คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : การอบรมการประเมินโครงการ รายงานการประเมิน (กำลังพัฒนา)
รายงานการประเมินโครงการอบรม”การประเมินโครงการ”
ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครโดยความร่วมมือของศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดย
รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ และคณะ
มีนาคม 2550
1. บทนำ
1.1 หลักการและเหตุผลของการประเมิน
การประเมินโครงการเป็นกระบวนการจัดการให้ได้สารสนเทศเพื่อสนองต่อผู้ตัดสินใจที่จะรับผิดชอบโครงการในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร จนถึงผู้ปฎิบัติการ สารสนเทศที่ได้จากการประเมินต้องถูกต้อง สอดคล้อง และเพียงพอเพื่อการตัดสินใจ นำมาใช้พัฒนา ปรับปรุงการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างประสิทธิภาพของการบริหารจัดการของสถานศึกษา โดยสารสนเทศการประเมินโครงการเป็นรายงานที่แสดงถึงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสาธารณชน ในยุคปฏิรูปการศึกษา องค์ความรู้ใหม่และสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการศึกษา การสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาโครงการที่สามารถสร้างผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรจึงเป็นคุณค่าที่สร้างสรรค์ ดังนั้น กระบวนการประเมินโครงการในยุคปฏิรูปการศึกษาจึงต้องการนักประเมินที่มีคุณลักษณะ คุณวุฒิ และมีความรอบรู้เกี่ยวกับคุณภาพของงานในระบบการจัดการองค์กรที่รับผิดชอบ จัดทำรายงานการประเมินที่สะท้อนคุณภาพงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เกี่ยวข้อง
โครงการอบรม “การประเมินโครงการ” เป็นหลักสูตรการอบรมสำหรับผู้บริหารและครูให้พร้อมทำหน้าที่ผู้ประเมิน ซึ่งสามารถเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการดำเนินการที่สร้างสรรค์ และตัดสินใจที่จะรับผิดชอบงานด้วยการเรียนรู้จากผลการประเมิน โดยจะก่อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมประกันคุณภาพขององค์กร ซึ่งเริ่มดำเนินการอบรมระหว่างวันที่ 5 มกราคม 15 มีนาคม 2551 โดยจัดกิจกรรมไว้ 6 ครั้งเว้นระยะการอบรมประมาณ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง มีผู้เข้าอบรม 51 คนคณะวิทยากรจำนวน 12 คน การดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นการนำหลักสูตรมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งหลักสูตรมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติการประเมินในสภาพจริงประกอบกับการให้ความรู้ของวิทยากร เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และฝึกฝนไปพร้อมกัน โดยหลังจากเสร็จสิ้นโครงการอบรมผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันนำเสนอตัวอย่างการประเมินโครงการที่แต่ละโรงเรียนได้ทำการประเมิน ในวันที่ 15 มีนาคม 2551 เพื่อเป็นการเสนอแนวทางของการประเมินที่ถูกต้องเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างทางเลือกใหม่ของการประเมินในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
การประเมินผลการดำเนินการทั้งในด้านกระบวนการระหว่างการดำเนินโครงการและผลของความสำเร็จของผู้เข้ารับการอบรม จึงเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการตัดสินใจ ในการจัดโครงการนี้ในครั้งต่อไป ดังนั้นจึงได้ทำการประเมินผลโครงการดังกล่าว เพื่อนำผลการประเมินมาใช้สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงาน และพัฒนาโครงการอบรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และใช้เป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้องในระดับนโยบายต่อไป
1.2 สาระสำคัญของโครงการอบรม”การประเมินโครงการ”
โครงการอบรม “การประเมินโครงการ” เป็นหลักสูตรการอบรมสำหรับผู้บริหารและครูให้พร้อมทำหน้าที่ผู้ประเมิน ซึ่งสามารถเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการดำเนินการที่สร้างสรรค์ และตัดสินใจที่จะรับผิดชอบงานด้วยการเรียนรู้จากผลการประเมิน โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้บริหารและครูเข้าร่วมโครงการจำนวน 51 คน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.2.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เขียนหรือเสนอโครงการใหม่หรือปรับปรุงโครงการเก่าให้มีสาระเพื่อการปฏิบัติได้ชัดเจน
- เขียนโครงการประเมินที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องมีตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่เหมาะสม
- สามารถปฏิบัติการประเมินอย่างถูกต้องและสามารถสังเคราะห์สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- เสนอทางเลือกที่สร้างสรรค์นำเสนอผลการประเมินอย่างถูกต้องเหมาะสม
1.2.2 โครงสร้างของหลักสูตร
ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยาย การอภิปรายกิจกรรมฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอผลการประเมินโครงการอันจะนำไปสู่การพัฒนาโครงการเป้าหมาย และโครงการประเมินของแต่ละโรงเรียน รวมทั้งเป็นตัวกระตุ้นในการพัฒนาทักษะการเป็นนักประเมินของผู้เข้ารับการอบรม โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1.2.3.1 ภาคความรู้ ประกอบด้วย
การบรรยายในหัวข้อ ?
