ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #23 : ถ้ำผาม่อเกาคูในเมืองตุนหวง (มรดกโลกในจีนตอนที่ 3 )

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 327
      0
      12 เม.ย. 51

    ถ้ำผาม่อเกาคูในเมืองตุนหวง
    中国国际广播电台

              ถ้ำผาม่อเกาคูที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเป็นขุมคลัง ศิลปะขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของจีน เป็น ๑ ใน ๔ ของถ้ำผาในจีนที่มีขนาดใหญ่สุดและมีเนื้อหาทางศิลปะหลากหลาย ที่สุด  เป็นโบราณสถานที่สะท้อนถึงศิลปะประติมากรรมชั้นยอดใน  ช่วงเวลานับพันปีซึ่งผ่านราชวงศ์ต่าง ๆ กว่า ๑๐ ราชวงศ์  และยังเป็นพุทธสถานที่มีขนาดใหญ่สุดและคงสภาพเดิมไว้ได้อย่าง สมบูรณ์ที่สุดในโลก 

    ที่ชานเมืองตุนหวง มณฑล กันซู่ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีเขาลูกหนึ่งชื่อ หมิงซาซัน   บนผาด้านตะวันออกของภูเขานี้ มีถ้ำจำนวนมากที่เรียงกันจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ซึ่ง มีความยาวเกือบ ๒ กีโลเมตร ถ้ำเหล่านี้แบ่งเป็น ๕ ชั้น เรียงกันตามลำดับขั้นของภูเขา นี่ก็คือ ถ้ำผาม่อเกาคู โบราณสถานที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก

    การเกิดถ้ำผาม่อเกาคูเริ่มตั้งแต่คศ ปี ๓๖๖ข้อมูลที่เกี่ยวข้องระบุว่า วันหนึ่ง  พระภิกษุเล่อจูนเดินทางมาถึง เมืองตุนหวง  บริเวณ ภูเขา หมิงซาซัน ท่านเล่อจูนมองขึ้นไปบนยอดเขา ก็พบว่า บนผาเขาเปล่งแสงทองแวววับประหนึ่งว่า มีพระพุทธรูปนับพันองค์     ท่านเล่อจูนจึงนึกในใจว่า  บริเวณนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงรีบจ้างแรงงานไปสกัดถ้ำบนภูเขา  เพื่อสร้างพระพุทธรูปสลักในถ้ำ  หลังจากนั้น ก็มีการต่อเติมและสร้างสรรค์ถ้ำและพระพุทธรูปสลักในทุกยุคทุก สมัย ทำให้จำนวนถ้ำบนภูเขาหมิงซาซันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   ถึงสมัยราชวงศ์ถัง ในศตวรรษที่ ๗  บนภูเขาหมิงซาซัน มีถ้ำพระพุทธรูปแกะสลักกว่า ๑๐๐๐ คูหา   ด้วยเหตุนี้ ถ้ำผาม่อเกาคู จึงได้อีกชื่อว่า ถ้ำพระพุทธรูปพันองค์  

    ถ้ำผาม่อเกาคูเป็นขุมคลังศิลปะที่รวมสถาปัตยกรรมโบราณ งานจิตรกรรมผนังถ้ำ และงานศิลปะรูปสลักคนในทุกยุคทุกสมัย    ถึงแม้ว่าถ้ำผาม่อเกาคูมีประวัติศาสตร์นับพันปีแล้ว และเคยถูกทำลายจากฝืมือของมนุษย์ไปบ้างก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน  ที่ถ้ำผาม่อเกาคู ยังมีถ้ำเกือบ ๕๐๐ คูหา  ภาพผนังถ้ำรวมประมาณ ๕ หมื่นตารางเมตรและรูปสลัก กว่า ๒๐๐๐ ชิ้นเหลืออยู่ และได้รับการอนุรักษ์อย่างดี รูปสลักในถ้ำผาม่อเกาคูมีลีลาหลากหลาย  ท่าทาง  และเสื้อผ้าอาภรณ์ของรูปสลักมีความแตกต่างกันซึ่งสะท้อนถึง เอกลักษณ์ของแต่ละยุคแต่ละสมัย  ภาพผนังถ้ำใน ถ้ำผาม่อเกาคูมีความสง่างามอลังการมาก  หากนำภาพผนังในถ้ำเชื่อมต่อกัน  จะได้ภาพผนังที่มีความยาวเกือบ ๓๐ กิโลเมตร 

