คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : กำเนิดจักรวาล : สว่างไสวไปทั่วทั้งจักรวาล
สว่างไสวไปทั่วทั้งจักรวาล
กลุ่มก๊าซมาเจลานิกเป็น กาแลกซี่ที่มีรูปร่างประหลาด
ราว 100 วินาทีหลังจากเกิดบิ๊กแบ็งขึ้น อุณหภูมิของกลุ่มก๊าซและฝุ่นในอวกาศก็ลดลงจน ‘เหลือเพียง’ 1.8 พันล้านองศาฟาเรนไฮต์ ทำให้อนุภาคย่อยของอะตอมรวมตัวกัน และตามที่นักดาราศาสตร์คาดเอาไว้ ภายในเวลาสามนาทีที่เกิดบิ๊กแบ็ง ธาตุทางเคมีตัวแรกก็เริ่มก่อตัวขึ้น รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ก็เริ่มปรากฏขึ้น!
หนึ่งล้านปีถัดมา ขณะที่จักรวาลเริ่มมีพัฒนาการขึ้น ก๊าซก็เริ่มหดตัวรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่หลายกลุ่มในลักษณะของกาแล็กซี สิ่งเหล่านี้จะเกิดเป็นกาแล็กซีต่าง ๆ ในจักรวาลและหนึ่งในนั้นก็เป็นกาแล็กซีของเรา-ทางช้างเผือก กาแล็กซีที่อยู่ใกล้กับเรามากที่สุดคือ แอนโดรมีด้า ซึ่งอยู่ห่างออกไป ‘เพียง’ 2.3 ล้านปีแสงเท่านั้น
เนบิวลาคือกลุ่มก๊าซที่ประกอบไปด้วยก๊าซและฝุ่นผงในอวกาศ เราสามารถมองเห็นมันได้เมื่อดาวฤกษ์ที่อยู่ในนั้นส่งความร้อนออกมาจนก๊าซที่อยู่ในบริเวณนั้นเปล่งแสงออกมา (แผ่รัศมีหรือในเวลาที่เนบิวลาสะท้อนแสงจากดาวฤกษ์ นอกจากนี้ เรายังสามารถมองเห็นมันได้เวลาที่มันทำให้แสงของวัตถุที่อยู่ไกลออกไปหมองลงอีกด้วย (เนบิวลามืด) เนบิวลารูปหัวม้าคือตัวอย่างของเนบิวลามืดนี้ ขณะที่กลุ่มดาวลูกไก่เป็นตัวอย่างของเนบิวลาชนิดสะท้อนแสง
สามพันล้านปีหลังจากการระเบิด จักรวาลก็เริ่มสว่างไสวขึ้น 1. 2. 3. 4. จากhttp://www.rmutphysics.com/CHARUD/scibook/big-bang/index/indexpic6.htm
***หมายเหตุเรื่องของเนบิวล่าจะนำมาเสนออย่างละเอียดในอนาคต***
ความคิดเห็น