ละครไทย-Thai Dramas - นิยาย ละครไทย-Thai Dramas : Dek-D.com - Writer
×

    ละครไทย-Thai Dramas

    ผู้เข้าชมรวม

    61

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    61

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    จำนวนตอน :  1 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  9 ม.ค. 64 / 18:36 น.
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ศิลปการละคร คือ ศิลปะที่เกิดขึ้นจากการนำภาพประสบการณ์ และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่อง และจัดเสนอในรูปของการแสดง
    นอกนั้นยังนำเอาศิลปหลายแขนงมารวมไว้ด้วยกัน เช่น การออกแบบต่างๆ การประพันธ์ การกำกับการแสดง
    สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ว่าละครเริ่มต้น จะสำเร็จ และน่าสนใจเพียงไร โดยดูจากการผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะหลายแขนง

    ละครมีบทบาทในชีวิตมนุษย์มาแต่โบราณ นับแต่มนุษย์เริ่มพัฒนาการขั้นพื้นฐาน เริ่มรู้จักแสดงออกด้วยท่าทาง การเคลื่อนไหว น้ำเสียง เริ่มเห็นความสำคัญของการอยู่เป็นหมู่เหล่า

    อริสโตเติล กล่าวถึงสัญชาติญาณหรือความสามารถพิเศษในการเลียนแบบของมนุษย์ ซึ่งเขาถือว่าเป็นบ่อเกิดของละครไว้ในหนังสือ เรื่อง
    โพเอทติกส์ (Poeitcs)
    เป็นใจความว่า “มนุษย์มีสัญชาติญาณการเลียนแบบมาแต่กำเนิด ซึ่งทำให้มนุษย์มีความเป็นเลิศเหนือสัตว์ทั้งปวง
    และสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในชีวิตได้
    ฉะนั้นมนุษย์จึงมีความชื่นชมในผลงานที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการเลียนแบบนี้”

    นอกจากมนุษย์จะมีความสามารถสูงในการเลียนแบบแล้ว มนุษย์ยังจะชอบแสดงออก เช่น ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
    มนุษย์ก็สามารถนำความสามารถในการแสดงออกไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตหลายประการ เช่น
    1, ใช้ประโยชน์ในการเล่าเรื่องแทนภาษาพูดที่ยังไม่สมบูรณ์
    2, ใช้ในพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจ
    3, ใช้ในการแสดงอารมณ์ เพื่อเฉลิมฉลอง และยกย่อง

    จากการศึกษาถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ และการละครตั้งแต่สมัยเริ่มแรก เราจะสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของละครกับมนุษย์ในแง่ที่ว่า
    มนุษย์พยายามจะใช้ละครเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับชีวิต ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะบังคับชีวิตให้เป็นไปตามใจปรารถนา ผู้เขียนบทละครทุกยุคทุกสมัยมักจะนำเรื่องต่อสู้ดิ้นรนของมนุษย์ที่จะบังคับชีวิต
    ให้เป็นไปตามใจปรารถนาของตนมาเขียนขึ้นเป็นบทละคร
    เป็นต้นว่าในละครประเภทโศกนาฏกรรม
    ผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างสูงสุดของตัวละคร ที่จะบังคับชีวิตตนเองให้ประสบความสำเร็จ
    แต่ต้นประสบความหายนะเนื่องจากความผิดพลาดของการกระทำ หรือการตัดสินใจ

    หลังจากเราดูละครเรื่องนั้นๆ แล้ว เราก็สามารถเข้าใจถึงปัญหาชีวิตมากขึ้น สามารถนำบทเรียนมาแก้ไขปัญหาชีวิตที่อาจเกิดขึ้น ให้คลี่คลายไปในทางที่ถูกพัฒนาได้
    ในละครประเภทตลกขบขัน จะพบว่าตัวละครพยายามอย่างยิ่งที่จะดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ แต่กลับล้มเหลวอย่างน่าขบขัน
    เพราะความอ่อนแอ ความซื่อ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
    เมื่อเราดูแล้วก็สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับ มาแก้ไขความโง่เขลาของตัวเอง และความหลงผิดของตัวเราเองได้

    ละครประเภทที่หนีจากโลกความเป็นจริงไปสู่โลกอุดมคติ ก็มักแสดงให้เห็นความปรารถนาอันแรงกล้าของมนุษย์
    ที่จะให้ความดีชนะความชั่วอยู่ตลอดเวลา
    ละครประเภทนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์อยู่มาก ในแง่ให้ความบันเทิง และการพักผ่อนหย่อนใจ
    อย่างไรก็ตามในบรรดาละครสมัยใหม่ที่เขียนขึ้นด้วยจุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของสังคม
    ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นเป็นไปตามปรารถนาทั้งสิ้น
    CR > https://sites.google.com/site/pachayaakkapram/lakhr-khux-xari
    @Hendiria

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น