ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ในสาขาวิชาวิทยาศาตร์

    ลำดับตอนที่ #8 : ทฤษฎีใหม่ชี้ ไดโนเสาร์สูญพันธ์เพราะเมฆอวกาศ

    • อัปเดตล่าสุด 10 เม.ย. 49


      ทฤษฎีใหม่ชี้ ไดโนเสาร์สูญพันธ์เพราะเมฆอวกาศ


    การระเบิดรังสีแกมมาจากดาวนิวตรอน SGR 1806-20


    ภาดวาด การระเบิดรังสีแกมมาซึ่งนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่า
    เป็นสาเหตุทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธ์


    ระบบสุริยะและดาวฤกษ์ใกล้เคียง
    กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณเมฆอวกาศที่เบาบาง


    ภาพวาด เมื่อโลกเข้าสู่บริเวณเมฆอวกาศที่หนาแน่น

        มหาภัยพิบัติในประวัติศาสตร์ของโลกซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกจำนวนมากสูญพันธ์เกิดขึ้นมาแล้ว 5 ครั้ง คือ ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เมื่อประมาณ 439 ล้านปี ยุคดีโวเนียนเมื่อประมาณ 364 ล้านปี ยุคเพอร์เมียน-

    ไทรแอสสิก เมื่อประมาณ 251 ล้านปี ยุคไทรแอสสิก เมื่อประมาณ

    199-214 ล้านปี และยุคครีเทเชียส-เทอร์เทียรี เมื่อ 65 ล้านปีที่ผ่านมา
         การศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทำให้เชื่อว่า มหาภัยพิบัติในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เกิดจากการละลายของน้ำแข็งในทะเล ยุคดีโวเนียนยังไม่รู้สาเหตุ ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิก  ยุค"การล้มตายครั้งยิ่งใหญ่"(the Great Dying) ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลก 95 สปีซีส์สูญพันธ์ เกิดจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางชนโลก หรืออาจจะเกิดจากการประทุของภูเขาไฟในไซบีเรีย ซึ่งปล่อยลาวาจำนวนมหาศาลขนาดครอบคลุมทวีปยุโรป ภูเขาไฟยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซพิษ จนทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก(greenhouse effect)

     ยุคไทรแอสสิกเกิดจากทะเลลาวาเช่นกัน และครั้งหลังสุดคือยุคครีเทเชียส-เทอร์เทียรี ซึ่งกวาดล้างไดโนเสาร์จนหมดสิ้นไปจากโลกยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า เกิดจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางชนโลก หรือเกิดจากทะเลลาวา แต่จากการค้นพบหลุมอุกกาบาตชิคซูลูป (Chicxulub) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.3ไมล์ บริเวณก้นอ่าวเม็กซิโก ทำให้ทฤษฎีดาวเคราะห์น้อยมีน้ำหนักมากกว่า
          นักวิทยาศาสตร์อธิบายถึงอำนาจการทำลายล้างของดาวเคราะห์น้อยว่า ดาวเคราะห์น้อยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 กิโลเมตร จะทำความเสียหายอย่างรุนแรง ในระดับท้องถิ่น แต่ถ้าหากมันมีขนาด 2 กิโลเมตร จะมีอานุภาพทำลายล้างเท่ากับระเบิดทีเอ็นทีล้านเม็กกะตันเลยทีเดียว มันจะทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งโลก โลกจะถูกปกคลุมด้วยหมอกฝุ่นและก๊าซ แสงอาทิตย์ไม่อาจส่องผ่านได้ยาวนาน เกิดเป็นฤดูหนาวที่เรียกว่า ฤดูหนาวนิวเคลียร์ อุณหภูมิจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง พืชจะตาย ซึ่งจะนำความอดอยากและเกิดโรคระบาดมาสู่สัตว์โลก แต่ถ้าดาวเคราะห์น้อยใหญ่กว่านี้มันจะทำให้สิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมดสูญพันธ์
              ในขณะที่ทฤษฎีดาวเคราะห์น้อยชนโลกและทฤษฎีภูเขาไฟระเบิด ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์มากที่สุด นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มก็ได้เสนอทฤษฎีอีกทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน นั่นคือทฤษฎีซุปเปอร์โนวาหรือทฤษฎีการระเบิดรังสีแกมมา ทั้งซุปเปอร์โนวาและการระเบิดรังสีแกมมา มีความคล้ายคลึงกันคือเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากที่หมดอายุขัย แต่การระเบิดรังสีแกมมาจะมีความรุนแรงมากกว่า ความรุนแรงของของรังสีแกมมาจะทำลาย ชั้นโอโซน ระบบนิเวศน์วิทยาและแหล่งผลิตอาหาร แรงกระแทกจากรังสีอาจตามมาด้วย อนุภาครังสีคอสมิคพลังงานสูงนานแรมเดือน นอกจากนั้นกัมมันตภาพรังสีจะอยู่บนผิวโลกนานหลายพันปี 
           ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าสามารถตรวจจับการระเบิดรังสีแกมมาที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2004 มันเกิดจากดาวนิวตรอน 'SGR 1806-20' ซึ่งอยู่ไกลจากโลก 50,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวคนยิงธนู

    อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าทฤษฎีนี้จะอ่อนกำลังลง จากผลการศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์อวกาศกอดดาร์ด ซึ่งพบว่าพลังงานจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา สามารถทำลายชั้นโอโซนของโลกได้ก็ต่อเมื่อ โลกอยู่ห่างจากการระเบิดในระยะทาง 26 ปีแสง นอกจากนี้ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์บางคนก็ชี้ว่า โอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์เช่นนั้นได้จะอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งหมื่นล้านปีต่อครั้ง
            เมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์ทีมหนึ่งได้เสนอผลงานวิจัย ซึ่งนำเสนอทฤษฎีใหม่ที่แตกต่างออกไปอย่างน่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นคือทฤษฎีเมฆอวกาศ ผลงานวิจัยนี้เพิ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารGeophysical Research Letters.

    ทฤษฎีนี้อธิบายว่า ตัวการที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกสูญพันธ์คือเมฆอวกาศ แบบจำลองคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่า เมื่อโลกเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเมฆอวกาศที่มีความหนาแน่นสูง ฝุ่นในเมฆอวกาศจะจับตัวกันเป็นชั้นๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก ชั้นของฝุ่นจะมีความหนาพอที่จะกั้นแสงอาทิตย์ไว้ทำให้เกิดหิมะปกคลุมบนพื้นโลก


           นักวิทยาศาสตร์ทีมนี้เชื่อว่าเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงเวลา 600-800 ล้านปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังเชื่อว่าทุกๆ 500,000 ปี ระบบสุริยะจะเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณเมฆอวกาศที่มีความหนาแน่นระดับปานกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ

    อเล็ก พาฟลอฟ หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์บอกว่าเราคงจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์กันโดยนักธรณีวิทยาจะต้องค้นหาธาตุยูเรเนียม 235 ในชั้นดิน ซึ่งมันเป็นธาตุที่โดยธรรมชาติแล้วไม่เกิดในระบบสุริยะ
           แม้ว่าทฤษฎีนี้ยังขาดหลักฐานที่ชัดเจนมาสนับสนุนในขณะนี้ก็ตาม ทว่าผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเมื่อปี ค.. 2003 พบว่า ปัจจุบันระบบสุริยะและดาวฤกษ์ใกล้เคียงกำลังเคลื่อนที่เข้าไปในบริเวณเมฆอวกาศในระดับที่เบาบาง ปรากฏการณ์นี้อาจบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ของทฤษฎีเมฆอวกาศได้ในระดับหนึ่ง


    โดย
    บัณฑิต คงอินทร์  

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×