ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลน่ารู้

    ลำดับตอนที่ #7 : กำเนิดจักรวาล : กลุ่มก๊าซที่กลายเป็นกาแล็คซี่

    • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ค. 52


    กลุ่มก๊าซที่กลายเป็นกาแล็กซี 


    กลุ่มก๊าซมีอนุภาคของฝุ่นแข็ง ๆ ที่เกิดจากฮีเลียมและไฮโดรเจน พวกมันมีความหนาแน่นกว่าน้ำถึง 160 เท่าทั้งความหนาแน่นของมันและความร้อนทำให้เกิดการหลอมรวมกัน ซึ่งทำให้อะตอมที่เกาะกันแน่นระเบิดออก และเปลี่ยนมวลให้เป็นพลังงาน

    จาก http://www.rmutphysics.com/CHARUD/scibook/big-bang/index/indexpic7.htm

         ระหว่าง 100,000 ถึง 1 ล้านปีหลังจากวัตถุแรกปรากฏขึ้นอะตอมของฮีเลียมและไฮโดรเจนเริ่มจับตัวกันเป็นกลุ่มจนทำให้เกิดเป็นกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ที่เรียกว่ากลุ่มก๊าซในอวกาศ กลุ่มก๊าซในอวกาศค่อยๆ พัฒนาไปเป็นกาแล็กซีและดาวฤกษ์ต่าง ๆ จนจักรวาลมีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้

             แม้ว่าเนบิวลาจะมีฮีเลียมเป็นส่วนประกอบอยู่บ้าง แต่มันกลับมีไฮโดรเจนประกอบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในแต่ละตารางนิ้วมีอะตอมอยู่เพียงหกอะตอมเท่านั้น แม้ว่าความหนาแน่นจะต่ำ แต่มวลของกลุ่มก๊าซขนาดยักษ์นี้ก็ใหญ่กว่ามวลของดวงอาทิตย์ของเราร่วม ๆ หนึ่งร้อยถึงหนึ่งล้านเท่าทีเดียว

    ศูนย์กลางเนบิวลา (A) เริ่มหดตัวอยู่ในรูป ‘ดาวฤกษ์ที่เพิ่งก่อตัว’ (B) ซึ่งจะสร้างดาวดวงใหม่ขึ้นมา

       กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ก่อตัวขึ้นเมื่อราว 7 ถึง 12 พันล้านปีมาแล้ว รูปร่างของกาแล็กซีต่าง ๆ อาจมีความแตกต่างกันมากทีเดียว กาแล็กซีของเราเป็นรูปลาน (spiral)

    1.

    2.

    3.

    4.

    เนบิวลาที่เปล่งประกายสว่างในวงที่หมุนวน
    ดาวฤกษ์อายุน้อยที่อยู่ตรงบริเวณส่วนหางหรือแขนที่หมุนวนออกมา
    ฝุ่นอวกาศในส่วนหางหรือแขนที่หมุนวนออกมาสะท้อนแสงจากดาวฤกษ์ที่ยังมีอายุไม่มาก
    แกนกลางของกาแล็กซีที่หมุนวนพร้อมด้วยดาวฤกษ์ที่มีอายุมากแล้ว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×