คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : การศึกษาโครงการประเมิน โครงการประเมินผลโครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหาร
การศึกษาค้นคว้าโครงการประเมินโครงการทางการศึกษา
กรณีที่ 1
โครงการประเมินผลโครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา
แผนงาน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม
สนองกลยุทธ์ ข้อที่ 1 (งานจัดการเรียนการสอน)
นโยบายและจุดเน้น ข้อที่ 3 (งานสนับสนุนการจัดการศึกษา)
กลุ่มที่รับผิดชอบ กลุ่มอำนวยการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมถวิล ดิษสวรรค์ และนางสาววิภาวดี บุญส่ง
ลักษณะโครงการ ต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2550
ความเป็นมาและความสำคัญของการประเมิน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 มีภารกิจรับผิดชอบในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัด ทั้งด้านการบริหารจัดการศึกษา การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล รวมทั้งภารกิจด้านอื่น ๆ ที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบให้มีผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์ ดังนั้น ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการบริหาร งานการจัดการศึกษาแบบบูรณาการและนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governace) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการศึกษา จะทำให้เป็นหน่วยงานงานและมีการบริหารจัดการที่ดีมีความเพียบพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทำให้การจัดการศึกษาในยุคของการปฏิรูปการศึกษามีผลสัมฤทธิ์สูงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างน่าพึงพอใจ
เพื่อให้ทราบประสิทธิผลการดำเนินงาน ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการจึงจัดโครงการประเมินผลโครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและ ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการในครั้งต่อไป
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 มีภารกิจรับผิดชอบในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัด ทั้งด้านการบริหารจัดการศึกษา การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล รวมทั้งภารกิจด้านอื่น ๆ ที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบให้มีผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์ ดังนั้น ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการบริหาร งานการจัดการศึกษาแบบบูรณาการและนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governace) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการศึกษา จะทำให้เป็นหน่วยงานงานและมีการบริหารจัดการที่ดีมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทำให้การจัดการศึกษาในยุคของการปฏิรูปการศึกษามีผลสัมฤทธิ์สูงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างน่าพึงพอใจ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 จึงได้จัดทำโครงการประชุมสัมมนาผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษานี้ขึ้น เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ได้รับข่าวความเคลื่อนไหว ระเบียบข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติของทางราชการเพื่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์การประเมินผลโครงการ มีดังนี้
1. เพื่อประเมินบริบทโครงการ
2. เพื่อประเมินปัจจัยดำเนินโครงการ
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ
แบบจำลองที่ใช้ในการประเมิน
รูปแบบการประเมินผลโครงการนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิบ (CIPP Model) โดยปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับลักษณะและประเภทของโครงการที่มุ่งประเมิน สำหรับวิธีการประเมิน แสดงในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 วิธีการประเมินผลโครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา
วัตถุประสงค์ | ข้อมูลที่ต้องการ | แหล่งข้อมูล | เครื่องมือ | วิธีวิเคราะห์ข้อมูล | เกณฑ์การตัดสินใจ |
1.เพื่อประเมินสภาพบริบทของโครงการ | 1. ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 2.ความต้องการของผู้บริหารการศึกษาตาก เขต1 และ ผู้บริหารสถานศึกษา | 1. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 2. การสอบถาม | 1. การวิเคราะห์เอกสาร 2.แบบสอบถาม | พิจารณาความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และความต้องการของผู้เข้าร่วม โครงการจากแบบสอบถาม (Rating Scale) 5 ระดับ | |
2. เพื่อประเมินปัจจัย การดำเนินโครงการ | 1. ความพร้อมของ บุคลากร 2. งบประมาณ 3. วัสดุอุปกรณ์ 4. เอกสาร 5. สถานที่ 6. ระยะเวลา | 1. ผู้ดำเนินโครงการ 2. ผู้บริหารการศึกษา 3.ผู้บริหารสถานศึกษา | แบบสอบ ถาม | พิจารณาความพร้อม/ ความเหมาะสมของบุคลากร/งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์/เอกสาร/สถานที่/ระยะเวลาจากการตอบแบบสอบถามโดยใช้ Rating Scale 5 ระดับ | |
