คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : กลุ่มยาสมุนไพรแก้อาการผื่นคัน
กระเบาน้ำ
กระเบา ชื่อสามัญ Chaulmoogra
กระเบา ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydnocarpus anthelminthicus
Pierre ex Laness. ปัจจุบันถูกจัดอยู่ในวงศ์ ACHARIACEAE
สมุนไพรกระเบา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระเบา กระเบาน้ำ กระเบาข้าวแข็ง
กระเบาข้าวเหนียว กระตงดง (เชียงใหม่), ดงกะเปา (ลำปาง), กระเบาใหญ่ (นครราชสีมา), หัวค่าง (ประจวบคีรีขันธ์), เบา (สุราษฎร์ธานี),
กุลา กาหลง (ปัตตานี), มะกูลอ (ภาคเหนือ),
กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่ กาหลง แก้วกาหลง (ภาคกลาง), เบา (ภาคใต้), กระเบาตึก (เขมร), ตัวโฮ่งจี๊ (จีน), ต้าเฟิงจื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น
สรรพคุณของกระเบาน้ำ
1.
ผลใช้รักษามะเร็ง
(ผล)
2.
เมล็ดมีรสเผ็ดร้อนและขม
ใช้เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม และไต ใช้เป็นยาขับลม ขับพิษ (เมล็ด)
3.
ช่วยดับพิษทั้งปวง
(รากและเนื้อไม้)
4.
ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ
(รากและเนื้อไม้)
5.
ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
(เมล็ด)
6.
รากและเนื้อไม้มีรสเบื่อเมา
ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนังต่าง ๆ (รากและเนื้อไม้)
7.
ช่วยรักษาบาดแผล
(รากและเนื้อไม้)
8.
ช่วยแก้พิษบาดแผลสด
(ใบ)
9.
ใบมีรสเบื่อเบา
ใช้ฆ่าพยาธิบาดแผล (ใบ)
10.
ใบใช้แก้กลากเกลื้อน
(ใบ) ส่วนเมล็ดก็ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อนได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยแก้หิดได้อีกด้วย
(เมล็ด)
11.
ผลและเมล็ดมีรสเมาเบื่อมัน
ใช้แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ผล, เมล็ด) ตำรายาไทยใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ดเพื่อรักษาโรคผิวหนังอื่นๆ
(เมล็ด) หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 5-10 เมล็ด นำมาแกะเปลือกออก
แล้วนำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชลงไปพอควรและคลุกให้เข้ากัน จากนั้นก็นำมาใช้ทาแก้โรคผิวหนัง
(เมล็ด)
12.
ผลช่วยรักษาโรคเรื้อน
(ผล) ส่วนตำรายาไทยระบุว่าใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ดในการรักษาโรคเรื้อน (เมล็ด) หรือจะใช้น้ำมันจากเมล็ด
3 มล., น้ำ 160 มล., น้ำนมอุ่น 30 มล.,
น้ำเชื่อม 40 มล. แล้วนำทั้งหมดมาผสมกัน
ใช้ดื่มหลังอาหารวันละ 3 เวลาจะช่วยแก้โรคเรื้อนได้
(น้ำมันจากเมล็ด)
13.
เมล็ดนำมาหุงเป็นน้ำมันทาภายนอก
ใช้สำหรับทาผมและรักษาโรคผมร่วง (เมล็ด)
14.
ใช้แก้อาการปวดบวมตามข้อ
(น้ำมันจากเมล็ด)
15.
