ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังเก็บข้อมูล/ความรู้ (อิสลาม)

    ลำดับตอนที่ #8 : ความเข้าใจผิดเรื่องวิวัฒนาการ

    • อัปเดตล่าสุด 19 เม.ย. 58


     

    ความเข้าใจผิดเรื่องวิวัฒนาการ

    ความนำ

    เราได้พิจารณาความมหัศจรรย์บางประการแห่งคัมภีร์ที่อัลลอฮ์ (..) ได้ประทานสู่มวลมนุษยชาติ ด้วยพระเจ้าได้ประทานสัญญาณต่างๆว่า อัลกุรอาน คือเป็นคัมภีร์แห่งความจริงแท้ และได้เชิญชวนให้มวลมนุษย์ ใคร่ครวญถึงความจริงแท้นั้น. ประการสำคัญยิ่งที่พระองค์ทรงเน้นไว้ในอัลกุรอาน คือความเข้าใจของมนุษย์เรื่องการสร้างสรรค์ มวลสรรพสิ่งในโลก และการที่มนุษย์ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้มีแนวความคิดต่างๆที่ทำให้ผู้คนไม่รู้ความจริงเรื่องการสร้างสรรค์และพยายามที่จะเบี่ยงเบนพวกเขาจากศาสนาด้วยวิธีคิดที่ไร้เหตุผล

    แนวความคิดดังกล่าวที่สำคัญคือ แนวความคิดวัตถุนิยม

    ทฤษฎีดาร์วินหรือทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นแนวความคิดสำคัญที่คติวัตถุนิยมยึดถือเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายหลักการของตน ทฤษฎีนี้อ้างว่าสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างบังเอิญ แต่ข้ออ้างนั้นก็ตกไปอย่างสิ้นเชิงโดยข้อเท็จจริงที่หนักแน่นว่าจักรวาลสร้างสรรค์โดยพระเจ้า

    พระเจ้าทรงสร้างสรรค์จักรวาล และทรงออกแบบแม้รายละเอียดที่เล็กที่สุด ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ทฤษฎีวิวัฒนาการจะอธิบายว่า กำเนิดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้มาจากการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า แต่เกิดขึ้นจากเหตุบังเอิญ

    ไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อเราพิจารณาทฤษฎีวิวัฒนาการ เราจะพบว่าทฤษฎีนี้ตกไปเพราะการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบชีวิตมีความสลับซับซ้อนและน่าสนใจยิ่ง ยกตัวอย่างเช่นในโลกของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เราจะสังเกตเห็นว่าความสมดุลของอะตอมนั้นเป็นเรื่องละเอียดมาก ยิ่งกว่านั้นในโลกของสิ่งมีชีวิตเราจะสังเกตเห็นการออกแบบที่ซับซ้อนให้อะตอมมาอยู่รวมกัน และความพิเศษของ กลไกและโครงสร้างของสิ่งต่างๆ เช่น โปรตีน เอนไซม์ และเซลล์ นั้นราวกับผลิตออกมาจากโรงงาน

    ความพิเศษในการออกแบบชีวิต ทำให้ทฤษฎีดาร์วินตกไปอย่างสิ้นเชิงในปลายศตวรรษที่ 20

    ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดมามากแล้วในการศึกษาของพวกเราและคงดำเนินต่อไป แต่อย่างไรก็ตามเราคิดว่าการพิจารณาความสำคัญของเรื่องนี้ ถ้าจะสรุปสั้นๆไว้ตรงนี้ก่อนก็จะเป็นประโยชน์ยิ่ง

     

     

    ความล้มเหลวทางวิชาการของดาร์วิน

    ความเชื่อตามทฤษฎีวิวัฒนาการมีมานานย้อนไปถึงสมัยกรีก แต่ได้ก้าวหน้าอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 19 นี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้กลายเป็นประเด็นหลักในโลกวิทยาศาสตร์ก็คือตำราของ ชาร์ลส ดาร์วิน ที่เขียนถึงเรื่องจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต (The Original of Species) ที่ตีพิมพ์ ในปี ค.ศ 1859 ในหนังสือนี้ ชาร์ลส ดาร์วิน ได้ปฏิเสธว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆในโลกมิได้เกิดจากการสร้างสรรค์โดยเอกเทศของพระเจ้า เขาเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่วิวัฒนาการไปตามกาลเวลาจนมีลักษณะที่ต่างกัน

    ทฤษฎีของชาร์ลส ดาร์วิน ไม่ได้มีพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมทางวิทยาศาสตร์ และเขาก็ยอมรับว่ายังเป็นแค่เพียง สมมติฐาน ยิ่งไปกว่านั้น ตัวดาร์วินเอง ได้สารภาพไว้ในตำราของเขาในบทที่ชื่อ ความยากลำบากแห่งทฤษฎี ว่าทฤษฎีของเขาไม่สามารถตอบคำถามสำคัญๆได้

    ดาร์วิน ฝากความหวังของเขาทั้งหมดไว้กับการค้นพบของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเขาคาดว่าจะเป็นผู้เฉลย ความยากลำบากแห่งทฤษฎี แต่ทว่าการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ขยายมิติต่างๆก็กลับกลายเป็นข้อโต้แย้งสำหรับดาร์วินไป

    ภาพหน้า 82 Charles Darwin (Add Picture Page 82 , Charles Darwin)

    ข้อบกพร่องของดาร์วินในทางวิทยาศาสตร์ อาจจำแนกได้เป็น 3 ประเด็นดังนี้

    1. ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายได้ว่า ชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร

    2. ไม่มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถแสดงให้เห็นว่า กลไกแห่งการวิวัฒนาการ ที่เสนอโดยทฤษฎีนี้จะเป็นไปได้

    3. การพิสูจน์ซากฟอสซิลพบข้อเท็จจริงที่แย้งกับทฤษฎีวิวัฒนาการ

    ในตอนนี้เราจะพิจารณาทั้งสามประเด็นหลักไปตามหัวข้อต่อไปนี้


     

    ปฐมเหตุแห่งชีวิต ขั้นตอนแรกเริ่มที่มีปัญหา

    ทฤษฎีวิวัฒนาการ เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายวิวัฒนาการมาจากเซลล์เดี่ยว ซึ่งปรากฏในระยะแรกเริ่มของโลก เมื่อสามพันแปดร้อยล้านปีที่ผ่านมา แต่การที่เซลล์เดี่ยวให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนนับล้าน ในกรณีที่มีการวิวัฒนาการจริง เหตุใดจึงไม่ปรากฏร่องรอยในซากฟอสซิล นี่คือคำถามที่ทฤษฎีนี้ไม่สามารถให้คำตอบได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญสุด ในกระบวนการวิวัฒนาการขั้นตอนแรกนั้นจะต้องตอบคำถามให้ได้ ว่า อะไรคือปฐมเหตุแห่งการเกิดของเซลล์เดี่ยวนี้

