ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แฟ้มพัฒนาการเรียนรู้ รายวิชาการประเมินโครงการ

    ลำดับตอนที่ #11 : นิทานการประเมิน เขียนเกลือเพื่อหลอกมด

    • อัปเดตล่าสุด 17 มี.ค. 51


    เขียนเกลือเพื่อหลอกมด

     

                    มีอาแป๊ะอยู่คนหนึ่งแกเป็นเจ้าของร้านขายของชำ พวกคุณคิดว่าในร้านขายของชำมีอะไรล่ะครับ แน่นอนก็ต้องมีสินค้าทั่ว ๆ ไปที่คนเขาใช้อุปโภคบริโภคกัน อาแป๊ะแกก็เปิดร้านแต่เช้า ตามประสาคนค้าขาย ในที่สุดลูกค้าของแกก็มาถึง หญิงคนหนึ่งเดินเข้ามาในร้านแล้วถามอาแป๊ะว่า

                    แป๊ะ มีน้ำตาลไหม

                    มี ลื้อจะเอาเท่าไรล่ะ

                    เอาน้ำตาล โลนึง

                    ล่าย ๆ อาแป๊ะหันหลังกับ มือฉวยถุงใบหนึ่งเพื่อนำไปใส่น้ำตาล เมื่อเดินไปถึงกระสอบที่พิงผนังไว้แกก็ลงมือตัก

                    เดี๋ยว ๆ แป๊ะ หญิงสาวร้องเรียก

                    มีอะไร แป๊ะหันกลับมาถาม

                    ที่แป๊ะตักอยู่มันเกลือนะ ป้ายมันบอก

                    เออ อั๊วรู้แล้ว

                    แต่ชั้นจะซื้อน้ำตาลนะ คิวของหญิงสาวเริ่มขมวด

                    อั๊วก็รู้ แป๊ะเริ่มทำเสียงเขียว

                    แล้วแป๊ะจะตักเกลือทำไมละ

                    ก็อั๊วเขียนคำว่าเกลือไว้หลอกพวกมดลื้อนี่พูดดังไปเดี๋ยวมันก็รู้หมดว่านี่เป็นน้ำตาล

                    ...

     

                    นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อาจารย์เล่าให้ฟังเป็นเรื่องแรก แต่หากจะวิเคราะห์ให้ดี ๆ นิทานเรื่องนี้คลายกับสภาพการประเมินในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมากตรงที่ การประเมินนั้นเป็นการสะท้อนภาพของสิ่งที่เราทำเพื่อให้สารสนเทศในการตัดสินใจ ดังนั้น หากสิ่งนั้นมีจริง ไม่เน่า ไม่ผุ (อาจารย์พรทิพย์กล่าวในชั้นเรียน) ย่อมสะท้อนให้เห็นผ่านทางการประเมินเช่นกัน ดังนั้น การประเมินหลอก ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบันทั้งจากการประเมินที่ได้ไปศึกษา มาทำให้เห็นว่า ถ้าผู้รู้ (มด) มาอ่านเข้า ไม่ว่าจะเขียนสิ่งใดก็ย่อมมองออก (ว่าเป็นเกลือหรือน้ำตาล)

                    ดังนั้นถ้าหลงยึดติดกับภาพที่สวยงาม กลัวว่าคนอื่นจะเห็นจุดด้อยของตนเอง ย่อมไม่อาจสะท้อนความจริงได้ เมื่อไม่สามารถที่จะสะท้อนความจริง สิ่งที่ตามมาคือหลงอยู่กับสิ่งที่ไม่จริงจนไม่สามารถพัฒนาได้ ซึ่งผิดจากหลักของการประเมินที่ว่าการประเมินนั้นทำเพื่อพัฒนานั่นเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×