ใช้ปรุงเป็นยารักษาอีสุกอีใส
ด้วยการใช้กระเบา 50 กรัมและกระเทียม 20
กรัม นำมาตำผสมกับน้ำ 100 cc. แล้วนำมาต้มให้เดือดนาน
5 นาที แล้วนำมาใช้ทาแผลตามร่างกาย ซึ่งจากการทดลองในคนไข้จำนวน 50 คน
และใช้ทาเพียงครั้งเดียวพบว่าคนไข้ทั้งหมดมีอาการที่ดีขึ้น
(เข้าใจว่าใช้ส่วนของเมล็ด)
ทองพันชั่ง
ทองพันชั่ง ชื่อสามัญ White crane flower
ทองพันชั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์
Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์
Rhinacanthus communis Nees) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
สมุนไพรทองพันชั่ง
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง) เป็นต้น
โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และมาดากัสการ์
สรรพคุณของทองพันชั่ง
1.
ทองพันชั่ง สมุนไพรที่ช่วยบำรุงธาตุ
บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น)
2.
ช่วยแก้โรค 108 ประการ (ต้น)
3.
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
4.
ช่วยรักษาวัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก
ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30 กรัม
(ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม)
นำมาผสมกับน้ำตาลกรวดต้มเป็นน้ำดื่ม (ก้าน, ใบ)
5.
ช่วยแก้ลมสาร (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
6.
ใช้เป็นยาหยอดตา (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
7.
ใบรสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ก็ได้
(ใบ, ราก)
8.
ช่วยแก้ไข้เหนือ (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
9.
ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ใบ)
10.
ช่วยแก้อาการช้ำใน (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
11.
ช่วยทำให้ระบบกระเพาะอาหารทำงานได้ดีมากขึ้น
(ใบ)
12.
ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
13.
ช่วยแก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม (ทั้งต้น)
14.
ช่วยแก้ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย
ช่วยรักษาโรคนิ่ว ด้วยการใช้ทองพันชั่งทั้งต้น ดอก ใบ ก้าน และราก
นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ต้มเป็นน้ำดื่ม (ทั้งต้น)
15.
ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)
16.
ช่วยแก้โรคมุตกิดระดูขาวของสตรี (ใบ)
17.
ใช้รักษาโรคตับอักเสบ (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
18.
ช่วยฆ่าพยาธิ (ใบ)
19.
ช่วยขับพยาธิตามผิวหนัง
ช่วยแก้พยาธิวงแหวนตามผิวหนัง ตามบาดแผล (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
20.
ช่วยแก้อาการปวดฝี (ใบ)
21.
สรรพคุณทองพันชั่ง ช่วยแก้พิษงู (ใบ, ราก)
22.
ช่วยถอนพิษ (ใบ)
23.
ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
24.
ทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยรักษาคุดทะราด (ทั้งต้น)
25.
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก, ทั้งต้น)
26.
ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)
27.
ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด
มือเคล็ด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
28.
ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
(สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
29.
ช่วยต้านยีสต์ โดยสาร Rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่งสามารถช่วยยับยั้งเชื้อ
Candida albicans ได้ (ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์) (ใบ)
30.
ช่วยรักษาโรคผมร่วง (ต้น)
31.
ช่วยแก้อาการผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา (ราก)
บอระเพ็ด
บอระเพ็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด
(MENISPERMACEAE)
สมุนไพรบอระเพ็ด
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เจตมูลหนาม (หนองคาย), ตัวเจตมูลยานหรือเถาหัวดำ
(สระบุรี), หางหนู
(อุบลราชธานี), จุ่งจิงหรือเครือเขาฮอ
(ภาคเหนือ) เป็นต้น
บอระเพ็ด
จัดเป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง สมุนไพรไทยบ้าน ๆ
ที่มีสรรพคุณเป็นยาได้สารพัด ซึ่งส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาก็คือ เถาเพสลาก
เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง
รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก
สรรพคุณของบอระเพ็ด
1.
บอระเพ็ดสรรพคุณบอระเพ็ดช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส
หน้าตาสดชื่น (ใบ)
2.
มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอวัย
3.