    ทฤษฎีวิวัฒนาการปฏิเสธการสร้างสรรค์ และไม่ยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นจากความเหนือธรรมชาติ แต่ที่เชื่อว่าเซลล์แรกเริ่มเกิดขึ้นโดยบังเอิญตามกฎแห่งธรรมชาติ โดยปราศจากการออกแบบ แบบแผนและการจัดระเบียบใดๆ. ทฤษฎีนี้อ้างว่าด้วยวิธีการดังกล่าวสิ่งไม่มีชีวิตทำให้เกิดเซลล์สิ่งมีชีวิตขึ้นมาโดยบังเอิญ อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ ขัดกับกฎทางชีววิทยาที่ยังไม่มีใครลบล้างได้เลย

     

     

    ชีวิตมาจากชีวิต

    ดาร์วินไม่เคยอ้างอิงถึงการกำเนิดของชีวิตไว้ในตำราของเขาเลย ความเข้าใจพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในสมัยของเขาตั้งอยู่บน สมมุติฐานที่ว่าสิ่งมีชีวิต มีโครงสร้างที่แสนจะเรียบง่าย ในยุคกลาง ซึ่งเป็นสมัยของความเชื่อเรื่องการกำเนิดขึ้นเอง แนวคิดว่าสิ่งไม่มีชีวิตรวมตัวกันเป็นอินทรีย์ที่มีชีวิตเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ผู้คนเชื่อกันว่าแมลงเกิดขึ้นได้จากเศษอาหาร และหนูเกิดขึ้นจากข้าวสาลี มีการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้ โดยเอาข้าวสาลีวางบนผ้าสกปรก เพราะเชื่อว่าหนูจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ในเวลาต่อมา ในทำนองเดียวกัน การที่หนอนเกิดจากเนื้อสัตว์ ก็เป็นข้อสนับสนุนความเชื่อเรื่องการกำเนิดขึ้นเอง อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา จึงเข้าใจกันได้ว่าหนอนไม่ได้เกิดขึ้นเองบนเนื้อ แมลงวันพามันมาในรูปของตัวอ่อนซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

    แม้แต่ในเวลาที่ดาร์วิน ได้เขียนตำราเรื่อง จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต (The Origin of Species) ความเชื่อที่ว่าแบคทีเรียเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ก็ยังเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในโลกวิทยาศาสตร์

     

    อย่างไรก็ตาม 5 ปีหลังจากที่หนังสือของ ดาร์วิน พิมพ์แพร่ออกมา ก็มีการค้นพบของ หลุยส์ ปาสเตอร์ ที่หักล้างความเชื่อซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฏีวิวัฒนาการ ปาสเตอร์ สรุปข้อค้นพบหลังจากการศึกษาและทดลองที่เขากล่าว่า การกล่าวอ้างว่าสิ่งไม่มีชีวิตสามารถเป็นปฐมเหตุของสิ่งมีชีวิตนั้นได้ถูกฝังไว้ในประวัติศาสตร์อย่างไม่มีวันฟื้นคืนชีพได้เลย 24

    แต่ทว่าผู้สนับสนุนทฤษฏีวิวัฒนาการกลับไม่ยอมรับข้อค้นพบของ ปาสเตอร์ อยู่เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ได้ไขปริศนาเรื่องโครงสร้างอันสลับซับซ้อนของเซลล์สิ่งมีชีวิต ทำให้แนวความคิดที่กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นโดยความบังเอิญนั้นพบทางตันที่ใหญ่ยิ่ง

     

     

    ความพยายามที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ในศตวรรษที่ 20

    ในศตวรรษที่ 20 ผู้ที่เริ่มต้นศึกษาเรื่องกำเนิดชีวิตตามทฤษฎีวิวัฒนาการ คือ อเล็กซานเดอร์ โอพาริน (Alexander Oparin) นักชีววิทยาผู้มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย โดยในช่วงทศวรรษ 1930 เขาได้พยายามที่จะพิสูจน์ว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเองได้ แต่ทว่าการศึกษาของเขาก็ดูเหมือนจะล้มเหลว โดยที่โอพารินจำต้องกล่าวสารภาพว่า น่าเสียดายที่ต้นกำเนิดของเซลล์นั้น ดูเหมือนจะยังคงเป็นคำถามที่เป็นส่วนที่มืดมนที่สุดจริงๆในทฤษฎีวิวัฒนาการ25

    นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านวิวัฒนาการรุ่นต่อมา ได้พยายามทำการทดลองต่างๆ เพื่อตอบปัญหาจุดกำเนิดของชีวิตต่อไป การทดลองที่รู้จักกันมากที่สุดได้แก่ การทดลองเมื่อปี 1953 ของ สแตนลี่ มิลเลอร์ นักเคมีชาวอเมริกัน มิลเลอร์ได้ทำการทดลองโดยรวมอากาศธาตุที่เขาอ้างว่ามีอยู่ในบรรยากาศช่วงกำเนิดโลก เมื่อเพิ่มพลังงานเข้าไปในส่วนผสมนั้น เขาก็สังเคราะห์ได้ออร์แกนิก โมเลกุล กรดอะมิโน ที่พบในโครงสร้างของโปรตีน

    หลังจากนั้นเพียงสามปีต่อมา ปรากฏว่าการทดลองที่นำเสนอว่าเป็นก้าวที่สำคัญของทฤษฎีวิวัฒนาการกลับกลายเป็นเรื่องที่เชื่อถือไม่ได้ กล่าวคือ บรรยากาศที่มิลเลอร์ใช้ในการทดลองนั้นมีความแตกต่างอย่างมากจากสภาพบรรยากาศจริงๆ ของโลก 26

    หลังจากเงียบอยู่นานมิลเลอร์ก็ยอมรับออกมาว่า ที่เขาใช้ในการทดลองนั้นมิใช่บรรยากาศตามสภาพจริง 27

    อาจกล่าวได้ว่านักวิวัฒนาการในศตวรรษที่ 20 ที่พยายามค้นหาคำอธิบายถึงกำเนิดของชีวิตนั้น ท้ายที่สุดก็ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ดังที่ เจอร์รี่ บาดา นักธรณีเคมีจากสถาบันซานดิเอโก สคริปปส์ (San Diego Scripps) ได้เขียนบทความลงในนิตยสารเอิร์ท (Earth Magazine) ปี 1998 โดยยอมรับว่า วันนี้ขณะที่กำลังจะผ่านพ้นศตวรรษที่ 20 ไปเราก็ยังคงมีปัญหาสำคัญที่สุด ที่มืดมนมาตั้งแต่เมื่อเราเริ่มเข้าสู่ศตวรรษนี้ว่า ชีวิตกำเนิดขึ้นมาบนผืนพิภพนี้ได้อย่างไร?28

