คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : เลี้ยงไก่ชน
ยาบำรุง
บอระเพ็ดผง
หัวแห้วหมูผง
กระเทียมครึ่งกิโล บดให้ละเอียดตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง
กระชาย 2 กำ ตากแดดให้แห้งบดให้เป็นผง
พริกไทยเม็ด บดให้เป็นผง
ยาดำ บดให้เป็นผง
นกกระจอก 7 ตัว ย่างไฟให้สุกตากแดดให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผง
ปลาช่อนครึ่งกิโล ย่างไฟให้สุกตากแดดให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผง
ดีปรี 3 เม็ด บดให้เป็นผง
การลงกระเบื้อง
การลงขมิ้น
การกราดแดด
การวิ่งสุ่ม
การวิ่งสุ่มนั้นเป็นวิธีการที่ทำให้ไก่มีกำลังขามาก การวิ่งสุ่มที่จะทำให้ไก่มีกำลังมากๆจริง ให้คน ล่อไก่นำไก่ล่อไปนั่งในสุ่มใหญ่ๆ กว้างประมาณ 1.80 ซ.มสูงประมาณ 1.50 ซ.มนำไปล่อไก่ที่เรา จะเลี้ยง ให้มันโมโหเสียก่อนแล้วไก่จะวิ่งดี พอเข้าไปนั่งในสุ่มพร้อมกับไก่ล่อแล้ว ให้ยกไก่ล่อวน ข้างในสุ่มเพื่อเป็นการล่อไก่ตัวนอกให้วิ่งไปข้างซ้าย-ขวา ข้างละ 20 รอบ วันแรกอาจจะวิ่งได้ ประมาณ 50-60 รอบ แต่ว่าวันต่อมาให้วิ่งวันละ 100 รอบ วิ่งทุกวัน วิ่งจนกว่านับรวมกันแล้วให้ได้ 1,500 รอบ แล้วจากนั้นวิ่งประจำวัน วันละ 100 รอบ วิ่งเสร็จให้เอาขนไก่แหย่คอ แล้วก็เริ่มล่อต่อ การล่อต่อจากการวิ่งสุ่ม คือ ล่อให้ไก่ย้ายจับไก่ล่อคุมปากเสียแล้วล่อวนไปทางซ้าย 10 รอบ ทางขวา 10 รอบ การล่อวนซ้าย-ขวานี้ใหม่ๆไก่จะล้ม วนได้สัก
2-3 รอบจะล้ม ให้ล่อจนกว่าไก่จะ ไม่ล้มเป็นใช้ได้ ถ้าวนซ้าย 10 รอบ ขวา 10 รอบยังล้มอยู่ยังใช้ไม่ได้ล่อให้มันกระโดดบ้างก็ได้ ให้กระโดดสัก 30 ครั้งก็พอ พื้นรองให้ไก่กระโดดต้องใช้พรมรองพื้น หรือบริเวณที่ดินอ่อนๆ มิเช่นนั้น อุ้งเท้าไก่จะเจ็บหรือบวมได้ อาจจะกลายเป็นหน่อก็ได้ การล่อไก่ก็เหมือนกันควรล่อบน พรม หรือพื้นดินที่นุ่มๆ เวลาไก่วิ่ง หรือไก่ย้ายตีนและนิ้วจะได้ไม่พอง
ข้อสำคัญ ในสังเวียนไก่ตามบ่อนต่างๆ นิยมใช้พรมปูพื้น การเลี้ยง การล่อไก่จึงต้องปูพื้นพรม เหมือนในบ่อน จะทำให้ไก่เคยชินกับพื้น ถ้าเลี้ยงหรือล่อตามพื้นดิน พอไปชนในสังเวียนที่มีพื้น พรมไก่ก็จะตีไม่เหมือนเดิม จะลื่น จะล้มไปเลย
การล่อไก่
วิธีการอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวิธีใช้เพื่อเสริมสร้างพละกำลังของไก่ที่ใช้กันมานานและได้ผลดีมากคือ การล่อไก่ ด้วยสาเหตุที่ว่าเพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของไก่ให้ พร้อมเพื่อจะนำไปชน การล่อไก่จะล่อเหมือนกันทุกตัวไม่ได้เพราะพื้นฐานของร่างกายไก่ไม่เท่ากันและในการล่อก็ต้องมี
การวางแผนกำหนดการล่อด้วย หากไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการ ล่อไก่ เมื่อถึงวันที่นำไก่ไปชนไก่ที่เลี้ยงอาจจะไม่แข็งแรงพออย่างที่หวังไว้ซึ่งหากว่าล่อหนัก เกินไปกลัวว่าไก่จะแรงไม่ดี เมื่อถึงวันชนไก่ที่เลี้ยงอาจบินล้ม ตีลังกา แข้งขาอ่อนไปเลย เพราะการที่ล่อหนักเกินไปอาจทำให้กล้ามเนื้อของไก่ฉีกขาดหรืออักเสบได้ แต่ถ้าล่อไก่น้อยเกินไปกลัวไก่เหนื่อย หากถึงวันชนจะไม่มีแรง อาจจะแรงดีในช่วงแรกเพียง 1-2 ยกเท่านั้น พอเบียดกันเลย 3 อันก็หมดแรง หรือบางตัวอาจบินไม่โปร่งเพราะอ้วนเนื่องจากออกกำลังน้อยเกินไปทำให้ไขมันเยอะ วึ่งรายละเอียด ความพอดีและวิธีการล่อไก่นั้นสำคัญมาก
ลงนวมไก่
การเลี้ยงไก่ชนเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน ความชำนาญและประสบการณ์อย่างมากการให้ไก่ได้ออกกำลังอย่างเช่น วิ่งสุ่ม ล่อ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะทำให้ไก่แข็งแรง พละกำลังดีและอีกวิธีหนึ่งก็คือ การลงนวมไก่ เป็นวิธีการซึ่งใช้ในการสร้างเสริมกำลังวังชาและความแข็งแกร่งของไก่โดยตรง ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เริ่มนำไก่มาเลี้ยงใหม่จนถึงเลี้ยงออกชน การลงนวมไก่แยกย่อยออกเป็นรายละเอียดและเคล็ดลับต่างๆได้ดังนี้
การหาไก่คู่นวม ไก่ที่นำมาเป็นคู่ลงนวมไก่นั้นควรเป็นไก่ที่อายุใกล้เคียงกัน หากว่าไก่ที่เลี้ยงเป็นไก่หนุ่มแล้วนำไก่ที่มีอายุดีมาทำการลงนวม ไก่ที่เลี้ยงอาจโดนตีระบมภายในได้ แต่ถ้าไก่เลี้ยงเป็นไก่ที่มีอายุดีแล้ว สามารถนำไก่ที่มีอายุดีเช่นกันมาลงนวมได้ ไก่ที่นำมาใช้เป็นคู่นวมนั้นต้องมีน้ำหนัก รูปร่างใกล้เคียงกัน อย่าให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก และที่สำคัญไม่ควรนำไก่เชิงมาเป็นคู่นวม เพราะหากไก่เลี้ยงเชิงไม่ดีจะทำให้เสียเชิงได้ เมื่อได้คู่นวมที่ต้องการแล้วควรตัดเดือยออกให้ราบติดแข้ง เพื่อป้องกันไก่เลี้ยงโดนสาดอาจทำให้เจ็บระบมภายในได้
อุปกรณ์ที่ใช้ในการลงนวม
นวมพันแข้ง
พลาสเตอร์
นวมปาก
