คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #284 : New World Order... ภารกิจรวมโลกเป็นหนึ่งเดียว !!
กลุ่มคนที่พยายามนำเสนอแนวคิดเหล่านี้ มีทั้งประเภทที่หนักไปในทางคิดฝันกันในเชิงอุดมคติ เช่น
”เฮอร์เบิร์ต จอร์จ เวลส์” หรือ ”เอช.จี.เวลส์” นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงก้องโลก ที่ได้กล่าวถึงแนวคิดเหล่านี้เอาไว้หลายครั้งหลายหนในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือถึงกับเคยเขียนถึงสิ่งเหล่านี้เอาไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๓๙ ในหนังสือชื่อ ”One World State” ส่วนนักคิดและนักปรัชญาอย่าง ”เบอร์ทรัล รัซเซล” ได้กล่าวไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๔๖ ถึงความหวังต่อ ”สันติภาพถาวร” ถ้าหากมี ”รัฐบาลโลก” ถูกจัดตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานความเห็นชอบของนานาชาติ เพื่อควบคุมภยันตรายจากอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งกำลังเริ่มก่อให้เกิดความตึงเครียดกับโลกทั้งโลกมาตั้งแต่ช่วงระยะนั้น
.หรือนักปราชญ์อาวุโสอย่าง ”อาโนลด์ ทอยน์บี” ก็ถือได้ว่าเป็นอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดที่ว่านี้และได้กล่าว ไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๖๑ ถึงความหวังที่จะมีรัฐบาลโลกเพื่อนำมาซึ่งหลักประกันสำหรับความอยู่รอดของ มวลมนุษยชาติในยุคนิวเคลียร์
ในขณะเดียวกัน
กลุ่มคนที่ไม่ได้มองแนวคิดเหล่านี้เพียงแค่ในเชิงอุดมคติ แต่ ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา และมีจุดมุ่งหมายที่หนักไปในลักษณะของความทะเยอทะยานอันมีแรงผลักดันมาจาก ความรู้สึกถึงความสูงส่งของเผ่าพันธุ์และชนชาติของตัวเองกันเป็นการเฉพาะ ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เช่น แนวความคิดของ ”เซซิล จอห์น โรเดส” นักธุรกิจเหมืองแร่และเจ้าที่ดินใหญ่ชาวอังกฤษที่ถือกำเนิดในแอฟริกาใต้ และเป็นผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดประเทศ ”โรดิเซีย” (ซิมบับเว) ก็เคยเสนอแนวความคิดในลักษณะเช่นนี้ไว้ตั้งแต่ช่วงต้นปี ค.ศ. ๑๙๐๐ ถึงความต้องการที่จะให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษจัดตั้ง
”สหพันธ์รัฐบาลโลก” (Federal World Government) เพื่อที่จะช่วยปกป้องดูแลให้เกิดสันติภาพขึ้นมาในโลกที่มีชาวผิวขาวปกครองและมีภาษาอ
ังกฤษใช้เป็นภาษาหลัก
หรือ ”ไลโอเนล เคอร์ติส” นักคิดชาวโปรเตสแตนท์ที่ได้เขียนหนังสือชื่อ ”Commonwealth of God” ในปี ค.ศ. ๑๙๓๘ ปลุกเร้าให้สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ”ทำงานของพระเจ้า” (Work of God) ด้วยการรวมตัวกันจัดตั้ง ”รัฐบาลโลก” เพื่อให้เกิดอาณาจักรของพระเจ้าที่ใช้ภาษาอังกฤษขึ้นมาในโลกนี้
แต่นอกเหนือไปจากนั้น
แนวคิดในเรื่อง ”รัฐบาลโลก” ก็ยังได้ถูกพูดถึง หรือได้ถูกสะท้อนออกมาผ่านทัศนคติของกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นกลุ
่มที่มีพลังมากที่สุด!!! ใน การขับเคลื่อนแนวความคิดดังกล่าวให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้จริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่อุดมคติที่เลื่อนลอย หรือเป็นแค่แนวความคิดที่เลอะเทอะไร้สาระดังเช่นกลุ่มอื่นๆ