     

     

    โครงสร้างอันซับซ้อนของชีวิต

    เหตุผลสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีวิวัฒนาการต้องพบทางตันในการค้นหาจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตก็คือ แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีความซับซ้อนใด ๆ กลับประกอบด้วยโครงสร้างอันสลับซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ เราจะเห็นได้ว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นมีความซับซ้อนกว่าผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีใด ๆ ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น ทุกวันนี้แม้กระทั่งห้องทดลองที่มีความทันสมัยมากที่สุดในโลกก็ยังไม่สามารถสร้างเซลล์ของสิ่งมีชีวิตจากการประกอบสิ่งไม่มีชีวิตเข้าด้วยกัน

    เงื่อนไขจำเป็นในการสร้างเซลล์นั้นมีมากมายเกินกว่าที่จะอธิบายด้วยการเกิดขึ้นจากความบังเอิญ ความเป็นไปได้ที่โปรตีนซึ่งเป็นหน่วยย่อยของเซลล์ จะถูกสังเคราะห์โดยบังเอิญนั้นมีเพียง 1 ใน 10 950 สำหรับโปรตีน 1 หน่วยที่ประกอบขึ้นจาก กรดอะมิโน 500 ตัว หากคิดในเชิงคณิตศาสตร์ก็จะพบว่าความเป็นไปได้นั้นจะน้อยกว่า เศษ 1 ส่วน 1050 ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ

    โมเลกุลของ DNA ที่บรรจุข้อมูลพันธุกรรมซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลมากมายอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว โดยมีการคำนวณกันว่าหากนำข้อมูลที่มีอยู่ใน DNA มาเขียน จะได้ห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีสารานุกรม 900 เล่ม โดยแต่ละเล่มต้องมีความหนาถึง 500 หน้า

    ปัญหาที่สำคัญยิ่งก็ปรากฏขึ้น ณ จุดนี้ กล่าวคือ ในกระบวนการถอดแบบพันธุกรรมจาก DNA นั้นจะต้องใช้โปรตีน (เอนไซม์เฉพาะเท่านั้น และการสังเคราะห์เอนไซม์ ก็จำเป็นจะต้องอาศัยรหัสที่ประกอบอยู่ใน DNA เท่านั้นเช่นกัน ด้วยเหตุที่เอนไซม์และ DNA ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันจึงต้องปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กันในกระบวนการถอดแบบ ข้อค้นพบนี้ ทำให้สมมุติฐานที่ว่า สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นมาเองนั้น ถึงทางตันและจุดจบ

    ศาสตราจารย์ เลสลี่ ออร์เกล นักวิวัฒนาการผู้มีชื่อเสียงแห่งมหาวิทยาลัยซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ยอมรับความจริงข้อนี้ในนิตยสาร Scientific American ฉบับเดือนกันยายน 1994 โดยกล่าวว่า

    เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งที่โปรตีนและกรดนิวคลิอิก (Nucleic) ซึ่งต่างก็มีโครงสร้างสลับซับซ้อน จะเกิดขึ้นเองในเวลาและสถานที่เดียวกัน นอกจากนั้นยังเป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันที่จะมีสิ่งหนึ่งโดยปราศจากอีกสิ่งหนึ่ง ดังนั้นหากพิจารณาเพียงผิวเผินก็อาจสรุปได้ว่าตามความเป็นจริง สิ่งมีชีวิตไม่สามารถก่อกำเนิดโดยกระบวนการทางทางเคมีได้เลย 29

     

    คำอธิบายใต้ภาพ: น.86

    ความจริงประการหนึ่งที่ยืนยันความเป็นไปไม่ได้ของทฤษฎีวิวัฒนาการ คือ ความสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างสำคัญประการหนึ่งคือ โมเลกุลของ DNA ที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายDNA เป็นแหล่งข้อมูล ประกอบด้วยโมเลกุลต่างกัน 4 ชนิด ที่มีการเรียงลำดับที่แตกต่างกัน แหล่งข้อมูลนี้บรรจุรหัสของลักษณะทางกายภาพของสิ่งมีชีวิตเข้าไว้ และเมื่อถอดรหัสพันธุกรรมออกมา คำนวณว่าจะมีความยาวเท่ากับสารานุกรมประมาณ 900 เล่ม ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าข้อมูลที่มีมากมายเพียงนี้จะลบล้างแนวคิดเรื่องความบังเอิญได้

    แน่นอนหากเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ ต้องยอมรับว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขึ้นจาก การสร้างสรรค์ ของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ในที่สุดทฤษฎีวิวัฒนาการ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักที่จะปฏิเสธ การสร้างสรรค์ ก็จะ ถูกลบล้างโดยความจริงข้อนี้ได้อย่างสิ้นเชิง

     

     

    กลไกอันเพ้อฝันของทฤษฎีวิวัฒนาการ

    ประเด็นสำคัญประเด็นที่สองที่แย้งทฤษฎีของดาร์วินคือ แนวคิดทั้งสองตาม กลไกของวิวัฒนาการ นั้น มิได้มีพลังในการเกิดวิวัฒนาการใดๆ

    ดาร์วินอิงทฤษฎีวิวัฒนาการของเขาเข้ากับกลไก การเลือกสรรของธรรมชาติ ดังปรากฏเป็นชื่อในหนังสือของเขาว่า จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตโดยวิธีการเลือกสรรของธรรมชาติ

    ตามแนวคิดเรื่องการเลือกสรรของธรรมชาตินั้น สิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งและเหมาะสมต่อสภาพธรรมชาติจึงจะสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในภาวะการต่อสู้แย่งชิง ตัวอย่างเช่น ฝูงกวางที่อาศัยอยู่อย่างเสี่ยงภัยจากสัตว์ป่าอื่นๆนั้น จะต้องสามารถวิ่งได้รวดเร็วจึงจะอยู่รอด ดังนั้นกวางในฝูงแต่ละตัวจึงมีร่างกายแข็งแรงและวิ่งเร็ว แต่อย่างไรก็ตามกลไกนี้ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้กวางวิวัฒนาการและกลายไปเป็นสัตว์ชนิดอื่น เช่น ม้า ได้เลย

    ดังนั้นกลไกการเลือกสรรของธรรมชาติ จึงไม่มีพลังใดๆที่สามารถทำให้เกิดวิวัฒนาการได้ ดาร์วินเองก็ตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้เป็นอย่างดีดังได้กล่าวไว้ในหนังสือ จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ของเขาว่า:

    การเลือกสรรของธรรมชาติจะไม่มีผลใดๆ จนกว่าลักษณะความผันแปรที่เหมาะสมจะบังเอิญเกิดขึ้น