วิธีเตรียมไก่ก่อนลงนวม นำไก่คู่นวมที่เตรียมไว้มาพันแข้งให้เรียบร้อย ควรพันพลาสเตอร์ที่เล็บของไก่คู่นวมด้วยทุกนิ้ว เช็ดน้ำธรรมดาให้ทั่วตัวป้อนน้ำให้กิน นำนวมปากสวมคลุมทั้งปากบนและปากล่าง แล้วนำไก่ที่เลี้ยงมาพันนวมให้เรียบร้อยด้วย หากว่าไก่ที่เลี้ยงตอเดือยเล็กควรคาดเดือยกันเดือยโค่นก่อนทำการพันแข้ง ควรพันพลาสเตอร์รองก้อยด้วยเพื่อป้องกันก้อยถลอกหรือหัก เช็ดน้ำไก่ให้ทั่วด้วยน้ำสะอาด ยอนคอแล้วป้อนน้ำให้กิน นำนวมปากมาสวมทั้งปากบนและปากล่าง แล้วจึงทำการลงนวมได้
เทคนิคและวิธีการลงนวมก่อนปล้ำในการลงนวมไก่นั้นสามารถลงนวมได้ตั้งแต่เริ่มนำไก่มาเลี้ยงไปจนถึงการลงนวมไก่ออกชน ซึ่งถ้าทำอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะทำให้ไก่แข็งแรง พละกำลังดีและแข็งแกร่ง นอกเสียจากไก่บางประเ3ทอย่างไก่พม่าที่ไม่นิยมลงนวม ในการลงนวมนั้นจะต้องมีการวางกำหนดการในการลงนวมเสียก่อน เพื่อเป็นการกำหนดวันที่จะลงนวมว่าจะลงนวมทั้งหมดกี่ครั้งและพักไก่กี่วัน ในช่วงเวลาที่เลี้ยงไก่ก่อนนำไปปล้ำ ตัวอย่าง เช่น ไก่ที่เราเลี้ยงปล้ำในวันอาทิตย์มา 2 อัน แล้วอีกสองสัปดาห์ถัดไปในวันอาทิตย์ จะทำการปล้ำอีกครั้ง แสดงว่าเรามีเวลาในการเลี้ยงทั้งหมด 13 วัน ผู้เลี้ยงต้องทำการวางกำหนดการภายใน 13 วันว่าจะพักไก่กี่วัน ลงนวมกี่วัน แล้วพักไก่ก่อนนำไปปล้ำกี่วัน ในการพักไก่หลังจากการปล้ำนั้น ควรพักไก่อย่างน้อย 5-6 วัน เพื่อให้บาดแผลตกสะเก็ดและร่วงเสียก่อน ให้สังเกตว่าบาดแผลไก่เริ่มบางใกล้หายจึงเริ่มลงนวม และในการพักไก่หลังจากที่ลงนวมมาไม่ว่าจะลงนวมไปกี่ครั้ง ก็ควรจะมีการพักไก่เสียก่อนจะนำไปปล้ำ
ควรจะพักอย่างน้อย 2 วัน เพื่อเป็นการคลายความเมื่อยล้า คลายเนื้อคลายตัว ตัวอย่างการวางกำหนดการลงนวมไก่ก่อนปล้ำในกำหนดเวลาเลี้ยง 13 วันก่อนนำไปปล้ำ
วันที่ 1 - 2 ปล่อยให้ไก่พัก เช็ดน้ำและประคบกระเบื้องหรือนวดยา ไม่ต้องให้ไก่วิ่งสุ่ม ปล่อย
ให้ไก่อยู่ในตาข่ายกว้างๆก็พอ
วันที่ 3 - 6 ปล่อยให้ไก่พัก เช็ดน้ำและประคบกระเบื้อง ให้ไก่วิ่งสุ่มในช่วงเช้าและบ่าย
วันที่ 7 ลงนวมช่วงเช้าตรู่ อันเดียว 25 นาที เช็ดน้ำหรือประคบกระเบื้องนวดยาตามปกติ
วิ่งสุ่มช่วงบ่ายก่อนเช็ดน้ำอีกครั้ง
วันที่ 8 ให้วิ่งสุ่มในช่วงเช้าก่อนเช็ดน้ำ และประคบกระเบื้องนวดยาตามปกติ วิ่งสุ่มในช่วงบ่าย
ก่อนเช็ดน้ำอีกครั้ง
วันที่ 9 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 7
วันที่ 10 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 8
