ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #96 : การพูดต่อประชุมชน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.04K
      2
      8 พ.ค. 53

                    ในสังคมประชาธิปไตยคนทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างกว้างขวาง ทำให้มีโอกาสได้พูดในที่ชุมชนด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป อาจพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการต่อหน้าผู้ฟังเป็นจำนวนมากในสถานที่ส่วนบุคคล หรือในที่สาธารณะผู้ฟังเหล่านั้นอาจเป็นคนที่รู้จักหรือไม่รู้จักกันเลย อาจมีพื้นฐานความรู้ รสนิยม เจตคติต่อผู้พูดหรือหัวข้อเรื่องต่างกันก็ได้   

                       เพราะฉะนั้นปฏิกิริยาตอบสนองที่ผู้ฟังมีจะเกิดขึ้นทั้งในขณะที่ฟังอยู่และเมื่อฟังจบแล้ว ผู้พูดที่ดีจะต้องรู้จักสังเกตและตีความให้ถูกต้องว่าผู้ฟังกำลังตอบสนองอย่างไร เราเรียกการพูดตามที่กล่าวมานี้ว่า
    การพูดต่อประชุมชนและสิ่งที่สำคัญคือสารที่ส่งไป ต้องมีความเหมาะสมเพราะถือเป็นสารที่ไม่จำกัดว่าจะรับฟังได้เฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยทั่วไปการพูดประชุมชนนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้แสดงความเห็น ตั้งคำถาม หรือตั้งข้อสังเกตอื่นๆได้

    และการที่ผู้ฟังพูดจบแล้วการพูดที่กล่าวมานี้ก็ถือเป็นการพูดประชุมชนเช่นกัน





    ประเภทการพูดต่อประชุมชน



    -  การแบ่งตามวิธีนำเสนอ


    1.    
    การพูดโดยฉับพลัน วิธีนี้ผู้พูดไม่ทราบมาก่อน จึงต้องลำดับความคิด และวิธีนำเสนออย่างฉับพลัน เช่น ในงานวันเกิด การชี้แจงต่อที่ประชุม เป็นต้น


    2.    
    การพูดโดยอาศัยต้นร่าง วิธีนี้ผู้พูดทราบล่วงหน้ามีเวลาเตรียมการพูด ได้ศึกษาสภาพแวดล้อมและผู้ฟังไว้ก่อน รวมทั้งอาจมีการเตรียมอุปกรณ์ ตัวอย่าง อุทาหรณ์ และซักซ้อมการพูดจนแม่นยำ เมื่อถึงเวลาพูดจริง ผู้พูดอาจดัดแปลงคำพูดเนื้อหาเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ได้


    3.    
    การพูดโดยท่องจำมา วิธีนี้ผู้พูดจะเตรียมเนื้อหา และท่องจนจำได้ขึ้นใจ ซึ่งจะทำให้ใช้เวลามากและไม่เป็นธรรมชาติ การที่จะทำให้ฟังดูเป็นธรรมชาตินั้นต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการพูดเป็นอย่างมาก


    4.    
    การพูดโดยวิธีอ่านจากร่าง ใช้วิธีเขียนร่างอย่างละเอียด และพยายามทำความเข้าใจเนื้อหา และถ้อยคำที่ใช้ แต่จะไม่ท่องจำ ในขณะที่นำเสนอพยายามใช้การทอดจังหวะการเน้นและท่าทางที่เป็นธรรมชาติ ส่วนมากมักใช้ในโอกาสสำคัญ



    -         
    การแบ่งตามจุดมุ่งหมาย


    1.    
    การพูดเพื่อให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ อาจวิธีบรรยาย พรรณนา เล่าเรื่อง หรือเสนอรายงาน เป็นต้น


    2.      
    การพูดโน้มน้าวใจ เพื่อชักจูงผู้ฟังให้เชื่อถือ ศรัทธา มีความเห็นคล้อยตาม และกระทำการตามที่ผู้พูดตั้งจุดหมายไว้