ประโยชน์ของบอระเพ็ด
ช่วยให้ผมดกหนาขึ้นและอาการผมหงอก ผมร่วงก็จะลดน้อยลง
ซึ่งจะได้ผลดีอย่างมากกับผู้ที่มีอาการผมหงอกก่อนวัย หากรับประทานผงบอระเพ็ดวันละ 600 mg. เป็นเวลา 1 เดือน
4.
แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค ชันนะตุ
5.
ใช้แก้อาการกระหายน้ำ (เถา, ต้น)
6.
ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย (ต้น, ใบ)
7.
บอระเพ็ดสรรพคุณใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น, ใบ)
ด้วยการใช้บอระเพ็ด / เมล็ดข่อย / หัวแห้วหมู / เมล็ดพริกไทย / เปลือกต้นทิ้งถ่อน
/ เปลือกต้นตะโกนา ในสัดส่วนเท่ากันนำมาบดเป็นผง
ปั้นเป็นยาลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานก่อนนอนครั้งละ 2-3 เม็ด
หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาหั่นตากแห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
8. ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
เสริมสร้างภูมิต้านทาน (ราก)
9. บอระเพ็ดลดความอ้วน (ใบ)
10.
ใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด (ราก)
11. สรรพคุณของบอระเพ็ดช่วยรักษาโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เถาสดที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็น ผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อน เช้าและเย็น (เถาสด, ทุกส่วน)
12.
มีสารลดความดันโลหิต ได้แก่ อะดีโนซีน(adenosine), ซาลโซลีนอล(salsolinol), ไฮเจนนามีน (higenamine) (ต้น)
13.
บอระเพ็ดแก้โรคดีซ่าน (ทุกส่วน)
14.
ช่วยรักษาอาการโลหิตคั่งในสมอง (ใบ)
15.
ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, ต้น)
16.
แก้อาการร้อนใน (เถา, ต้น)
17.
สรรพคุณบอระเพ็ดช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ราก)
18.
ช่วยขับเหงื่อ (เถา)
19.
ช่วยฆ่าแมลงในหู (เถา)
20.
แก้รำมะนาด (เถา)
21.
แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้พิษ ไข้จับสั่น (ราก, ต้น, ใบ)
22.
ใช้ถอนพิษไข้ (ราก)
23. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (เถา, ผล) ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 30 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือใช้วิธีต้มเคี่ยว (ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มให้ เหลือ 1 ส่วน) แบ่งครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารวันละ 2-3 ครั้งเมื่อตอนมีไข้ หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
24.
แก้ไข้มาลาเรียด้วยการกินบอระเพ็ดวันละ 2 องคุลีทุกวัน (เถา)
25.
แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ (ต้น)
26.
แก้อาการแทรกซ้อนขณะเป็นไข้ทรพิษ (ต้น)
27.
ช่วยให้เสียงไพเราะ (ใบ)
28.
แก้อาการเสมหะเป็นพิษ (ผล)
29.
ช่วยรักษาฟัน (ทุกส่วน)
30.
แก้อาการปวดฟัน (เถา)
31.
แก้สะอึก (ต้น, ผล)
32.
แก้โรคกระเพาะอาหารด้วยการใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน / มะขามเปียก 7 ส่วน / เกลือ 3 ส่วน / น้ำผึ้งพอควร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา
33.
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ราก)
34.
รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทุกส่วน)
35.
รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ (ทุกส่วน)
36.
แก้อาการมดลูกเสีย (ราก)
37.
ช่วยบำรุงน้ำดี (เถา)
38.
ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
39.
สรรพคุณของบอระเพ็ดช่วยฆ่าพยาธิไส้เดือน (เถา)
40.
ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน และในหู (ดอก)
41.
แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ทุกส่วน)
42.
แก้อาการเกร็ง (ทุกส่วน)
43.
ดับพิษปวดแสบปวดร้อน (เถา)
44.
ใช้ล้างแผลที่เกิดจากโรคซิฟิลิส (เถา)
45.
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เถา,ใบ)
ความคิดเห็น