คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : สปุตนิก จุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ
4 ตุลาคม 1957
ดาวเทียมสปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน) นับได้ว่าเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นยังอวกาศ โดยมีจรวดอาร์ 7 เป็นพาหนะที่นำพาดาวเทียมดวงนี้ขึ้นสู่วงโคจร หลังจากนั้นจึงถูกปล่อยให้โคจรอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ 250 กิโลเมตร
ดาวเทียมดวงนี้มีน้ำหนักประมาณ 83 กิโลกรัม มีเสารับ-ส่งสัญญาณอยู่ 2 เสา ทำหน้าที่สำรวจพื้นผิวของโลกและชั้นบรรยากาศ สปุตนิก 1 ปฏิบัติภารกิจอยู่บนอวกาศเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และเผาไหม้กลับมายังโลกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 1958
สปุตนิก 1 ถูกส่งขึ้นจากฐานปล่อยจรวดไบโคนูร์ คอสโมโดรม ที่เมืองเตียราตาม ในคาซักสถาน ( ประเทศคาซักสถานปัจจุบัน) สำหรับชื่อดาวเทียมสปุตนิกนั้น หมายถึง “เพื่อนหรือผู้ร่วมเดินทาง” ซึ่งในเซนส์ของดาราศาสตร์แล้วก็คือ “ดาวเทียม” นั่นเอง
ทั้งนี้ในปีค.ศ. 1885 คอนสแตนติน เซียลคอฟสกีได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “ดรีม ออฟ เอิร์ธ แอนด์ สกาย” เกี่ยวกับการส่งดาวเทียมขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้อย่างไร และจากแนวคิดนี้เองทำให้ทางการโซเวียตเดินหน้าโครงการทางด้านอวกาศในทันที
หลังจากดินแดนหมีขาวประสบความสำเร็จในการส่งสปุตนิก 1 ขึ้นไปสำรวจพื้นผิวโลก จึงส่งดาวเทียมสปุตนิก 2 ตามขึ้นไปอีก โดยที่ดาวเทียมดวงนี้ทางโซเวียตได้ส่ง “ไลก้า” หมาน้อยที่ถูกส่งขึ้นไปด้วย ทั้งนี้นับได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่ได้ขึ้นไปสำรวจอวกาศ แต่โครงการดาวเทียมของโซเวียตก็ต้องประสบกับความล้มเหลวเป็นครั้งแรกเมื่อดาวเทียมสปุตนิก 3 ไม่สามารถส่งขึ้นไปในอวกาศได้
ในปีค.ศ. 2003 แบบจำลองของสปุตนิก 1 ที่มีชื่อว่า “โมเดลพีเอส 1” ถูกนำไปเสนอขายบนเว็บไซต์อีเบย์ ซึ่งในปัจจุบันโมเดลตัวนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน ทั้งนี้มีการประมาณการไว้ว่าก่อนที่จะประสบความสำเร็จมาเป็น “สปุตนิก 1” นั้น ดาวเทียมดวงนี้มีแบบจำลองเพื่อทำการทดสอบมากถึง 20 แบบ
นอกจากนี้แบบจำลองของสปุตนิก 1 ยังประดับไว้อยู่ตรงโถงทางเข้าของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ในมหานครนิวยอร์ก โดยทางรัสเซียมอบไว้ให้เป็นของขวัญ และเป็นการรำลึกถึงความสำเร็จทางด้านอวกาศครั้งยิ่งใหญ่ต่อมวลมนุษย์โลก
ความคิดเห็น