ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #4 : ทุนนิยม

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.ค. 51


    คำว่า นั้นมีหลายคำนิยาม  สำหรับที่ใช้กันทั่วไปจะหมายถึงระบบ

    เศรษฐกิจที่ ทุนและที่ดินเป็นสมบัติส่วนบุคคล, การตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็น

    กิจกรรมส่วนบุคคล ไม่ใช่การควบคุมบริหารโดยรัฐ, และตลาดเสรีหรือ
    เกือบเสรี

    จะเป็นตัวกำหนดราคา ควบคุมและระบุทิศทางการผลิต รวมถึงเป็นที่สร้างรายรับ

    บางคนกล่าวว่าระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันของโลกตะวันตกคือระบบทุนนิยม

    ในขณะที่หลายคนมองว่าในบางประเทศก็มีระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผสม

    กล่าวคือ, มีลักษณะเฉพาะของทั้งทุนนิยมและรัฐนิยม



    ทฤษฎีเกี่ยวกับทุนนิยมถูกพัฒนาขึ้นในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18, 19 และ 20

    ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม

    และลัทธิจักรวรรดินิยมของยุโรป (เช่น แอดัม สมิท, ริคาร์โด, มาร์กซ),

    ภาวะตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ หรือ The Great Depression (เช่น เคนส์), และ

    สงครามเย็น (เช่น ฮาเย็ค, ฟรีดแมน) นักทฤษฎีเหล่านี้กล่าวว่าทุนนิยมคือ

    ระบบที่ให้คุณค่ากับการที่ราคาถูกตัดสินในตลาดเสรี นั่นคือโดยการค้าที่เป็นผล

    มาจากการตกลงด้วยความสมัครใจของผู้ซื้อและผู้ขาย ความคิดเชิงตลาด จิต

    วิญญาณของผู้ประกอบการ และความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินและสัญญาที่

    ชัดเจนและบังคับได้ตามกฎหมาย ทฤษฎีเหล่านี้โดยทั่วไปจะพยายามอธิบายว่า

    ทำไมทุนนิยมจึงมีแนวโน้มที่จะสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มากกว่าใน

    ระบบอื่นๆ ที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทจัดการในระดับที่สูงกว่า (ดู เศรษฐศาสตร์,

    เศรษฐศาสตร์การเมือง, นโยบายแบบปล่อยให้ทำไป) มีหลายทฤษฎี

    เน้นว่าสิทธิการถือครองส่วนบุคคลของทุนคือแก่นของระบบทุนนิยม ในขณะที่

    บางทฤษฎีเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของตลาดเสรี ที่เป็นกลจักรที่ทำให้เกิด

     

    การเคลื่อนย้ายและสะสมตัวของทุน บางทฤษฎีชี้การขยายตัวของระบบ

    การค้าระหว่างประเทศ และบางทฤษฎีสนใจผลของตลาดต่อแรงงานมนุษย์

    ทฤษฎีที่กล่าวมาหลายทฤษฎีได้ชี้ให้เห็นถึงการที่แนวปฏิบัติทางเศรษฐกิจ

    หลายๆ แนวได้ถูกทำให้เป็นสถาบันในยุโรประหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16

    ถึง 19 ที่สำคัญเช่น สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะสามารถทำการได้แบบ

    "นิติบุคคล" (หรือบรรษัท) ในการซื้อและขายสินทรัพย์ และที่ดิน, แรงงาน,

    เงินตรา ในตลาดเสรี (ดู การค้า), และสามารถวางใจได้ว่ารัฐจะสามารถ

    บังคับให้เกิดการเคารพสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล แทนที่จะต้องพึ่งการ

    คุ้มครองแบบศักดินา

    การโต้เถียงเกี่ยวกับทุนนิยมยังคงมีอยู่ในเรื่องต่างๆ เช่น

    ·        1.ทุนนิยมเป็นระบบที่มีตัวตนอยู่จริงๆ หรือเป็นแค่อุดมคติ

    ·         

    ·        2.ทุนนิยมได้เกิดขึ้นจริงๆ แล้วในบางระบบ

    ·         

    ·        เศรษฐกิจหรือไม่ หรือถ้ายังไม่มีจริง ในระดับใดที่ทุนนิยมได้เกิดขึ้นแล้วในระบบเหล่านั้น (ดู เศรษฐกิจแบบผสม)

    ·         

    ·        3.ทุนนิยมนั้นเป็นระบบที่เกิดขึ้นเฉพาะเจาะจงในช่วงประวัติศาสตร์หรือไม่ (นั่นคือ ทุนนิยมเกิดขึ้นในช่วงเวลาและสถานที่เฉพาะ) หรือเป็นระบบที่เกิดขึ้นในหลายๆ ที่ และในหลายๆ ช่วงเวลา

    ·         

    ·        4.ทุนนิยมเป็นแค่ระบบเศรษฐกิจเท่านั้น หรือว่าเป็นระบบที่รวมไปถึงระบบการเมือง ระบบสังคม และระบบวัฒนธรรมด้วย

    ·         

    ·        5.ทุนนิยมเป็นระบบที่ยั่งยืนหรือไม่

    ·         

    ·        6.ทุนนิยมเป็นระบบที่สมเหตุสมผลหรือไม่

    ·         

    ·        7.ทุนนิยมมีแนวโน้มที่จะขยายความร่ำรวยให้กับคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ หรือจะเพิ่มจำนวนคนยากจนมากขึ้นเรื่อยๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×