ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #125 : ตะลึง++ตึกหมุนได้360องศา

    • อัปเดตล่าสุด 14 ต.ค. 52




    THE DYNAMIC TOWER เป็นโปรเจ็คยักษ์ที่ผุดขึ้นแห่งแรกในโลกที่ Dubai เป็นโครงการที่สร้างสถาปัตยกรรมยุคใหม่ขึ้นบนโลกนั่น ก็คือ The Rotating Tower ตึกหมุนได้อิสระที่สามารถปรับหมุนทิศทางได้ตามความต้องการ ซึ่งตึกนี้เป็นฝีมือการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างของ บริษัท DYNAMIC GROUP and ARCHTCT ของสถาปนิกชาวอิตาลี่ชื่อดังอย่าง David Fisher นั่นเอง ซึ่งตึกนี้มีทั้งหมด 80 ชั้น และมีความสูงถึง 420 เมตร ซึ่งสูงกว่าตึก Empire State เสียอีก สำหรับเรื่องการหมุนของตึกนั้นที่หลายๆ คนสงสัย เป็นงง และเป็นห่วงนั้น ตึกนี้สามารถหมุนได้อย่างอิสระในทุกชั้นโดยในแต่ละชั ้นสามารถควบคุมทิศทางการหมุนได้ด้วยตัวเอง การเคลื่อนตัวนั้นจะเป็นการเคลื่อนตัวแบบช้าๆ เพื่อความเสถียรของสมดุล และลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ในขณะเดียวกันก็เพื่อให้คนได้ชมวิวอย่างละเมียด และไม่เวียนหัวหรือตกใจกับการหมุนของตึกอีกด้วย ซึ่งอันตราความเร็วในการหมุน 1 รอบนั้นจะใช้เวลาเฉลี่ยราว 3 ชั่วโมง สำหรับตึกนี้ถือเป็นตึกหมุนได้แห่งแรกของโลก (The World’s First Building in Motion) ที่เริ่มก่อสร้าง โดยเริ่มแห่งแรกที่ Dubai และต่อด้วยโครงการในลักษณะและคอนเซ็ปต์เดียวกันที่จะสร้างตามมาติดๆ ที่ Moscow และต่อด้วย New York ซึ่งต่อจากนั้นก็จะผุดตึกในลักษณะดังกล่าวทั่วโลก


     
    สำหรับการปฏิวัติด้านการออกแบบนั้น นอกจากคอนเซ็ปต์อันไม่มีกรอบจำกัดของรูปแบบตัวมันเอง ถือเป็นงานดีไซน์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เป็นงานศิลปะชิ้นสำคัญของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง เป็นการเปลี่ยนรูปแบบตลอดเวลาเลยก็ว่าได้
    ด้ารการออกแบบอื่นๆ นั้น ทั้งตัวตึกถูกออกแบบให้ใช้กระจก ซึ่งจะทำให้อาคารดูโปร่ง พร้อมที่จะรับแสงและวิวทิศทัศน์ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตา มความต้องการ บรรยากาศและมุมมองนั้นจะไม่อยู่ในที่เดิมๆ และการเปลี่ยนแปลงเวลาในมุมมองต่างๆ ก็ทำให้แค่หนึ่งห้องนั้นสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและม ุมมองได้อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย ที่สำคัญ กระจกนี้จะส่องแสงในมุมมองและเวลาต่างๆ ทำให้การเคลื่อนไหวนั้นดูสนุกสนานและมีชีวิตชีวามากขึ้น ยิ่งในเวลากลางคืนที่แต่ละห้องมีการเปิดไฟ สีสันของแสงไฟและการเคลื่อนไหวนั้น ก็จะสร้างสีสันให้ตึกและท้องฟ้าในบรรยากาศที่ไม่หยุด นิ่งได้อย่างสุดยอดอีกด้วยล่ะ