3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ | 1. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ 2. การจัดกิจกรรม 3. ปัญหาอุปสรรค | 1. ผู้ดำเนินโครงการ 2. ผู้เข้าร่วม โครงการ | แบบสอบถาม | 1. พิจารณาความต่อเนื่องความเหมาะสมของขั้นตอนดำเนินการและการจัดกิจกรรม 2. พิจารณาปัญหาอุปสรรค ใช้แบบ Check list | พิจารณาจากค่าร้อยละ (%)และเรียงลำดับความถี่ |
4. เพื่อประเมิน ผลผลิตของโครงการ | 1. ความรู้ความเข้าใจในระเบียบและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา 2. แนวทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน | 1. ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 2.ครูในสถานศึกษา | 1. แบบสอบถาม 2.แบบสังเกต 3.แบบสัมภาษณ์ | 1.พิจารณาจากการตอบแบบสอบถาม 2 .พิจารณาจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ |
วิธีดำเนินการประเมิน
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้บริหารการศึกษาตาก เขต 1และผู้บริหารสถานศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list)
ตอนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการประชุม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ( Rating Scale) โดยสอบถามตามองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ
1. ด้านสภาพบริบทของโครงการ
2. ด้านปัจจัยการดำเนินโครงการ
3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ
การสร้างเครื่องมือ
ผู้ประเมินสร้างเครื่องมือตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การบริการบ้านเมืองที่ดี (good Governace)
2. กำหนดกรอบแนวคิดในการประเมินผลโครงการ
3. กำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
4. สร้างแบบสอบถามฉบับร่าง แล้วนำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถาม
5. ปรับปรุงแบบสอบถาม
6. นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try Out) ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Realiability)โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (∞)
7. นำแบบสอบถามไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์แล้วนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ดำเนินการด้วยตนเองทุกขั้นตอน
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
1. ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (แบบ Check list) วิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องการโดยการหาค่าร้อยละ (%) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย
3. ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (แบบ Open-Ended) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดลำดับความถี่และหาค่าร้อยละ
ขอบเขตการประเมิน
ขอบเขตด้านเนื้อหา
การประเมินผลโครงการนี้มุ่งศึกษาผลการดำเนินการตามโครงการ ตามองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ
สภาพบริบทของโครงการ
ปัจจัยการดำเนินโครงการ
กระบวนการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 5 คน และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 จำนวน100 คน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตามตารางดังนี้
ระยะเวลาการดำเนินงาน | ปี พ.ศ. 2550 | หมายเหตุ | |
กันยายน 2550 | ตุลาคม 2550 | ||
1. กำหนดเค้าโครงการประเมินโครงการ 2. สร้างเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล 3. เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับประเมินผลโครงการ 4. วิเคราะห์ข้อมูล 5. เขียนรายงานประเมินผลโครงการและนำเสนอ |
8. งบประมาณและทรัพยากร
งบประมาณทั้งสิ้น 660 บาท แยกตามรายละเอียดดังนี้
1. ค่ากระดาษ A4 จำนวน 4 รีมๆละ 120 บาท เป็นเงิน 480 บาท
2. ค่ากระดาษปกรายงาน 1 ห่อๆละ 80 บาท เป็นเงิน 80 บาท
3. ค่าจัดจ้างเข้าเล่มรายงาน 10 เล่ม ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 660 บาท
(หกร้อยหกสิบบาทถ้วน)
9. บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. นางประไพ วิสุทธิ์นวรัตน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 8 ว
2. นางสาววิภาวดี บุญส่ง บุคลากร 6
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลของการประเมินโครงการนี้ คาดว่าจะได้ประโยชน์ดังนี้
ได้ข้อมูลสารสนเทศในการนำไปแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาโครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา
1. หลักการและเหตุผล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 มีภารกิจรับผิดชอบในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัด ทั้งด้านการบริหารจัดการศึกษา การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล รวมทั้งภารกิจด้านอื่น ๆ ที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบให้มีผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์ ดังนั้น ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการบริหาร งานการจัดการศึกษาแบบบูรณาการและนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governace) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการศึกษา จะทำให้เป็นหน่วยงานงานและมีการบริหารจัดการที่ดีมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านทำให้การจัดการศึกษาในยุคของการปฏิรูปการศึกษามีผลสัมฤทธิ์สูงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างน่าพึงพอใจ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 จึงได้จัดทำโครงการประชุมสัมมนาผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษานี้ขึ้น เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ได้รับข่าวความเคลื่อนไหว ระเบียบข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติของทางราชการเพื่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจระเบียบ หลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและนำไปปฏิบัติ
2.2. เพื่อให้ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1, รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1, เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน, หัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม, หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน, ประธานกลุ่มโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 150 คน
3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ความเข้าในใจระเบียบ กฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.2.2 ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษามีแนวทางและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. กิจกรรมและวิธีการดำเนินงาน
4.1 ลักษณะกิจกรรม
จัดประชุมสัมมนาให้ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาตาก เขต 1
4.2 กิจกรรมการดำเนินการ
กิจกรรม | ระยะเวลา | ผู้รับผิดชอบ |
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ | ต.ค. 2549 | นางสาว |
2. ดำเนินงานตามโครงการ | ||
- ประชุมสัมมนาผู้บริหารการศึกษา - ประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 | ต.ค. 2549 ก.ย. 2550 พ.ย. 2549, พ.ค. 2550 | |
3) นิเทศติดตามผลการดำเนินงานโครงการ | ก.ย. 2550 | |
4) สรุปรายงานการประเมินโครงการ | ก.ย. 2550 | |
5. งบประมาณที่ใช้
เงินงบประมาณ 40,000 บาท ได้มาจาก งบพัฒนา สพท.ตาก เขต 1
ดังมีรายละเอียดประกอบการใช้งบประมาณ ดังนี้
ที่ | กิจกรรม /รายละเอียด | เป้าหมาย (ระบุหน่วยนับ) | งบประมาณที่ใช้ในโครงการ | |||
ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าน้ำมัน | รวม | |||
1 2 | ประชุมสัมมนาผู้บริหารการศึกษา ประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา (ขออนุมัติถัวจ่ายทุกรายการ) | 40 คน 24 วัน 150 คน 4 วัน | 9,000 18,000 | 3,000 10,000 | - - | 12,000 28,000 |
รวมงบประมาณที่ใช้ทั้งสิ้น | 27,000 | 13,000 | - | 40,000 |
6. การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ | วิธีการประเมิน | เครื่องมือที่ใช้ |
1. ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนทราบและเข้าใจในระเบียบ กฎหมายและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการศึกษา 2. ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดการปฏิบัติงานได้ | - การสอบถาม - การสัมภาษณ์ | - แบบสอบถาม - แบบสัมภาษณ์ |
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจระเบียบ หลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและนำไปปฏิบัติ
7.2. ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
ความคิดเห็นต่อโครงการประเมินโครงการ
ประเด็น | ความคิดเห็น |
ลักษณะโครงการ | โดยทั่วไปการประชุมสัมมนาเป็นการร่วมกันของกลุ่มที่มีความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดแนวปฎิบัติร่วมกัน ดังนั้นการประเมินผลโครงการประชุมจึงเป็นการประเมินเพื่อบ่งชี้ถึงจุดเด่นจุดด้อยของโครงการ กระบวนการประชุมตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการในครั้งต่อไป |
จุดมุ่งหมาย | ได้ข้อมูลสารสนเทศในการนำไปแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาโครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
วัตถุประสงค์ | เพื่อประเมินสภาพบริบทของโครงการว่ามีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินโครงการว่ามีความพร้อม/ ความเหมาะสมของบุคลากร/งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์/เอกสาร/สถานที่/ระยะเวลา เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการว่ามีความต่อเนื่องความเหมาะสมของขั้นตอนดำเนินการและการจัดกิจกรรมรวมทั้งปัญหาอุปสรรค เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการว่าผู้เข้าร่วมมีความรู้ นำไปปฏิบัติและแก้ปัญหาได้ |
เกณฑ์การตัดสินคุณค่า | ใช้ระดับค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ได้จากการวัดและการวิเคราะห์เอกสาร |
กระบวนการประเมิน | ใช้รูปแบบ CIPP Model |
เอกสารอ้างอิง
สมถวิล ดิษสวรรค์ และวิภาวดี บุญส่ง. 2550. โครงการประเมินผลโครงการประชุมผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา.
ความคิดเห็น