ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #12 : ภาษาในกลุ่มอนาโตเลีย(อยู่ในกลุ่ม อินโด-ยูโรเปี้ยน) 2

    • อัปเดตล่าสุด 5 เม.ย. 51


    ภาษาฮิตไตต์ จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน หรืออินเดีย-ยุโรป ในอะนาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไตต์ จัดเป็นที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวีย, ภาษาไลเดีย, ภาษาไลเซีย และ ภาษาปาลา เคยใช้พูดโดยชาวฮิตไตต์ กลุ่มชนที่สร้างจักรวรรดิฮิตไตต์มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮัตตูซาสในอนาโตเลียภาคกลางตอนเหนือ (ตุรกีปัจจุบัน) ภาษานี้ใช้พูดในช่วง 1,057 – 557 ปีก่อนพุทธศักราช มีหลักฐานแสดงว่าภาษาฮิตไตต์และภาษาที่เกี่ยวข้องได้ใช้พูดต่อมาอีก 200 -300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไตต์ ภาษาฮิตไตต์จัดเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนรุ่นแรกๆ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมและเป็นพี่น้องกับภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนในสมัยโบราณ

    ประวัติ

    หลักฐานภาษาฮิตไตต์ที่รู้จักในเบื้องต้น มาจากจารึกอักษรรูปลิ่มประมาณ 25,000 แผ่น หรือเศษจารึก ที่ยังคงเก็บรักษาอยู่ในหอจดหมายเหตุเมืองโบอาซเกย (Boğazköy) ในประเทศตุรกี เรียกว่า จารึกฮิตไตต์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงจักรวรรดิฮิตไทต์ (ประมาณ 957-647 ปีก่อนพุทธศักราช) และเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องอื่นๆ ส่วนจารึกภาษาฮิตไตต์โบราณ (ประมาณ 1650-1595 ปีก่อนคริสตกาล) นั้น ยังมีการเก็บเป็นสำเนาไว้จากสมัยจักรวรรดิ และถือเป็นจารึกที่เก่าแก่ที่สุดในตระกูลภาษาอินเดียยุโรปที่เคยพบมา

    นักภาษาตะวันออกศึกษา ชื่อเบดริช โฮรซนี (Bedrich Hrozny)ได้สรุปไว้เมื่อปี พ.ศ. 2458 ว่า ฮิตไตต์เป็นภาษาในกลุ่มตระกูลอินเดียยุโรป เพราะมีการลงวิภัตติปัจจัย ของทั้งคำนามและกริยา ที่คล้ายกันกับภาษาในตระกูลเดียวกันนี้ในสมัยต้นๆ ภาษาฮิตไตต์นี้ให้ข้อมูลที่สำคัญมากเกี่ยวกับระบบเสียงของภาษาในตระกูลนี้

     ไวยากรณ์

    ภาษาฮิตไตต์ไม่มีลักษณะทางไวยากรณ์หลายอย่างที่พบในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนสมัยโบราณอื่นๆ เช่น ภาษาลิธัวเนีย ภาษาสันสกฤตและภาษากรีก คำนามมี 8 การกคือ ประธาน การเรียกขาน กรรมตรง ความเป็นเจ้าของ กรรมรอง-สถานที่ เครื่องมือ คำนามและ alative จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่พบว่ามีการใช้การกกับนามพหูพจน์น้อยกว่านามเอกพจน์ และในระยะท้ายๆพบว่าการใช้การกกับนามพหูพจน์ได้สูญหายไป นามแบ่งเป็นสองเพศคือสามัญกับเป็นกลางและมีสองจำนวนคือเอกพจน์กับพหูพจน์

