ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #100 : ที่มาของปฏิทิน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 66
      0
      17 ก.ย. 54

    ทุกคนย่อมรู้จักปฏิทินดี เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าปฏิทินมีที่มาอย่างไร


             คนยุคโบราณใช้
    ดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นเครื่องกำหนดนับวันเดือนปีเดิมทีมนุษย์ดำรงชีวิตตามสัญชาตญาณ แต่เมื่อเกิดภัยธรรมชาติมารบกวนการดำเนินวิถีชีวิตปกติ ทำให้มนุษย์เริ่มสังเกตสิ่งรอบตัว รวมถึงท้องฟ้าและดวงดาวมากขึ้น และพบว่าในบางครั้งภัยธรรมชาติมาพร้อมกับดาวบางดวงบนฟ้า จึงเริ่มสนใจสิ่งที่อยู่บนฟ้า และนำมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา ซึ่งมีทั้งที่ตรงและไม่ตรง แต่สิ่งที่ตรงตามการคาดคะเนก็ถูกจดจำต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งรู้การครบรอบของสิ่งที่อยู่บนฟ้า เช่น การครบรอบของดวงจันทร์ข้างขึ้นข้างแรม


             ต่อมาในยุคเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ
    5,000 ปีที่แล้ว คนในสมัยนั้นเริ่มใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องกำหนดนับช่วงระยะเวลาที่ปัจจุบันเราเรียกว่า "เดือน" ซึ่งง่ายกว่าการสังเกตดวงอาทิตย์ ที่สามารถนับได้เหมือนกัน แต่บอกช่วงเวลายาวนานเป็นรอบปี โดยมีชาวบาบิโลเนียเป็นชนชาติแรกที่กำหนดนับวันโดยวัดระยะเชิงมุมของดวงอาทิตย์ ซึ่งในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปประมาณ 1 องศา และครบรอบ 360 องศา ในระเวลา 1 ปี                                                                               
            
          
    เมื่อ
    4,000 ปีก่อน ชาวอียิปต์โบราณใช้ปฏิทินจันทรคติสังเกตดาว "ซิริอุส" (Sirius) ที่สว่างสุดบนฟ้าในเวลากลางคืนเป็นเครื่องบอกเวลาเช่น หากเมื่อใดเห็นดาวซิริอุสอยู่บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกก่อนพระอาทิตย์ขึ้น แสดงว่าแม่น้ำไนล์จะเริ่มเอ่อล้น และเป็นเวลาเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก แต่หากช่วงใดไม่เห็นดาวซิริอุสบนฟ้าในยามค่ำคืน แสดงว่าช่วงนั้นคือฤดูร้อน

     
                 ต่อมาจึงได้พบว่า ทุกๆ
    4 ปี ดาวซิริอุสจะปรากฏในตำแหน่งเดิมช้าไป 1 วัน ทำให้รู้ว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ เป็นเวลา 365 วัน และอีก 1/4 วัน จึงได้นำมาปรับใช้กับปฏิทินจันทรคติ


                ส่วน
    ปฏิทินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีที่มาจากปฏิทินของชาวโรมันเมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นปฏิทินแบบสุริยคติ โดยชาวโรมันประยุกต์มาจากปฏิทินของอารยธรรมอื่นอีกทีหนึ่ง กษัตริย์โรมันในยุคแรกกำหนดให้ปฏิทินมี 10 เดือน โดยให้เดือน มี.ค. เป็น เดือนแรก และในแต่ละเดือนจะมี 30 หรือ 31 วัน สลับกันไป เรื่อยไปจนถึงเดือนสุดท้ายคือเดือน ธ.ค. รวมแล้วมีทั้งหมด 304 วัน


                ทว่าเมื่อชาว
    โรมันใช้ปฏิทินดังกล่าวไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าฤดูกาลเริ่มไม่ตรงตามปฏิทิน จนในสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส ( 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) กำหนดให้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน คือเดือน ม.ค. และ ก.พ. รวมแล้วมีทั้งสิ้น 355 วัน


              กระทั่งในสมัยกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ได้ปรับเปลี่ยนวันในแต่ละเดือนใหม่ ให้เดือน มี.ค. มี
    31 วัน เดือนต่อๆ ไปมี 30 และ 31 วันสลับกันเรื่อยๆ จนถึงเดือนสุดท้ายคือ ก.พ. ให้มี 29 วัน รวมเป็น 365 วัน แต่ถ้าปีไหนเป็นปีอธิกสุรทิน ซึ่งมี 366 วัน ให้เดือน ก.พ. มี 30 วัน พร้อมทั้งเปลี่ยนให้เดือน ม.ค.  ให้เป็นเดือนแรกของปี และเรียกปฏิทินนี้ว่า รวมถึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 7 จาก "ควินติลิส" เป็น "จูไล" ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์                                                                                                   
      

    ต่อมากษัตริย์ออกัสตุส ซีซาร์ ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซาร์ ต้องการให้มีชื่อตัวเองในปฏิทินเหมือนผู้เป็นบิดาบุญธรรม จึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่8  จาก "เซกติลิส" (Sextilis) "ออกัส" และเพิ่มวันให้มี 31 วัน เท่ากับเดือนของพ่อด้วย โดยไปลดเดือน ก.พ. ให้เหลือ 28 วัน ในปีปกติ และเหลือ 29 วันในปีอธิกสุรทิน และนี่คือที่มาของปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ในสมัยต่อมา แต่ได้มีการชำระปฏิทินในสมัยพระสันตปาปาเกรกอรีที่ 13 เมื่อประมาณปี 1582 เนื่องจากวันในปฏิทินเริ่มเกินไปจากความเป็นจริง จึงได้เรียกปฏิทินที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ว่า"ปฏิทินจูเลียน-เกรกอเรียน"

     








    http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic_cache.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=89595&title=-%B4%C7%A7%B4%D2%C7...%A1%D3%E0%B9%D4%B4%BB%AF%D4%B7%D4%B9%E2%C5%A1--%B9%C7%D1%B5%A1%C3%C3%C1%A1%D2%C3%BA%CD%A1%C7%D1%B9%E0%C7%C5%D2%B7%D5%E8%C1%D5%C1%D2%E1%B5%E8%E2%BA%C3%D2%B3

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×