     

     

    ผลกระทบของลามาร์ค

    ลักษณะความผันแปรที่เหมาะสม จะเกิดขึ้นได้อย่างไรดาร์วินพยายามอธิบายคำถามนี้จากความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในยุคสมัยของเขา โดยการอ้างอิงถึงนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อ ลา มาร์ค (Lamarck) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนดาร์วิน สิ่งมีชีวิตจะส่งผ่านลักษณะเฉพาะที่ตนเองมีอยู่ในช่วงชีวิตไปยังรุ่นถัดไป ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา ตัวอย่างที่ลามาร์คกล่าวไว้คือ ยีราฟมีวิวัฒนาการมาจากละมั่ง เมื่อมันต้องพยายามดิ้นรนหาใบไม้ตามต้นไม้สูงๆกิน คอของมันก็ยืดขยายมากขึ้นจากรุ่นแล้วรุ่นเล่า

    ดาร์วินเองก็ได้ยกตัวอย่างไว้ในหนังสือของเขาว่า หมีบางชนิดหากินในน้ำทำให้มันวิวัฒนาการเป็นปลาวาฬไปในที่สุด

    แต่ทว่ากฎการสืบทอดทางพันธุกรรมซึ่งค้นพบโดยเมนเดลและได้รับการพิสูจน์โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรมในศตวรรรษที่ 20 ได้ลบล้างตำนานความเชื่อนี้ไปโดยสิ้นเชิง การเลือกสรรของธรรมชาติจึงไม่อาจเป็นกระบวนการของทฤษฎีวิวัฒนาการได้

     

     

    นีโอ ดาร์วิน และการกลายพันธุ์

    เพื่อที่จะหาทางออก ผู้นิยมทฤษฎีดาร์วิน จึงได้เสนอแนวคิด ทฤษฎีการสังเคราะห์สมัยใหม่ หรือรู้จักกันในชื่อว่า นีโอ ดาร์วิน ในช่วงปลายทศวรรษ1930 นีโอ ดาร์วินได้เสนอทฤษฎีการกลายพันธุ์ (Mutations) ว่า พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะเปลี่ยนรูปไปเพราะปัจจัยภายนอก เช่น กัมมันตรังสี หรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบพันธุกรรมซึ่งอาจทำให้เกิดลักษณะที่เหมาะสม นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ

    ในปัจจุบัน นีโอ ดาร์วิน คือทฤษฎีที่เป็นแบบฉบับของแนวคิดเรื่องการวิวัฒนาการ เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมากมายบนโลกนี้ก่อร่างมาโดยที่อวัยวะที่สลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิต เช่น หู ตา และอื่นๆ ได้ผ่านกระบวนการกลายพันธุ์ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องทางพันธุกรรม แต่ทว่าทฤษฎีนี้ได้ถูกลบล้างอย่างสิ้นเชิงโดยข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์:การกลายพันธุ์ไม่ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ในทางตรงกันข้าม กลับก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

    เหตุผลง่ายๆก็คือว่า DNA มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและผลกระทบโดยเหตุบังเอิญนั้นเป็นไปได้ แต่จะก่อให้เกิดอันตรายเท่านั้น นักพันธุกรรมศาสตร์ชาวอเมริกา บี จี รังกะนาธาน (B.G. Ranganathan) ได้อธิบายไว้ดังต่อไปนี้

    การกลายพันธุ์เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย เกิดโดยบังเอิญและมีอันตราย แต่ก็ยากที่จะเกิด ที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ไม่มีผลกระทบใดๆ แสดงให้เห็นว่าการกลายพันธุ์ไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาด้านวิวัฒนาการใดๆ การกลายพันธุ์นั้นถ้าไม่ไร้ ผลก็เป็นอันตราย เช่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญในนาฬิกาเรือนหนึ่งไม่ได้ทำให้นาฬิกาเรือนนั้นทำงานดีขึ้นเลย มันอาจจะเกิดอันตราย หรือไม่ก็ไม่เกิดผลกระทบใดๆเลย การเกิดแผ่นดินไหวไม่ทำให้เกิดผลดีต่อบ้านเมือง แต่กลับก่อให้เกิดความเสียหาย32

    ไม่น่าประหลาดใจเลยที่ไม่มีตัวอย่างในเรื่องของการกลายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งๆที่หวังกันว่าจะเป็นการพัฒนาพันธุกรรม การกลายพันธ์ล้วนเป็นอันตราย ที่กล่าวกันว่าเป็นกลไกของการวิวัฒนาการนั้น ที่จริงมีผลต่อพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและอาจทำให้พิการได้ (ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่รู้จักกันโดยทั่วไปของสิ่งมีชีวิตก็คือ มะเร็งนั่นเองวิธีการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียไม่น่าจะเป็นวิธีของการวิวัฒนาการได้เลย การเลือกสรรของธรรมชาติก็ไม่สามารถสัมฤทธิผลได้ด้วยตัวมันเอง ดังที่ ดาร์วินได้กล่าวยอมรับไว้แล้ว ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เราเห็นว่า ไม่มีกลไกของการวิวัฒนาการอยู่จริงในธรรมชาติ ดังนั้นกระบวนการที่เพ้อฝันที่เรียกว่า การวิวัฒนาการจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย

     

     

    หลักฐานจากซากฟอสซิล

    ไม่มีร่องรอยของรูปร่างในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง

    สิ่งที่ยืนยันว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ก็คือ หลักฐานจากซากฟอสซิล

    ทฤษฎีวิวัฒนาการเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดมาจากบรรพบุรุษ หรือสิ่งที่มีอยู่ก่อนหน้าซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็จะกลายไปเป็นสิ่งอื่น สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต่างก็เกิดในลักษณะนี้ โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวต้องใช้เวลานับล้านๆปี

    ถ้าเป็นจริงตามนั้นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากน่าจะยังคงมีให้เห็นอยู่

    ตัวอย่างเช่น น่าจะมีสัตว์ครึ่งปลาครึ่งสัตว์เลื้อยคลานที่ได้ลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานเพิ่มขึ้นจากลักษณะของปลาที่มันมีอยู่เดิม หรือน่าจะมีสัตว์ครึ่งนกครึ่งสัตว์เลื้อยคลานที่ได้ลักษณะของนกเพิ่มขึ้นจากลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานที่มันมีอยู่เดิม ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านี้อยู่ในระยะของการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้น มันก็น่าจะมีลักษณะของความบกพร่องไม่สมบูรณ์ หรือพิการอยู่ นักวิวัฒนาการพวกนี้ได้อ้างถึงสัตว์ในจินตนาการซึ่งเชื่อว่าเคยมีในอดีตว่าเป็น รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง

    ถ้าสัตว์ต่างๆเหล่านี้มีอยู่จริง มันก็ควรจะมีอยู่นับล้านๆและหลากชนิด ที่สำคัญสุดก็คือ ควรจะมีซากฟอสซิลของสัตว์ประหลาดเหล่านี้ปรากฎให้เห็นบ้าง ในหนังสือ จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ดาร์วินได้อธิบายไว้ว่า

    หากทฤษฎีของข้าพเจ้าเป็นจริง สิ่งที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงจะมีจำนวนมากมายหลากหลายจนนับไม่ถ้วน ทั้งหมดนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มที่มีความเหมือนกันได้ ซึ่งหลักฐานต่างๆของสิ่งที่มีมาก่อนหน้าจะสามารถค้นพบได้จากซากฟอสซิลเท่านั้น 33

     

     

    ความหวังของดาร์วินดับวูบ

    แม้ว่านักวิวัฒนาการพยายามค้นหาซากฟอสซิลทั่วโลกตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังคงไม่พบซากที่อยู่ในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเลย ซากฟอสซิลทั้งหมดที่ขุดค้นพบแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกมีความสมบูรณ์แบบในตัวมันเองแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับความคาดหวังของนักวิวัฒนาการ

    นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ดีเรค วี เอเกอร์ ยอมรับข้อเท็จจริงนี้ ทั้งๆที่เขาก็เป็นนักวิวัฒนาการคนหนึ่ง เขากล่าวว่า

    สิ่งที่ประจักษ์ก็คือ เมื่อเราตรวจสอบซากฟอสซิลโดยละเอียดไม่ว่าจะในระดับชั้นหรือชนิด เราจะพบซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ไม่ได้มีวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เป็นการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งพร้อมกับการสิ้นสุดของสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มหนึ่ง 34

    นั่นก็คือ ซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอุบัติขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ ไม่ได้เกิดการกลายรูปแต่อย่างใด ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อสันนิษฐานของดาร์วิน ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานสำคัญว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้ถูกกำเนิดขึ้นมา การที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดกำเนิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่ได้วิวัฒนาการมาจากอดีตย่อมอธิบายได้ว่า สิ่งเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมา ดักลาส ฟูตูยาม่า นักชีววิทยาด้านการวิวัฒนาการ ยอมรับความจริงข้อนี้ว่า

    ข้อโต้แย้งระหว่างการกำเนิดกับการวิวัฒนาการนั้นพูดกันมามากแล้วในการอธิบายการกำเนิดสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่อุบัติขึ้นในโลกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แบบหรือยังบกพร่องอยู่ หากยังบกพร่องอยู่ ก็จะต้องมีกระบวนการพัฒนาจากรุ่นก่อนโดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แต่หากสมบูรณ์แบบแล้วก็แสดงถึงว่า การกำเนิดดังกล่าวต้องมีผู้สร้างที่ทรงอำนาจอย่างแน่นอน35

    ซากฟอสซิลแสดงว่า สิ่งมีชีวิตถูกกำเนิดมาอย่างสมบูรณ์แบบในโลกนี้ นั่นย่อมแสดงว่า กำเนิดสิ่งมีชีวิต มีที่มาจากการสร้างสรรค์ มิใช่จากวิวัฒนาการตามสมมติฐานของดาร์วิน




    เรื่องราวการวิวัฒนาการของมนุษย์

    ประเด็นที่หยิบยกมากล่าวอ้างกันมากที่สุดตามทฤษฎีวิวัฒนาการคือ เรื่องการกำเนิดมนุษย์ นักทฤษฎีดาร์วิน อ้างว่า มนุษย์ในปัจจุบันนี้มีกำเนิดมาจากสัตว์คล้ายลิงตามกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเมื่อ 4-5 ล้านปีมาแล้ว และจากบรรพบุรุษของมนุษย์มาถึงมนุษย์ปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะบางอย่าง กระบวนการตามความคิดดังกลan lang="TH"> ขั้นดังนี้

    1. ออสเตรโลพิเทคัส ( Australopithecus )

    2. โฮโม ฮาบิลิส ( Homo habilis )

    3. โฮโม อีเรคตัส ( Homo erectus )

    4. โฮโม เซเปียน ( Homo sapiens )

    นักวิวัฒนาการเรียก บรรพบุรุษลิงในยุคแรกว่า ออสเตรโลพิเทคัส ซึ่งหมายถึง ลิงแอฟริกาใต้ ซึ่งก็คือ ลิงพันธุ์ดั้งเดิมที่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีการวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับสายพันธุ์ต่างๆของออสเตรโลพิเทคัสโดยนักกายวิภาคศาสตร์ชาวอังกฤษและสหรัฐอเมริกาคือ ลอร์ด ซอลลี่ ซัคเคอร์แมน(Lord Solly Suckerman) และศาสตราจารย์ ชาร์ลส อ็อกซ์นาร์ด (Prof. Charles Oxnard) ได้พบว่า สายพันธุ์นี้เป็นลิงในยุคแรก ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว และไม่มีส่วนใดที่มีความคล้ายคลึงกับมนุษย์เลย 36

    การวิวัฒนาการของมนุษย์ในขั้นถัดมาคือ โฮโม ซึ่งหมายถึง มนุษย์ นักวิวัฒนาการที่เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตในกลุ่มโฮโมมีการพัฒนามากกว่าออสเตรโลพิเทคัส นักวิวัฒนาการได้อุปโลกน์แนวคิดวิวัฒนาการขึ้นมาอย่างแยบยล โดยจัดวางซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้ตามลำดับชั้น แต่ก็ยังเป็นเรื่องเพ้อฝันเนื่องจากว่ามันไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ว่า มีการวิวัฒนาการที่สัมพันธ์กันกับลำดับชั้นต่างๆ เอิร์นส เมเออร์ นักทฤษฎีวิวัฒนาการคนสำคัญในศตวรรษที่20 กล่าวยอมรับข้อเท็จจริงนี้ว่า สายโซ่ที่โยงถึงโฮโมเซเปียนได้สูญสิ้นไปแล้ว

    จากการโยงสายโซ่ในลักษณะดังนี้ ออสเตรโลพิเทคัส > โฮโมฮาบิลิส >โฮโมอีเรคตัส > โฮโมเซเปียน นักวิวัฒนาการหมายความว่า แต่ละกลุ่มพันธุ์ต่างก็เป็นบรรพบุรุษของอีกกลุ่มหนึ่งต่างๆกันมา แต่จากการค้นพบล่าสุดของนักชีววิทยาเปิดเผยออกมาว่า ออสเตรโลพิเทคัส , โฮโมฮาบิลิส และโฮมโมอิเรคตัส อยู่ต่างถิ่นกันในช่วงเวลาเดียวกัน

