ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สมุนไพรไทยจำแนกตามกลุ่ม

    ลำดับตอนที่ #4 : กลุ่มยาสมุนไพรช่วยบำรุงสายตา

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 60


    กลุ่มยาสมุนไพรช่วยบำรุงสาย


    กระเจี๊ยบเขียว

       กระเจี๊ยบเขียว ชื่อสามัญ Okra, Lady’s finger, Gombo, Gumbo, Bendee, Quimbamto แต่ในอินเดียจะเรียกกระเจี๊ยบเขียวว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะเรียกว่า บามี (Bamies)

       กระเจี๊ยบเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

       สมุนไพรกระเจี๊ยบเขียว ยังมีชื่อท้องถิ่นอีก เช่น กระต้าด (สมุทรปราการ), กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือขื่น มะเขือมื่น (ภาคเหนือ), ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น และสำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวกันมากที่สุดส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในภาคกลาง เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี

    สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

            1.       ฝักกระเจี๊ยบเขียวมีเส้นใยอยู่มาก จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ โดยช่วยรักษาระดับการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ใหญ่ให้คงที่ กระเจี๊ยบเขียวจึงเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ผล)

            2.       ใช้เป็นยาบำรุงสมอง (ผล)

            3.       ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาความดันให้เป็นปกติ (ผล)

            4.       ผลช่วยแก้อาการหวัด รักษาหวัด (ผล)

            5.       ช่วยป้องกันอาการหลอดเลือดตีบตัน (ผล)

            6.       ใบช่วยขับเหงื่อ (ใบ)

            7.       ใบกระเจี๊ยบช่วยแก้โรคปากนกกระจอก (ใบ)

            8.       เส้นใยของกระเจี๊ยบยังช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่น้ำดี ซึ่งจะช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้ คล้ายกับการกินยาลดไขมันและคอเลสเตอรอล (สแตติน) (ผล)

            9.       ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและช่วยลดคอเลสเตอรอล โดยเส้นใยของกระเจี๊ยบเป็นตัวช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ โดยการจับกับน้ำดี ซึ่งมักจับสารพิษที่ร่างกายต้องการขับถ่ายที่ถูกส่งมาจากตับ และสารเมือกในฝักยังช่วยจับสารพิษเหล่านี้ ซึ่งการจับกับน้ำดีนี้จะเกิดในลำไส้และขับออกมาทางอุจจาระ ทำให้ไม่เหลือสารพิษตกค้างอยู่ในลำไส้ (ผล)

            10.   ผักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล)

            11.   การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย จึงช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่อง ช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี และช่วยในการทำงานของระบบดูดซีมสารอาหาร ช่วยสนับสนุนการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (โพรไบโอติกแบคทีเรีย) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ผล)

            12.   ในฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารที่เป็นเมือกจำพวกเพกทิน (Pectin) และกัม (Gum) ที่มีคุณสมบัติช่วยในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ โดยป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามของแผลได้เป็นอย่างดี (ได้ผลดีเท่า ๆ กับยา Misoprotol) และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (ผล)

            13.   เมือกลื่นในฝักกระเจี๊ยบ ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะไม่เกิดการระคายเคือง ช่วยทำให้อาหารถูกย่อยในลำไส้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (ผล)

            14.   ช่วยแก้บิด ด้วยการใช้ผลแก่นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับน้ำดื่มแก้อาการ (ผล)

            15.   ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ หรือในผู้ป่วยที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ (ผล)

            16.   ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อนกลับ ด้วยการนำฝักกระเจี๊ยบมาต้มในน้ำเกลือแล้วใช้กินแก้อาการ (ผล)

            17.   ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด (สาเหตุมาจากการได้รับตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในเนื้อดิบ เช่น หมู เป็ด ไก่ กบ กุ้ง เนื้อปลา เป็นต้น) ด้วยการรับประทานฝักกระเจี๊ยบติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน แต่สำหรับบางรายต้องรับประทานเป็นเดือนจึงจะหาย (ผล)

            18.   ช่วยแก้อาการขัดเบา (ในอินเดีย) (ผล)

            19.   ในตำรายาแผนโบราณของจีน มีการนำราก เมล็ด และดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศอินเดียนั้นจะใช้ฝักนำมาต้มกับน้ำดื่มเพื่อช่วยขับปัสสาวะเมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเมื่อปัสสาวะขัด (ผล, ราก, เมล็ด, ดอก)

            20.   ในอินเดียใช้ผลกระเจี๊ยบเป็นยารักษาโรคหนองใน (ผล)

            21.   รากนำมาต้มน้ำเพื่อใช้รักษาโรคซิฟิลิส (Syphilis) (ราก)

            22.   การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงตับได้ (ผล)

            23.   ดอกกระเจี๊ยบสามารถนำมาตำใช้พอกรักษาฝีได้ (ดอก)

            24.   ในเนปาลนำน้ำคั้นจากรากมาใช้เพื่อล้างแผลและแผลพุพอง (ราก)

