ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #29 : งบประมาณแผ่นดิน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.1K
      1
      20 พ.ค. 52

    งบประมาณแผ่นดิน
    รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารประเทศซึ่งย่อมอาศัยทรัพยากรด้านต่างๆเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การงบประมาณแผ่นดินเป็นวิธีการหนึ่งของรัฐบาลในการแสดงถึงวิธีการจัดหารายได้และแนวทางการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล แสดงออกมาในรูปของตัวเงิน เพื่อขอความเห็นชอบ ( อนุมัติ ) จากรัฐสภาความหมายของงบประมาณแผ่นดิน คือ แผนที่แสดงออกมาในรูปของตัวเงิน สำหรับชั่วระยะเวลาหนึ่งอันแน่นอนถึงโครงการดำเนินงานของรัฐบาล และวิธีการที่จะหาเงินมาใช้จ่ายตามโครงการนั้น                                                                                                                                         
    งบประมาณของรัฐบาลหรืองบประมาณแผ่นดิน

             จึงหมายถึง แผนการเงินของรัฐบาลซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ จำนวนเงินและกิจกรรมของรายจ่าย จำนวนและแหล่งที่มาของรายรับในระยะเวลาหนึ่งปี ถึงแม้งบประมาณของรัฐบาลจะแสดงให้เห็นทั้งด้านรายจ่ายและรายรับ แต่จะเน้นความสำคัญของด้านรายจ่าย เพราะเป็นยอดวงเงินที่ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติให้ฝ่ายบริหารใช้จ่ายเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนด้านรายรับนั้นเป็นเพียงตัวเลขประมาณการของรายได้และรายรับจากแหล่งต่าง ๆ ที่จะนำมาสนับสนุนรายจ่ายเท่านั้น
     
    ประเภทของงบประมาณ
           •  รายจ่ายผูกพันตามสัญญา
                หมายถึง จำนวนรายจ่ายตามสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้างที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทำสัญญาแล้วและจะต้องจ่ายตามข้อกำหนดในสัญญาในปีงบประมาณต่อไป
           •  รายจ่ายผูกพันตามมติคณะรัฐมนตรี
           •  ตามหลักการ หมายถึง รายจ่ายของกิจกรรมหรือรายการใดๆ ของงาน / โครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้ดำเนินการในปีต่อไปได้โดยยังมิได้มีการทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง
           •  ตามมาตรา 23 หมายถึง รายจ่ายของรายการใด ๆ ซึ่งจะต้องก่อหนี้ผูกพันและวงเงินที่คาดว่าจะต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายปี ต่อ ๆ ไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันแล้ว โดยยังมิได้มีการทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง
     
    •  รายจ่ายเพื่อรักษางานเดิม
                หมายถึง รายจ่ายที่เสนอขอตั้งไว้เพื่อให้กิจกรรมของงานดำเนินการต่อไปตามปกติ โดยไม่มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเป้าหมาย
     
    ของงาน และไม่มีรายจ่ายลงทุน
           •  รายจ่ายเพื่อปรับปรุงงานเดิม
                หมายถึง รายจ่ายที่ใช้ในการปรับปรุงงานเดิมตามปกติ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ของงานยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายหรือปริมาณงานยังคงเดิม และการปฏิบัติงานจะมีคุณภาพหรือมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
           •  รายจ่ายเพื่อกิจกรรมใหม่
                หมายถึง รายจ่ายที่ใช้เพื่อการดำเนินงานกิจกรรมใหม่ (New action) ของงาน / โครงการเดิม และหมายรวมถึงรายจ่ายที่ใช้เพื่อเพิ่มเป้าหมายขึ้นจากเดิมด้วย
    •  รายจ่ายผูกพันตามโครงการต่อเนื่อง
                หมายถึง รายจ่ายของโครงการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนแม่บท (Master plan) ที่กำหนดไว้ต่อเนื่องเป็นปี ๆ ตามที่คาดว่าจำเป็นจะต้องใช้จ่าย
           •  งาน / โครงการใหม่
                หมายถึง งาน / โครงการที่จะขอตั้งงบประมาณรายจ่าย และเริ่มดำเนินการในปีต่อไป ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    ระบบ (System) ของงบประมาณแผ่นดินจะเป็นเช่นใด ย่อมขึ้นอยู่กับ “ บทบาท ” (Role) หรือ “ หน้าที่ ” (Function) ของงบประมาณแผ่นดินว่าต้องการเน้นในเรื่องใด ทั้งนี้เพราะระบบงบประมาณแต่ละระบบมีบทบาทหรือหน้าที่ไม่เหมือนกัน

