ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #27 : เพลี้ยแป้ง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 531
      0
      20 พ.ค. 52

    เพลี้ยแป้ง
      
     
    ชื่อวิทยาศาสตร์ 
    Pseudococcus sp.
     
     
    รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ 

                เพลี้ยแป้งตัวเต็มวัยตัวเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มม. สีเหลืองอ่อน ลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 100-200 ฟองบนผล กิ่ง และใบ ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องตัวเมียประมาณ 6 - 10 วัน จึงจะออกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองและไม่มีผงสีขาว จะคลานออกจากกลุ่มไข่หาที่เหมาะสมที่จะกินอยู่ ตัวเมียจะมีการลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง ด้วยกันและไม่มีปีก ส่วนตัวผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ภายหลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 ภายในเวลา 1 ปี เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 - 3 รุ่น ในระยะที่ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น รากหญ้าแห้วหมู โดยมีมดซึ่งอาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำไป 
     
     
    ลักษณะการทำลาย 
    เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ใบ ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ มีมดเป็นพาหะ ช่วยพาไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลายจะแคระแกรนและเกิดราสีดำ โดยเฉพาะผลที่มีเพลี้ยแป้งทำลายอยู่มักจะเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค แม้ว่าจะไม่ทำให้เนื้อทุเรียนเสียหายก็ตาม 
     
     
    ศัตรูธรรมชาติ 
    ตัวห้ำ : แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ำตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง ต่อรัง ด้วงเต่าปีกลายหยัก Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp., ด้วงเต่าสคิมนัส Scymnus sp. ด้วงเต่าสีส้ม 
     
     
    การป้องกันและกำจัด 
    1. ติดตามสถานการณ์เพลี้ยแป้งและศัตรูธรรมชาติโดย สำรวจ 10% ของต้นทั้งหมด 7 วัน/ครั้ง ในช่วงมีนาคม - พฤษภาคม ตรวจนับ 5 ผล/ต้น ทั้งเพลี้ยแป้งและศัตรูธรรมชาติ
    2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมเพลี้ยแป้งตามธรรมชาติ :
    3.ตัดผลที่ไม่สมบูรณ์และถูกเพลี้ยแป้งทำลายไปเผาทำลาย ก่อนการตัดแต่งผลครั้งที่ 3
    4.ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งในบริเวณสวนทุเรียน เช่น น้อยหน่า พู่ระหง กาแฟ ไผ่
    5. ฉีดพ่นน้ำให้เพลี้ยแป้งหลุดร่วงออกจากผล
    6. ใช้สารเคมี
    - ใช้ผ้าชุบสารฆ่าแมลงพันไว้ที่กิ่งหรือโคนต้น
    - โรยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% WP รอบ ๆ โคนต้นเพื่อป้องกันมดนำเพลี้ยเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้น 
     ที่มา
     
     
     
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×