ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #125 : ครูช้อย สุนทรวาทิน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.72K
      0
      16 ต.ค. 54

    ครูช้อย สุนทรวาทิน

     

     

     

    ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของครูบาอาจารย์ที่กล่าวได้ว่าเป็นปรมาจารย์แห่งดนตรีไทยในยุครัตนโกสินทร์นั้น นามของ ครูช้อย สุนทรวาทินนับเป็นหนึ่งในตำนานแห่งการดนตรี เพราะประวัติของครูช้อย สุนทรวาทินนั้นไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนจากประวัติของครูช้อยเล่าไว้ว่า ท่านอยู่ในสมัย ช่วง พ.ศ. 2370 - 2380 ถึงแก่กรรมราว พ.ศ.2440 - 2443                                                                           

            สำหรับชีวิตในวัยเด็กนั้นท่านป่วยเป็นไข้ทรพิษแต่รอดตายมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะหนึ่งในร้อยในพันจริงๆจึงรอดตายจากโรคนี้ได้ แต่ด้วยพิษแห่งโรคร้ายแม้รอดตายมาได้แต่ก็ต้องเสียดวงตาทั้งสองข้าง นั่นหมายความว่า ดวงตาทั้งสองข้างของครูช้อย สุนทรวาทินนั้นบอดสนิทตั้งแต่วัยเยาว์แต่แม้ดวงตาทั้งสองข้างของท่านจะบอดสนิท แต่ท่านกลับไม่เคยคิดพ่ายแพ้แก่ชะตาชีวิตตนเอง และด้วยสายเลือดแห่งศิลปินที่มีอยู่ภายในชีวิตจิตวิญญาณของท่านทำให้ท่านฝึกหัดเครื่องเล่นดนตรีไทยด้วยตนเองตั้งแต่เด็ก ในความจริงครูช้อย ท่านก็เกิดในตระกูลศิลปินอยู่แล้ว แต่ด้วยที่ท่านตาบอดผู้เป็นบิดาจึงมิได้หัดท่านในทางดนตรี ก็ด้วยความใส่ใจ ความรักในศิลปะดนตรีนี่เองที่ทำให้ท่านฝึกฝน โดยเริ่มจากการนำเอากะลาใต้ถุนบ้านมาเรียงกัน ๑๖ ใบแล้วตีตาม หูก็แง่ฟังการสอนของบิดาบนเรือน ส่วนตัวเองอยู่ใต้ถุนบ้านหัดตามไป และยามใดที่บิดาท่านไม่อยู่ท่านก็จะขึ้นไปฝึกหัดกับเครื่องดนตรีจริงบนบ้านจนเกิดความชำนาญในเครื่องดนตรีทุกชนิดที่มีอยู่ ด้วยความอัจฉริยะและด้วยบุญวาสนาที่ต่อไปท่านจะกลายเป็นบรมครูเอกท่านหนึ่งแห่งรัตนโกสินทร์ ทำให้ท่านมีความเชี่ยวชาญชำนาญในเครื่องเล่นดนตรีไทยอย่างหลากหลาย           

             เล่ากันว่าอยู่มาวันหนึ่ง มีงานดนตรี แต่คนระนาดป่วย หาคนแทนไม่ได้ พวกลูกศิษย์รู้ฝีมือลูกชายอาจารย์ว่าใช้ได้ ก็เสนอให้ครูช้อยไปเป็นคนระนาดแทน กระนั้นบิดาก็ยังไม่แน่ใจ ขอทดสอบฝีมือลูกชาย...เห็นฝีมือแล้ว จึงยอมปล่อยตัวไปออกงาน
    หลังจากนั้นบิดา ก็เริ่มอบรมบ่มเพาะฝีมือดนตรีให้ลูกชายอย่างจริงจัง ปลายรัชกาลที่ 4 เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะเรื่องปี่ครูทั่งบิดาเห็นแวว จึงส่งไปเรียนวิชาปี่กับครูมีแขก (พระประดิษฐ์ไพเราะ) จึงยิ่งมีความชำนาญเพิ่มขึ้น ต่อมาเมื่อครูช้อยเป็นครูดนตรี สอนดนตรีทั้งที่บ้าน ในวัด ถึงในวัง มีลูกศิษย์สำคัญสองคน คนแรก ลูกชายครูช้อยเอง ชื่อ แช่ม ต่อมาเป็นพระยาเสนาะดุริยางค์ (คู่แข่งระนาดหลวงประดิษฐ์ไพเราะ)และศิษย์เอกชื่อ แปลก                                                                                                                                  
           