วันที่ 11 ลงนวมช่วงเช้าตรู่ อันเดียว 30 นาที เช็ดน้ำและประคบกระเบื้องนวดยาตามปกติ
วิ่งสุ่มช่วงบ่ายก่อนเช็ดน้ำอีกครั้ง
วันที่ 12 - 13 พักไก่ ไม่ต้องวิ่งสุ่ม เช็ดน้ำธรรมดา ไม่ต้องประคบกระเบื้อง ปล่อยให้ไก่เดิน
ทุกครั้งก่อนที่จะทำการลงนวมต้องเตรียมตัวไก่ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเสียก่อน และควรทำการลงนวมในช่วงเช้าตรู่ของวันที่จะทำการลงนวม
การโดดหลุม
การโดดหลุม การบินหรือการโดดบ่อก็คือการให้ไก่ได้มีกำลังขามากๆ กำลังปีกมากๆ แต่ความแข็งจะไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ การบินหลุมนี้ส่วนมากจะผ่านการวิ่งมาก่อน ผ่านการเลี้ยง เอากำลังมาก่อนทั้งนั้น การบินหลุมเป็นส่วนประกอบในการเลี้ยงไก่เหมือนกัน ไม่ใช่วิธีการเลี้ยงแบบหลักๆที่สำคัญ ถ้าบินหลุมอย่างเดียวไม่ให้ไก่ออกกำลังขาวิ่งบ้างความแข็งก็จะไม่มากพอ ต้องวิ่งสุ่มเสียก่อนแล้วค่อยบินหลุม ต่อไปก็ทำการล่อความแข็งก็จะแข็งมาก
หลุมที่ใช้บินในอดีตจะใช้เป็นหลุมดินที่ขุดลึก 1 - 1.5 เมตร กว้าง 1 เมตร ส่วนพื้นจะใช้วัสดุที่นุ่มๆรอง เช่นฟางข้าว สำหรับจำนวนครั้งที่ให้ไก่กระโดด ถ้าเป็นไก่หนุ่มโดดใหม่ๆก็ควรให้โดดสัก 10 ครั้งก่อนแต่ต้องสังเกตด้วยว่าไก่หอบหรือไม่ ถ้าไก่หอบมากก็ควรให้หยุดก่อนแล้วค่อยเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นในต่อไป ปัจจุบันหลุมโดดไก่มีการใช้ถังส้วมแทนการขุดหลุม และใช้กระสอบหรือฟองน้ำรอง เพื่อลดแรงกระแทก
การว่ายน้ำ
การว่ายน้ำนั้นก็เพื่อต้องการให้ไก่ได้กำลังปีก กำลังอกทำให้กล้ามบริเวณหน้าอกแข็งกำลังปีกจะแข็งแกร่งและได้กำลังได้ดีมาก แต่กำลังขาไม่ค่อยได้มากเท่าที่ควร เพราะขาทำหน้าที่ว่ายน้ำเบาๆไม่ได้ ไม่ได้รับน้ำหนักอะไรมากนัก การว่ายน้ำไก่ส่วนมากจะว่ายกันในช่วงบ่ายหลังจากที่มีการออกกำลังไก่ไปแล้ว สถานที่ควรเป็นสระที่มีความกว้าง 2 - 3 เมตร มีน้ำไม่เต็มนัก การว่ายน้ำถ้าไก่ยังไม่เคยควรจะประคองหัดให้ว่ายก่อน โดยใช้มือข้างหนึ่งประคองที่อก ส่วนอีกข้างให้ประคองที่หลัง แรกๆก็ให้ว่ายน้อยๆก่อน หลังจากนั้นค่อยเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ว่ายน้ำเสร็จถ้ามีแดดก็ให้ไก่ตากแดดก่อนสักพักถ้าฝนตกควรใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้ขนแห้ง
credit by ฐานข้อมูลไก่ชน
อ่านเพิ่มเติม เข้า www.google.com พิม เลี้ยงไก่ชน
ความคิดเห็น