ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #266 : ยุทธการ ไต้ฝุ่น ของนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง

    • อัปเดตล่าสุด 30 ธ.ค. 52


    ยุทธการ ไต้ฝุ่น ของนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง

    ยุทธการ ไต้ฝุ่น เพื่อยึดกรุงมอสโคว์ในสงครามโลกครั้งที่สอง

    Operation Typhoon

    จาก http://www.geocities.com/saniroj

    โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


    ---------------------------------



    วันที่ 19 มิ.ย. 1941 กลุ่มกองทัพกลาง (Army Group Centre) ของเยอรมัน เข้าโจมตี สโมเลนส์ (Smolensk) ห่างจากกรุงมอสโคว์ 322 กม. กรุงมอสโคว์เป็นเป้าหมายหลักของกองทัพกลุ่มนี้ เพราะเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของรัฐบาลสตาลิน

    ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ฮิตเลอร์ได้สั่งการให้กองทัพกลุ่มกลางแบ่งกำลังสองส่วน คือ กลุ่มกองทัพยานเกราะที่ 3 (3rd Panzer Army) ของนายพลแฮร์มาน โฮท (Hermann Hoth) และกลุ่มกองทัพยานเกราะที่ 2 (2nd Panzer Army) ของนายพลไฮนซ์ กูเดเรียน (Heinz Guderian) ไปช่วยกองทัพกลุ่มเหนือและใต้ แม้ว่าจะได้รับการทัดทานจากฝ่ายเสนาธิการว่าการแยกกำลังดังกล่าวออกไป จะทำให้ศักยภาพของกองทัพกลุ่มกลางด้อยลงและทำให้การยึดมอสโคว์ล่าช้าออกไป แต่ฮิตเลอร์ก็ไม่สนใจ เพราะฮิตเลอร์มองว่าเป็าหมายที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเขาก็คือ เลนินกราดทางตอนเหนือ และคอเคซัส ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันมหาศาลทางตอนใต้ ที่ฮิตเลอร์ต้องการเพื่อใช้ในการรุก

    ในที่สุดก็เป็นจริงตามที่ฝ่ายเสนาธิการได้คาดการณ์ไว้ การที่มียานเกราะไม่เพียงพอของกลุ่มกลาง ทำให้การรุกสู่มอสโคว์ช้ากว่าที่คาด กองทัพรัสเซีย ทำการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นเกินคาด เยอรมันต้องปรับแนวรุกเป็นแนวตั้งรับฤดูหนาวเริ่มใกล้เข้ามาเรื่อยๆ กองทหารเยอรมันแทบไม่มีอุปกรณ์สำหรับการรบในฤดูหนาวที่ทารุณในรัสเซียเลย ฮิตเลอร์เองก็ตระหนักในเรื่องนี้ดี

    เขาจึงสั่งการให้กองทัพกลุ่มเหนือและใต้ส่งกำลังยานเกราะกลับไปสนับสนุนกองทัพกลุ่มกลางยึดมอสโคว์ แต่ทุกอย่างเริ่มส่อแววของความล้มเหลว

    กองทัพที่ 4 และกองทัพที่ 9 พร้อมทั้งกลุ่มหน่วยยานเกราะที่ 3 และ 4 เปิดฉากรุกสู่มอสโคว์อย่างรุนแรงในวันที่ 30 กันยายน เมืองวาซมา (Vyazma) ซึ่งอยู่ห่างจากมอสโคว์ 200 กม.ถูกโอบล้อมและตกเป็นของเยอรมัน มีทหารรัสเซีย 663,000 คนถูกจับเป็นเชลย รถถัง 1,242 คัน และปืนใหญ่ 5,412 กระบอกถูกยึด

    ในวันที่ 14 ตุลาคม เมืองคาลินิน (Kalinin) แตก สตาลินซึ่งอยู่ที่มอสโคว์สั่งการอพยพ และเสริมแนวป้องกัน โดยมอบหมายให้นายพลซูคอฟ (Zhukov) เป็นผู้บัญชาการ

    ฝนก่อนฤดูหนาวเริ่มตกลงมาอย่างหนัก ดินเริ่มกลายเป็นโคลนเลนที่สูงนับเป็นเมตร ฤดูนี้ชาวรัสเซียเรียกว่า รัสปูติซ่า (Rusputisa) หรือ ฤดูแห่งโคลนเลน การรุกถูกทำให้ช้าลง การรบแบบสายฟ้าแลบของเยอรมันเริ่มเสียสมดุล เนื่องจากไม่สามารถใช้ความเร็วในการรุกได้ ถนนหนทางทั่วรัสเซียแทบใช้การไม่ได้

    ช่วงนี้เองที่ทางรัสเซียทำการเสริมแนวรบอย่างเต็มที่ ซูคอฟได้ระดมกำลังพลที่สดชื่น มีอุปกรณ์สำหรับฤดูหนาวมาจากไซบีเรีย โดยที่ฝ่ายข่าวกรองของเยอรมันไม่รู้ระแคะระคาย