    ระบบงบประมาณแผ่นดินแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
     •  ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ (Line – Item Budget) เป็นระบบงบ ประมาณที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เป็นระบบที่มีความมุ่งหมายควบคุมการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลในแต่ละปี ให้ใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ขณะเดียวกันควบคุมมิให้เกิดความผิดพลาดหรือทุจริตในการใช้จ่ายเงิน ฉะนั้นระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ จึงต้องแสดงรายการใช้จ่ายเงินแต่ละรายการอย่างละเอียดจำแนกตามหน่วยงาน (Organization classification) ว่าแต่ละหน่วยงานได้รับงบประมาณจำนวนเท่าใด และงบประมาณของแต่ละหน่วยงานก็จะถูกจำแนกตามลักษณะของการใช้จ่ายคือแบ่งเป็นหมวดเช่น หมวดเงินเดือน หมวดค่าวัสดุ เป็นต้น และแต่ละหมวดรายจ่ายยังถูกแยกแยะเป็น รายการย่อย ๆ อีกเช่น หมวดค่าวัสดุจะประกอบด้วย วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น วัสดุสำนักงาน ฯลฯ เป็นต้น 
    งบประมาณแบบแสดงรายการมีบทบาทสำคัญในด้านการควบคุมงาน คือ เน้นการใช้จ่ายเงินซื้อสิ่งของหรือบริการเพื่อการดำเนินงานมากกว่าจะเน้นถึงผลการดำเนินงาน ( ผลจากการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ) ว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินงานเพียงใด นั่นคือ ระบบงบประมาณแสดงรายการทำให้ผู้บริหารสามารถควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามรายการต่าง ๆ ที่แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณอย่างเข้มงวด
     
         •  ระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Program Budget) เป็นระบบงบประมาณ ที่พัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นเครื่องวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐบาล โดยเน้นให้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินอย่างชัดเจน ทำให้สามารถเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ว่าคุ้มกันหรือไม่และเมื่อสิ้นสุดการใช้จ่ายเงินงบประมาณนั้น ๆ แล้ว ผู้บริหารสามารถประเมินผลการดำเนินงานว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด
             งบประมาณแบบแผนงาน จะแสดงรายการใช้จ่ายเงินจำแนกตามแผนงานหรือโครงการว่าแต่ละแผนงาน หรือโครงการได้รับงบประมาณจำนวนเท่าใด ( ไม่จำแนกตามหน่วยงานแบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ) และงบประมาณของแต่ละแผนงาน งานหรือโครงการก็จะถูกจำแนกตามลักษณะของการใช้จ่าย คือ แบ่งเป็นหมวดต่อไปซึ่งวิธีนี้จะสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันให้สัมพันธ์กันได้แม้จะต่างหน่วยงานกัน ทำให้สามารถลดปัญหาการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนของหน่วยงานต่าง ๆ ได้
             แผนงานที่กำหนดขึ้นนี้จำแนกออกเป็น 5 ระดับ ลดหลั่นลงไปตามลำดับ คือ
                  ด้าน (Sector)
                  สาขา (Sub-Sector)
                  แผนงาน (Program)
                  แผนงานรอง (Sub-Program)
                  งาน / โครงการ (Work Plan/Project)
           ประเทศไทยได้นำระบบงบประมาณแบบแผนงานมาใช้ในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินแทนระบบงบประมาณแบบแสดงรายการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2524
                         ซึ่งระบบงบประมาณแบบแผนงานก่อให้เกิดโครงสร้างแผนงานของหน่วยงาน โดยส่วนราชการทุกแห่งต้องพยายามจัดทำโครงสร้างแผนงานของหน่วยงานให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการตระเตรียมงบประมาณ ดังตัวอย่างโครงสร้างแผนงาน / โครงการของกระทรวง
    สาธารณสุข ในแผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ( พ . ศ . 2540 - 2544)
     