    นอกจากนั้นยังปรากฏว่ามนุษย์จากพวกโฮโมอิเรคตัสมีชีวิตต่อเนื่องมาจนยุคปัจจุบัน ส่วนโฮโมเซเปียนนีอันดารธาเลนซิส และโฮโมเซเปียนเซเปียน(มนุษย์ยุคใหม่นั้น ก็อยู่ร่วมกันในถิ่นเดียวกัน39

    ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าคำกล่าวอ้างที่ว่า มนุษย์กลุ่มหนึ่งเป็นบรรพบุรุษของอีกกลุ่มหนึ่งนั้นเป็นไปไม่ได้ นักฟอสซิลวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดชื่อ สตีเฟน เจย์ กลาวด์ (Stephen Jay Gloud) อธิบายการหยุดชะงักของทฤษฎีวิวัฒนาการเอาไว้ แม้ว่าตัวเขาเองจะเป็นนักวิวัฒนาการก็ตาม

    ขั้นตอนของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าหากมีการสืบสายตรงของโฮโมนิคทั้ง 3ที่อยู่ในสมัยเดียวกัน ได้แก่ เอ แอฟริกานุส โรบุสออสเตรโลปิเทซีนส์ และเอช ฮาบิลิส ซึ่งไม่มีทางที่กลุ่มหนึ่งจะมาจากอีกกลุ่มหนึ่งได้อย่างแน่นอน นอกจากนั้นทั้ง 3 กลุ่มนี้ยังไม่แสดงลักษณะแนวโน้มการวิวัฒนาการใดๆอีกด้วย 40

    กล่าวโดยสรุปได้ว่า เรื่องของการวิวัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งปรากฏเป็นภาพ ครึ่งคนครึ่งลิง ตามสื่อและตำราเรียนนั้นที่จริงก็คือเรื่องราวโฆษณาชวนเชื่อโดยไร้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง

    ลอร์ด ซอลลี่ ซักเคอร์แมน หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ ได้ทำการวิจัยเรื่องนี้เป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะได้ศึกษาซากฟอสซิลออสเตรโลพิเทคัสเป็นเวลาถึง 15 ปี ข้อสรุปของเขาซึ่งเป็นนักวิวัฒนาการเองก็คือ ไม่มีสาขาของการวิวัฒนาการของมนุษย์มาจากลิงแต่อย่างใด

    ซักเคอร์แมนยังได้เสนอแนวคิดเรื่อง ขอบเขตของวิทยาศาสตร์(Spectrum of Sience) ที่น่าสนใจอีกด้วย ขอบเขตของเขา เริ่มตั้งแต่สิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์ไปจนถึงสิ่งที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดของซักเคอร์แมน วิทยาศาสตร์ อาศัยข้อมูลสำคัญที่สุดคือ ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมทางด้านเคมี และฟิสิกส์ ถัดมาก็เป็นข้อมูลทางชีววิทยาและสังคมศาสตร์ตามลำดับ ตรงชายขอบของวิทยาศาสตร์คือ ส่วนที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ได้แก่ ญาณรับรู้พิเศษ ดังเช่น โทรจิต สัมผัสที่ 6 และสุดท้ายคือ วิวัฒนาการของมนุษย์ ซักเคอร์แมนอธิบายเหตุผลของเขาดังนี้

    แล้วเราก็ออกจากความจริงที่เป็นรูปธรรมไปสู่วิธีการสันนิษฐานทางชีววิทยา เช่น การใช้สัมผัสที่ 6 และการตีความซากฟอสซิล มนุษย์ซึ่งสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่จริงใจแล้วอะไรก็เป็นไปได้ ส่วนผู้ที่มีความเชื่อชนิดฝังหัวในเรื่องวิวัฒนาการนั้นบางทีก็พร้อมจะเชื่อเรื่องต่างๆที่ขัดแย้งกันเองอย่างยิ่ง 41

    ภาพ หน้า 92

    ไม่มีหลักฐานฟอสซิลชิ้นใดๆที่จะสามารถสนับสนุนเรื่องการวิวัฒนาการของมนุษย์ได้ ในทางตรงกันข้าม ซากฟอสซิล กลับแสดงให้เห็นว่า ระหว่างลิงกับมนุษย์มีสิ่งขวางกั้นที่ไม่สามารถฝ่าข้ามถึงกัน ทั้งๆที่เผชิญกับความจริงเช่นนี้นักวิวัฒนาการก็ยังปักใจเชื่อตามภาพวาดและรูปจำลองที่ปรากฏ พวกเขาส่งเดชทำหน้ากากครอบลงบนซากฟอสซิลแล้วสร้างภาพจินตนาการให้เป็นใบหน้าครึ่งคนครึ่งลิงออกมา

    เรื่องราวการวิวัฒนาการของมนุษย์นั้น ท้ายที่สุดก็ไม่มีอะไรนอกจากการตีความด้วยอคติจากหลักฐานซาก ฟอสซิลที่ค้นพบโดยคนบางกลุ่มที่ยึดติดกับทฤษฎีของตนอย่างเหนียวแน่น



    เทคโนโลยีของตาและหู

    ประเด็นสำคัญที่ทฤษฎีวิวัฒนาการยังไม่สามารถอธิบายได้ คือ คุณสมบัติอันล้ำเลิศของประสาทสัมผัสแห่งการมองเห็นและการได้ยิน

    ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องดวงตา เราลองมาตอบคำถามสั้นๆ ที่ว่า เรามองเห็นได้อย่างไร เสียก่อน รังสีของแสงจากวัตถุตกกระทบบนจอตา (Retina) และส่งผ่านในรูปของสัญญาณไฟฟ้าไปสู่จุดเล็กๆ บริเวณด้านหลังของสมองที่เรียกว่า ศูนย์ควบคุมการมองเห็น (Center of Vision) ซึ่งจะเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นรูปภาพ โดยผ่านขั้นตอนต่างๆตามลำดับ จากหลักการดังกล่าว ทำให้เราสามารถพิจารณาการทำงานของกระบวนการมองเห็นได้ ดังนี้

    สมองเป็นวัตถุทึบแสงที่อยู่ภายในที่ที่มืดสนิทซึ่งแสงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปถึงได้ บริเวณที่เรียกว่าศูนย์ควบคุมการมองเห็นนี้จึงเป็นพื้นที่ที่อาจมืดมิดที่สุดแห่งหนึ่ง แต่เราสามารถมองเห็นโลกอันสว่างสดใสใบนี้ได้จากความมืดนี้เอง

