ชายและหญิงกับความเท่าเทียมทางเพศ ทำไมผู้ชายถึงมีอำนาจ ?
ผู้ชายกับผู้หญิง สองเพศในโลกใบเดียวกันแต่ไม่เคยเท่าเทียมกัน
ผู้เข้าชมรวม
7,409
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
หญิงและชายกับความเท่าเทียมทางเพศ ทำไมผู้ชายถึงมีอำนาจ ?
ความเท่าเทียมทางเพศระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย
ทำไม ผู้ชายถึงมีอำนาจมากกว่า ?
ปัจจุบันจะสังเกตได้ว่าสังคมไทยได้เปิดโอกาสให้ผู้ชายมีอิสระและมีโอกาสทางเพศมากเกินไปจนกระทั่งกลายเป็นความเห็นแก่ตัวที่อยู่ในจิตสำนึกของผู้ชายไปเสียแล้ว จากจุดนี้ทำให้ผู้หญิงเสียเปรียบอย่างมาก ถูกมองในแง่ลบเมื่อประพฤติตัวหรือมีพฤติกรรมแบบเดียวกันกับผู้ชาย จะถูกสังคมมองว่าเป็นผู้หญิงสำส่อน และ “ไม่มีค่า” หรือ “หมดคุณค่า” ซึ่งก็ไม่รู้ว่าใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์ในการวัดคุณค่าที่เหลืออยู่หรือคุณค่าที่หมดไปของผู้หญิง
คุณเคยคงเคยได้ยินกันในเรื่องของ “ความเท่าเทียมของชายและหญิง” ที่ได้มีการกล่าวถึงกันอย่างมากมายในเรื่องต่างๆ
และปัจจุบัน หลายๆเรื่อง ผู้หญิงก็ได้รับความเท่าเทียมมากขึ้นจริง ตัวอย่างเช่น
-ได้รับการยอมรับในอาชีพมากขึ้น
-ได้รับการยอมรับใน ความรู้ ความสามารถและการศึกษา
-ได้รับความเท่าเทียมในด้านกฎหมาย เช่น คำนำหน้า ตัวอย่างเช่น เวลาที่เราหย่าขาดจากสามี สามารถ กลับมาใช้ นางสาวได้เหมือนเดิม
เหล่านี้ เป็นตัวอย่างบางประการในความเท่าเทียมที่ผู้หญิงได้รับ
แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงได้ถูก “บังคับ” ถูก “กด” หรือถูกสร้างมาตรฐานมาตลอด นั่นก็คือเรื่องของ “เพศ” แม้จะเคยได้ยินวลีที่ว่า “ความเท่าเทียมทางเพศ” แต่ในความเป็นจริงของสังคมไทยแล้วทุกคนทราบกันดีว่าความเท่าเทียมทางเพศที่ว่านี้ เป็นอย่างไร?
หากความเท่าเทียมมีจริงในทุกๆเรื่องแล้ว ก็ไม่ควรที่จะมองข้ามเรื่องนี้ไป ถึงแท้ว่า ผู้หญิงจะทำตัวเหมือนผู้ชายที่มีเสรีเรื่องเพศ ก็ไม่ควรจะเอาระบบวัฒนธรรมมากำหนดและลดคุณค่าของผู้หญิง จนหมดโอกาสดีๆในชีวิตไป
การที่ผู้หญิงจะทำตัวมีเสรีทางเพศบ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นความผิดร้ายแรง แต่กลับถูกประณาม ถูกด่าว่าอย่างรุนแรง จนกระทั่งถูกบั่นทอนความมั่นใจ รวมทั้งความเป็นตัวของตัวเองไปเพราะต้องทำตัวให้อยู่ในกรอบ และถูกคาดหวังให้เป็นคนที่ดีมีคุณค่า ทั้งๆที่ผู้ชายเองก็ประพฤติปฏิบัติและมีพฤติกรรมดังกล่าวมากกว่าผู้หญิง แต่ทำไมผู้หญิงต้องได้รับการลงโทษจากสังคม ต้องโดนอยู่ฝ่ายเดียว
ถ้าผู้หญิงมีความเท่าเทียมเท่าเทียมกับผู้ชายจริงๆก็ไม่ควรที่จะยกเว้นในประเด็นของ “ความเท่าเทียม ทางเพศ”
สิ่งสำคัญที่มากำหนดความเป็นไปของผู้หญิงในส่วนนี้คืออะไร
อะไรที่ทำให้ผู้ชายมีอำนาจมากกว่าผู้หญิง
สิ่งนั้นคือ ? >>>> วัฒนธรรม นั่นเอง
กล่าวคือ การที่มาตรฐานของผู้หญิงถูกสร้างขึ้นมาบีบบังคับความเป็นไปในชีวิตนั้น มีสาเหตุมาจาก ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรม ได้สร้างความเป็นเพศ และความเป็นหญิงชายขึ้นในสังคมไทย วัฒนธรรมเป็นผู้สร้างความเป็นเพศ และเป็นเครื่องบอกกล่าวบอกว่า ในความเป็นผู้หญิงและผู้ชาย เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร ควรคิดอย่างไร ควรจะคาดหวังอะไรและควรจะถูกคาดหวังให้เป็นอย่างไรจากผู้อื่น เช่น