       ถ้ำผาม่อเกาคูอยู่ห่างไกลจากความเจริญ จึงเคยเป็นสถานที่เงียบเหงาไร้เงาผู้คนเป็นเวลานับร้อยปี   ภายหลังเมื่อย่างเข้าศตวรรษที่ ๒๐  เนื่องจากถ้ำลึกลับที่เก็บซ่อนคัมภีร์ทางศาสนาและสมบัติล้ำค่ามหาศาลอื่น ๆ ถูกค้นพบ  ถ้ำผาม่อเกาคูได้เป็นที่สนใจของชาวโลกมาก และพร้อมกันนั้น ก็เกิดเหตุการณ์พรากเอาโบราณวัตถุในถ้ำผาม่อเกาคูบ่อย ๆ      เมื่อปี ๑๙๐๐  นักพรตเต๋านาม หวังหยวนจ้วนผู้ดูแลถ้ำผาม่อเกาคูพบถ้ำลึกลับแห่งหนึ่งโดยไม่ตั้งใจ ในถ้ำลึกลับที่กว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตรแห่งนี้  มีการเก็บซ่อนคัมภีร์ทางศาสนา  เอกสารภาพพระพุทธรูปและโบราณวัตถุอื่นๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 50,000 ชิ้น

    โบราณวัตถุในยุคสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๔ มาจนถึงศตวรรษที่ ๑๑ เหล่านี้  มีเนื้อหาเกี่ยวพันถึงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมือง ชนชาติ การทหาร  อักษรศาสตร์  ศิลปะวรรณคดี ศาสนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและแพทยศาสตร์เป็นต้น ทั้งของจีน เอเซียกลาง เอเซียใต้และ ยุโรป

    ภายหลังพบถ้ำเก็บซ่อนคัมภีร์ นักพรตเต๋า หวังหยวนจ้วนก็นำโบราณวัตถุบางส่วนไปขายให้บุคคนภายนอก ดังนั้น  ข่าวเกี่ยวกับการพบโบราณวัตถุที่ถ้ำผาม่อเกาจึงแพร่ หลายออกไปรวดเร็ว   นักเผชิญโชคจากประเทศต่าง ๆ พากันเดินทางไปยังถ้ำผาม่อเกาคู   ประจวบกับรัฐบาลในสมัยนั้นอ่อนแอมาก  จึงไม่สามารถใช้มาตรการใด            ๆ ในการอนุรักษ์โบราณวัตถุเหล่านี้  ดังนั้น  ช่วงเวลาเพียงประมาณ ๒๐ ปี คัมภีร์ประมาณ ๔ หมื่นเล่ม  ภาพผนัง รูปสลักและโบราณวัตถุอื่น ๆ จำนวนมากถูกกลุ่มนักเผชิญโชคจากรัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกานำกลับไปประเทศ

    ปัจจุบัน ที่อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อินเดีย เยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน เกาหลีใต้ ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกาเป็นต้น ต่างก็มีโบราณวัตถุที่นำไปจากถ้ำผาม่อเกาคูเก็บรักษาไว้ จำนวนโบราณวัตถุเหล่านี้ มีประมาณ 2 ใน 3 ของโบราณวัตถุของถ้ำม่อเกาคู ภายหลังถ้ำเก็บซ่อนคัมภีร์ถูกค้นพบ นักวิชาการจีนจำนวนหนึ่งเริ่มวิจัยศึกษาเอกสารที่เก็บซ่อนไว้ในถ้ำม่อ เกาคู เมื่อปี ๑๙๑๐   หนังสือเกี่ยวกับผลการวิจัยศึกษาเอกสารตุนหวงพิมพ์ออกจำหน่าย  จากนั้น  วิชาตุนหวงศึกษาจึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ช่วงหลายสิบปีมานี้   จากการศึกษาเป็นเวลาหลายปี นักวิชาการจีนได้รับผลสำเร็จในวิชาตุนหวงศึกษา

    รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองถ้ำผาม่อเกาคูซึ่งเป็นขุมคลังสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของจีนตลอดมา  เมื่อปี ๑๙๕๐ รัฐบาลจีนจัดให้ถ้ำผาม่อเกาคูเป็นโบราณสถานที่อนุรักษ์ระดับชาติ รุ่นแรก  เมื่อปี ๑๙๘๗  ถ้ำผาม่อเกาคูได้รับการจัดเข้าไว้ในรายชื่อมรดกวัฒนธรรมโลกขององค์การยูเนสโก้แห่งสหประชาชาติ ปัจจุบัน  จีนมีการสร้างศูนย์แสดงศิลปะตุนหวงที่เนินเขาซานเวยตรงกันข้ามกับ ถ้ำผาม่อเกาคู ภายในศูนย์แสดงศิลปะตุนหวงแห่งนี้  มีการจำลองถ้ำผาม่อเกาคู  เพื่ออนุรักษ์โบราณวัตถุของ ถ้ำผาม่อเกาคูและทำให้นักท่องเที่ยวมีรายการท่องเที่ยวมากขึ้น  นักท่องเที่ยวต่างชาติพากันชมถ้ำผาม่อเกาคู ว่า เป็นขุมคลังสมบัติทางพุทธศิลป์อันล้ำค่าและยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×