ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : จะเกิดอะไรขึ้นหากแช่ฟันไว้ในน้ำโค้กทั้งคืน ?
มันจะไม่ละลาย
ไม่เพียงแต่เราจะรู้ว่ามันไม่เป็นความจริง เรายังรู้ด้วยว่าใครเป็นคนแต่งเรื่องหลอกลวงนี้ขึ้นมา
ในปี 1950 ไคลฟ์ แมคเคย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ แถลงต่อคณะกรรมการของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาว่า ระดับน้ำตาลและฟอสฟอริกในโคคา-โคล่าที่สูงมากส่งผลให้ฟันผุ และเพื่อดึงดูดความสนใจของมวลชนให้มากขึ้นอีกนิด เขาก็บอกต่อว่า ถ้านำฟันไปแช่ในโค้กสักแก้ว มันก็จะละลายหลังจากผ่านไปได้ 2 วัน
แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ไม่ว่าใครก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองเพียงแค่ลองแช่ฟันดูสักซี่ แต่ถึงแม้แมคเคย์จะพูดถูก ก็คงไม่มีใครที่ไหนจะอมโคคา-โคล่าไว้ในปากได้นานถึง 2 วัน น้ำอัดลม 1 กระป๋องประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 7 ช้อนชา จึงไม่แปลกที่มันจะเป็นสาเหตุให้ฟันผุได้จริง แต่นั่นก็เป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง
นอกจากน้ำตาลแล้ว ส่วนผสมเจ้าปัญหาอีกอย่างหนึ่งในน้ำอัดลมคือกรดฟอสฟอริก ซึ่งช่วยทำให้น้ำอัดลมไม่หายซ่าและเพิ่มรสปะแล่มๆ นอกจากนี้ มันยังถูกใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยผงซักฟอก รวมทั้งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือเพื่อขจัดสนิมออกจากเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่ถึงอย่างไรมันก็ไม่ได้ทำให้ฟันผุในชั่วข้ามคืน การศึกษาของสถาบันทันตกรรมทั่วไปแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2006 เกี่ยวกับผลกระทบของเครื่องดื่มอัดลมที่มีผลต่อสารเคลือบฟันพบว่า กรดซิตริกเข้มข้นเป็นอันตรายต่อสารเคลือบฟันมากกว่ากรดฟอสฟอริกหลายเท่า เพราะฉะนั้น ที่ต้องดื่มให้พอดีน่าจะเป็นน้ำส้มและน้ำมะนาวมากกว่า
กรดฟอสฟอริกยังเข้าไปยับยั้งการทำงานของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง นั่นหมายความว่า การดื่มน้ำอัดลมมากๆ จนติดเป็นนิสัยอาจทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม ซึ่งทำให้กระดูกและฟันเปราะ (แต่ก็ไม่ได้ทำให้ละลาย)
การดื่มน้ำโค้กเป็นครั้งคราวแทบไม่มีอันตรายอะไรลย ในอดีต โคคา-โคล่าถูกวางตลาดในฐานะเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพด้วยซ้ำ โดยอิงกับกระแสความหลงใหลของชาวยุโรปในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่มีต่อโทนิกไวน์ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแลกอฮอล์ผสมสมุนไพร
ในปี 1863 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ได้มอบเหรียญรางวัลให้กับแองเจโล มารีอานี นำเคมีชาวฝรั่งเศส จากผลงานการคิดค้นไวน์ชนิดแรกที่มีใบโคคา (พืชท้องถื่นของอเมริกาใต้ที่สามารถนำไปสกัดเป็นโคเคนได้) เป็นส่วนผสมชื่อว่า "แว็งมารีอานี" ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของชาวยุโรปนับล้านๆ คน รวมถึงสมเด็กพระสันตะปาปาเอง พระราชินีวิกตอเรีย โทมัส เอดิสัน และจูลส์ เวิร์น
หลังจากนั้นไม่นาน จอห์น เอส. เพมเบอร์ตัน จากเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ก็ผลิตมันออกมาในแบบอเมริกัน และตั้งชื่อว่า เพมเบอร์ตัน เฟรนช์ ไวน์ โคคา เขาพยายามเลียนแบบไวน์ต้นตำรับจากยุโรปให้มากที่สุด แต่แล้วในปี 1885 กฎหมายท้องถิ่นก็บีบให้เพมเบอร์ตันต้องผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ขึ้นมาทดแทน เขาจึงหันไปสร้างความซาบซ่านด้วยถั่วโคล่าจากแอฟริกาที่อุดมไปด้วยกาเฟอีน โคคา่-โคล่าจึงถือกำเนิดขึ้นมาในตอนนั้นเอง
ทุกวันนี้ยังคงมีการใช้ใบโคคาแต่งกลิ่นโคคา-โคล่า แต่ต้องสกัดสารโคเคนออกไปให้หมดเสียก่อน
