ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลน่ารู้

    ลำดับตอนที่ #3 : กำเนิดจักรวาล : แนวคิดแรก

    • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ค. 52


    แนวคิดแรก   

        นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าแท่งหินขนาดใหญ่ที่พบที่สโตนเฮนจ์  ในประเทศอังกฤษ  ถูกใช้สำหรับการเฝ้าดูดาวบนฟากฟ้า

         

                     หลายศตวรรษมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์เฝ้าสงสัยว่าจักรวาลของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร ตามธรรมเนียมโบราณบางอย่าง  ผู้คนเชื่อว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นเทพเจ้าที่เป็นมิตรกับมนุษย์  เนื่องจากดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างและความอบอุ่นในตอนกลางวัน   ขณะที่ดวงจันทร์ช่วยส่องแสงขับไล่ความมืดมิดในเวลากลางคืน 

          
                     ในที่สุดนักดาราศาสตร์ในยุคต้น ๆ จึงได้เฝ้าสังเกตการณ์ท้องฟ้าตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกแม้ว่าพวกเขาจะทำงานพลาดอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม  เช่น  ในสมัยกรีกโบราณ   พวกเขาเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

            
                     ในศตวรรษที่ 16 นักดาราศาสตร์ชาวโปลิชชื่อ  นิโคลาส  โคเปอร์นิคัสได้ทำการพิสูจน์ให้เห็นว่าทั้งโลกและดาวเคราะห์อื่น ๆ ต่างก็โคจรอยู่ในระบบสุริยจักรวาล  ที่ต้องหมุนไปรอบดวงอาทิตย์  ในปี พ.ศ.  2323 (ค.ศ. 1780)  นักวิทยาศาสตร์พบว่าดาวฤกษ์หลายล้านดวงที่เรามองเห็นจากโลกของเรานั้น  ก่อตัวเป็นกาแล็กซีที่เรียกว่า  ทางช้างเผือก    

     

          ปโตเลมี  นักดาราศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่  2  คิดว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล  และทั้งดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่น ๆ ต้องหมุนรอบโลก

     

                         กรีกโบราณเชื่อว่าพระอาทิตย์เดินทางข้ามท้องฟ้าด้วยราชรถที่ขับเคลื่อนโดยเทพฮีลิโอ

                      
                         ภาพจักรวาลตามแนวคิดของโคเปอร์นิคัส
      แนวคิดของเขาถือได้ว่าตรงกันข้ามกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์  ที่เป็นทางการ’  และเป็นเสมือนตัวแทนของโบสถ์คาธอลิคในสมัยนั้นอย่างสิ้นเชิง

    1.ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาลและดาวเคราะห์ต่าง ๆ ก็โคจรรอบมัน

    2.โลกเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

    3.วงของกลุ่มดาวที่ไม่เคลื่อนที่

     

     

    จาก
    http://www.rmutphysics.com/CHARUD/scibook/big-bang/index/indexpic3.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×