- ในวัฒนธรรมไทย ผู้หญิงต้องรักนวล สงวนตัว ไม่พูดเสียงดัง ไม่สบถ ในขณะที่ผู้ชายไม่ถูกคาดหวังให้เป็นเช่นนั้น
- ภรรยาต้องเชื่อฟังสามี สามีต้องเป็นช้างเท้าหน้า เป็นผู้นำในครอบครัว ผู้หญิงต้องให้ความสำคัญกับหน้าที่ของภรรยา และ “แม่” มากกว่า การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ขณะที่ผู้ชาย ต้องทำงานให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ในยุคของหาของป่าล่าสัตว์ และยุคเพาะปลูก การศึกษาดังกล่าวมีข้อสรุปว่า ผู้ชายสามารถหาทรัพย์สินส่วนเกินมากกว่าผู้หญิง หรือมีการสะสมทุน จนทำให้ผู้ชายมีอำนาจในการสร้างพื้นที่สาธารณะได้มากกว่า จนทำให้ผู้หญิงต้องจัดการแต่เรื่องภายในที่ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ ผู้ชายจึงมีฐานะในด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจภายนอก ซึ่งผู้หญิงก็จะถูกจำกัดอยู่เพียงเรื่องการจัดการภายในบ้านเป็นหลักโครงสร้างดังกล่าวจึงสามารถมองเห็นภาพความไม่เท่าเทียมระหว่างพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่สาธารณะ
นี่คือความชอบธรรมที่อ้างมาจากการสร้างวิธีคิดผ่านมิติทางประวัติศาสตร์นั่นเอง ทำให้เกิดเป็นอำนาจ ที่ผู้ชายใช้อำนาจกดทับเพศหญิงมาหลายยุคหลายสมัยสังคมไทย สร้างกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆให้ผู้หญิงมีชีวิตอยู่ภายใต้อำนาจของตนเองจากความได้เปรียบในเรื่องของกายภาพ ความแข็งแรงของร่างกายและพละกำลัง ทำให้ผู้ชายสามารถสร้างความเกรงกลัวแก่ผู้หญิงได้
เมื่อมีอำนาจและสร้างความเกรงกลัวได้แล้ว ผู้ชายจึงถือบทบาทของผู้นำเสมอ ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นหัวหน้า เป็นผู้นำ เป็นนักรบ หรือแม้แต่เป็นกษัตริย์ ทำให้ผู้ชายสร้างมาตรฐานในสิ่งที่ตนเองต้องการอย่าง เห็นแก่ตัวและไร้ซึ่งความยุติธรรม ยกตัวอย่างเช่น ค่านิยมของสังคมไทย เรื่อง “ความบริสุทธิ์ของผู้หญิง”
แนวคิดว่าผู้หญิงควรบริสุทธิ์ก่อนแต่งงานนั้นเป็นสิ่งที่ผู้หญิงถูกลดทอนคุณค่าของความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับชายลงไป ซึ่งขณะที่ผู้ชายทำอะไรลงไปในเรื่องเพศก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ผู้ชายสามารถหาความสุขให้ตนเองได้อย่างไม่เดือดร้อน ไม่ถูกลงโทษลงทัณฑ์จากสังคม สามารถมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศตลอดจนมีภรรยาหลายคนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต่อต้านผู้หญิงไม่ให้มีประสบการณ์ในเรื่องเพศก่อนแต่งงาน และควรมีสามีเพียงคนเดียวห้ามนอกใจเพราะในกรณีที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายมีสามีหลายคนบ้าง ก็จะถูกสังคมประณามและตราหน้าว่าเป็นผู้หญิงสำส่อน
ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วสังคมไทยควรจะส่งเสริมให้ทั้งหญิงและชายควรบริสุทธิ์ก่อนแต่งงานเนื่องจากผู้หญิงและผู้ชายจะได้มีความเท่าเทียมกันและโรคจากเพศสัมพันธ์ก็จะลดปริมาณลง รวมทั้งสังคมไทยก็ถูกยกระดับและมีคุณภาพมากกว่านี้ ผู้หญิงที่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจทางความคิดเหล่านี้น่าสงสาร เพระทนกับความทุกข์ที่กลัวว่าผู้ชายจะไม่รัก ผู้ชายจะทอดทิ้ง นี่คือกระบวนการให้ผู้หญิงอ่อนแอในบริบทสังคมชายเป็นใหญ่ ทั้งๆที่ต้นเหตุไม่ได้มาจากผู้หญิงเลย ในขณะที่ผู้ชายคาดหวังให้ผู้หญิงที่ตนเองแต่งงานเป็นสาวบริสุทธิ์ แต่ตนเองกับเคยมีอะไรกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยามากมายในระดับหนึ่ง
เพราะโครงสร้างทางวัฒนธรรมกับความไม่เท่าเทียมในสังคมไทย ที่เป็นสาเหตุให้ผู้หญิงจึงถูกตีกรอบให้อยู่ภายใต้ประเพณี จารีต ค่านิยม ที่ผู้ชายขีดขึ้นสร้างมาตรฐานให้เดินตามใจที่ถวิลหาต้องการ ผู้หญิงไทยจึงถูกโครงสร้างทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเป็นไปภายในกรอบ ที่ต้องดูเรียบร้อย สุภาพ ไม่แสดงกิริยาแห่งความต้องการอยากได้ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ออกจริตจนเกินงาม
ผู้หญิงที่แสดงออกว่ามีอารมณ์และความต้องการทางเพศนั้นจะได้รับการดูถูกและประณามอย่างรุนแรงว่าไม่เหมาะสม ดูไม่มียางอายขึ้นมา ในขณะที่ผู้ชายสามารถชื่นมื่นยอมรับตนเองได้อย่างออกนอกหน้า นี่คือผลผลิตจากวัฒนธรรมที่สร้างความเป็นเพศ สร้างอำนาจให้ผู้ชาย และสร้างหน้าที่ ตีกรอบชีวิตและกำหนดความเป็นไปให้กับผู้หญิงว่าควรเป็นอย่างไรในสังคมไทย
ผู้มีอำนาจมักจะใช้อำนาจของตนเพื่อกำหนดสิ่งต่างๆ ในแบบที่ตนเองต้องการเพื่อควบคุมกลุ่มคนที่ด้อยกว่าเสมอ
การที่สังคมกำหนดความเป็นเพศขึ้น โดยให้ผู้หญิงมีคุณลักษณะบางอย่าง และผู้ชายมีคุณลักษณะบางอย่างและเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นำไปสู่การกำหนดบทบาทหน้าที่ รวมทั้งสถานะสูงต่ำที่แตกต่างกันของคนสองเพศ ผู้หญิงอยู่ในสภาพเป็นผู้ที่ด้อยกว่า เป็นผู้ตาม เป็นผู้ถูกกำหนด ในขณะที่ผู้ชายอยู่ในฐานะที่เหนือกว่า เป็นผู้นำ เป็นผู้กำหนด ตัวอย่างเช่น การเชื่อว่าผู้หญิงมีหน้าที่หลักในการเลี้ยงลูกและดูแลครอบครัว นำไปสู่การที่ครอบครัวไม่สนับสนุนให้เด็กผู้หญิงได้รับการศึกษา โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีฐานะไม่ดีนัก แต่เด็กผู้ชายจะได้รับการศึกษาเพราะเชื่อว่าผู้ชายมีหน้าที่ในการเป็นผู้นำของครอบครัว
ความเชื่อเช่นว่านี้ ทำให้ผู้หญิงในโลกนี้มีสัดส่วนของการไม่รู้หนังสือจำนวนมากกว่าผู้ชาย และเนื่องจากด้อยทางการศึกษารวมทั้งความเชื่อที่ว่าผู้หญิงไม่มีทักษะทางเครื่องยนต์กลไก ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ในโลกนี้เช่นกันที่มีสัดส่วนที่ต้องทำงานไร้ทักษะและได้รับการจ้างแรงงานต่ำมากกว่าชาย นำไปสู่การที่ผู้หญิงอยู่ในกลุ่มของผู้ยากจนในสัดส่วนที่มากกว่าชาย