    คำกริยาผันตามระดับของคำกริยาสองแบบคือการเชื่อมต่อกับ mi- และ hi- รูปการกระทำมีสองแบบคือประธานกระทำและประธานถูกกระทำ มีสองมาลาคือ ชี้เฉพาะและคำสั่ง กาลมีสองแบบคือปัจจุบันและอดีต มีรูปนามกริยาสองแบบคือนามกริยาและรูปอนุภาค การเยงประโยคเป็นแบบเดียวกับภาษากลุ่มอนาโตเลียอื่นๆ โดยทั่วไป การเริ่มต้นประโยคหรือวลีจะใช้อนุภาคเชื่อมประโยคหรืออื่นๆในรูปนำหน้าหรือรูปหัวข้อซึ่งเป็นห่วงโซ่ที่ผูกแต่ละประโยคเข้าด้วยกัน

    พูดใน:อนาโตเลีย
    Language extinction:ประมาณ 557 ปีก่อนพุทธศักราช
    ตระกูลภาษา:อินโด-ยูโรเปียน
     อนาโตเลีย
      ภาษาฮิตไตต์




    ภาษาลูเวีย เป็นภาษาที่ตายแล้วในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอนาโตเลีย ใกล้เคียงกับภาษาฮิตไตน์ ใช้พูดในฮาซาร์วาที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของชาวฮิตไตน์ ภาษาลูเวียอาจจะเป็นลูกหลานโดยตรงหรือเป็นภาษาใกล้เคียงของภาษาไลเซีย ภาษาลูเวียมีการใช้อย่างแพร่หลายในช่วง 637 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นช่วงที่จักรวรรดิฮิตไตน์เริ่มเสื่อมลง ภาษาลูเวียเป็นภาษาราชการในรัฐฮิตไตน์ใหม่ในซีเรียและอาณาจักรตาบัลในอนาโตเลียกลาง ภาษานี้มีระบบการเขียนสองระบบคือเขียนด้วยอักษรภาพแบบเฮียโรกลิฟฟิกและ อักษรรูปลิ่ม

    พูดใน:อนาโตเลีย
    Language extinction:ราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช
    ตระกูลภาษา:อินโด-ยูโรเปียน
     ภาษากลุ่มอนาโตเลีย
      ภาษาลูเวีย



    การแพร่กระจายของภาษาลูเวีย



    ภาษาปาลา เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนที่ตายแล้ว พบในจารึกอักษรรูปลิ่ม ชื่อในภาษาฮิตไตน์ของภาษานี้คือ palaumnili, หมายถึง "ของประชาชนแห่งปาลา" คาดว่าดินแดนปาลาอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณที่ชาวฮิตไตน์อาศัยอยู่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี บริเวณดังกล่าวถูกยึดครองโดยชาวกัสกัส เมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ทำให้ภาษาปาลากลายเป็นภาษาตาย

    เอกสารของชาวฮิตไตน์อ้างถึงข้อความภาษาปาลาในการกล่าวถึงเทพเจ้าซาปาร์วาทั้งหมด 21 ข้อความ เทพเจ้าซาปาร์วาเป็นเทพที่ชาวปาลานับถือในฐานะเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า โดยเรียกในภาษาของตนว่าเทพทิยัซ ส่วนในภาษาลูเวียเรียกเทพทิวัซ

    ในการเปรียบเทียบระหว่างภาษาอินโด-ยุโรเปียนโบราณ ภาษาฮิตไตน์โบราณมีการใช้ปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของเอกพจน์ -as ในช่วง 1057 ปีก่อนพุทธศักราช (เทียบได้กับ *-os ในภาษาอินโดขยุโรเปียนดั้งเดิม) ในขณะที่จารึกอักษรรูปลิ่มภาษาลูเวียใช้ปัจจัยคุณศัพท์ -ssa ส่วนภาษาปาลาใช้ปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ -as และปัจจัยคุณศัพท์ -asa ภาษาปาลามีการแบ่งเพศแบบเดียวกับภาษาฮิตไตน์คือแบ่งเป็นนามมีชีวิตและไม่มีชีวิต รูปแบบการใช้สรรพนามก็เป็นแบบเดียวกัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×