            25.   ยางจากผลสดใช้เป็นยารักษาแผลสดเมื่อถูกของมีคมบาด หรือใช้ยางกระเจี๊ยบทาแผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และไม่        ทำให้เกิดแผลเป็น (ยางจากผล)

            26.   ในอินเดียมีการใช้เมล็ดนำมาบดผสมกับนม ใช้ทาผิวหนังเพื่อแก้อาการคัน (เมล็ด)

            27.   ใบกระเจี๊ยบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาประคบเพื่อลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แตก        แห้ง (ใบ)

            28.   ใช้เป็นยาบำรุงข้อกระดูก โดยมีการเล่ากันว่าชาวชุมชนมุสลิมทางภาคใต้สมัยก่อน จะนิยมกินผักที่เป็นเมือก เช่น ผักกูด และกระเจี๊ยบเขียว เพื่อช่วยเพิ่มไขมันหรือเมือกให้ข้อกระดูก โดยเชื่อว่าจะทำให้หัวเข่าหรือข้อต่อกระดูกมีน้ำเมือกมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บและช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น เสมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง (ผล)

            29.   ผลกระเจี๊ยบมีเมื่อกลื่นที่ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งแตก บางคนจึงนิยมนำผลอ่อนมาพอกผิวเมื่อมีอาการแสบร้อน (ผล)

            30.   การรับประทานกระเจี๊ยบเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์และช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากมีโฟเลตสูง โดยฝักแห้ง 40 ฝักจะเทียบเท่ากับปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (ผล)




    กระถินไทย

       กระถิน ชื่อสามัญ White popinac, Lead tree, Horse tamarind, Leucaena, lpil-lpil

       กระถิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

       กระถิน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะเส็ดโคก กะเส็ดบก (ราชบุรี), กะตง กระถิน กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน (สมุทรสงคราม), ผักก้านถิน (เชียงใหม่), ผักหนองบก (ภาคเหนือ), กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก (ภาคกลาง), ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน (ภาคใต้), กระถินยักษ์ เป็นต้น

    สรรพคุณของกระถิน

            1.       ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, เมล็ดแก่)

            2.       กระถินมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก (ยอดอ่อน, ฝักอ่อน, เมล็ด)

            3.       ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ยอดอ่อน)

            4.       ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ยอดอ่อน)

            5.       กระถินอุดมไปด้วยวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ (ยอดอ่อน)

            6.       ช่วยบำรุงหัวใจ (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)

            7.       ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ดแก่)

            8.       ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)

            9.       ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)

            10.     ช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา (ดอก)

            11.     ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ฝัก)

            12.     เมล็ดกระถินใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Ascariasis) สำหรับผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม ส่วนเด็กให้ใช้ 5-20 กรัมต่อวัน โดยใช้รับประทานขณะท้องว่างในตอนเช้าประมาณ 3-5 วัน (เมล็ด)

            13.   สรรพคุณกระถิน ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก, เมล็ดแก่)

            14.   ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ราก, เมล็ดแก่)

            15.   ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร (ยอดอ่อน, ฝักอ่อน, เมล็ด)

            16.   ดอกกระถินช่วยบำรุงตับ (ดอก) ช่วยบำรุงไตและตับ (เมล็ดแก่)

            17.   ฝักกระถินเป็นยาฝาดสมาน ใช้ห้ามเลือด (ฝัก, เปลือก)




          ชะอม

       ชะอม ชื่อสามัญ Climbing wattle, Acacia, Cha-om

       ชะอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia pennata (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

       ผักชะอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ผักหละ (ภาคเหนือ), อม (ภาคใต้), ผักขา (ภาคอีสาน อุดรธานี), พูซูเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), โพซุยโดะ (กะเหรี่ยง) เป็นต้น

    ประโยชน์ของชะอม

            1.       ประโยชน์ชะอมช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง

            2.       สรรพคุณของชะอม ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกายได้

            3.       ผักรสมันอย่างชะอมมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ

            4.       ชะอมมีสรรพคุณช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก

            5.       รากชะอมนำมาฝนกินช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้

            6.       ประโยชน์ชะอมสรรพคุณชะอมมีส่วนช่วยบำรุงเส้นเอ็น

            7.       ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

            8.       ประโยชน์ของชะอม ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย ด้วยสูตรน้ำชะอมหมักผม เพียงแค่นำใบชะอมประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย จนได้น้ำชะอมเข้มข้น กรองเอาแต่น้ำ เมื่อสระผมเสร็จให้นำผ้าขนหนูมาชุบน้ำชะอมที่เตรียมไว้ บิดพอหมาด นำมาเช็ดผมให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผมแห้ง ๆ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

            9.       ชะอม ประโยชน์นำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูชะอม เช่น ไข่ชะอม ไข่ทอดชะอม ชะอมชุบไข่ แกงส้มชะอมกุ้ง แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกหรือนึ่งใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก น้ำพริกกะปิ รับประทานร่วมกับส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือจะนำไปปรุงเป็นแกงรวมกับปลา เนื้อ ไก่ กบ เขียด หรือต้มเป็นอ่อม ทำแกงลาว แกงแค เป็นต้น


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×