คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : กลุ่มยาสมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือด
กระเทียม ชื่อสามัญ Garlic
กระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์
คือคำว่า Allium sativum L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง
(AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE)
สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่สำหรับกระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี กลิ่นฉุนคงหนีไม่พ้นจังหวัดศรีสะเกษ
สรรพคุณของกระเทียม
1.
กระเทียมประโยชน์ของกระเทียม
ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
2.
ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
3.
ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
4.
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
5.
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
6.
ประโยชน์กระเทียม ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
7.
ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ
หูอื้อ
8.
ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ
เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
9.
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
10.
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
11.
ช่วยต่อต้านเนื้องอก
12.
กระเทียม ประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า
มีสีเทา
13.
ช่วยป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง
14.
ช่วยในการขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
15.
กระเทียมสรรพคุณช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
16.
สารสกัดน้ำมันกระเทียมมีสารที่มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด
17.
ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
18.
มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
19.
ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
20.
ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
21.
ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและไซนัส
22.
ช่วยรักษาโรคไอกรน
23.
สรรพคุณกระเทียมช่วยแก้อาการหอบ หืด
24.
ช่วยรักษาโรคหลอดลม
25.
ช่วยระงับกลิ่นปาก
26.
ช่วยในการขับเหงื่อ
27.
สรรพคุณของกระเทียมช่วยในการขับเสมหะ
28.
ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ
ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ
29.
มีสรรพคุณช่วยในการขับลม
30.
ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด
ท้องเฟ้อ
แตงกวา
แตงกวา ชื่อสามัญ Cucumber
แตงกวา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis sativus L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงกวา มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ ว่า แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน (ภาคเป็น) เป็นต้น
ประโยชน์ของแตงกวา
1.
แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย
ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2.
ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
3.
แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง
ๆ
4.
ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านมะเร็ง
5.
ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
6.
ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย
รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
7. ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
8.
ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท
ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
9.
ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท
เพิ่มความจำ (ผล, เมล็ดอ่อน)
10.
ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล, เมล็ด)
11.
เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
ให้พลังงานต่ำ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
12.
ช่วยแก้ไข้ (น้ำแตงกวา)
13.
ช่วยแก้อาการเจ็บคอ
โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
14.
แตงกวา สรรพคุณช่วยลดอาการนอนไม่หลับ
(น้ำแตงกวา)
15.
ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
16.
ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
17.
ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
18.
น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
19.
ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
20.
น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
21.
ช่วยลดอาการบวมน้ำ
22.
ทรีตเมนต์จากแตงกวาช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว
ลดจุดด่างดำ ช่วยบำรุงทำให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หน้ามัน
ทำให้ผิวขาวใส ช่วยบำรุงดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ตาบวม บำรุงเส้นผม ป้องกันผมเสีย
ฯลฯ
23.
จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ
ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็กและมดลูกให้หดตัว
กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อต้านการกลายพันธุ์
ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
ลบรอยแผลเป็น เป็นต้น
24.
แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี
และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน
(Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine)
ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
25.
แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ
ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้
การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี
และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก
อาหารจานเดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว
26.
ประโยชน์ของแตงกวา
ในปัจจุบันมีการใช้น้ำแตงกวานำไปผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่างเช่น ครีมล้างหน้า
เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมแตงกวา ครีมบำรุงผิว ครีมลดริ้วรอย ครีมกันแดด
โลชั่น เพื่อช่วยป้องกันผิวแห้งกร้าน ช่วยในการสมานผิว ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล
เป็นต้น
27.
เมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวาไข่ต้ม
ต้มจืดแตงกวายัดไส้ ตำแตง ยำแตงกวาปลาทูน่า พล่าแตงกวาหมูย่าง แตงกวาผัดไข่
แตงกวาดอง ฯลฯ
มะเขือยาว
มะเขือยาว ชื่อสามัญ Eggplant
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ มะเขือยาวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6
วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม
ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน
เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่าง ๆ
สำหรับมะเขือยาวสีม่วงนั้นจะมีวิตามินพีมากเป็นพิเศษโดยทั่วไปในมะเขือยาวผิวสีม่วงจะมีวิตามินพีในปริมาณที่มาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง
มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด ควรจะรับประทานมะเขือยาวเป็นประจำ
เพราะจะทำให้อาการของโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้
มะเขือยาว
มีความสามารถในการดูดซับน้ำมัน
จึงคาดว่าน่าจะช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้
ด้วยความจริงนี้เองหากจะรับประทานด้วยวิธีการทอดก็จะทำให้มะเขือยาวดูดซับน้ำมันเอาไว้
จึงควรใช้วิธีอบแทน
สรรพคุณของมะเขือยาว
1.
ประโยชน์ของมะเขือยาวมีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
2.
ประโยชน์มะเขือยาวช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้
3.
มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติ
4.
ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
5.
แคลเซียมจากมะเขือยาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
6.
ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
7.
มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง
พัฒนาด้านความจำ
8.
สรรพคุณของมะเขือยาวใช้เป็นยาแก้ปวด
ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการปวด
9.
ช่วยขับเสมหะ
ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากิน
10. ใช้แก้อาการปวดฟัน ฟันผุ ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็น
11.
ใช้รักษาแผลในช่องปาก
ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นแผล
12.
ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติและสะดวก
13.
มะเขือยาวสรรพคุณใช้รักษาโรคบิดเรื้อรัง
ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10 กรัม มาต้มเอาน้ำกิน
หรือใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการอุจจาระเป็นเลือด
หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า
บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน
14.
แก้อาการตกเลือดในลำไส้
ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม
หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการก็ได้ หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60
กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน
15.
ช่วยแก้ปัสสาวะขัด
ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม
16.
ช่วยรักษาโรคหนองใน
ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม
17. ใช้รักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผลสด นำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นก็ได้ เช่นกัน
18.
รักษาแผลเท้าเปื่อยอักเสบ ด้วยการใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำจนละเอียด
คั้นเอาน้ำแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
19.
รักษาแผลที่เกิดจากพยาธิปากขอเจาะไชเท้า
ด้วยการใช้ใบต้มกับน้ำล้างบริเวณที่เป็นแผล
20.
ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคันตามผิว
ด้วยการใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็น
21. รักษาผิวหนังเป็นปื้นขาวหรือแดง ด้วยการใช้ขั้วผลที่แห้งแล้วนำมาคลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้ละเอียดแล้วนำมาทา บริเวณที่เป็นปื้น
22.
สรรพคุณมะเขือยาวช่วยรักษาฝี
ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นฝี
หรือถ้าเป็นฝีหลายหัวบริเวณหลังแต่หนองยังไม่แตก ให้นำใบสดมาตำจนละเอียดแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำ
นำมาต้มแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี
23.
ใช้ล้างแผลหรือนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนองหรือแผลที่เกิดจากการถูกความเย็น
ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำแล้วนำมาล้างแผลหรือพอกบริเวณที่เป็นหนอง
24.
รักษาอาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกของผู้หญิง ให้ใช้ผลแก่จัดนำมาตากในร่มจนแห้ง
แล้วนำไปเผาจนเป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ
ความคิดเห็น