    3.    
    การพูดเพื่อจรรโลงใจ คือการพูดที่มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความคิดที่ละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รวมถึงการพูดให้เกิดความสนุกสนาน เช่น การเล่านิทาน การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวคำสดุดี เป็นต้น


    4.      
    การพูดเพื่อค้นหาคำตอบ คือให้ผู้ฟังช่วยคิดหาทางแก้ปัญหาตามที่ผู้พูดชี้ให้เห็น



    -         
    การแบ่งตามเนื้อหาที่พูด


    1.      
    การพูดเกี่ยวกับนโยบาย เป็นการพูดเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการ วิธีที่จะทำต่อไปในอนาคต เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ


    2.    
    การพูดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วพิสูจน์ให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ผู้พูดอาจชี้ให้เห็นความจริงที่ควรเชื่อ เช่น สภาพแม่น้ำลำคลองในอดีต


    3.    
    การพูดเกี่ยวกับคุณค่า และคุณงามความดี อาจเป็นเรื่องของคน กลุ่มคน วัตถุ ที่มีคุณงามความดีในขณะนั้น หรือน่าจะคงอยู่ตลอดไปในอนาคน



    -         
    การแบ่งตามโอกาส


    1.      
    การพูดอย่างเป็นทางการ ส่วนมากเป็นการพูดในพิธีการต่างๆ ซึ่งมักจะมีการวางแผนไว้แน่นอน


    2.      
    การพูดกึ่งทางการ ส่วนมากมักเป็นการพูดที่ลดความเป็นแบบแผนลง เช่น การบรรยายสรุปให้ผู้มาเยี่ยมชมสถานที่


    3.      
    การพูดอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการพูดอย่างเป็นกันเอง



    -         
    การพูดต่อประชุมชนจำแนกออกเป็นรูปแบบสำคัญได้ดังนี้


    1.    
    การบรรยาย เป็นการพูดเกี่ยวกัปข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นอาจบรรยายเดี่ยวหรือกลุ่มก็ได้ ผู้บรรยายเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และได้ศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี


    2.      
    การอภิปราย เป็นการพูดของคณะบุคคลประมาณ 3 - 5 พูดแสดงความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อหน้าผู้ฟังเป็นจำนวนมาก


    3.    
    การโต้วาที เป็นการพูดโต้แย้งหน้าที่ประชุม เป็นการพูดที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายเสนอญัตติ อีกฝ่ายคัดค้านญัตติ มีผู้ตัดสินชี้ขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชนะ




    การเตรียมตัวพูดต่อประชุมชน


                   
    การพูดต่อประชุนชนเป็นการพูดให้คนเป็นจำนวนมากฟัง และผู้ฟังก็มักจะตั้งความหวังไว้จะได้รับความรู้หรือประโยชน์จากการฟัง ผู้พูดจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อจะลดความประหม่า อาจกล่าวได้ว่าการเตรียมตัวที่ดีเท่ากับประสบความสำเร็จในการพูดไปแล้วครึ่งหนึ่ง


    วิธีการเตรียมต่างๆ มีดังนี้


    1.      
    การกำหนดจุดมุ่งหมาย ผู้พูดควรกำหนดจุดมุ่งหมายให้จุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่อง


    2.    
    การวิเคราะห์ผู้ฟัง ก่อนที่จะพูดผู้พูดควรจะได้วิเคราะห์ผู้ฟังอย่างละเอียดถี่ถ้วนเท่าที่จะทำได้เพื่อจะได้นำมาใช้ในการเตรียมตัวพูด ทั้งในด้านการเตรียมความคิด เนื้อหา และการเตรียมวิธีใช้ภาษาให้เหมาะสม


