ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สมุนไพรไทยจำแนกตามกลุ่ม

    ลำดับตอนที่ #5 : กลุ่มยาสมุนไพรแก้ไข้ลดอาการวิงเวียน

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 60


    กลุ่มยาสมุนไพรแก้ไข้อาการวิงเวียน


    กระดังงาไทย

       กระดังงาไทย ชื่อสามัญ Cananga, Ylang-Ylang, Ilang-Ilang (อิลาง-อิลาง)

       กระดังงาไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Uvaria odorata Lam.) จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)

       สมุนไพรกระดังงาไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระดังงา (ยะลา, ตรัง), กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง), สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ) เป็นต้น

    สรรพคุณของกระดังงา

             1.       เปลือกต้นกระดังงา มีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้อาการท้องเสีย ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

             2.       เนื้อไม้กระดังงา มีรสขมเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

             3.       รากกระดังงา มีสรรพคุณเป็นยาคุมกำเนิด

             4.       ใบกระดังงา ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้อาการคัน และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

             5.       ดอกกระดังงา มีรสหอมสุขุม มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน ใช้ปรุงเป็นยาหอม ใช้เป็นยาชูกำลัง ทำให้หัวใจชุ่มชื่น บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้อาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำ จัดอยู่ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า พิกัดเกสรทั้ง 7” (สัตตะเกสร)          และ พิกัดเกสรทั้ง 9” (เนาวเกสร)[1] ช่วยแก้อาการไข้เนื่องจากโลหิตเป็นพิษ[2] และมีปรากฏในตำรายาแผนโบราณชื่อคัมภีร์มหาโชติรัตน์ ยาชื่อมาลาสันนิบาต ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมจุกคอ แก้อาการแน่นหน้าอก แก้จุกเสียดและแก้สะอึก

             6.       เกสรกระดังงา มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร และใช้แก้โรคตา

             7.       น้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณเป็นยาขับลม ฆ่าเชื้อโรค ช่วยบำรุงประสาท สงบประสาท แก้อาการซึมเศร้า กระวนกระวายใจ แก้หอบหืด ช่วยลดความดันโลหิต




         จำปา

       จำปา ชื่อสามัญ Champaca, Champak, Orange chempaka, Golden champa, Sonchampa

       จำปา ชื่อวิทยาศาสตร์ Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Michelia champaca L.) จัดอยู่ในวงศ์จำปา (MAGNOLIACEAE)

       สมุนไพรจำปา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช), จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี), จุมปา จุ๋มป๋า (ภาคเหนือ), จำปากอ (มลายู-ภาคใต้), มณฑาดอย เป็นต้น

    สรรพคุณของจำปา

             1.       สรรพคุณจำปาช่วยบำรุงธาตุ (ดอก, ผล, เมล็ด)

             2.       จำปามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)

             3.       ช่วยบำรุงประสาท (ดอก)

             4.       ช่วยกระจายโลหิต (ดอก)ต้นจำปา

             5.       ดอกจำปามีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, เนื้อไม้)

             6.       ดอกมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็น (ดอก)

             7.       ช่วยแก้โรคเส้นประสาทพิการ (ใบ)

             8.       ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (น้ำมันกลั่นจากดอก)

             9.       ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย (ดอก)

             10.   ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ดอก, ผล, เมล็ด)

             11.   สรรพคุณต้นจำปาช่วยแก้อาการไข้ (เปลือกต้น, ผล)

             12.   ช่วยแก้ไข้อภิญญาณ (ใบ)

             13.   ช่วยแก้พิษสำแลง (ไข้ซ้ำ) (กระพี้)

             14.   ช่วยระงับอาการไอ (ใบ)

             15.   ช่วยแก้อาการคอแห้ง (เปลือก)

             16.   ช่วยแก้อาการตาบวม (น้ำมันกลั่นจากดอก)

             17.   ช่วยขับเสมหะ (ใบ)

             18.   ช่วยทำให้เสมหะในลำคอเกิด (เปลือกต้น)