การเชื่อว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ไม่มีเหตุผล ไม่สามารถคิดอะไรที่ซับซ้อน ไม่สามารถคิดอะไรในระดับที่นอกเหนือจากประสบการณ์ได้ ไม่สามารถตัดสินใจในปัญหาที่สำคัญ ทำให้ผู้หญิงไม่ได้รับการสนับสนุนให้สนใจและไม่ได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำไม่ว่าในระดับใด จึงทำให้ในโลกนี้มีผู้หญิงจำนวนน้อยมากที่อยู่ในระดับนำ ที่มีโอกาสในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลต่อชีวิตของคนจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ผู้หญิงมีอยู่ครึ่งหนึ่ง
การเชื่อว่าในเรื่องเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงเป็นผู้รองรับ ไม่สามารถเป็นผู้แสดง (passive) และต้องเป็นสาวบริสุทธิ์ ในขณะที่ผู้ชายเป็นผู้ที่ต้องแสดง ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเสนอหรือต่อรองในการใช้เครื่องมือคุมกำเนิด เพราะกลัวถูกมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีหรือมีประสบการณ์ ในเรื่องเพศมาก่อน ผลที่ตามมา คือผู้หญิงต้องแบกรับภาระการตั้งท้องและรับผิดชอบต่อเด็กที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด หรือติดโรคทางเพศอื่นๆ
ในทางจิตวิญญาณ ผู้หญิงถูกเชื่อว่าอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าชาย ผู้หญิงไม่สามารถพัฒนาความคิดในระดับนามธรรมได้ นักปรัชญาตะวันตกตั้งแต่อริสโตเติลจนถึงเฮเกลได้อ้างมาตลอดว่า ผู้หญิงไม่สามารถเป็นเพื่อนกับผู้ชายได้เพราะผู้หญิงปราศจากความสามารถทางศีลธรรมในการมีความสัมพันธ์เชิงมิตรภาพในรูปแบบสูงสุดได้ (Shanley 1995) ความเชื่อเช่นนี้ส่งผลให้ผู้นำทางศาสนาในศาสนาสำคัญ ๆ ของโลกล้วนเป็นเพศชายทั้งสิ้น ในหมู่นักบวชด้วยกัน นักบวชหญิงก็มีสถานะที่เป็นรองนักบวชชาย
กรณีพระพุทธศาสนาแม้พระพุทธเจ้าทรงยอมรับว่าผู้หญิงสามารถบรรลุนิพพานได้เช่นเดียวกับผู้ชาย และในสมัยพุทธกาลได้มีพระภิกษุณีที่เป็นพระอรหันต์จำนวนมาก แต่สังคมไทยในส่วนของมหาเถรสมาคมยังคงปฏิเสธการบวชเป็นภิกษุณีของผู้หญิงจนถึงปัจจุบันนี้ สะท้อนถึงการไม่ยอมรับความเท่าเทียมทางจิตวิญญาณของหญิงและชายที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างเหนียวแน่น ทั้งหมดนี้ล้วนแสดงให้เห็นว่าความเชื่อต่าง ๆ ที่ควบคู่มากับความเป็นเพศ ได้ผลักหรือกันให้ผู้หญิงออกจากศูนย์กลางของอำนาจ ไม่ว่าทางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม ทำให้ผู้หญิงมีสภาพไม่ต่างจากกลุ่มคนชายขอบที่ไร้อำนาจ อยู่ในสถานะของผู้ที่ถูกกำหนด ไม่สามารถเป็นผู้กำหนดหรือผู้ตัดสินใจได้
เหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายมีอำนาจมากกว่าผู้หญิง และทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงขึ้น
ซึ่งในความเป็นจริงนั้นผู้หญิงกับผู้ชาย ทั้งสองเพศเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นจึงเป็นการควรอย่างยิ่งที่จะมีความเท่าเทียมกันในทุกเรื่อง โดยไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นจึงเป็นการควรอย่างยิ่งที่จะมีสิทธิ์ในการดำรงชีวิตที่เหมือนๆกัน ได้รับการปฏิบัติในเรื่องต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน มีอิสระทางความคิดความต้องการและเสรีภาพได้เท่าๆกัน ควรมีความเท่าเทียมกัน และเป็นความเท่าเทียมที่มีอยู่จริงๆ ปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่มีแค่ในนามอย่าง “ความเท่าเทียมทางเพศ”