    ภาพที่มนุษย์มองเห็นนั้นมีความคมชัดมากเสียจนแม้แต่ความก้าวหน้าจากวิทยาการในศตวรรษที่ 20 ยังไม่อาจสร้างขึ้นมาทัดเทียมได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อมองดูหนังสือที่เรากำลังอ่านในมือ แล้วเงยหน้าพิจารณาไปรอบๆตัวจะพบว่าไม่มีภาพอื่นใดที่ชัดเจนเท่ากับภาพหนังสือในมือที่เห็นอยู่ แม้แต่จอโทรทัศน์ที่ทันสมัยที่สุดของบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ก็ยังไม่อาจสร้างภาพสีสามมิติที่คมชัดเช่นนี้ได้ เป็นเวลากว่าศตวรรษที่บรรดาวิศวกรต่างพยายามที่จะเลียนแบบคุณสมบัติเช่นนี้ มีการสร้างโรงงานหลายแห่งบนเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล รวมทั้งมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว เมื่อมองดูภาพจากจอโทรทัศน์เปรียบเทียบกับหนังสือในมือ เราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนในเรื่องความคมชัดของภาพ นอกจากนี้ ในขณะที่จอโทรทัศน์แสดงภาพสองมิติ เราสามารถมองเห็นภาพสามมิติที่มีความลึกได้ด้วยสองตาเรานี่เอง

    เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่บรรดาวิศวกรได้พยายามคิดประดิษฐ์โทรทัศน์แบบสามมิติที่มีคุณสมบัติในการแสดงภาพได้ดีเท่ากับดวงตา แม้ว่าจะมีการสร้างโทรทัศน์แบบสามมิติได้ แต่ผู้ชมก็ต้องใช้แว่นในการชม ภาพในจอโทรทัศน์เหล่านี้จึงเป็นเพียงภาพสามมิติที่หลอกตาเราด้วยวิธีการที่ทำให้ภาพด้านหลังมัวในขณะที่ภาพด้านหน้าดูคมชัดเหมือนจอกระดาษ ด้วยเหตุผลดังกล่าว โทรทัศน์สามมิติ จึงไม่อาจให้ภาพที่คมชัดเท่ากับดวงตา เนื่องจากทั้งกล้องถ่ายรูปและโทรทัศน์นั้นขาดคุณสมบัติที่ดีในการแสดงภาพดังที่ดวงตามี

    นักทฤษฎีวิวัฒนาการอ้างว่ากลไกของการเกิดภาพที่ชัดเจนนั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ถ้าทฤษฎีดังกล่าวเป็นจริงแล้ว ภาพในโทรทัศน์ในห้องนอนก็เกิดขึ้นจากความบังเอิญเช่นกัน อะตอมทั้งหมดบังเอิญมารวมตัวกันเข้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตภาพขึ้นมา อะตอมเหล่านี้ทำสิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ยังไม่อาจทำได้กระนั้นหรือ เราจะคิดอย่างไรกับแนวคิดดังกล่าว

    หากว่าอุปกรณ์ผลิตภาพที่ไม่ซับซ้อนเท่าลูกตานั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแล้ว ดวงตาและภาพที่มองเห็นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยความบังเอิญเช่นกัน สำหรับการได้ยินก็เช่นเดียวกัน เกิดจากหูชั้นนอกที่รับเสียงที่ได้ยิน แล้วส่งไปยังหูชั้นกลางซึ่งจะเพิ่มแรงสั่นสะเทือนของเสียงแล้วส่งไปยังหูชั้นในและแปรเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังศูนย์ควบคุมการได้ยินในสมอง เช่นเดียวกับระบบการมองเห็น

    ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับระบบการมองเห็นนั้นเหมือนกับการได้ยินในลักษณะที่ว่า สมองไม่อาจสัมผัสทั้งเสียงและแสงประเภทใดๆได้ ภายในสมองยังคงเงียบสนิทแม้ว่าจะมีเสียงดังอึกทึกเกิดขึ้นภายนอก อย่างไรก็ตาม สมองคือส่วนที่รับรู้เสียงได้ชัดเจนที่สุด เราสามารถได้ยินเสียงดนตรีบรรเลง เสียงประสานของวงมโหรี และเสียงอึกทึกในที่ชุมชนได้ ซึ่งถ้าหากลองใช้เครื่องมือที่แม่นยำวัดระดับเสียงดังภายในสมองในช่วงเวลาใดก็ตาม จะพบเพียงความเงียบสนิทเท่านั้น

    เช่นเดียวกับการผลิตภาพที่เลียนแบบการเกิดภาพในดวงตา หลายทศวรรษมาแล้วที่มนุษย์พยายามสร้าง และลอกเลียนเสียงให้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับต้นเสียงเดิม ทำให้เกิดการผลิตเครื่องบันทึกเสียง ระบบไฮ-ไฟ และระบบความไวเสียง อย่างไรก็ดี วิทยาการที่ก้าวหน้าและความพยายามของบรรดาวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญก็ไม่อาจผลิตเสียงที่มีความคมชัดได้เท่ากับเสียงที่รับรู้ด้วยโสตประสาทได้เลย ถ้าพิจารณาการบันทึกเสียงด้วยระบบไฮ-ไฟซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์ชั้นเยี่ยมที่ผลิตโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงในวงการเพลงเสียงบางเสียงก็ยังสูญหายไปจากกระบวนการบันทึกเสียง หรือแม้กระทั่งเมื่อเปิดเครื่องเสียงระบบไฮ-ไฟ เรามักจะได้ยินเสียงซ่าก่อนที่เสียงเพลงจะเริ่มขึ้นเสมอ อย่างไรก็ดี เสียงที่รับรู้โดยโสตประสาทของมนุษย์นั้นเป็นเสียงที่ชัดเจนและแจ่มชัดมาก ปราศจากเสียงซ่า หรือ เสียงจากการสร้างบรรยากาศเช่นระบบไฮ-ไฟ แต่จะรับรู้เสียงได้ชัดเจนอย่างที่เป็นอยู่จริง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่มีมาตั้งแต่เริ่มสร้างมนุษย์

    จะเห็นได้ว่า ไม่มีเครื่องมือชนิดใดซึ่งมนุษย์สร้างขึ้น จะมีความละเอียดอ่อนและมีคุณภาพดีในการรับรู้ทางประสาทสัมผัสได้ดีเท่ากับหูและตาอีกแล้ว

    อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการมองเห็นและการได้ยินนี้ มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งอีกมากมายที่ยังซ่อนเร้นอยู่

     

     

