ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #15 : แม่ชีเทเรซาแห่งกัลกัตตา (คนดีศรีโลก1)

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ย. 52


                 แม่ชีเทเรซ่าเกิดเมื่อ ..1910 ในครอบครัวชาวอัลบาเนียน เมื่อเธอมีอายุได้เพียง 11 ปี พ่อของเธอก็ถูกฆ่าตายด้วยสาเหตุทางการเมือง เธอต้องลี้ภัยมาอยู่ที่ไอร์แลนด์ โดยเข้ามาบวชเป็น "ชีทดลอง" ที่สำนัก "โลเรโต
                          ในปี 1929 เธอถูกส่งมาอยู่ที่ เบงกอล (Bengal) ประเทศอินเดีย เพื่อทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือในสำนักชีโลเรโต แห่งหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และเป็นลูกผู้ดีมีเงินของสังคม ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับการขัดแย้งทางความคิดกับแม่ชีคนอื่นๆ แม่ชีเทเรซ่าจึงตัดสินใจออกจากสำนักชีแห่งนี้ ด้วยการเข้าไปช่วยเหลือคนจนที่ทุกข์ยากในสลัม เธอสอนให้เขาเหล่านั้นรู้จักการมีชีวิตที่ถูกสุขอนามัย เธอรณรงค์ต่อต้านการละทิ้งเด็ก เธอช่วยเหลือเด็กกำพร้าและเด็กข้างถนน ในปี 1947 แม่ชีเทเรซ่าสามารถรวบรวมแม่ชีได้ถึง 400 คน เพื่อช่วยบริหารงานด้านเด็กกำพร้า คนยากจน และผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่มีอยู่ทั่วโลก ในปี 1948
    เธอได้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กสลัมแห่งแรกขึ้น ในเมืองกัลกัตตา และในปี 1952 เธอได้ก่อตั้ง "บ้านสำหรับคนที่กำลังจะตาย" (Home for dying) ในตอนแรก แม่ชีได้เก็บผู้หญิงที่กำลังนอนรอความตายอยู่ข้างถนน เข้ามาอยู่ในบ้าน ทำความสะอาดร่างกายให้แก่ผู้ที่กำลังจะตาย ให้การดูแลทางการแพทย์เท่าที่จะทำได้
     

                         เธอให้เหตุผลว่า
    การที่เธอต้องการช่วยเหลือคนที่อยู่ในชั่วโมงสุดท้ายของชีวิต มิใช่เพื่อต่อชีวิตให้แก่คนเหล่านั้นเลย หากแต่ต้องการให้พวกเขาเหล่านั้น ตายอย่างสงบและเป็นสุข ไม่ต้องทุกข์ทรมานมากเกินไป การกระทำของเธอขัดแย้งกับความเชื่อของศาสนาฮินดู ซึ่งเชื่อว่า "การตาย" นั้นเป็นเพียง การละสังขาร เป็นการปลดปล่อยตัวตน เพื่อไปเกิดใหม่ ชาวฮินดูและคนทั่วไป จึงเห็นว่า การกระทำของแม่ชีเป็นเรื่องแปลก นอกจากนี้ แม่ชีเทเรซ่าได้จัดตั้งกองทุน เพื่อสร้าง "บ้านสำหรับเด็กๆ" (Home for babies) เพื่อเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ หรือพ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ หรือเด็กที่ถูกทอดทิ้งอยู่ตามถนน ผู้คนเริ่มเข้าใจแม่ชีมากขึ้นเมื่อเธอตั้ง "นิคมโรคเรื้อน" (Colony for lepers) ขึ้นสำเร็จ เพื่อให้คนเป็นโรคร้ายนี้มีโอกาสมีชีวิตเหมือนคนธรรมดาทั่วไป พวกเขาสามารถมีบ้าน มีงาน และมีชีวิตที่เป็นสุขสงบ ในนิคม โรคเรื้อนแห่งนี้ แม่ชีเชื่อว่าปัญหาสำคัญของคนที่เป็นโรคนี้มิใช่ตัวโรคร้ายเลย แต่อยู่ที่การขาดความรัก การถูกผลักใสอย่างรังเกียจ และความรู้สึกที่ไม่เป็นที่ปรารถนาของสังคม แม่ชีเทเรซ่าต่อต้านการทำแท้งอย่างเปิดเผยโดยเธอกล่าวว่า "ชาติใดที่ปล่อยให้มีการทำลายชีวิตของทารกในครรภ์มารดา ถือว่าเป็นภัยอย่างใหญ่หลวง ทารกเหล่านี้ถูกสร้างให้กำเนิดขึ้นมาเพื่อมีชีวิต เพื่อได้รับความรักในนามของพระ เจ้า"                   
                     
                          ด้วยผลงานที่อุทิศตนของแม่ชีเทเรซ่า
    ทำให้เธอได้รับการยอมรับไม่เพียงแต่ในประเทศอินเดีย แต่จากผู้คนทั้งโลก รางวัลที่เธอได้รับนั้นมีมากมาย เช่นในปี 1963 เธอได้รับรางวัลแรกคือ "Pad Mashri award" จากประเทศอินเดีย ในฐานะที่เธอให้ความอนุเคราะห์แก่ชาวอินเดีย และในปีเดียวกัน เธอได้รับรางวัล "รามอน แมกไซไซด์" (Remon Maqsaysay) ในปี ..1971 "รางวัลสันติภาพ" (Peace award) และ "รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ" (Nobel Peace Prize) ในปี 1979
    ตลอดชีวิต "นักบุญ" ของแม่ชีเทเรซ่า ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงอายุ 87 ปี เธอได้ใช้ชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นมาโดยตลอด ดังนั้น อสัญกรรมของแม่ชี ถือเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ซึ่งนำความโศกเศร้ามาสู่คนทั้งโลก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×