นั่น ก็คือกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายและแรงบันดาลใจมาจากความต้องการที่จะขยายขอบเขต ของผลประโยชน์ทางธุรกิจของตัวเองให้กว้างขวางออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะ มากได้
หรือบรรดากลุ่มอภิมหาธุรกิจทั้งหลายทั้งในซีกตะวันตกและตะวันออกของมหาสมุทรแอ
ตแลนติก อันประกอบไปด้วยกลุ่มนายธนาคารระหว่างประเทศ กลุ่มนักอุตสาหกรรม การค้า รวมไปถึงชนชั้นขุนนางในยุโรป
ด้วยอำนาจอิทธิพลทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจอันกว้างขวางใหญ่โตมหึมา
การผลักดันให้แนวความคิดดังกล่าวเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา
จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในการพัฒนากลุ่มก้อนองค์กรนานาชนิด ให้อุบัติขึ้นมารองรับแนวความคิดเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้ง ”ราชสมาคมว่าด้วยกิจการระหว่างประเทศ” (Royal Institute for International Affairs) ขึ้นมาในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๙ ตามมาด้วยการก่อตั้ง ”สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” หรือ ”CFR” ขึ้นในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๑๙๒๐ การรวมตัวกันของนักธุรกิจการเงินในอเมริกาและอังกฤษที่จัดให้มีการประชุมเพื่อสร้างร
ะบบการเงินโลกที่ ”เบรตตัน วูดส์” ในปี ค.ศ.๑๙๔๔ ซึ่งได้นำไปสู่การจัดตั้งธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในเวลาต่อมา ไปจนถึงการรวมตัวของผู้นำทางการเมืองในการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. ๑๙๔๕
นอก เหนือไปจากนั้น กลุ่มอิทธิพลทางการเมืองและทางการค้าเหล่านี้ยังพยายามสร้างเครือข่ายเชื่อม ประสานผลประโยชน์ทางการเมืองและทางการค้าขึ้นมาด้วยองค์กรที่เรียกกันว่า ”บิลเดอร์เบอร์ก” ในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ และยังมีส่วนผลักดันให้เกิดองค์กร ”ตลาดร่วมยุโรป” หรือ ”European Common Market” (EEC) ในปี ค.ศ. ๑๙๕๗ ที่ได้กลายมาเป็น ”สหภาพยุโรป” ในทุกวันนี้ เกิดการจัดตั้ง ”คณะกรรมการ ๓ ฝ่าย” หรือ ”The Trilateral Commission” เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอำนาจของพันธมิตรอเมริกาเหนือ-ยุโรป-เอเชียเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. ๑๙๗๓ จัดตั้ง ”องค์การการค้าโลก” หรือ ”World Trade Organization” (WTO) ในปี ค.ศ. ๑๙๙๕
ฯลฯ บรรดาความเคลื่อนไหวเหล่านี้
ล้วนแล้วแต่ดำเนินสืบเนื่องกันมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ภายใต้จุดมุ่งหมายที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะนำพาโลกไปสู่การ ”ทำให้โลกเป็นโลกเดียว”
โลกที่ได้รับการ ”จัดระเบียบขึ้นมาใหม่” ให้อยู่ภายใต้อำนาจของ ”รัฐบาลโลก”
???
แนวคิดในลักษณะที่ว่านี้
อันที่จริงก็ไม่ได้มีการแสดงออกในลักษณะปิดบังหลบซ่อนกันซักเท่าไหร่นัก หรือมันค่อยๆ พัฒนาตัวเองขึ้นมาในแนวเดียวกันกับที่ ”เอช.จี.เวลส์” ได้เคยให้คำแนะนำเอาไว้ตั้งแต่แรกว่าสามารถกระทำได้ในลักษณะที่เรียกว่า ”การสมคบคิดอย่างเปิดเผย” (open conspiracy) นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้