การบรรยายในหัวข้อ ?
การบรรยายในหัวข้อ ?
การบรรยายในหัวข้อ ?
การบรรยายในหัวข้อ ?
การบรรยายในหัวข้อ ?
1.2.3.2 ภาคกิจกรรม ประกอบด้วย
กิจกรรมทำความรู้จักโครงการ
กิจกรรมกำหนดคำถามการประเมิน
กิจกรรม ?
กิจกรรมการกำหนดคำถามประเมินและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
กิจกรรมสังเคราะห์ผลการวิเคราะห์เพื่อคำถามการประเมิน
กิจกรรมการนำเสนอโครงการในรูปแบบบรรยายและนิทรรศการ
1.2.4 การดำเนินการ
โครงการอบรม “การประเมินโครงการ” เป็นโครงการหนึ่งในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครโดยความร่วมมือของศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.ภาวิณีศรีสุขวัฒนานันท์เป็นผู้ออกแบบหลักสูตรและเป็นวิทยากรดำเนินการจัดอบรม โดยมีวิทยากรผู้ช่วยอีก 11 คน ซึ่รับผิดชอบหน้าที่การให้คำปรึกษา และการจัดเตรียมงานต่าง ๆ รศ.ดร.ภาวิณีศรีสุขวัฒนานันท์ได้ประชุมคณะทำงานดังกล่าวตลอดช่วงการดำเนินโครงการเพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ต่างๆ นับสิบครั้ง
การเตรียมนิสิตเข้าเป็นวิทยากรผู้ช่วยนั้น รศ.ดร.ภาวิณีศรีสุขวัฒนานันท์ ได้มอบหมายให้อาจารย์อัมพรรัตน์ ซึ่งเป็นอาจารย์ภายในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิสิตปริญญาเอก คือ นายวรยศ ละม้ายศรี ทำหน้าที่ช่วยเหลือกำกับดูแล ให้คำปรึกษานิสิตปริญญาโทที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการประเมินโครงการอีก 9 คน คือ
1. นางสาวเปรมบุรฉัตร สีนุย
2. นางสาวพัชรินทร์ รุ่มรวย
3. นางอรุณศรี นิภานันท์
4. นางสาวแพรวนภา เรียงริลา
5. นางสาวปัฐนันท์ เม่งช่วย
6. นางสาวศุภมาส ไทยถาวร
7. นางสาววรรณี สุจจิตร์จูล
8.นางสาวศิวาพร ยอดทรงตระกูล
9.นายเอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง
โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นิสิตได้ร่วมเรียนรู้ฝึกประสบการณ์การประเมินโครงการในสภาพจริงอันจะนำไปสู่สังคมวิชาการในอนาคต
การฝึกทักษะการปฏิบัติการประเมินโครงการกลุ่มผู้บริหารและครู นอกจากที่จะมีการปฏิบัติภายในห้องเรียนแล้วรศ.ดร.ภาวิณีศรีสุขวัฒนานันท์ และคณะ ได้ร่วมกันให้ความช่วยเหลือและติดตามผลการประเมินโครงการอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจเยี่ยม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินโครงการ อันเป็นจุดเริ่มต้นสู่แนวทางการประเมินที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ในการจัดนิทรรศการการประเมินโครงการในวันที่ 15 มีนาคม 2550
2. การประเมินโครงการอบรม”การประเมินโครงการ”
2.1 วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1. เพื่อตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดโครงการอบรม “การประเมินโครงการ”
2. เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของกิจกรรมและรูปแบบการจัดโครงการ
3. เพื่อประเมินความสำเร็จของการจัดโครงการ
2.2 วิธีการประเมิน
2.2.1 กำหนดมิติการประเมินตามวัตถุประสงค์
คำถามการประเมิน | ผู้ถาม | แหล่งข้อมูล | คำถามย่อย |
การเตรียมการจัดโครงการมีความเหมาะสมหรือไม่ | วิทยากร, ผู้ให้ทุน | วิทยากร, ผู้ช่วย (สังเกต) เอกสารการลงทะเบียน ครู (อนุทิน, สัมภาษณ์) | 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร 2. วิทยากรมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร 3. สถานที่มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร 4. เอกสารมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร 5. อาหารมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร |
การจัดโครงการมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร, ผู้ให้ทุน | วิทยากร, ผู้ช่วย (สังเกต) ครู (อนุทิน, สัมภาษณ์, การบ้าน) | 1. เนื้อหาที่ใช้ในการอบรมมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร 2. กิจกรรมสร้างความตระหนักมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร 3. การฝึกปฏิบัติมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร |
การจัดโครงการมีผลสัมฤทธิ์อย่างไร | วิทยากร, ผู้ให้ทุน | วิทยากร, ผู้ช่วย (สังเกต) ครู (อนุทิน, สัมภาษณ์, รายงานการประเมิน, การนำเสนอ) | 1. ความรู้หลังจากเข้าร่วมโครงการของครูเป็นอย่างไร 2. รูปแบบการประเมินของโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร |
คำถามการประเมิน | ผู้อ่าน | สารสนเทศ | ตัวบ่งชี้ | แหล่งข้อมูล | เครื่องมือ | เกณฑ์ |
การเตรียมการจัดโครงการมีความเหมาะสมหรือไม่ | ||||||
ผู้เข้ารับการอบรมมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความพร้อมในการเข้ารับการอบรม | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อนุทิน เอกสารการลงทะเบียน แบบทดสอบ แบบสอบถาม | |
วิทยากรมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความพร้อมในการเป็นวิทยากร ความพร้อมในการเป็นผู้ช่วยวิทยากร | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อนุทิน | |
สถานที่มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความพร้อมในการจัดเตรียมสถานที่ | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อนุทิน | |
เอกสารมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความพร้อมในการจัดทำเอกสาร | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสัมภาษณ์ อนุทิน | |
อาหารมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความพร้อมในการจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อนุทิน | |
การจัดโครงการมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | ||||||
เนื้อหาที่ใช้ในการอบรมมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความเหมาะสมและครบถ้วนของเนื้อหา | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อนุทิน | |
กิจกรรมสร้างความตระหนักมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความเหมาะสมของกิจกรรม | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อนุทิน การบ้าน | |
การฝึกปฏิบัติมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร | วิทยากร | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ | ความเหมาะสมของการฝึกปฏิบัติ | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อนุทิน โครงการที่ได้รับการปรับปรุง (โครงการเป้าหมายและโครงการประเมิน) | |
การจัดโครงการมีผลสัมฤทธิ์อย่างไร | ||||||
ความรู้หลังจากเข้าร่วมโครงการของครูเป็นอย่างไร | วิทยากร, ผู้ให้ทุน | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ อนุมัติเงินทุนเพื่อจัดทำโครงการต่อไปหรือไม่ | การพัฒนาตนเองของผู้เข้ารับการอบรม | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการนำเสนอโครงการ | |
รูปแบบการประเมินของโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร | วิทยากร, ผู้ให้ทุน | พัฒนาและปรับปรุงโครงการ อนุมัติเงินทุนเพื่อจัดทำโครงการต่อไปหรือไม่ | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประเมินอันนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียน | วิทยากร ผู้ช่วย ครู | แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ โครงการ |
2.2.1 วิธีการรวบรวมข้อมูล
2.3 จำนวนนิสิตและอาจารย์พี่เลี้ยง
2. กลุ่มตัวอย่าง
2.4 การวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศการประเมิน
2.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้บริหารระดับสูงของกรุงเทพมหานครนำผลการประเมินไปใช้ในการกำหนดนโยบายต่อไป
2. วิทยากรและผู้ช่วยนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอบรมการประเมินโครงการในครั้งต่อไป
ความคิดเห็น