    ต่อมาเป็นพระยาประสานดุริยศัพท์
    ความน่าอัศจรรย์อันเป็นความอัจฉริยะภาพอย่างหนึ่งของครูช้อยที่ ย่าไผ่ภรรยาของครูช้อยเล่าให้ฟังคือ ครูช้อยแม้ตาบอดก็จริง แต่ยามที่สอนศิษย์เล่นเครื่องดนตรีไทยนั้น หากศิษย์คนใดก็ตามที่เล่นเครื่องดนตรีเสียงเพี้ยนไม่ถูกต้อง ครูช้อยจะมีวิธีคือดีดเม็ดมะขามใส่ผู้นั้นอย่างถูกต้องแม่นยำ รู้ว่าใครเป็นใครนั่งตรงไหนอย่างถูกต้องราวกับตาเห็น นอกจากท่านจะมีวิทยายุทธ์ดีดเม็ดมะขามอย่างแม่นยำราวกับตาเห็นแล้ว สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของครูช้อยอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านเลี้ยงนกฮูก เอาไว้สื่อสารกับลูกศิษย์ หากเราเคยดูหนังก็มักเห็นแต่พิราบสื่อสาร หรือนกเหยี่ยวที่อินเดียแดงใช้ล่าสัตว์ แต่ครูช้อยท่านมีนกฮูก ท่านฝึกสอนนกฮูกของท่านจนพูดภาษาคนได้ โดยท่านสอนให้มันพูดว่า พ่อเรียกเหตุที่ท่านสอนคำนี้เพราะว่า ท่านใช้ให้นกฮูกไปตามศิษย์มาพบท่านได้ การฝึกนั้นเล่าวว่าเมื่อศิษย์ที่มาเรียนดนตรีกลับบ้าน ครูช้อยก็ให้อุ้มนกฮูกไปด้วย ถึงบ้านแล้วก็ปล่อยให้นกฮูกบินกลับ ทำซ้ำซากอย่างนี้ จนนกฮูกจำบ้านศิษย์ทุกคนได้แม่นยามที่มีคนมาเรียกวงปี่พาทย์ของท่านไปเล่น ท่านก็จะส่งนกฮูกของท่านไปตามในเวลาเย็น นกฮูกจะบินไปเกาะหน้าบ้านของลูกศิษย์คนแล้วคนเล่า พร้อมทั้งส่งเสียงว่า พ่อเรียกอันเป็นที่รู้กันว่า ครูช้อยท่านตามให้ไปพบ                                  

            เรื่องของครูช้อย เหมือนดั่งบีโธเฟนของทางฝรั่ง ผสมผสานกับเรื่องราวของจอมยุทธ์ในหนังกำลังภายใน เครื่องดนตรีที่ครูช้อยชำนาญและมีชื่อเสียงได้แก่ ระนาดเอก ปี่ และซอสามสายและเครื่องดนตรีไทยอีกหลายชนิด


             ผลงานของครูช้อยมีมากมาย ส่วนที่แพร่หลายถึงวันนี้ได้แก่ เพลง ใบ้คลั่ง เขมรโพธิสัตว์ อกทะเล ฯลฯ          

    ส่วนลูกศิษย์คนสำคัญของท่านได้แก่พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ผู้เป็นลูก และหลานของท่านเองคือ ครูเลื่อน สุนทรวาทิน                            
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×