ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #14 : พระเจ้าอโศกมหาราช

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 698
      0
      7 เม.ย. 51

    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the great - พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์เมารยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์
    พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา

    ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา)มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนบรรลุพระโสดาบัน พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม(ธรรมราชา)ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

    ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้43ปี

     ดำเนินรัฐศาสนโยบาย

    จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278
    จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278

    ด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

    อัครศาสนูปถัมภก

    พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นักถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

    ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ

    เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญในตะวันตกก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น


    คุณธรรมที่ควรเป็นแบบอย่าง

    1. ทรงมีปัญญาเป็นเลิศ ได้ฟังธรรมจากพระสมุทระส่งพระกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนบรรลุพระโสดาบัน
    2. เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง เมื่อพระอลัชชี คือพวกนอกศาสนาปลอมตัวเป็นพระมาทำลายศาสนา พระองค์ทรงส่งอำมาตย์ไปไกล่เกลี่ยแต่อำมาตย์ฆ่าพระโดยโทสะ พระองค์ทรงยอมรับผิดแต่โดยดี แม้จะไม่ได้ทำ ทรงรับผิดชอบโดยการชำระสังฆมณฑลให้ขาวรอบ
    3. ทรงนับถือศาสนาพุทธ แต่มิได้เบียดเบียนศาสนาอื่น กลับสนับสนุนอีก แม้มิได้นับถือ เช่น ทรงอุทิศถ้ำอชันตาให้แก่พวกนักบวชศาสนาเชนดั่งคำหลักศิลาจารึกที่13ว่า " การเหยีดหยามศาสนาอื่น มิได้ทำให้ศาสนาของตนดีเลย กลับแย่ลงเสียอีก"
    4. ทรงมีพระทัยอันกว้างใหญ่ เช่น ทรงอนุญาตให้ พระมหินท และพระสังฆมิตตา อุปสมบทได้ ทั้งสองทำวิปัสสนาด้วยความเพียรจนบรรลุอรหัตตผล และเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา ควรถือเป็นแบบอย่าง
    5. ทรงปกครองบ้านเมืองโดยเป็นธรรม โดยใช้หลักพรหมวิหารธรรม4 ไม่ขาดและไม่ทำลาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้นำบริษัทและเจ้าขุนมูลนายทั้งสมัยโบราณกาลและสมัยปัจจุบันอย่างยิ่ง
    6. เป็นมหาราชในอุดมคติ พระองค์ทรงใช้ หลัก"ธรรมราชา"คือการปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เป็นหลักการปกครอง พระมหากษัตริย์ต่างเมืองต่างประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบัน ได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง
    7. ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย เช่น
    หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ รัฐบาลอินเดีย นำมาใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน
    หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ รัฐบาลอินเดีย นำมาใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน
      1. ทรงเป็นอัครศาสนาณูปถัมภ์ การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ใช้เวลาสอบสวนสะสางสำเร็จภายใน 9 เดือน
      2. ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งประเทศอินเดีย และนอกประเทศอินเดีย
      3. ทรงสร้างวัดทั้ง 84000 วัดและพระสถูปทั่วชมพูทวีป ทั้ง 84000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ และทรงให้จารึกธรรมะที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 และหลักธรรมวิชัย คือการชนะจิตใจคนด้วยพระธรรม ฯลฯ
      4. ทรงชำระสังฆมณฑล โดยจับพระปลอมจับสึกจำนวน 60000 รูป
      5. ทรงค้นพบสังเวชนียสถาน 4 ตำบล และประดิษฐานด้วยเงิน 100000 กหาปณะ
      6. ทรงปักหลักเสาศิลาจารึก ณ พุทธสถานที่สำคัญ ทำให้นักโบราณคดีค้นพบพุทธสถานมากมาย หัวเสาอโศกเป็นรูปสิงห์4ตัวหันหลังชนกัน ซึ่ง ต่อมาเป็นตราแผ่นดินประจำประเทศอินเดีย
      7. ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้าง โรงพยาบาล ขุดสระน้ำ ปลูกต้นไม้ ที่พักคนเดินทาง เป็นต้น
      8. ทำนุบำรุงพระสงฆ์อย่างยิ่งใหญ่ เช่นสร้างวัด และวิหาร ถวายพระสงฆ์ เพื่อเป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัย
      9. ทรงประดิษฐานจารึกอโศก ทั่วแคว้นหลายแคว้น จารึกเกี่ยวกับหลักธรรมะที่ทรงสั่งสอนประชาชนและข้าราชการ พระราชกรณียกิจของพระองค์ หลักการปกครอง และหลักการบริหารประเทศชาติ เป็นต้น
      10. ทรงใช้หลัก "ธรรมราชา" เป็นหลักนโยบายในการปกครอง พระมหากษัตริย์ทั่วเมืองทั่วประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบัน ได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง
      11. ทรงศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรมะอย่างเคร่งครัด
      12. ทรงประกาศห้ามฆ่าสัตว์โดยไม่สมควร
      13. ทรงประกาศเลิกการชุนนุมเพื่อความบันเทิง ให้มาปฏิบัติกิจกรรมทางธรรมและกิจกรรมที่มีสาระแทน เช่นทรงสั่งสอนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมทรงเสด็จเยี่ยมเยียน ประชาชน ทั้งชาวเมือง และชาวชนบท และทรงเสด็จไปนมัสการพุทธสถานที่สำคัญ
      14. ทรงบริจาคทรัพย์ ให้ในการช่วยเหลือและ นวกรรม คือการก่อสร้างหลายสิ่งหลายอย่าง ให้ประชาชน และทรงเน้นเรื่องธรรมทาน คือการแนะนำสั่งสอนธรรมะ คือ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ให้แก่ประชาชน
      15. ทรงแนะนำให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติธรรม และทรงส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ลูกต้องเชื่อฟังบิดา มารดา ลูกศิษย์ ต้องเชื่อฟัง อาจารย์ ปฏิบัติต่อคนรับใช้อย่างดี เป็นต้น
      16. ทรงให้เสรีในการนับถือศาสนาแก่ประชาชน

    บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช
    • กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
    • กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×