    ใครคือผู้สร้างประสาทสัมผัสในการมองเห็นและได้ยินในสมอง

    อะไรที่ทำให้เรามองเห็นโลกที่สวยงาม ได้ยินเสียงประสานที่ไพเราะของนกและได้กลิ่นหอมของดอกกุหลาบ สิ่งเร้าที่ตา หู และจมูกของเราได้รับและส่งไปสู่สมอง คือ การกระตุ้นประสาทด้วยกระบวนการทางเคมีไฟฟ้า ในตำราวิชาการสาขาต่างๆได้แก่ ชีววิทยา ฟิสิกส์ และชีวเคมีนั้น มีข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดภาพในสมองเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผู้ใดเคยพบข้อมูลที่สำคัญที่สุดที่ว่า การกระตุ้นด้วยกระบวนการทางเคมีไฟฟ้านั้น ใครเป็นผู้แปรเป็นรูป รส เสียง และ สัมผัส

    ถ้ากล่าวว่าจิตสำนึกในสมองรับรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้โดยไม่ต้องอาศัย ตา หู และจมูกแล้ว ก็จะเกิดคำถามตามมาอีกว่าใครเป็นผู้สร้างจิตสำนึก ซึ่งแน่นอนว่า เส้นประสาท ชั้นไขมัน และเซลล์ประสาทที่ประกอบกันขึ้นเป็นสมองนั้นไม่อาจทำให้เกิดจิตสำนึกเหล่านี้ได้ แม้แต่นักวัตถุนิยมและนักนิยมทฤษฎีดาร์วินที่มีความเชื่อว่าทุกสิ่งประกอบขึ้นจากสสารนั้นก็ยังไม่อาจหาคำตอบมาอธิบายได้

    เพราะจิตสำนึกคือจิตวิญญาณซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ต้องอาศัยดวงตาเพื่อมองดูภาพ ไม่ต้องใช้หูเพื่อฟังเสียง และไม่ต้องใช้สมองเพื่อจะคิด

    หากว่าผู้ใดได้รับทราบข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนเช่นนี้แล้ว ควรจะตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ในเดชานุภาพของพระเจ้า และขอความคุ้มครองจากพระองค์ พระองค์อัลลอฮ์ (..) ผู้ทรงกรุณาปรานีได้ย่อจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลให้มาอยู่ในที่อันมืดมิดเพียงไม่กี่ลูกบาศก์เซนติเมตรในรูปแบบของภาพสามมิติ

     

     

    ศรัทธาแห่งวัตถุนิยม

    จากข้อมูลที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าทฤษฎีวิวัฒนาการนี้ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ เช่น แนวความคิดเรื่องการกำเนิดชีวิต นอกจากนี้ ลำดับขั้นตอนของวิวัฒนาการดูไม่น่าเชื่อถือ ซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนของวิวัฒนาการตามที่ทฤษฎีอ้างถึงก็ไม่เคยมีจริง ดังนั้น แน่นอนว่าทฤษฎีวิวัฒนาการนี้ควรจะถูกลบล้างเนื่องจากไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่แนวความคิดเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์

    อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีวิวัฒนาการยังคงเป็นประเด็นวิทยาศาสตร์ที่มีการกล่าวถึงเสมอมา บางคนถึงกับเรียกการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับทฤษฎีนี้ว่าเป็น การต่อต้านวิทยาศาสตร์ เลยทีเดียว เพราะเหตุผลใด

    ทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นความเชื่อที่จำเป็นสำหรับคนบางกลุ่มที่เชื่อมั่นในแนวความคิดวัตถุนิยมและทฤษฎีดาร์วินอย่างไม่ลืมหูลืมตา เนื่องจากแนวความคิดวัตถุนิยมเป็นสิ่งเดียวที่สามารถนำมาใช้อธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามกลไกของธรรมชาติได้

    ประเด็นที่น่าสนใจ คือ บางครั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ได้ยอมรับเหตุผลที่ทำให้แนวความคิดวัตถุนิยมได้รับความเชื่อถือ เช่น ริชาร์ด ซี ลูวอนติน นักพันธุกรรมศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นนักทฤษฎีวิวัฒนาการที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ยอมรับว่า เคยเป็นนักวัตถุนิยม ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็นนักวิทยาศาสตร์

    ไม่มีวิธีการและองค์กรทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่บีบบังคับให้เรานำแนวความคิดวัตถุนิยมมาอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ในโลกนี้ ตรงกันข้าม ความเชื่อมั่นในแนวความคิดวัตถุนิยมนี่เองที่สร้างกลไกการตรวจสอบและทำให้เกิดคำอธิบายแบบเป็นรูปธรรมต่างๆ ถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะค้านกับสติปัญญาหรือทำให้ผู้อื่นสนเท่ห์ก็ตาม ที่สำคัญ แนวคิดวัตถุนิยมถือเป็นคำตอบของทุกสิ่ง ดังนั้น เราจึงไม่อาจเชื่อ ในพลังอำนาจเหนือธรรมชาติใด ๆ ทั้งสิ้น42

    คำกล่าวนี้เป็นการยอมรับอย่างเปิดเผยว่าการที่ทฤษฎีดาร์วินยังคงได้รับความเชื่อถือก็เพียงเพื่อสนับสนุนแนวความคิดวัตถุนิยมซึ่งเชื่อว่า ทุกสิ่งเริ่มต้นจากสสาร วัตถุและสิ่งไม่มีชีวิตสามารถสร้างชีวิตขึ้นมาได้ ทฤษฎีนี้ยังเน้นว่าสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ หลากหลายสายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น นก ปลา ยีราฟ เสือ แมลง ต้นไม้ ดอกไม้ ปลาวาฬ และมนุษย์ ต่างมีต้นกำเนิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิตโดยการปฎิสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งต่างๆ เช่น สายฝน แสงฟ้าแลบ ซึ่งเป็นหลักการที่ค้านกับเหตุผลและวิทยาศาสตร์โดยสิ้นเชิง แต่ผู้นิยมทฤษฎีดาร์วินกลับยังคงยึดมั่นในความเชื่อนี้เพียงเพราะว่า ไม่อาจเชื่อในพลังอำนาจเหนือธรรมชาติใด ๆ ทั้งสิ้น

    ใครก็ตามที่พิจารณาต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตโดยไม่ลำเอียงไปในทางวัตถุนิยมย่อมจะมองเห็นสัจธรรมต่อไปนี้ได้ชัดเจน กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นสิ่งสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ และผู้ทรงรอบรู้ คือพระองค์อัลลอฮ์ (..) ผู้ทรงสร้างจักรวาลและสิ่งมีชีวิตทั้งมวลจากความว่างเปล่าให้เป็นรูปแบบที่งดงามสมบูรณ์ที่สุด

     

    ..

    พวกเขา (บรรดามะลาอิกะฮทูลว่า มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน

    ไม่มีความรู้ใดๆ แก่พวกข้าพระองค์นอกจากสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสอนพวกข้าพระองค์เท่านั้น

    แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ

    (อัลกุรอาน 2:32)




     

    ที่มา หนังสือความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน ของ ฮารูน ยะฮยา




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×