ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #71 : [นาฏศิลป์] รำประเลงเบิกโรง

    • อัปเดตล่าสุด 8 พ.ค. 50



    รำประเลงเบิกโรง



                ประเลง
    เป็นชื่อเรียกการรำเบิกโรงอย่างหนึ่งของละครในซึ่งมีมาแต่โบราณ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ 2 คน สวมหัวเทวดาไม่มียอด เหตุที่ใช้ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระเนื่องจาก ในการแสดงครั้งหนึ่งๆจะมีผู้แสดงที่แต่งกายยืนเครื่องพระอยู่แล้ว การแสดงเบิกโรงเพื่อความเป็นสิริมงคลนั้น นิยมใช้ตัวพระเป็นผู้รำ โดยให้สวมหัวเทวดาไม่มียอดปิดหน้าทั้งหมด เพื่อมิให้ผู้ชมเห็นว่าแสดงซ้ำกัน คือ นอกจากเป็นผู้รำประเลงแล้ว ยังแสดงเป็นตัวละครในเรื่องอีกนั่นเอง ตัวนายโรงทั้ง 2 คนที่รำประเลง จะต้องถือหางนกยูงทั้งสองมือออกมาร่ายรำตามทำนองเพลง โดยไม่มีบทร้อง ส่วนเพลงหน้าพาทย์ประกอบการรำประเลง บางท่านก็ใช้เพลงกลม บ้างก็ใช้เพลงโคมเวียน แล้วออกด้วยเพลงตระบองกัน การรำประเลงเบิกโรงเป็นการสมมุติว่าเทวดาลงมารำ เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล และปัดรังควานป้องกันเสนียดจัญไร ที่มาของการรำประเลงนั้น ท่านผู้รู้เล่ากันว่า แต่เดิมก่อนการแสดงละคร จะมีผู้ถือไม้กวาดออกมาปัดกวาด ทำความสะอาดโรงละครเสียก่อน ผู้ที่ออกมาปัดกวาดเหล่านี้มักจะเป็นศิลปิน เวลาปัดกวาดก็คงทำท่าอย่างรำละครไปด้วย ครูบาอาจารย์ทางนาฏศิลปไทยก็เลยคิดประดิษฐ์เป็นท่ารำ แล้วให้ผู้แสดงถือหางนกยูงแทนการถือไม้กวาด ออกมาร่ายรำในเชิงความหมายปัดรังควาน

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×