ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #9 : [นาฏศิลป์] การรำฉุยฉาย

    • อัปเดตล่าสุด 1 พ.ค. 50



    การรำฉุยฉาย

               "ฉุยฉาย" ในทางนาฏศิลป หมายถึง การร่ายรำเมื่อตัวละครเกิดความภาคภูมิใจ ที่สามารถแปลงกาย หรือแต่งตัวได้อย่างสวยสดงดงาม พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในหนังสืออธิบายนาฏศิลปไทยว่า "การรำฉุยฉายเป็นการแสดงภาษานาฏศิลปที่มีคุณค่าทางนาฏศิลปอย่างเลิศ นิยมกันว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ความภาคภูมิใจออกมาทางท่ารำได้ดีกว่าที่จะพูดออกมาทางปาก"

    ประวัติฉุยฉายสมัยโบราณ
               
    การเล่นฉุยฉายในสมัยก่อน นิยมเล่นกันเมื่อขับเสภาเสร็จแล้ว ส่วนการเล่นขับเสภานั้น เป็นการร้องลำนำ เดินเรื่องขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อเลิกเล่นขับเสภาแล้วจึงเล่นฉุยฉาย

    สถานที่ ใช้เวทียกพื้นหรือลานกว้างๆก็ได้
    ดนตรี มีเครื่องพิณพาทย์ และกรับไม้ชิงชัน อย่างเช่นการเล่นเสภา
    การแต่งกาย ต้องแต่งให้สุภาพเรียบร้อยถูกต้อง ตามรัฐนิยม และวัฒนธรรม เช่น ชายนุ่งกางเกงสากล หญิงสวมกระโปรง และทั้งชาย และหญิงสวมเสื้อเชิ้ต สวมหมวก และใส่รองเท้า
    วิธีเล่น การเล่นมี 2 อย่าง คือ การเล่นฉุยฉายในพระนครหรือที่เรียกว่าฉุยฉายบรรดาศักดิ์ อีกชนิดหนึ่งเป็นการเล่นทั่วๆไ จะแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ได้ หรือจะเล่นเฉพาะหมู่ผู้ชายล้วนหรือหญิงล้วนก็ได้

               การเล่นฉุยฉายบรรดาศักดิ์ แรกจะขับเสภาก่อน ใช้พิณพาทย์เป็นเครื่องรับแล้วก็รำฟ้อน เรียกว่า "ฟ้อนฉุยฉาย" ตามจังหวะดนตรีหรือกรับ มีเนื้อเพลงโดยเฉพาะ ส่วนฉุยฉายที่เล่นกันอยู่ทั่วๆไปนั้น คือ การเล่นตามประเพณีพื้นเมืองมาแต่ก่อน ทั้งสองฝ่ายร่ายรำไปโดยมีลูกคู่ร้องให้จังหวะ ผู้รำเพียงแต่รำท่าทางตามทำนอง และเนื้อเพลงให้ถูกต้องกับการร้อง ผู้รำไม่ต้องร้อง แต่ต้องมีท่าทางกรีดกราย ทำชม้อยชม้ายตามทำนอง

    ตัวอย่างบทร้อง

                   ฉุยฉายเอย เจ้าไปไหนหน่อยก็ลอยชาย
    เยื้องย่างช่างกราย ลอยชายไปในสวน
    ยื่นเล็บเล็มดอกกุหลาบ ดอกแก้วอังกาบดอกลำดวนเอย ฯลฯ

    การบรรเลงดนตรีในเพลงฉุยฉาย
              
    ฉุยฉายเป็นเพลงในอัตราจังหวะ 2 ชั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมการร้องเพลงฉุยฉาย ใช้ดนตรีรับ 1 - 2 เที่ยวทุกๆท่อน แต่ปัจจุบันนิยมใช้ปี่รับเพียงเที่ยวเดียว ตามปกติเพลงฉุยฉายจะมีเพลง 2 เพลงรวมอยู่ด้วยกัน คือเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรี โดยที่ในตอนแรกจะร้องเพลงฉุยฉายก่อน ร้องหมดท่อนหนึ่งก็มีปี่เป่าเลียนทำนอง และเสียงร้องเพียงชิ้นเดียวก่อน แล้วจึงบรรเลงรับต่อด้วยเพลงแม่ศรีติดต่อกันไป การที่ต้องร้องเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรีติดต่อกันนั้น เพราะถือว่า เพลงฉุยฉายเป็นเพลงช้า เพลงแม่ศรีเป็นเพลงเร็วซึ่งเป็นเพลง 2 ชั้น เรียกตามหน้าทับว่า "สองไม้" การบรรเลงดนตรีจะเริ่มด้วยเพลงรัว ร้องเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรี จบด้วยเพลงเร็ว - ลา ซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมโดยทั่วไป

    ที่มา : " วิพิธทัศนา " โดย สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่
    "DANCE, DRAMA AND THEATRE IN THAILAND" by Mattani Mojdara Rutnin
    "ฉุยฉาย" โดย สุมิตร เทพวงษ์ ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา
    http://www.anurakthai.com/

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×