นับ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๒๒ มาแล้ว หรือเพียงแค่ประมาณ ๓ ปีเท่านั้นหลังจากได้มีการจัดตั้งสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยมีอภิมหา นักธุรกิจร็อคกี้เฟลเลอร์ ดำรงตำแหน่งประธานสภา บทความในนิตยสาร ”ฟอร์เรจน์ แอฟแฟร์” ของ CFR ที่เขียนโดยสมาชิกขององค์กรชื่อว่า ”ฟิลลิป เคอร์” ซึ่งได้จุดประกายความคิดเหล่านี้ไว้อย่างชัดเจนมาตั้งแต่นั้นแล้ว ก็ได้ระบุว่า
”ตราบใดที่ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ยังถูกแยกให้เป็นอิสระจากกันและกัน
สันติภาพ และความรุ่งโรจน์ที่จะมีต่อมวลมนุษยชาติย่อมไม่อาจปรากฏเป็นจริงขึ้นได้และ กว่าที่จะมีการคิดค้นสร้างสรรค์ระบบความร่วมมือระหว่างชาติขึ้นมาได้จริงๆ
ปัญหาที่แท้จริงในขณะนี้น่าจะอยู่ที่ว่า
ทำอย่างไรที่จะทำให้มีรัฐบาลโลกเกิดขึ้น
”
นอกเหนือไปจากนั้น
สมาชิกคนสำคัญๆ ของCFRในแต่ละยุค แต่ละรุ่นก็เคยแสดงออกถึงแนวความคิดในลักษณะดังกล่าวอย่างไม่ได้ปิดบังซ่อนเร้นอะไรม
ากมายนัก ไม่ว่าจะโดย ”เซอร์ ฮาโรลด์ บัตเลอร์” ที่ได้แสดงความเห็นในวารสาร CFR ในปี ค.ศ. ๑๙๔๘ ว่า
”จะอีกนานเท่าไหร่สำหรับชีวิตของรัฐชาติ
จะ อีกนานเท่าไหร่ที่เขาทั้งหลายพร้อมที่จะยอมเสียสละบางส่วนของบูรณภาพโดยไม่ คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจจนไม่อาจยอมรับ ได้
เมื่อนั้นนั่นแหละที่
ระเบียบโลกใหม่
ก็จะปรากฏตัวขึ้นมาและจะเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นสหประชาชาติที่แท้จริง หรือการนำไปสู่การกำหนดชะตากรรมร่วมกันของโลกใบนี้
”
แม้กระทั่งทายาทตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์ อย่าง ”เนลสัน ร็อคกี้เฟลเลอร์” ก็ได้เขียนถึงแนวคิดเหล่านี้ไว้ในหนังสือเรื่อง ”Future of Federalism” ในขณะเป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. ๑๙๖๒ และได้ยืนยันถึงแนวคิดเหล่านี้อีกครั้งต่อสำนักข่าวเอ.พี. ในระหว่างการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ในปี ค.ศ. ๑๙๖๘ ว่าเขาต้องการที่จะใช้ฐานะความเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ในการผลักดันเพื่อให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์อันจะนำไปสู่ ”การจัดระเบียบโลกใหม่”
เช่นเดียวกับ ”จอร์จ บอลล์” สมาชิกคนสำคัญของ CFR ผู้ เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเศรษฐกิจของอเมริกาที่ได้เคยขายความคิดเหล่านี้ ไว้ในระหว่างการปราศรัยต่อคณะกรรมการหอการค้าระหว่างประเทศของอังกฤษ ในปี ค.ศ. ๑๙๖๗ ว่า ”เขตแดนทางการเมืองของรัฐชาตินั้น คับแคบเกินไป และจำกัดขอบเขตกิจกรรมของธุรกิจสมัยใหม่บรรษัทที่มีวิสัยทัศน์ในการดำเนิน กิจการระดับโลกย่อมหวังที่จะเห็นแนวโน้มของโลกที่ไม่เพียงแต่สินค้าเท่านั้น ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี
แต่ยังต้องรวมถึงปัจจัยการผลิตทั้งหมดที่ไม่ควรถูกจำกัดขอบเขตโดยความเป็นชาติ
อีกด้วย
” หรือ ”เลสลี เกลบ์” ประธาน CFR ที่ได้ยืนยันเอาไว้ในรายการโทรทัศน์ในอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๓ ว่า องค์กรอย่าง CFR ได้กล่าวถึงเรื่องราวของระเบียบโลกใหม่มานานแล้วและถือเป็นแนวความคิดพื้นฐานของ CFR ที่ได้ตอกย้ำมาโดยตลอดถึงการทำให้โลกเป็นโลกเดียว
.
