ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #21 : จากสมการ E=mc2เป็นระเบิดปรมาณู (เหตุการณ์โดยย่อ)

    • อัปเดตล่าสุด 18 ส.ค. 52


    จากสมการ E=mc2เป็นระเบิดปรมาณู

                เมื่อพูดถึงระเบิดปรมาณูแล้ว ชื่อของไอน์สไตน์มักถูกนำไปโยงเข้ากับการสร้างหรือประดิษฐ์ระเบิดชนิดนี้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจากสมการที่โด่งดังที่สุด E = mc2 ถูกพัฒนาออกมาเป็นระเบิดปรมาณูได้อย่างไร? และไอน์สไตน์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการสร้างระเบิดปรมาณูตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่? อย่างไร? ลองมาไล่เรียงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกันสักหน่อย

    ค.ศ.1905 ไอน์สไตน์เผยแพร่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity Theory) ผลลัพธ์สำคัญอันหนึ่งคือ E = mc2


    เจมส์ แชดวิค ผู้พบนิวตรอน
     

    ค.ศ.1932 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษเจมส์ แชดวิค (James Chadwick) เป็นบุคคลแรกที่ค้นพบนิวตรอน (neutron) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของอะตอม และจากผลงานนี้ทำให้เจมส์ แชดวิค ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1935

    ค.ศ.1935 ในปีเดียวกันนี้เองที่ความเชื่อดั้งเดิมเรื่องอะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดและไม่สามารถแบ่งแยกได้ก็ถูกหักล้างไปเมื่อนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จอห์น ค็อกครอฟท์ (John Cockcroft) และเออร์เนสท์ วอลตัน (Ernest Walton) สามารถแยกอะตอมออกได้สำเร็จ

    ค.ศ.1933 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศเยอรมันในวันที่ 1 มกราคม


    เอ็นริโก เฟอร์มิ

    อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

    ค.ศ.1934 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เอ็นริโก เฟอร์มิ (Enrico Fermi) ทดลองยิงยูเรเนียมด้วยนิวตรอน ทำให้นิวเคลียสของยูเรเนียมแตกตัวออกเกิดเป็นธาตุใหม่ขึ้นมา แต่เขาไม่ทราบว่าวิธีนี้คือ ต้นแบบของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น (nuclear fission) แต่ในภายหลังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้พบปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) เป็นคนแรก

    ค.ศ.1937 สงครามโลกครั้งที่ 2 ในเอเชียอุบัติขึ้นเมื่อญี่ปุ่นส่งกำลังทหารเข้ารุกรานจีนในวันที่ 7 กรกฎาคม


    อ๊อตโต ฮาห์นและไลซ์ ไมน์เนอร์
     

    ค.ศ.1938 อ๊อตโต ฮาห์น (Otto Hahn) ฟริทซ์ สตราสแมน (Fritz Strassman) ไลซ์ ไมน์เนอร์ (Lise Meitner) และอ๊อตโต ฟริซ์ช (Otto Frisch) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันพบว่าการยิงนิวเคลียสของธาตุด้วยนิวตรอนให้แตกออกทำให้ได้พลังงานจำนวนมากออกมา ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของปฏิกิริยาฟิชชั่น และทำให้อ๊อตโต ฮาห์นได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ.1944 (แต่ฮาห์นไม่สามารถเข้ารับรางวัลในขณะนั้นได้ เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ที่ประเทศอังกฤษในฐานะเชลยสงคราม)

    ค.ศ.1939 จากความก้าวหน้าของการวิจัยเรื่องปฏิกิริยาการแตกตัวแบบลูกโซ่ของนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเดินทางมาพบกับไอน์สไตน์เพื่อชี้แจงข่าวการค้นพบของทางเยอรมัน และขอให้ไอน์สไตน์ร่วมลงนามในจดหมายส่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์

