คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : การศึกษาโครงการประเมิน โครงการประเมินโครงการนิเทศภายในและติดตามผลการเรียนการสอน
กรณีที่ 2
โครงการประเมินโครงการนิเทศภายในและติดตามผลการเรียนการสอนโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์
เสนอต่ออาจารย์ ดร. สุธาสินี บุญญาพิทักษ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเนตรชนก แสนเงิน
นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว ชั้นปีที่ 3
รายวิชา การประเมินทางการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ลักษณะโครงการ ประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ
ระยะเวลาดำเนินการ เมษายน 2548 - มีนาคม 2549
หลักการและเหตุผลการประเมิน
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อประเมินผลความสำเร็จของโครงการ “ นิเทศภายในและติดตามผลการเรียนการสอน ” ซึ่งจัดขึ้นเนื่องจากทางโรงเรียนพบว่า โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ เหตุเพราะขาดการนิเทศติดตามผลการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และไม่ทั่วถึง หากจัดให้มีการนิเทศ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและทั่วถึงจะทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ การนิเทศนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการและหัวหน้าหมวดต่าง ๆ ได้รับรู้สภาพจริงของการจัดการเรียนการสอนของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด ควรมีการปรับปรุงแก้ไขส่วนใดเพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อเป็นการตรวจสอบผลที่ได้จากโครงการนี้
โดยในการประเมินในครั้งนี้ได้นำเอารูปแบบการประเมินของไทเลอร์ มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นการประเมินตามวัตถุประสงค์ และจะนำผลที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์ที่ทางผู้จัดโครงการตั้งไว้ โดยข้อดีของการนำเอารูปแบบการประเมินนี้มาใช้ก็คือ ง่ายต่อการประเมิน เนื่องจากเน้นไปที่วัตถุประสงค์ของการประเมินเป็นหลัก หากผลการประเมินพบว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และผ่านเกณฑ์ที่ทางผู้จัดโครงการตั้งไว้ ก็ถือว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ
เพราะฉะนั้นเพื่อดูความสำเร็จของการจัดโครงการในครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องมีการประเมินโครงการ เพื่อติดตามและประเมินผลที่ได้จากโครงการ ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นไปตามความคาดหวังของผู้จัดทำโครงการมากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์การประเมิน
1. เพื่อประเมินกระบวนการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอน ของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย
วิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชา ของโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์
2. เพื่อประเมินการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
และมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์
การวิเคราะห์และบรรยายโครงการที่มุ่งประเมิน
โครงการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอน จัดขึ้น เพื่อนิเทศและติดตามผลการจัดการเรียนการสอนของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ เพราะทางผู้จัดทำโครงการมีความคิดเห็นว่าการนิเทศและการติดตามผลการเรียนการสอนที่ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และไม่ทั่วถึงนั้น ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูขาดประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนในการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอนอย่าง ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชา ของโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ ได้ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และทั่วถึง ซึ่งผลที่ได้จากการนิเทศนั้นจะเป็นข้อมูลให้ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชา ได้เห็นถึงจุดที่ควรแก้ไขปรับปรุง ซึ่งข้อมูลนั้นจะเป็นข้อมูลให้ครูที่ทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย นำไปพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ท้ายที่สุดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก็จะดีขึ้นด้วย ซึ่งก็ถือว่าบรรลุตามผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ
วิธีการประเมิน
รูปแบบการประเมิน
ประยุกต์รูปแบบการประเมินของไทเลอร์ ซึ่งเป็นการประเมินที่เน้นความสำคัญของการประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก เป็นการตรวจสอบว่าผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
จุดมุ่งหมายของการประเมินแบบไทเลอร์ นั้นมี 2 ประการคือ
1. เพื่อตัดสินใจว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ตั้งไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้นประสบ
ความสำเร็จหรือไม่ ส่วนใดที่ประสบผลสำเร็จก็อาจเก็บไว้ใช้ต่อไปได้ ส่วนที่ไม่ประสบผลสำเร็จก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป
2. เพื่อประเมินความก้าวหน้าทางการศึกษาของกลุ่มประชากรขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และเพื่อที่จะให้ข้อมูลนั้นสามารถนำมาปรับปรุงนโยบายส่วนรวมได้ด้วย
ขอบเขตการประเมิน
ประเมินความสำเร็จของการจัดโครงการ โดยประเมินจาก
1. กระบวนการการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอน ของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวดต่าง ๆ โดยดูจากความต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และทั่วถึงของการนิเทศ
2. วิธีการสอนของครูในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเรื่องของความเชื่อมั่นของครูผู้สอน การทำแผนการสอน รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน
3. ความพึงพอใจของผู้รับการประเมิน ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของครูหลังจากการนิเทศ และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการนิเทศ
ตารางกรอบการประเมิน
วัตถุประสงค์ | ประเด็นการประเมิน | ตัวบ่งชี้/ขอบข่ายข้อมูล | แหล่งข้อมูล | การวิเคราะห์ข้อมูล | เกณฑ์ในการประเมิน |
1.เพื่อประเมินกระบวนการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอน | กระบวนการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอนที่ต่อเนื่อง สม่ำเสมอและทั่วถึงเป็นอย่างไร | 1.ระดับชั้นที่ทำการนิเทศ 2. แบบบันทึกการรับการนิเทศของแต่ละชั้นเรียน | 1. ผู้บริหาร ( แบบสอบถาม ) 2. หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( แบบสอบถาม ) 3. หัวหน้าหมวดวิชาต่าง ๆ ( แบบสอบถาม ) | วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ | มีการเข้านิเทศอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง ( เกณฑ์ที่ทางผู้จัดทำโครงการตั้งขึ้น ) |
2. เพื่อประเมินการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย | - ความเชื่อมั่นของครูผู้สอน - การทำแผนการสอน - รูปแบบการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ | 1. ครูมีความเชื่อมั่นในการสอนมากขึ้น 2. แผนการสอนของครูมีการจัดเตรียมเป็นอย่างดี ครบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้ 3. มีรูปแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น | 1. นักเรียน ( แบบสอบถาม ) 2. ครูผู้สอน ( แบบสอบถาม ) 3 . ผู้บริหาร ( แบบสอบถาม ) 4. หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( แบบสอบถาม ) 5. หัวหน้าหมวดวิชาต่าง ๆ ( แบบสอบถาม | วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ | ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบ สอบถาม ลงความเห็นว่า มาก |
ความสำเร็จของโครงการ | - ความพึงพอใจของผู้รับการประเมิน - ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของครู หลังจากการนิเทศ - ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการนิเทศ - ความพึงพอใจของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวดวิชา | 1. นักเรียน ( แบบสอบถาม ) 2. ครูผู้สอน ( แบบสอบถาม ) 3 . ผู้บริหาร ( แบบสอบถาม ) 4. หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( แบบสอบถาม ) 5. หัวหน้าหมวดวิชาต่าง ๆ ( แบบสอบถาม ) | วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ | ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบ สอบถาม ลงความเห็นว่า มาก |
ประเด็นการประเมิน เพื่อตอบคำถามการประเมิน
1. กระบวนการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอนที่ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และทั่วถึง เป็นอย่างไร
2. การพัฒนาของวิธีการสอนของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายเมื่อพิจารณาจากความ
เชื่อมั่นของครูผู้สอน การทำแผนการสอน รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเป็นอย่างไร
3. ความพึงพอใจของผู้รับการประเมิน ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของครู
หลังจากการนิเทศ และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการนิเทศ เป็นอย่างไร
ประชากร
- ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน
- หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 1 คน
- หัวหน้าหมวดวิชาต่าง ๆ จำนวน 8 คน
- ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน
จาก 8 กลุ่มสาระ ดังนี้
1. ภาษาไทย จำนวน 6 คน
2. คณิตศาสตร์ จำนาน 5 คน
3. วิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 6 คน
5. สุขศึกษาและพละศึกษา จำนวน 4 คน
6. ศิลปะ จำนวน 3 คน
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 5 คน
8. ภาษาต่างประเทศ จำนวน 6 คน
- นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 10 ห้องเรียน ห้องละ 40 คน รวม 400 คน
- นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 7 ห้องเรียน ห้องละ 30 คน รวม 210 คน
กลุ่มตัวอย่าง
- ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน
- หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 1 คน
- หัวหน้าหมวดวิชาต่าง ๆ จำนวน 8 คน
ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระละ 3 คน รวม 24 คน
- นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย จับสลากห้องเรียนละ 20 คน รวมทั้งหมด 200 คน
- นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย จับสลากห้องเรียนละ 15 คน รวมทั้งหมด 105 คน
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
1. พิจารณาจากแบบสอบถามที่ใช้กับผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวดต่าง ๆ ร่วมกับแบบบันทึกการเข้ารับการนิเทศของแต่ละห้องเรียนแล้วพบว่า มีการเข้านิเทศอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง
2. แบบสอบถามทั้งหมดมี 3 ชุดด้วยกัน คือแบบสอบถามด้านการทำงาน แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยแบบสอบถามความพึงพอใจและแบบสอบถามความคิดเห็นทุกชุดใช่เกณฑ์เดียวกันดังนี้
5 หมายความว่า มากที่สุด
4 หมายความว่า มาก
3 หมายความว่า ปานกลาง
2 หมายความว่า น้อย
1 หมายความว่า น้อยที่สุด
1. แบบสอบถามด้านการทำงาน แบ่งแยกย่อยเป็น
1. แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร
2. แบบสอบถามสำหรับหัวหน้าฝ่ายวิชาการ
3. แบบสอบถามสำหรับหัวหน้าหมวดวิชา
4. แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน
5. แบบสอบถามสำหรับนักเรียน