ไม่เพียงแต่เราจะรู้ว่ามันไม่เป็นความจริง เรายังรู้ด้วยว่าใครเป็นคนแต่งเรื่องหลอกลวงนี้ขึ้นมา
ในปี 1950 ไคลฟ์ แมคเคย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ แถลงต่อคณะกรรมการของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาว่า ระดับน้ำตาลและฟอสฟอริกในโคคา-โคล่าที่สูงมากส่งผลให้ฟันผุ และเพื่อดึงดูดความสนใจของมวลชนให้มากขึ้นอีกนิด เขาก็บอกต่อว่า ถ้านำฟันไปแช่ในโค้กสักแก้ว มันก็จะละลายหลังจากผ่านไปได้ 2 วัน
แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ไม่ว่าใครก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองเพียงแค่ลองแช่ฟันดูสักซี่ แต่ถึงแม้แมคเคย์จะพูดถูก ก็คงไม่มีใครที่ไหนจะอมโคคา-โคล่าไว้ในปากได้นานถึง 2 วัน น้ำอัดลม 1 กระป๋องประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 7 ช้อนชา จึงไม่แปลกที่มันจะเป็นสาเหตุให้ฟันผุได้จริง แต่นั่นก็เป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง
นอกจากน้ำตาลแล้ว ส่วนผสมเจ้าปัญหาอีกอย่างหนึ่งในน้ำอัดลมคือกรดฟอสฟอริก ซึ่งช่วยทำให้น้ำอัดลมไม่หายซ่าและเพิ่มรสปะแล่มๆ นอกจากนี้ มันยังถูกใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยผงซักฟอก รวมทั้งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือเพื่อขจัดสนิมออกจากเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่ถึงอย่างไรมันก็ไม่ได้ทำให้ฟันผุในชั่วข้ามคืน การศึกษาของสถาบันทันตกรรมทั่วไปแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2006 เกี่ยวกับผลกระทบของเครื่องดื่มอัดลมที่มีผลต่อสารเคลือบฟันพบว่า กรดซิตริกเข้มข้นเป็นอันตรายต่อสารเคลือบฟันมากกว่ากรดฟอสฟอริกหลายเท่า เพราะฉะนั้น ที่ต้องดื่มให้พอดีน่าจะเป็นน้ำส้มและน้ำมะนาวมากกว่า
กรดฟอสฟอริกยังเข้าไปยับยั้งการทำงานของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง นั่นหมายความว่า การดื่มน้ำอัดลมมากๆ จนติดเป็นนิสัยอาจทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม ซึ่งทำให้กระดูกและฟันเปราะ (แต่ก็ไม่ได้ทำให้ละลาย)
การดื่มน้ำโค้กเป็นครั้งคราวแทบไม่มีอันตรายอะไรลย ในอดีต โคคา-โคล่าถูกวางตลาดในฐานะเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพด้วยซ้ำ โดยอิงกับกระแสความหลงใหลของชาวยุโรปในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่มีต่อโทนิกไวน์ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแลกอฮอล์ผสมสมุนไพร
ในปี 1863 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ได้มอบเหรียญรางวัลให้กับแองเจโล มารีอานี นำเคมีชาวฝรั่งเศส จากผลงานการคิดค้นไวน์ชนิดแรกที่มีใบโคคา (พืชท้องถื่นของอเมริกาใต้ที่สามารถนำไปสกัดเป็นโคเคนได้) เป็นส่วนผสมชื่อว่า "แว็งมารีอานี" ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของชาวยุโรปนับล้านๆ คน รวมถึงสมเด็กพระสันตะปาปาเอง พระราชินีวิกตอเรีย โทมัส เอดิสัน และจูลส์ เวิร์น
หลังจากนั้นไม่นาน จอห์น เอส. เพมเบอร์ตัน จากเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ก็ผลิตมันออกมาในแบบอเมริกัน และตั้งชื่อว่า เพมเบอร์ตัน เฟรนช์ ไวน์ โคคา เขาพยายามเลียนแบบไวน์ต้นตำรับจากยุโรปให้มากที่สุด แต่แล้วในปี 1885 กฎหมายท้องถิ่นก็บีบให้เพมเบอร์ตันต้องผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ขึ้นมาทดแทน เขาจึงหันไปสร้างความซาบซ่านด้วยถั่วโคล่าจากแอฟริกาที่อุดมไปด้วยกาเฟอีน โคคา่-โคล่าจึงถือกำเนิดขึ้นมาในตอนนั้นเอง
ทุกวันนี้ยังคงมีการใช้ใบโคคาแต่งกลิ่นโคคา-โคล่า แต่ต้องสกัดสารโคเคนออกไปให้หมดเสียก่อน
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น