    ..... ซูคอฟรู้ดีว่ากำลังของเขาที่มีอยู่กำลังจะได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรที่สำคัญของรัสเซียนั่นคือ ฤดูหนาว (General Winter)

    ในขณะเดียวกันกองหนุนของรัสเซียจำนวนมหาศาลจากไซบีเรียได้เดินทางมาถึงโดยที่เยอรมันไม่รู้เลย ทั้งนี้เพราะสายลับของรัสเซียยืนยันต่อสตาลินว่า ญี่ปุ่นไม่มีแผนที่จะบุกรัสเซียทางด้านตะวันออก สตาลินจึงดึงกำลังทหารหลายสิบกองพลที่ตรึงไว้เพื่อป้องกันญี่ปุ่นมาใช้ในการรบกับเยอรมันแทน

    ทหารจากไซบีเรียเหล่านี้มีอุปกรณ์กันหนาวมาพร้อม มีความสดชื่น และกำลังใจที่ดีเยี่ยม ทหารเยอรมันคนหนึ่งเขียนในจดหมายว่า ".... พวกไซบีเรียนี้สามารถนอนพรางอยู่ในหิมะได้ทั้งวันโดยที่ไม่สามารถสังเกตุเห็นได้ พอตกกลางคืน พวกทหารเหล่านี้ก็จะโผล่ออกมาโจมตีพวกเรา ...."

    วันที่ 3 พฤศจิกายน ความหนาวเย็นแรกก็มาถึง โคลนเลนได้จับตัวเป็นน้ำแข็ง อุณหภูมิที่ต่ำกว่าสามสิบองศาใต้จุดเยือกแข็ง ทำให้ทหารเยอรมันที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์สำหรับการรบในฤดูหนาวที่ทารุณมาเลยประสบกับปัญหา ทหารจำนวนมากถูกหิมะกัด ยานเกราะ ยานหาหนะทั่วไปติดเครื่องไม่ได้ เพราะน้ำมันเครื่องจับตัวเป็นน้ำแข็ง อาวุธปืนไม่ทำงาน น้ำแข็งเกาะอยู่ในรังเพลิงและลูกเลื่อน น้ำมันชโลมปืนกลายเป็นน้ำแข็ง

    อย่างไรก็ตามทหารเยอรมันที่อ่อนล้าจากการรุกมาตั้งแต่เปิดยุทธการบาร์บารอสซ่า ก็ยังแสดงให้เห็นถึงเป็นนักรบที่ห้าวหาญ พยายามรุกเข้าสู่มอสโคว์ต่อไป

    วันที่ 4 ธันวาคม 1941 กองพันลาดตระเวณของหน่วยเอส.เอส. ดาส ไรซ์ (Das Reich) ได้รุกไปถึงสนานีรถรางชานเมืองมอสโคว์ แต่ความหนาวเย็นที่โหดร้าย สร้างความเสียหายให้เยอรมันอย่างมาก บางคนถูกหิมะกัดจนเนื้อเน่าเฟะ แม้จะพยายามฆ่าตัวตายหนีความทรมานก็ทำไม่ได้เนื่องจากอาวุธปืนใช้ไม่ได้ สิ่งที่สามารถทำได้ก็คือปลดสลักระเบิด ซึ่งเป็นอาวุธอย่างเดียวที่ยังทำงานอยู่ แล้วนอนกอดมันไว้เท่านั้น

    วันที่ 8 ธันวาคม ฮิตเลอร์ประกาศสงครามกับอเมริกา ภายหลังจากที่ญี่ป่นโจมตีเพริล ฮาร์เบอร์ เยอรมันกำลังเผชิญกับแนวทั้งสองด้าน

    วันที่ 18 ธันวาคม นายพลซูคอฟได้ใช้กำลังจากไซบีเรียตีโต้เยอรมันในทุกแนวรบที่ยาว 322 กิโลเมตร ข่าวร้ายล่าสุดที่มาถึงก็คือ กองเยอรมันถูกตีแตก ต้องร่นถอยมาปรับแนวเป็นแนวตั้งรับนอกกรุงมอสโคว์ แม้ฮิตเลอร์จะออกคำสั่งฉบับที่ 39 โดยตรงจากเขาเองว่า ให้ทหารทุกคนต่อสู้จนคนสุดท้าย ห้ามถอยอย่างเด็ดขาด แต่ทหารเยอรมันก็ต้องถอยร่นอย่างไม่เป็นกระบวน

    โอกาสที่จะยึดครองมอสโคว์นั้นหมดไปแล้ว กำลังรัสเซียสดชื่น และกำลังทหารเยอรมันอ่อนล้าเกินไป รวมทั้งฤดูหนาวก็ทารุณเกินไปสำหรับการรุกของเยอรมัน