             19.   ช่วยแก้ป่วงของทารก (ใบ)

             20.   เปลือกรากใช้เป็นยาถ่าย (เปลือกราก, เปลือกต้น)

             21.   ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ ใช้รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ (ใบ)

             22.   สรรพคุณของดอกจำปา ช่วยขับลม (ดอก)

             23.   ช่วยขับพยาธิ (เปลือกราก)

             24.   ช่วยขับปัสสาวะ (ดอก, ผล, เมล็ด)จำปา

             25.   ยางช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ยาง)

             26.   สรรพคุณของจําปาช่วยบำรุงน้ำดี (ดอก)

             27.   ช่วยแก้โรคไต (ดอก)

             28.   ช่วยฝาดสมาน (เปลือกต้น)

             29.   ช่วยถอนพิษสำแดง (กระพี้)

             30.   ช่วยรักษาแผลที่เท้าและอาการเท้าแตก (ผล, เมล็ด)

             31.   เปลือกหุ้มรากและรากแห้ง ใช้ผสมกับนมสำหรับบ่มฝี (ราก, เปลือกราก)

             32.   ช่วยรักษาโรคเรื้อน (ดอก, แก่น)

             33.   ช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ (เปลือกราก, น้ำมันจากดอก)

             34.   ช่วยระงับอาการเกร็ง (ดอก)

             35.   รากช่วยขับเลือดเน่าเสีย (ราก)

             36.   ช่วยบำรุงประจำเดือนของสตรี (เนื้อไม้)

             37.   ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (เปลือกราก)

             38.   ช่วยขับโลหิตในสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก (ราก)




          ประยงค์

       ประยงค์ ชื่อสามัญ Chinese rice flower

       ประยงค์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaia odorata Lour. จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE)

       สมุนไพรประยงค์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ), ประยงค์บ้าน ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง), หอมไกล (ภาคใต้) เป็นต้น

    สรรพคุณของประยงค์

             1.       ในประเทศฟิลิปปินส์จะใช้รากและใบนำมาต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย (รากและใบ)

             2.       ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ผอมแห้งแรงน้อย (ราก)

             3.       ดอกมีรสเฝื่อนขมเล็กน้อย ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ทำให้หูตาสว่าง จิตใจปลอดโปร่ง แก้อาการเมาค้าง (ดอก)

             4.       รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ราก)

             5.       ดอกช่วยดับร้อน แก้อาการกระหายน้ำ (ดอก)[1],[4] ยาชงจากดอกใช้ดื่มแบบน้ำชาจะเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พุพอง (ดอก)

             6.       ช่วยแก้อาการไอ (ดอก)[1] แก้ไอหืด (ดอก)

             7.       รากช่วยแก้เลือด แก้กำเดา (ราก)

             8.       รากมีรสเฝื่อนเย็น ใช้รับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน (ราก)

             9.       ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ราก)

             10.   ใช้เป็นยากวาดเด็ก แก้เสมหะด่าง (ดอก)

             11.   ช่วยลดอาการอึดอัดแน่นหน้าอก (ดอก)

             12.   ช่วยฟอกปอด (ดอก)

             13.   รากและใบใช้แก้โรคที่เกี่ยวกับทรวงอก อาการชัก และแก้ไข้ (รากและใบ)

             14.   ช่วยแก้ลมจุกเสียด (ดอก)

             15.   ช่วยแก้ริดสีดวงในท้อง (ดอก)

             16.   ช่วยรักษากามโรค (ใบ)

             17.   ใบใช้เป็นยาสำหรับสตรีที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ (ใบ)

             18.   ช่วยเร่งการคลอด (ดอก)

             19.   ก้านและใบมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาพอกแก้แผลบวมฟกช้ำจากการหกล้มหรือถูกกระทบกระแทก และช่วยรักษาแผลฝีหนองทั้ง         หลาย (ใบ, ก้าน)

             20.   รากใช้เป็นยาถอนพิษเบื่อ ยาเมา (ราก)

             21.   ช่วยแก้อัมพาต (ดอก)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×