ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ทฤษฎีอัจฉริยะของไอน์สไตน์ - ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ทฤษฎีอัจฉริยะของไอน์สไตน์ นิยาย ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ทฤษฎีอัจฉริยะของไอน์สไตน์ : Dek-D.com - Writer

    ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ทฤษฎีอัจฉริยะของไอน์สไตน์

    พวกเราเคยสงสัยกันไหมว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพคืออะไร มีความน่าสนใจอย่างไร เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กัน

    ผู้เข้าชมรวม

    1,119

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1.11K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 มี.ค. 54 / 03:11 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
              ทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้นเป็นทฤษฎีของนักฟิสิกส์ระดับโลกอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพเราจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างแบบคือ
      1. ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
      2. ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
             เพื่อนๆหลายคนสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าทำไมถึงแยกออกไปอีก อันที่จริงแล้วทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษเกิดก่อนทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปด้วย เพื่อนๆหลายคนคงสงสัยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปน่าจะง่ายกว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งความคิดนี้เป็นความคิดที่ผิดนะครับ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษกัน 

             ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ คือ ทฤษฎีที่กล่าวถึงบุคคล 2 คน มองเห็นสิ่งๆหนึ่งในกรอบอ้างอิงหนึ่ง ซึ่งในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษกล่าวว่ากรอบอ้างอิงนั้นจะมีความเร็วคงที่ซึ่งจะอธิบายง่ายกว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่กรอบจะมีความเร่งเข้ามาเกี่ยวข้อง พูดมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าจะให้อธิบายง่ายคือ ทฤษฎีนี้จะเป็นจริงและเราจะเห็นภาพได้ก็ต่อเมื่อ ใครคนใดคนหนึ่งมีการเคลื่อนที่เร็วเท่าเเสง(ในความเป็นจริงแทบเป็นไปไม่ได้เลย - -') ซึ่งถ้าใครคนใดคนหนึ่งเคลื่อนที่เร็วใกล้แสงแล้วนำนาฬิกาและลูกบอลเข้าไปในกรอบนั้นด้วย แล้วผู้สังเกตอีกคนเห็นอีกคนเคลื่อนที่่เข้าใกล้แสงผู้สังเกตที่อยู่นิ่งจะเห็นนาฬิกาเดินช้ากว่าปกติ ซึ่งหมายความว่าคนที่อยู่ในยานที่เคลื่อนที่ใกล้แสงจะมีเวลาที่ยาวกว่าคนที่ไม่ได้เคลื่อนที่เท่าแสง เราจะเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "การยืดเชิงเวลา" และผู้สังเกตที่อยู่นิ่งแล้วเห็นสิ่งของที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้แสงจะมีขนาดที่สั้นลงเราจะเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "การหดเชิงความยาว" ซึ่ง2ปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีใครคนหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เข้าใกล้แสง จะทำให้ผู้สังเกตที่อยู่นอกกรอบความเร็วของอีกคนเห็นปรากฎการณ์นี้ได้ แต่ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นมีการเคลื่อนที่ที่ไม่เร็วขนาดนั้น เพราะฉะนั้นการเกิดปรากฎการณ์ทั้งสองนี้เป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งทฤษฎีนี้ยังคงเป็นนามธรรมถ้าเพื่อนอยากรู้มากกว่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงสูตรด้วย(เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเหงื่อตกเมื่อพูดถึงสูตร- -') หวังว่าเพื่อนๆคงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยจากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษนี้นะครับ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×