    ระบบงบประมาณแบบผลงาน (Performance Base Budgeting System ; PBBS)

              
    เป็นงบประมาณที่แสดงให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไร ใช้งบประมาณเท่าใด และได้ผลตอบแทนมีมูลค่าเท่าใด คำนึงถึงประสิทธิภาพและความประหยัด การอนุมัติงบประมาณจะต้องเปรียบเทียบว่ากิจกรรมใดให้ผลตอบแทนคุ้มค่ามากน้อยกว่ากัน การบริหารงบประมาณจะเน้นการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของกิจกรรม โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด การประเมินผลก็ประเมินว่ากิจกรรมนั้นบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด งบประมาณแบบนี้มีข้อดีคือ จะลดความเคร่งครัดในการควบคุม และเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น เน้นความพยายามในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของกิจกรรมเป็นหลัก จึงเป็นหลักประกันได้ว่าจะทำงานบรรลุผลสำเร็จ แต่งบ ประมาณแบบนี้ก็มีข้อเสียคือ อาจมีการทุจริตได้เพราะไม่ได้ควบคุมรายการที่จะต้องซื้ออย่างเคร่งครัด และจะต้องใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์มากขึ้น

    ระบบงบประมาณฐานศูนย์ (Zero – Base Budgeting ; ZBB)
            เป็นระบบ งบประมาณที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายแบบแผนงาน บางส่วนคล้ายแบบแสดงผลงาน คือ มีการวางแผน ระยะสั้น เป็นแผนประจำปีและกำหนดกิจกรรมเป็นชุด เรียกว่า packages โดยให้หน่วยปฏิบัติงานระดับล่างสุดเสนอขึ้นมา โดยผ่านการพิจารณาของหน่วยงานระดับสูงขึ้นไปตามลำดับ งบประมาณแบบนี้มีข้อดีคือ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือ อาจมีการทุจริตเนื่องจากไม่ได้มีการควบคุมค่าใช้จ่ายในรายละเอียด 
     
    ประเภทของเงินราชการ
              เงินที่โรงพยาบาลหมุนเวียนใช้จ่ายมาจาก 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ เงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ( บางครั้งเรียกเงินบำรุง ) ซึ่งเงินราชการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
                       •  เงินงบประมาณรายจ่าย หมายถึง จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่าย หรือ ก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย 
                       •  เงินรายได้แผ่นดิน หมายถึง เงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตากกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรม หรือนิติเหตุ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ บัญญัติไม่ให้ส่วนราชการนั้น ๆ นำไปใช้จ่ายหรือหักไว้เพื่อการใด ๆ 
                       •  เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วน ราชการนอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืน และเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน 
                       สำหรับเงินค่าบริการที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับนั้นเรียกว่า “ เงินบำรุง ”
                       ปีงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย ความหมายของคำว่า “ ปีงบประมาณ ” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตราที่ 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ . ศ . 2502 หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ใน พ . ศ . ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น เช่น ปีงบประมาณ 2542 หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2541 ถึง 30 กันยายน 2542 เป็นต้น รวมช่วงระยะเวลาปีงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยเท่ากับ 12 เดือน หรือ 1 ปี 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×