    การปฏิวัติการก่อสร้างถือเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลง และการก้าวกระโดดสำคัญสำหรับสถาปัตยกรรมและการก่อสร้ างของโลก โดยเฉพาะในโครงการใหญ่ๆ
    สำหรับโปรเจ็คยักษ์ๆ นี้ การก่อสร้างถือเป็นการลงทุนที่มหาศาล แต่สำหรับโปรเจ็คนี้มีแนวความคิดสวนทางกันก็คือ การสร้างตึกใหญ่ที่ลดงบประมาณและการรบกวนโลกและสิ่งแ วดล้อมให้มากที่สุด ซึ่งแนวความคิดเจ๋งๆ นี้ David Fisher ได้นำ Fisher Method มาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจทีเดียว
    อย่างแรกเลยกับโครงสร้างและส่วนประกอบต่างๆ นั้นจะเริ่มทำกันที่โรงงานเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยโครงสร้างแต่ละชั้นนั้นจะมีรูปแบบหลักๆ ที่จะผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก็จะช่วยลดปริมาณแรงงานที่จะก่อสร้างสิ่งต่างๆ ในพื้นที่ลง ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวคน และลดเวลาในการผลิตไปได้อีกพอสมควร รวมถึงสามารถควบคุมเวลาของระยะเวลาการผลิตได้อย่างมี ประสิทธิภาพกว่าอีกด้วย เมื่อผลิตเสร็จแล้วโครงสร้างต่างๆ จะถูกเคลื่อนย้ายมายังไซต์งานเพื่อประกอบกันเป็นตัวต ึก โดยในแต่ละชั้นนั้นจะใช้เวลาประกอบเพียง 7 วัน และใช้พนักงานในไซต์ไม่มากนัก ซึ่งจะเป็นการช่วยลดแรงงานและส่วนที่เกี่ยวข้องอีกมา กมาย รวมไปถึงลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ และความเสียหายได้อีกด้วย อีกทั้งระยะเวลาการก่อสร้างนั้นก็จะเร็วขึ้น ใช้ระยะเวลาไม่นาน งบไม่บานปลาย ที่สำคัญในแนวคิดของ David Fisher ก็คือ กระบวนการนี้จะลดการรบกวนชุมชน รบกวนโลกใบนี้ให้น้อยลง ซึ่งจะช่วยลดฝุ่นละอองอันก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศได้ ช่วยลดมลพิษทางเสียงให้น้อยลง และลดระยะเวลาการรบกวนของการก่อสร้างที่จะสร้างการรบ กวนต่อสภาพแวดล้อมด้านข้างให้สันลงอีกด้วย วิธีดังกล่าวนั้นนอกจากจะเป็นผลดีมากมายแล้ว มันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของโครงการลงได้กว่า 30




    การปฏิวัติการใช้พลังงานถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใ จของโปรเจ็คนี้ เพราะการนำเอาหลักการ Green Energy เข้ามาใช้กับตึกขนาดใหญ่นั้นถือเป็นการรักษาสิ่งแวดล ้อมและลดการสร้างมลภาวะกับโลกได้ทางหนึ่งอย่างดีทีเด ียว การออกแบบตึกให้ใช้พลังงานสีเขียว หรือ Self-Power ด้วยตัวมันเองนั้น มีอยู่ 2 จุดหลักๆ ก็คือ
    1.พลังงานลม : สำหรับโครงสร้างของแต่ละชั้นนั้น ระยะห่างระหว่างชั้นบริเวณด้านบนของทุกชั้น จะเป็นช่องลมเพื่อให้ลมได้ไหลเวียนอากาศเข้าไป ทำให้ลดการใช้เครื่องปรับอากาศได้ และแรงลมนั้นก็จะนำมาใช้ในการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากลม เพื่อนำพลังงานมาใช้ในตัวตึกเองด้วยอีกทาง ซึ่ง 80 ชั้นนั้น ก็จะมีเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมนี้ถึง 79 ตัว ที่จะเป็นแหล่งผลิตพลังงานได้อย่างเพียงพอกับตึกนี้แ ละตึกในระแวกนั้นอีกด้วย
    2.พลังงานแสงอาทิตย์ : ในบนหลังคาของทุกๆ ชั้นนั้น จะมีการติดแผงโซล่าเซลไว้เพื่อรับพลังงานจากแสงอาทิต ย์นำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งแหล่งเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งถือเป็นพลังงานจากแหล่งที่สองที่จะผลิตพลังงานสะ อาดที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้กับอาคารนี้อีกจุดหนึ่ง นั่นเอง 




    http://www.dynamicarchitecture.net 
    ที่มา :
    http://www.h-club.in.th/article/140
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×