ภาย ใต้บทบาทของกลุ่มคนเหล่านี้ที่ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลและความผูกพันใกล้ชิดกับ รัฐบาลอเมริกันมาในแต่ละยุคแต่ละสมัย จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดว่าเหตุใดผู้นำทางการเมืองของอเมริกาในแต่ละ ยุคต่างก็ได้สืบทอดแนวความคิดเหล่านี้ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ไม่ว่า ”แฟรงค์กลิน ดี. รูสเวลท์” ที่ใกล้ชิดกับ CFR ตั้งแต่เป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค และรับเอาบันทึกช่วยจำของ CFR ไปใช้เป็นนโยบายต่างประเทศอเมริกาในช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประธานาธิบดี ”เฮนรี่ ทรูแมน” ที่ถึงกับประกาศเอาไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ ว่า
”เป็นสิ่งที่ง่ายมากสำหรับชาติต่างๆ ที่จะเป็นสหพันธรัฐโลก เหมือนอย่างที่เราได้เป็นสหรัฐอเมริกาอยู่ในทุกวันนี้
” หรือ
”เจมส์ พี.วาร์เบอร์ก” สมาชิกคณะกรรมาธิการวุฒิสภาว่าด้วยกิจการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ได้กล่าวไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๕๐ว่า
”เราจะต้องมีรัฐบาลโลก
ไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม คำถามมีอยู่แค่เพียงว่ามันจะบรรลุความเป็นไปได้ด้วยการยินยอมหรือโดยการบังคับ
เท่านั้นเอง
” และแนวคิดเช่นนี้ก็ได้ปรากฏให้เห็นสืบทอดกันมาโดยตลอดไม่ว่าจะโดยรัฐบาลของรีพับลิกั
นหรือดีโมแครตก็ตาม
คำประกาศถึง ”การจัดระเบียบโลกใหม่” ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นในวันที่ ๑๑ กันยายน ปี ค.ศ.๑๙๙๐ โดยประธาธิบดี ”จอร์จ บุช” แห่งพรรครีพับลิกัน หลังสงครามเย็นได้ทำท่าว่าใกล้จะยุติลงไป จึงเป็นสิ่งที่มีเนื้อหาไม่ต่างอะไรไปจากแผน ”ยุทธศาสตร์แห่งชาติ” ในยุครัฐบาลประธานาธิบดี ”บิล คลินตัน” แห่งพรรคดีโมแครตหรือที่รู้จักกันในนาม ”แผนยุทธบริเวณใหม่ของยุทธการสหรัฐ-ทางการเมือง-การทหาร” (Political-Millitary-A new Theater of Operation) หรือ ”แนวทางยุทธศาสตร์ในอนาคตของสหรัฐอเมริกา” ที่ถูกประกาศออกมาในปี ค.ศ .๑๙๙๘.. และสิ่งเหล่านี้ได้ถูกยกระดับให้เป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้นไปอีกโดยประธานาธิบดี ”จอร์จ ดับเบิลยู บุช” หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ ด้วยการประกาศแนวทางของรัฐบาลอเมริกันต่อประเทศต่างๆ ในโลกเอาไว้ว่า
”ใครก็ตามที่ไม่ได้ยืนอยู่เคียงข้างอเมริกา
ผู้นั้นก็คือฝ่ายผู้ก่อการร้าย” ซึ่งถือได้ว่า เป็นคำประกาศที่ไม่ต่างไปจากการสถาปนาตัวเองให้เป็น ”รัฐบาลโลก” อย่างเป็นทางการ
นั่นเอง!!!
แต่ในขณะที่รัฐบาลอเมริกาได้สถาปนาตัวเองให้กลายมาเป็นรัฐบาลโลกกันไปแล้วนั้น
ลึกลงไปในหน้าตาของความเป็นรัฐบาลอเมริกัน
ก็คงไม่ได้มีแต่ชาวอเมริกันที่มีบุคลิกโง่ๆ เซ่อๆ อย่างเช่นประธานาธิบดี ”จอร์จ ดับเบิลยู บุช” เท่านั้น
ที่แสดงออกถึงความต้องการที่จะเป็นผู้กำหนดทิศทางความเป็นไปของโลกทั้งโลกในปั
จจุบันและในอนาคตข้างหน้า
.เพราะภายใต้ความเป็นรัฐบาลอเมริกันในแต่ละยุคแต่ละสมัยมันมักจะถูกแวดล้อมไปด
้วยบรรดา ”ชาวยิว” หรือบรรดา ”ชนชาติที่พระเจ้าได้เลือกสรรแล้วให้เป็นผู้ปกครองโลก
” สอดแทรกอยู่ภายในทำเนียบประธานาธิบดีอย่างเป็นเครือข่าย
และดูเหมือนว่าบรรดากลุ่มคนเหล่านี้นี่แหละ
ที่น่าจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญเอามากๆ หรือมีบทบาทอยู่เบื้องหลังการกำหนดทิศทางของโลกอย่างแท้จริง
???
ความคิดเห็น