    บทสรุป

    การรุกสู่มอสโคว์ อยู่ในภายใต้ยุทธการ ไต้ฝุ่น (Typhoon) เริ่มในวันที่ 2 ตุลาคม 1941

    กำลังพลเยอรมัน รวมทั้งสิ้น 60 กองพล ภายใต้การนำของนายพล ฟอน บอค (Von Bock) ปีกขวาคือกลุ่มหน่วยยานเกราะแพนเซอร์ที่ 2 ของนายพลกูเดเรียน (Guderian) กำลังส่วนกลางคือกลุ่มหน่วยยานเกราะแพนเซอร์ที่ 3 ของนายพล โฮท (Hoth) และกลุ่มหน่วยยานเกราะที่ 4 ของนายพลโฮปเนอร์ (Hoeppner)

    2-13 ตุลาคม ยึด Vyazma สังหารและจับเชลยได้กว่า 600,000 คน

    15 ตุลาคม กลุ่มหน่วยยานเกราะแพนเซอร์ที่ 3 ยึด Kalinin และในวันเดียวกัน กองทัพที่ 4 อยู่ห่างจากมอสโคว์ 40 ไมล์ แต่การต้านทานของฝ่ายรัสเซียรวมทั้งฤดูหนาวที่ทารุณทำให้การรุกเป็นไปอย่างเชื่องช้า

    20 พฤศจิกายน เยอรมันไม่สามารถรุกต่อไปได้ คงแต่ตั้งแนวตั้งรับ แม้ว่า กองพลแพนเซอร์ที่ 2 จะสามารถมองเห็นพระราชวังเครมลินได้ไกลๆแล้ว แต่ยอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บก็พุ่งขึ้นสูงมาก รัสเซียอ้างว่ามีทหารเยอรมันถูกสังหารถึง 85,000คน ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 5 ธันวาคม

    แม้ว่าจะไม่มีการเตรียมพร้อมมาสำหรับฤดูหนาว แต่ฝ่ายเยอรมันก็ได้รับคำสั่งจากฮิตเลอร์ ไม่ให้ถอย นายซูคอฟ (Zhukov) ของรัสเวียโจมตีเยอรมันด้วยทหารที่สดชื่นจากไซบีเรียและกำลังลังเสริมอื่นๆ ถึง 100 กองพล เฉพาะที่ Tula ซึ่งเป็นที่มั่นของนายพลกูเดเรียน ทหารเยอรมันถูกสังหารถึงกว่า 30,000 คน

    แต่นายพลฟอน ครุก (Von Kluge) ได้จัดแนวตั้งรับขึ้นใหม่ และต่อสู้กับทหารรัสเซียอย่างทรหด การต่อสู้ยาวนานไปจนถึง เดือนมีนาคม 1943 ด้วยแรงกดดันจากการรุกของฝ่ายรัสเซีย เยอรมันจึงล่าถอย การรุกสู่มอสโคว์ เป็นความพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกของเยอรมัน ความเสียหายมีสูงมากทั้งสองฝ่าย แต่ฝ่ายรัสเซียนั้น มีการคาดการณืกันว่า สูญเสียทหารถึง 500,000 ในการป้องกันเมืองที่ชื่อ มอสโคว์แห่งนี้

    นักวิเคราะห์ในยุคหลังๆมองว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น น่าจะมาจาก ความไม่พร้อมในการรบในฤดูหนาวของเยอรมัน เหมือนกับที่ นโปเลียน อดีตจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสได้เคยประสบมา การตัดสินใจที่สับสนของผู้นำฮิตเลอร์ ก็มีส่วนสำคัญในความพ่ายแพ้ที่มอสโคว์ ว่ากันว่า ฮิตเลอร์ไม่มีประสบการณ์ในการบังคับบัญชาหน่วยขนาดใหญ่มาก่อน เขาเพียงแต่เป็นทหารระดับผู้บังคับหมู่ในสงครามโลกครั้งที่ 1 การก้าวก่ายการตัดสินใจของทหารอาชีพอย่างฝ่ายเสนาธิการของเขา ก่อให้เกิดความสับสน และผิดพลาดอย่างมาก

    ------------------------------




    ทหารรัสเซียกำลังเข้าตีที่มั่นของทหารเยอรมัน ทหารรัสเซียคนแรกในภาพใช้อาวุธปืนกลมือแบบ PPSh-41 ขนาด 7.62 x 25 ม.ม บรรจุแมกกาซีนแบบจาน (Drum Magazine) ปืนชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก (mass production) ไม่ซับซ้อน มีอัตราการยิงสูงถึง 900 นัดต่อนาที จึงเป็นอาวุธปืนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการรบในรัสเซีย ทั้งทหารรัสเซียเองและทหารเยอรมัน PPSh-41 กว่า 6 ล้านกระบอกถูกผลิตขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×