    2 สิงหาคม 1939 ไอน์สไตน์ลงนามในจดหมายที่ส่งถึงผู้นำสหรัฐชี้แจงเหตุผลแก่รัฐบาลสหรัฐให้มีการวิจัยเกี่ยวกับระเบิดปรมาณู เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจทางอาวุธสงครามกับเยอรมัน แต่เนื่องจากขณะนั้นประเทศสหรัฐยังไม่มีท่าทีจะเข้าร่วมสงครามโลกจึงไม่ให้ความสนใจการวิจัยระเบิดปรมาณูมากนัก

    1 ก.ย. 1939 สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในทวีปยุโรปเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้ารุกรานโปแลนด์

    มีนาคม ค.ศ.1940 ไอน์สไตน์ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลท์เป็นฉบับที่สองเพื่อแจ้งให้ทราบถึงความก้าวหน้าในงานวิจัยด้านระเบิดปรมาณูของประเทศเยอรมัน เดือนเมษายนปีเดียวกันไอน์สไตน์ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐฉบับที่สามเพื่อกระตุ้นให้มีการวิจัยระเบิดปรมาณูมากขึ้น


    กองเรือสหรัฐถูกโจมตีโดยเครื่องบินรบญี่ปุ่นที่เพิร์ล ฮาร์เบอร
     

    6 ธันวาคม 1942 (1 วันก่อนที่ฝูงบินรบของญี่ปุ่นจะเข้าถล่มกองทัพเรือของสหรัฐที่อ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์ เกาะฮาวาย) ประธานาธิบดีรูสเวลท์ลงนามอนุมัติงบประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ (เทียบมูลค่าเท่ากับ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) สำหรับโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) เพื่อสร้างระเบิดปรมาณูโดยมีนักฟิสิกส์ เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮม์เมอร์ (J. Robert Oppenheimer) เป็นผู้อำนวยการโครงการดังกล่าว

    12 เมษายน 1945
    ประธานาธิบดีรูสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรม และแฮร์รี่ เอส ทรูแมน (Harry S. Truman) เข้ารับตำแหน่งประธานาดีคนที่ 33 ของสหรัฐต่อจากรูสเวลท์

    7 พฤษภาคม หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรม เยอรมันประกาศยอมแพ้สงครามถือเป็นจุดสิ้นสุดสงครามโลกในทวีปยุโรป

    16 กรกฏาคม 1945 สหรัฐทดลองระเบิดปรมาณูลูกที่หนึ่งทรินิตี้ (Trinity) จากจำนวน 3 ลูกที่รัฐนิวเม็กซิโก


    เจ้าเด็กน้อย (little boy)

    เจ้าอ้วน (fat man)

     

    6 สิงหาคม 1945 เจ้าเด็กน้อย (Little Boy) ระเบิดปรมาณูลูกที่หนึ่งของสหรัฐอเมริกาถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ตามมาด้วยวันที่ 9 สิงหาคม เจ้าอ้วน (Fat Man) ระเบิดปรมาณูลูกที่สองถูกทิ้งลงที่เมืองนางาซากิ สร้างความสูญเสียให้กับญี่ปุ่นอย่างใหญ่หลวงทำให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามทันทีและถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างสมบูรณ

                ไอน์สไตน์เป็นผู้ที่รักสันติ ไม่ชอบความรุนแรง ดังนั้นไอน์สไตน์จึงเป็นเพียงแค่ชี้แจงถึงเหตุอันควรสร้างระเบิดปรมาณู แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ ในโครงการแมนฮัตตันซึ่งเป็นโครงการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อวิจัย ออกแบบและสร้างระเบิดปรมาณูโดยเฉพาะ ตรงกันข้ามบุรุษผู้เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20 นี้กลับใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายดังคำพูดของเขาที่ว่า

    "I am happy because I want nothing from anyone. I do not care for money. Decorations, titles, or distinctions mean nothing to me. I do not crave praise. The only thing that gives me pleasure, apart from my work, my violin, and my sailboat, is the appreciation of my fellow workers."

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×