    3.    
    การกำหนดขอบเขตของเรื่อง บางครั้งผู้พูดก็มีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูด บางครั้งก็ไม่มีโอกาส ก่อนพูดผู้พูดควรจะพิจารณาว่าเรื่องที่จะพูดนั้นตนเองมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ดีพอหรือไม่ หรือเรื่องที่จะพูดนั้นไม่เหมาะสมกับตนเองก็ไม่ควรรับ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ควรจะพยายามศึกษาให้ดีที่สุด และควรเลือกเรื่องที่สามารถพูดได้เหมาะกับผู้ฟัง การกำหนดขอบเขตมีส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ การกล่าวนำ เนื้อเรื่อง และการสรุป ควรกำหนดแต่ละส่วนให้เหมาะสมแก่เวลา


    4.    
    การรวบรวมเนื้อหา การจะพูดให้ผู้ฟัง ผู้พูดควรรวบรวมเนื้อหาให้พร้อม เพื่อผู้ฟังจะได้รับประโยชน์จากการฟังมากที่สุด การรวบรวมเนื้อหาทำได้หลายวิธี เช่น การไต่ถามผู้รู้ ค้นคว้าจากการอ่าน และควรจดบันทึกความรู้ที่รวบรวมมาบันทึกให้เป็ฯระเบียบเพื่อให้นำมาเรียบเรียงได้ง่ายในภายหลัง และควรเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมในการประกอบการพูด


    5.    
    การทำเค้าโครงลำดับเรื่อง เพื่อให้การพูดเป็นไปตามลำดับเนื้อเรื่องไม่สับสน จัดประเด็นสำคัญให้ชัดเจน ให้เป็นหัวข้อใหญ่หรือย่อย เพื่อกันการหลงลืม และข้ามประเด็นสำคัญไป


    6.      
    การเตรียมวิธีใช้ภาษา ผู้พูดควรจะเตรียมเลือกคำที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และมีความหมายชัดเจน


    7.    
    การซักซ้อม ผู้พูดควรหาเวลาซักซ้อมการพูดของตนเอง เพื่อในเวลาพูดจริงๆ จะได้ไม่มีปัญหา ในการซักซ้อมนั้นควรรวมถึงเรื่องบุคลิก ท่ายืน ท่านั่ง น้ำเสียง การแสดงออกทางใบหน้า ในขณะที่ซ้อม ถ้ามีผู้ฟังอยู่ด้วยจะยิ่งดี เพื่อจะได้ฝึกการใช้สายตาผู้ฟังอาจช่วยในการติชมการพูด




    สัมฤทธิ์ผลของการพูด


                   
    การพูดที่สัมฤทธิ์ผล หมายถึง การพูดที่ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้ การพูดต่อประชุมชนจะสำฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อผู้พูดมีคุณสมบัติที่สำคัญดังต่อไปนี้


    1.    
    ผู้พูดเป็นผู้มีคุณธรรม พูดจากความรู้ ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ด้วยความเที่ยงธรรม มีสติ และใช้วิจารณญาณ รวมทั้งผู้พูดจะต้องมีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล


    2.      
    ผู้พูดจะต้องรู้ดี และรู้จริงในเรื่องที่พูด ถ้ามีหลักฐานประกอบการพูด ควรอ้างให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง


    3.      
    ผู้พูดจำเป็นต้องใช้เหตุผลต่างๆ มาสนับสนุนการพูดของตนเพื่อให้การพูดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ


    4.      
    ผู้พูดควรรู้จักธรรมชาติวิสัยมนุษย์ โดยควรคำนึงถึงวัย พื้นฐานความรู้ เป็นต้น


    5.    
    ผู้พูดควรรู้จักการรวบรวมความคิดให้เป็นระบบ คือการเริ่มต้นด้วยจุดประสงค์ที่ชัดเจน วางแนวที่จะใช้ในการพูด จัดลำดับว่าเรื่องใดควรพูดก่อนพูดหลัง วางใจความและพลความให้สอดคล้องกัน ถ้าเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีโอกาสซักถามควรกะเวลาให้พอดีด้วย


    6.    
    ผู้พูดต่อประชุมชนต้องรู้จักการใช้ภาษาให้มีประสิทธิผลเพื่อให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการมองเห็นภาพตามที่ผู้พูดประสงค์ ภาษาที่ใช้ควรกะทัดรัด ชัดเจน และตรงประเด็น

     







    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×