห็นว่า มนุษย์วานรปักกิ่งอาศัยอยู่ในเขตโจวโข่วเตี้ยนเมื่อ 700,000 ปีถึง 200,000 ปีก่อน เป็นมนุษย์วานรที่ใช้ชีวิตด้วยวิธีเก็บผักผลไม้ป่าและการล่าสัตว์และ ก็เป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่วิวัฒนาการจากวานรโบราณสู่มนุษย์โบราณ ทั้งนี้มีคุณค่าสำคัญยิ่งต่อการ วิจัยศึกษาชีววิทยา ประวัติศาสตร์และประวัติการพัฒนาของมนุษยชาติ

    ซากมนุษย์ปักกิ่งในโจวโข่วเตี้ยนได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกแห่งโลกเมื่อเดือนธันวาคม 1987  คณะกรรมการมรดกแห่งโลกประเมินว่า ซากมนุษย์วานรจีนพันธุ์มนุษย์ปักกิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบได้เห็นในโจวโข่วเตี้ยนไม่เพียงแต่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบน้อยมากของสังคมมนุษย์ในทวีปเอเซียสมัยดึกดำบรรพ์เท่านั้น หากยังได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการ วิวัฒนาการของมนุษยชาติด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×