ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #56 : อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom)

    • อัปเดตล่าสุด 20 ก.ย. 52


    อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom) เป็น อาณาจักรโบราณในช่วง พ.ศ. 1587 - พ.ศ. 1830 พุกามเป็นอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่า มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า "ผิวคาม" (แปลว่า หมู่บ้านของชาวผิว) เป็นเมืองเล็ก ๆ ริมทิศตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี สภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เป็นที่อยู่ของชาวผิว ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ในปี พ.ศ. 1587 พุกามถูกสถาปนาโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ พระองค์ต้องทำสงครามกับชาวมอญที่อยู่ทางใต้ จึงได้สถาปนาชื่ออย่างเป็นทางการของพุกามว่า "ตะริมันตระปุระ" (หมายความว่า เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบ)

    รอบ ๆ เมืองพุกาม มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ "มินดาตุ" ซึ่งเป็นเขตเมืองโบราณ 4 แห่ง ล้อมรอบอยู่ด้วย

    ในรัชสมัยพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พุกาม เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด มอญที่อยู่ยังหงสาวดีทางตอนใต้ ได้ทำสงครามชนะพุกามและครอบครองดินแดนของพุกามไว้ได้ พระองค์จึงรวบรวมชาวพม่าและชาวมอญบางส่วนตีโต้คืน จึงสามารถยึดพุกามกลับมาไว้ได้

    พุกามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดทางด้านศิลปวิทยาการในสมัยพระเจ้าอลองสิธู ใน พ.ศ. 1687 พระองค์ได้โปรดให้สร้างเจดีย์ชื่อ "ตะเบียงนิว" (แปลว่า เจดีย์แห่งความรู้) ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพุกามไว้ด้วย

    กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พุกาม คือ พระเจ้านรสีหบดี สร้างเจดีย์องค์สุดท้ายแห่งพุกามเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1819 และเมื่อสร้างเจดีย์องค์นี้เสร็จ ได้มีผู้ทำนายว่า อาณาจักรพุกามจะถึงกาลอวสาน ซึ่งต่อมาก็เป็นจริงดังนั้น เมื่อกองทัพมองโกลยกทัพเข้ามาบุกในปี พ.ศ. 1827 และพุกามถึงคราวล่มสลายในปี พ.ศ. 1830 รวมระยะเวลาแล้ว 243 ปี มีกษัตริย์อยู่ทั้งหมดทั้งสิ้น 11 พระองค์

    อาณาจักรพุกามหลังปี พ.ศ. 1830 ถูกมองโกลยึดครองและแบ่งดินแดนออกเป็น 2 มณฑล [1] คือ

    • มณฑลเชียงเมียน โดยรวมรัฐทางเหนือของพม่าเข้าด้วยกันมีเมืองตะโก้ง เป็นศูนย์กลางภายใต้การปกครองของข้าหลวงจีน มีทหารมองโกลประจำ
    • มณฑลเชียงชุง อยู่ทางภาคใต้ของพม่า มีพุกามเป็นศูนย์กลางจนปี พ.ศ. 1834 จึงได้แต่งตั้งพระเจ้ากะยอชวา เป็นกษัตริย์ปกครองพุกาม ในฐานะประเทศราชของจีน


    รายนามกษัตริย์ราชวงศ์พุกาม

    1. นยองอู สอรหัน (Nyaung-u Sawrahan) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1474 - 1507
    2. กวมส่องจ่องพยู (Kunhsaw Kyaungbyu) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1507 - 1529
    3. กะยิโส (Kyizo) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1529 - 1535
    4. สุกกะเต (Sokkate) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1535 - 1560
    5. พระเจ้าอโนรธามังช่อ (Anawrahta) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1587 - 1620
    6. พระเจ้าซอลู (Sawlu) หรือ มังลูลาน (Man Lulan) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1620 - 1627
    7. พระเจ้าจานสิตา (Kyanzittha) หรือ ถิลุงมัง (T’iluin Man) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1627 - 1656
    8. พระเจ้าอลองสิธู (Alaungsithu) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1706
    9. พระเจ้านราธู (Narathu) หรือ อิมตอวสยัน (Im Taw Syan) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1710 - 1713
    10. พระเจ้านรเถขะ (Naratheinkha) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1708 - 1717
    11. พระเจ้านรปติสินธุ (Narapatisithu) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1717 - 1754
    12. พระเจ้านดวงมยา (Nadaungmya) หรือ พระเจ้าติโลมินโล (Htilominlo) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1754 - 1774
    13. พระเจ้ากะยอชวา(Kyawsawa) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1778 - 1792
    14. พระเจ้าอุสานะ (Uzana) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1792 - 1799
    15. พระเจ้านรสีหบดี (Narathihapati) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1799 - 1830
    พุกามในปัจจุบัน

    ปัจจุบัน พุกาม ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ หรือ ดินแดนแห่งเจดีย์สี่พันองค์ เพราะในสมัยรุ่งเรืองเคยมีเจดีย์มากมายถึง 4,446 องค์ ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 2,217 องค์ เจดีย์แห่งแรกของพุกามคือ "เจดีย์ชเวสิกอง" สร้างโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ เป็นเมืองมีชื่อเสียงทางด้านท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของพม่า และทางรัฐบาลทหารพม่าได้มีความพยายามเสนอชื่อพุกามให้เป็นมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรมแห่งต่อไป

     หมายเหตุ

    1. ตั้งแต่นยองอู สอรหัน (1) จนถึง สุกกะเต (4) ยังไม่นับว่ามีสถานะเป็นกษัตริย์อย่างเต็มตัว จึงนับว่ากษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกามมีทั้งสิ้น 11 พระองค์
    2. อาณาจักรมองโกลได้เริ่มรุกรานและคุกคามพุกามมาตั้งแต่สมัยพระเจ้านรปติสินธุ หลังจากนั้นกษัตริย์อีก 3 - 4 พระองค์ถัดมาครองราชย์แต่เพียงสั้น ๆ ไม่ปรากฏผลงานที่โดดเด่น จนในที่สุดอาณาจักรพุกามก็ล่มสลายถึงที่สุดในสมัยพระเจ้านรสีหบดี ก็ตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์หยวน ของกุบไลข่าน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×