โดยจะสอบถามใน 3 หมวดด้วยกัน คือ ความเชื่อมั่นในการสอน แผนการสอน และรูปแบบการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเกณฑ์ดังนี้ คือ ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ลงความเห็นว่า
“ มาก ”
2. แบบสอบถามความคิดเห็น แบ่งแยกย่อยเป็น
1. แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้บริหาร
2. แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับหัวหน้าฝ่ายวิชาการ
3. แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับหัวหน้าหมวดวิชา
4. แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับครูผู้สอน
5. แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักเรียน
โดยจะสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนหลังผ่านการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอนแล้ว ซึ่งมีเกณฑ์ดังนี้ คือ ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ลงความเห็นว่า “ มาก ”
3. แบบสอบถามความพึงพอใจ แบ่งแยกย่อยออกเป็น
1. แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้บริหาร
2. แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับหัวหน้าฝ่ายวิชาการ
3. แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับหัวหน้าหมวดวิชา
4. แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับครูผู้สอน
5. แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียน
โดยจะสอบถามความพึงพอใจในด้านของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หลังจากผ่านการนิเทศ
และติดตามผลการเรียนการสอนแล้ว ซึ่งมีเกณฑ์ดังนี้ คือ ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ลงความเห็นว่า “ มาก ”
สรุปเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้คือ ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ลงความเห็นว่า
“ มาก ”
สรุปกรอบการประเมิน
โครงการประเมินโครงการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอนโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ ประยุกต์รูปแบบการประเมินของไทเลอร์ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินกระบวนการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอน ของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย วิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชา ของโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ เพื่อประเมินการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์
และติดตามผลการเรียนการสอน - การทำแผนการสอน
-รูปแบบการสอนและการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ
- ความสำเร็จของโครงการ
- ความพึงพอใจของผู้รับการประเมิน
- ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการ จัดการเรียนการสอนของครูหลังจากการนิเทศ
- ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการนิเทศ
- ความพึงพอใจของผู้บริหาร หัวหน้า
ข้อสนเทศที่ได้จากการประเมิน
ฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวดวิชา
การนำผลการประเมินไปใช้
1. ทำให้ทราบผลการประเมินเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดี
ขึ้น และปรับปรุงด้านการบริหารงานนิเทศให้ดีขึ้น
2. ใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยพัฒนาการสอนของครู
3. ใช้เป็นข้อมูลดูความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูกับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
แผนกิจกรรมและระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลา แผนกิจกรรม | ปีการศึกษา 2548 | หมายเหตุ | |||||||||||
เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | ||
1. ศึกษาวิเคราะห์โครงการ 2. วางแผนออกแบบโครงการ 3. เขียนโครงการ 4. สร้างเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพ 5. ทดลองใช้ ปรับปรุงเครื่องมือ 6. รวบรวมข้อมูล 7. วิเคราะห์ข้อมูล 8. สรุปผล 9. เขียนรายงานการประเมิน 10. เสนอรายงานการประเมิน |
งบประมาณ
1. ค่าวัสดุ
- กระดาษอัดสำเนาสั้นใช้แบบสอบถาม จำนวน 80 รีม รีมละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท
- วัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ ลวดเย็บกระดาษ และอื่น ๆ เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล
ชุดเอกสารละ 10 บาท จำนวน 1,020 ชุด เป็นเงิน 10,200 บาท
- ค่าจ้างพิมพ์ดีดนอกเวลา เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอัดสำเนา เย็บเล็ม เข้าปกเอกสาร เป็นเงิน 5,000 บาท
- อื่น ๆ เป็นเงิน 5,000 บาท
รวม 32,600 บาท
ความคิดเห็นต่อโครงการประเมินโครงการ
ประเด็น | ความคิดเห็น |
ลักษณะโครงการ | เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการนิเทศ ตรวจสอบความสำเร็จของการจัดโครงการว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นไปตามความคาดหวังของผู้จัดทำโครงการมากน้อยเพียงใด |
จุดมุ่งหมาย | ได้ข้อมูลสารสนเทศในการนำไปแก้ไข ปรับปรุง ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปรับปรุงด้านการบริหารงานนิเทศให้ดีขึ้น ใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยพัฒนาการสอนของครู และใช้เป็นข้อมูลดูความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน |
วัตถุประสงค์ | เพื่อประเมินกระบวนการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอน ของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชา เพื่อประเมินการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู |
เกณฑ์การตัดสินคุณค่า | ใช้ระดับค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ได้จากการวัดและการวิเคราะห์เอกสาร |
กระบวนการประเมิน | ใช้รูปแบบการประเมินของไทเลอร์ |
เอกสารอ้างอิง
เนตรชนก แสนเงิน. 2549. โครงการประเมินโครงการนิเทศภายในและติดตามผลการเรียนการสอน
โรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์.
ความคิดเห็น