หากความเท่าเทียมมีจริงในทุกๆเรื่องแล้ว ก็ไม่ควรที่จะมองข้ามเรื่องนี้ไป ถึงแม้ว่า ผู้หญิงจะทำตัวเหมือนผู้ชายที่มีเสรีเรื่องเพศ ก็ไม่ควรจะเอาระบบวัฒนธรรมมากำหนดและลดคุณค่าของผู้หญิง จนหมดโอกาสดีดีในชีวิตไป และการที่ผู้หญิงจะทำตัวมีเสรีทางเพศบ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นความผิดร้ายแรง ถึงขนาดต้องถูกประณาม ถูกด่าว่าอย่างรุนแรง จนแทบจะบั่นทอนความมั่นใจ ความเป็นตัวของตัวเองไป
ผู้หญิงยังสามารถดำรงชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ต่อไปได้ ไม่ได้มีอะไรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย ถึงแม้จะไม่เหลือความบริสุทธิ์ ตามที่สังคมและวัฒนธรรมและความต้องการของผู้ชายมาบีบบังคับ กำหนดให้เราต้องเป็น
ในเมื่อมีความเท่าเทียมระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงในเรื่องอื่นๆเกิดขึ้นและได้รับการยอมรับในสังคมไทย สืบเนื่องมาจากการที่ผู้หญิงได้รับการยอมรับมากขึ้น ฉะนั้นเรื่องของ “ความเท่าเทียมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง” ก็ควรที่จะเปิดกว้างและยอมรับกันในสังคม เพราะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันไม่ใช่ยุคสมัยที่ผู้หญิงจะตกเป็นทาสหรือเป็นสมบัติของผู้ชายอีกต่อไปแล้ว
ผู้หญิงไม่ตายถ้าไม่ได้แต่งงาน ไม่ถูกประณามถ้าไม่ได้ออกเรือนมีสามี การมีชีวิตและความเป็นอยู่รวมทั้งการได้รับการยอมรับจากสังคมของผู้หญิงไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ชายอีกต่อไป ดังนั้นความกลัวที่จะไม่ได้รับการยอมรับ (กลัวไม่มีสามี) ต้องหมดสิ้นไปเพราะผู้หญิงสามารถทำให้ตนเองได้รับการยอมรับได้ด้วยความรู้ความสามารถและศักยภาพในตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าในความเป็นแม่ การมีตั้งครรภ์ การมีบุตร การให้กำเนิด การดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ ที่ผู้ชายไม่สามารถทำได้
ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้หญิงเราได้สร้างคุณค่าในตนเองให้เกิดขึ้นได้แล้วด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยผู้ชายอีกต่อไป ดังนั้นเราจึงมีอำนาจที่จะกำหนดบทบาทและความเป็นไปของตนเองได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาของสังคมและการถูกคาดหวังจากผู้ชายจนสูญเสียความมั่นใจและความเป็นตัวเองไป
และถึงเวลาที่เราจะต้องใช้คุณค่าที่แท้จริงที่มีอยู่นั้น เพื่อให้การถูกคาดหวัง ถูกสร้างมาตรฐาน ถูกกดด้วยระบบวัฒนธรรมและอำนาจของผู้ชายหมดไป
ผู้หญิง-ผู้ชาย ควรมีความเท่าเทียมกันในทุกๆเรื่อง
รวมทั้งความเท่าเทียมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง
“หยุดการนำเอาระบบวัฒนธรรมที่ทำให้ผู้ชายมีอำนาจ
มากำหนด ความเป็นไป และลดคุณค่าของผู้หญิง”
ผลงานอื่นๆ ของ D-SiNE ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ D-SiNE
ความคิดเห็น