ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #79 : [สาระ] องค์ประกอบของดนตรี

    • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ค. 50



         ดนตรีของชนทุกชาติ มีองค์ประกอบทางดนตรีเหมือนๆกัน แต่จะต่างกันที่รายละเอียด ตามสภาพทางวัฒนธรรมในชาตินั้นๆ

    องค์ประกอบทางดนตรีประกอบด้วยหลัก 5 ประการ คือ
        1. จังหวะ (Beat)
        2. ทำนองเพลง (Melody)
        3. พื้นผิว ( Texture)
        4. คุณภาพทางดนตรี (Tone Colour)
        5. คีตลักษณ์ ( Forms)

    เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดจังหวะ
        เครื่องดนตรีไทย ที่นอกเหนือจากเครื่องที่ทำให้เกิดทำนองเพลงแล้ว   ถือว่าเป็นเครื่องที่ทำให้เกิดจังหวะทั้งสิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่งเกราะ โกร่ง ฆ้อง กลอง เป็นต้น ซึ่งต้องแบ่งว่าเครื่องดนตรีชนิดใหนเป็นผู้ทำให้เกิดจังหวะที่แท้จริงและชนิดใหนเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

    *   เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดจังหวะที่แท้จริง ที่สำคัญที่สุดได้แก่ ฉิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นผู้ควบคุมวงหรือวาทยกรประจำวง ผู้ที่ตีฉิ่งจะต้องรู้ลักษณะ ของเพลง ว่าเพลงอะไรควรตีฉิ่งอย่างไร และมีความแม่นยำในจังหวะ ดังนั้น ฉิ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ปฏิบัติยากชิ้นหนึ่ง  

    *เครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ประกอบจังหวะเพื่อให้การบรรเลงมีความสนุกสนาน

    ครึกครื้น เช่น ฉาบตีหลอกล่อกับฉิ่ง กรับตีให้เข้าจังหวะฉิ่งฉับของฉิ่ง รวมทั้งโหม่งด้วย

    * เครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ประกอบการบรรเลง เช่น ประเภทเครื่องหนัง คือกลองทั้งหลายเช่น กลองทัด กลองแขก ตะโพนกลองมาลายู โทน รำมะนา กลองสองหน้า และเปิงมางคอกเป็นต้น

    http://www.dontrithai.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×