ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สมุนไพรไทยจำแนกตามกลุ่ม

    ลำดับตอนที่ #7 : กลุ่มยาสมุนไพรบำรุงโลหิต

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 60


            กลุ่มยาสมุนไพรบำรุงโลหิต


    ผักกูด

       ผักกูด ชื่อสามัญ Paco fern, Small vegetable fern, Vegetable fern

       ผักกูด ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz.) Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Athyrium esculentum (Retz.) Copel.) จัดอยู่ในวงศ์ ATHYRIACEAE

       สมุนไพรผักกูด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักกูดขาว (ชลบุรี), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แลโพโด้ แหละโพะโด้ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), แทรอแปล๊ะ (กะเหรี่ยงแดง), หย่ายจ๊วด (เมี่ยน), เหล้าชั้ว (ม้ง), บ่ะฉ้อน (ลั้วะ), ร่านซู้ล (ขมุ), กูดคึ (ภาคเหนือ), ผักกูด (ภาคกลาง), กูดกิน เป็นต้น

    สรรพคุณของผักกูด

            1.       ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงยอดผักกูด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ใบ)

            2.       ผักกูดอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและเบตาแคโรทีน การรับประทานผักกูดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย (ใบ)

            3.       ใบผักกูดนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)

            4.       ผักกูดเป็นผักที่มีคุณสมบัติช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดูได้

            5.       ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด (ใบ)

            6.       ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจากผักกูดเป็นผักที่มีธาตุเหล็กมากที่สุดเป็นอันดับ 1 (ใบ)

            7.       ช่วยแก้โรคโลหิตจาง (ใบ)

            8.       ช่วยบำรุงสายตา (ใบ)

            9.       ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)

            10.   ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (ใบ)

            11.   ผักกูดเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี (ใบ)

            12.   สรรพคุณผักกูด ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)

            13.   ผักกูด สรรพคุณช่วยแก้พิษอักเสบ (ใบ)




       มะแว้งเครือ

       มะแว้งเครือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum trilobatum L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

       สมุนไพรมะแว้งเครือ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า แขว้งเคีย (ตาก), มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ), มะแว้ง มะแว้งเถาเครือ (ทั่วไป) เป็นต้น

       หมายเหตุ : ทั้งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นต่างก็มีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกันมาก แต่มักจะนิยมใช้มะแว้งเครือทำเป็นยามากกว่า แม้กระทั่งผลมะแว้งที่นำมาจิ้มกับน้ำพริกรับประทาน ก็ยังนิยมใช้ผลมะแว้งเครือเช่นกัน แต่แพทย์แผนไทยในอดีตจะนิยมใช้ทั้งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นร่วมกัน โดยเรียกว่า มะแว้งทั้งสอง

    สรรพคุณของมะแว้งเครือ

            1.       ใบ รากมีรสขม เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก, ใบ, ผล)

            2.       ช่วยบำรุงโลหิต (ผล)

            3.       ทั้งผลสุกและผลดิบเป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 5-10 ผล นำมาโขลกให้พอแหลก คั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือใช้จิบบ่อย ๆ หรือจะใช้ผลสดนำมาเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ (ผล)

            4.       ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด แก้เบาหวาน ด้วยการใช้ผลที่โตเต็มที่ประมาณ 10-20 ผล นำมารับประทานเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก (ผล)

            5.       ใบและรากใช้เป็นยารักษาวัณโรค (ใบและราก, ราก)

            6.       รากมีรสขมขื่นเปรี้ยว เป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (ราก) ช่วยกระทุ้งพิษไข้ให้ลดลง (ต้น, ราก) ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

            7.       ราก ใบ ผล และทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไอ ตำรายาไทยจะใช้ผลสดเป็นยาแก้ไอ แก้เจ็บคอ ด้วยการใช้ในผลสด 4-10 ผล นำมาโขลกพอแหลกคั้นเอาแต่น้ำมาใส่เกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อย ๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน แล้วคายกากทิ้ง จะช่วยบำบัดอาการไออย่างได้ผลชะงัด (แต่บ้างใช้ผลแห้งปรุงเป็นยาแก้ไอ) (ราก, ใบ, ผล, ทั้งต้น) หรือจะใช้ใบและรากนำมาทำเป็นยาลูกกลอน หรือต้มและทำเป็นผง ทำเป็นยาแก้ไอ (ใบและราก)

            8.       ช่วยขับเสมหะ ตำรายาไทยจะใช้ผลสด 4-10 ผล นำมาโขลกพอแหลกคั้นเอาแต่น้ำมาใส่เกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อย ๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน (ผล) ต้นมีสรรพคุณขับเสมหะ (ต้น) รากมีสรรพคุณกัดและขับเสมหะให้ตก (ราก)

            9.       สรรพคุณของรากมะแว้งในบางตำราระบุว่า ใช้ระงับความร้อน (ราก)

            10.   ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)

            11.   ช่วยแก้น้ำลายเหนียว (ต้น, ราก, ใบ, ผล)

            12.   ช่วยแก้กระหายน้ำ (ราก)

            13.   ผลใช้เป็นน้ำกระสายยากวาด (ผล)

            14.   ช่วยแก้หืด หืดหอบ ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำและใส่เกลือ นำมาจิบบ่อย ๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ (ราก, ทั้งต้น)

            15.   ช่วยขับลม (ราก, ผล)

            16.   ต้น ราก ผลสด ผลแห้ง และทั้งต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น, ราก, ผลสด, ผลแห้ง, ทั้งต้น)

            17.   ต้นช่วยแก้หญิงท้องขึ้นในขณะตั้งครรภ์ (ต้น)

            18.   ช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา (ราก, ผล)

            19.   มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในตำรับยาประสะมะแว้ง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

            20.   ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล)

            21.   ผลมะแว้งเครือแห้งมีฤทธิ์ช่วยทำให้น้ำตับอ่อนเดินได้สะดวก (ผล)

            22.   เปลือกต้น ใช้ฝนกับสุราปิดแผล รับประทานแก้พิษงู (เปลือกต้น)

     



    หางไหลแดง

       หางไหลแดง ชื่อสามัญ Tuba Root, Derris

       หางไหลแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris elliptica (Wall.) Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

       สมุนไพรหางไหลแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะลำเพาะ (เพชรบุรี), อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี), ไหลน้ำ ไกล เครือไกลน้ำ (ภาคเหนือ), โพตะโกส้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โล่ติ๊น เป็นต้น

    สรรพคุณของหางไหลแดง

            1.       ตำรับยาพื้นบ้านจังหวัดสุโขทัย จะใช้เถาหางไหลแดงนำมาตากให้แห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาขับโลหิตและบำรุงโลหิตของสตรี (เถา)

            2.       เถาผสมกับยาอื่นปรุงเป็นยาแก้ประจำเดือนเป็นลิ่มหรือเป็นก้อน และเป็นยาขับประจำเดือน (เถา)

            3.       เถาตากแห้ง นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาถ่ายลม ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิต และถ่ายเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน (เถา)

            4.       ใช้รักษาหิด เหา และเรือด ด้วยการใช้เถาสดยาวประมาณ 2-3 นิ้วฟุต นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืช ใช้ชโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วสระออกให้สะอาด โดยให้สระติดต่อกัน 2-3 วัน (เถา)



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×