ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คณะศิลปศาสตร์ สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ UPDATE!!!!

    ลำดับตอนที่ #1 : เกริ่นนำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.99K
      4
      19 ธ.ค. 51

                  

    คณะศิลปศาสตร์ได้จัดตั้งตามพระราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2504 โดยศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ ผู้ริเริ่มจัดตั้งและเป็นคณบดีคนแรกของคณะศิลปศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ในครั้งนั้น ก็เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนเลือกเข้าแขนงวิชาเฉพาะด้านในคณะต่างๆ
    ปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์มีพันธกิจและภาระงานในความรับผิดชอบดังนี้

    1. ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีจำนวน 18 สาขาวิชา ได้แก่
    1.1 สาขาวิชาจิตวิทยา
    1.2 สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    1.3 สาขาวิชาประวัติศาสตร์
    1.4 สาขาวิชาภาษาศาสตร์
    1.5 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    1.6 สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ
    1.7 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
    1.8 สาขาวิชาภาษาไทย
    1.9 สาขาวิชาปรัชญา
    1.10 สาขาวิชาภูมิศาสตร์
    1.11 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
    1.12 สาขาวิชาภาษาจีน
    1.13 สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
    1.14 สาขาวิชาภาษารัสเซีย
    1.15 สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา
    1.16 สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
    1.17 สาขาวิชารัสเซียศึกษา
    1.18 สาขาภาษอังกฤษธุรกิจ

               

    สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรืออุษาคเนย์เป็นดินแดนอันเก่าแก่ ของมนุษย์ที่มีความเจริญ ทางวัฒนธรรมมานานนับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จน เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ เป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างอู่อารยธรรมเก่าแก่ของโลกตะวันออกคือ จีนและอินเดีย เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทร แปซิฟิค จึงเป็นจุดเชื่อมต่อของเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกและชายขอบรอบมหาสมุทร แปซิฟิค ในยุคปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งได้รวมกลุ่ม เป็นองค์กรอาเซียนเป็น ภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมีแนวโน้มที่จะต้องสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ให้กระชับมากขึ้นภายในภูมิภาค เพื่อแข่งขันกับประเทศ ในภูมิภาคอื่นๆ ในสังคมโลก

    ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์กรอาเซียน จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการติดต่อ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และกับประเทศต่างๆในระดับนานาชาติ ด้วยความตระหนักในความสำคัญอันยิ่งยวดดังกล่าว คณะศิลปศาสตร์จึงเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ (inter-disciplinary) ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และภาษาของประเทศในภูมิภาคนี้ ตลอดจนมีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้นเพื่อเป็นการสร้างบุคลากรกลุ่มใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิภาคศึกษา อันเป็นก้าวใหม่ของการผลิตทรัพยากรบุคคลของประเทศ และสังคมโลกสมัยใหม่ 

                    

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×