เพชรฤทธิ์ ยอดคนพิชิตมาร - นิยาย เพชรฤทธิ์ ยอดคนพิชิตมาร : Dek-D.com - Writer
×

    เพชรฤทธิ์ ยอดคนพิชิตมาร

    ผู้เข้าชมรวม

    153

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    14

    ผู้เข้าชมรวม


    153

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  1 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  11 ม.ค. 67 / 14:19 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ดวงชะตาเป็นส่ิ่งที่ใครๆในโลกก้็ต่างให้ความสนใจ ว่ามันเป้็นเรื่องจริง ที่เป้้้็นไปได้หรือไม่ แต่ก้็ยังมีอีกหลายคนในโลกใบนี้ ที่ไม่เชื่ีอถือเกี่ยวกับในเรื่องของดวงชะตา ศาสตร์การพยากรณ์ รวมทั้งเรื่องของคาถาอาคม 

    แต่อย่างน้อยก็ยังมีคนส่วนใหญ่ในโลกที่ยังให้ความเชื่อถือ และที่สำคัญศาสตร์การพยากรณ์นั้นได้ไปมีความสำคัญต่อการสร้างอารยธรรมและอาณาจักรของหลายชนชาติในโลกใบนี้ รวมทั้งประเทศไทยเราด้วย ซึ่งมีโหรหลวง และมีสำนักสอนวิชาพยากรณ์อย่างมากมายในยุคโบราณตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยดุูได้จากพงศาวดาร และประวัติศาสตร์ชาติไทยในยุคพระนเรศวรมหาราช ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับความเก่งกาจของการทำนายทายทักของท่านมหาเถรคันฉ่อง พระราชครูขององค์พระนเรศวรมหาราช และยังมีตำนานเรื่องราวของการพยากรณ์ในช่วงสงครามครั้งสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและองค์รัชกาลที่๔ในยุคสมัยจักรีวงศ์ก็ปรากฎเรื่องของการพยากรณ์์และสำนักของโหราจารย์หลายสำนักปรากฎขึ้นอย่างมากมายและเด่นชัดมาก โดยเฉพาะในประวัติศาสตร์โหรที่เรียกกันว่าปูมโหรน่ั่นเอง ที่จะมีการบันทึกปรากฎการณ์ดวงดาวในแต่ละเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองมาโดยตลอด

    แม้แต่ในยุคสมัยของพระพุทธเจ้า ก่อนการประสูติของเจ้าชายน้อยสิทธัตถะ พระราชกุมารน้อยก้็มีเรื่องราวการทำนายทายทักของโหราจารย์หลายสำนัก หลายท่าน จนปรากฎชื่อเสียงความแม่นยำของโหราจารย์นามว่าอัญญาโกณฑัญญะในที่สุด ดังนั้น หากจะกล่าวว่าศาสตร์แห่งการพยากรณ์ หรือเรื่องของดวงชะตาเป้็นเรื่องของความเดา เพ้อฝัน ก็คงจะไม่จริง หากมาศึกษาและพิสูจน์กันจริงอย่างใจเป็นกลาง 

    ซึ่งในนวนิยายเรื่องนี้ ก็จะมีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาพยากรณ์และศาสตร์แห่งอาคม เป็นหลักสำคัญก็ขอให้ท่านที่มีความสนใจในเรื่องของการพยากรณ์และเวทย์มนต์คาถาต่างๆเชิญเข้ามาอ่านกันได้เพ่ื่อประดับภูมิปัญญาและเพ่ื่อความบันเทิงกันนะครับ

     

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น