ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    { Library of Healos } ห้องสมุดแห่งเฮลอส

    ลำดับตอนที่ #7 : { ตำนานโจรสลัด }

    • อัปเดตล่าสุด 9 ม.ค. 55


       

    ตำนานโจรสลัด

     

    แม้คำว่า "โจรสลัด" หรือ Pirate จะเป็นคำค่อนข้างใหม่ในภาษาอังกฤษ (เพิ่งมีการบัญญัติ ความหมายของศัพท์คำนี้อย่างเป็นทางการเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 นี่เอง) แต่อาชีพปล้นเขากิน นี้มีมาแต่โบราณ จะเรียกว่าเป็นอาชีพแรกๆ ของโลก ก็คงได้ 

    หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่บนจารึกดินเผาในรัชสมัยของ ฟาโรห์อัคเคนาเตน ของอียิปต์ เมื่อ 1,350 ปีก่อนคริสตกาล ว่ามีกลุ่มโจรไม่ปรากฏสัญชาติเที่ยวไล่ปล้นสะดมเรือ ตามชายฝั่งแอฟริกาเหนือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พ่อค้าวาณิชชาวกรีกที่ค้าขายกับพวกฟีนิเชียนและอนาโตเลีย ล้วนยอมรับว่าการถูกปล้นเป็นความเสี่ยงที่มากับอาชีพ 

    นายโจรรายแรกที่ได้รับเกียรติบันทึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์คือ โพลีเครเตส เจ้าเมืองซาโมสในช่วงทศวรรษ ที่ 510 ก่อนคริสตกาล ผู้มีบัญชาให้กองทัพเรือของตัวออกไปชิงทรัพย์ชาวบ้านเขาอยู่เป็นนิจ ตามมาด้วย ราชินีอาร์เทมีเซีย แห่งเฮลิคาร์นาสซุส ของกรีก ในทศวรรษที่ 480 ก่อนคริสตกาล ซึ่งว่ากันว่าลงเรือไปบัญชาการปล้นด้วยตัวเองทีเดียว เลยกลายเป็นแบบอย่างให้สตรีมีฐานันดรในสมัยโบราณ หนีชีวิตอันแสนน่าเบื่อในรั้วในวังออกมาท่องทะเลกันเป็นแถว

    ที่ประสบความสำเร็จก็มีตัวอย่างเช่น แม่เอลิสซ่า หรือ "ดิโด้" ผู้ได้เครดิตเป็นถึงคนก่อตั้งเมืองคาร์เธจ แต่โจรที่พวกกรีกผูกใจเจ็บที่สุดน่าจะเป็น เคลโอมิส สมญา "ทรราชแห่งเมธีมน่าบน (เกาะ) เลสบอส" ซึ่งไม่ได้เป็นโจรสลัดโดยตรง แต่ประกอบสัมมาอาชีพด้วยการเป็นนายหน้าเรียกค่าไถ่ตัวชาวเอเธนส์ ที่ถูกโจรสลัดจับตัวไป (คงมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์กันตามสมควร) 

    อาชีพโจรสลัดในสมัยโรมันรุ่งเรืองเฟื่องฟูอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลโรมันประมาท ไม่ยอมตัดไฟเสียแต่ต้นลม ปล่อยให้กองโจรย่อยๆ มีพลพรรคมากขึ้นจนกลายเป็นกองเรือขนาดใหญ่ ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่ ชาวโรมันหันไปเป็นโจรสลัด (และไม่สลัด) กันเยอะ เพราะรายได้ดี ทรัพย์สินที่ได้มาก็เอาไปใช้ คนก็จับไปเรียกค่าไถ่ หรือขาย เป็นทาส 

    จูเลียส ซีซ่าร์ เอง เมื่อตอนเป็นเด็กหนุ่มก็เคยถูกโจรสลัดจับมาแล้ว (เหล่าโจรเรียกค่าไถ่ตัวซีซ่าร์เพียง 20 ทาเล้นท์ หน่วยชั่งน้ำหนักเงินโบราณ) ทำให้ซีซ่าร์ฮึดฮัด หาว่าตั้งค่าไถ่ถูกเหมือนไม่ให้เกียรติกัน ในที่สุดพวกโจรเลยต้องเพิ่มค่าตัวเป็น 50 ทาเล้นท์ แถมปฏิบัติต่อซีซ่าร์ อย่างดีเหมือนแขกผู้มีเกียรติมากกว่านักโทษ แต่พอรอดกลับไปได้ ซีซ่าร์ก็คุมทัพมาลุยจับโจรพวกนี้ไปเชือดคอ เสียสิ้น 

    แม้รัฐบาลโรมันจะพยายามหามาตรการต่างๆมาปราบปราม ถึงขึ้นออกกฎข้อบังคับหัวเมืองชายทะเลทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไซปรัส อเล็กซานเดรีย อียิปต์ หรือซีเรีย ไม่ให้ให้ที่พักพิงหรือหลบซ่อนกับโจรสลัดเป็นอันขาด ไม่งั้นจะถูกปรับอย่างหนัก ซึ่งก็คงได้ผลพอสมควร เพราะเมื่อเข้าสู่ยุคกลาง บันทึกเกี่ยวกับโจรสลัดในน่านนํ้าโรมันก็มีน้อยลง 

    ที่ดังไต่อันดับขึ้นมา คือ โจรไวกิ้ง จอมโหดทั้งหญิงชายที่ออกมาล่าเหยื่อกันแถวๆ ทะเลเหนือและยุโรปช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 800-1,100 นั้น พวกไวกิ้งขยายพื้นที่ปฏิบัติการไปจดรัสเซีย และกรุงคอนสแตน-ติโนเปิล (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) เล่นเอาข้าวของแพง เดือดร้อนไปตามๆ กัน น่าแปลกที่โจรไวกิ้งที่ฝากชื่อมาถึงสมัยปัจจุบันล้วนเป็นสตรีทั้งนั้น ตระกูลสูงเสียด้วย (อาจเป็นเพราะไม่มีใครจำชื่อนายโจร เนื่องจากไม่ใช่ของแปลกและน่าดู) 

    ที่ดังที่สุดคือมหาโจรี อัลวีดา เจ้าหญิงแห่งก็อทแลนด์ (ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศสวีเดน) ผู้หนีออกมาจากตำหนักเพราะไม่อยากแต่งงาน และเบื่อพระบิดาที่แสนจะหวงลูกสาว จนต้อง กักตัวไว้แต่ในวัง ไม่ให้เจอใครหน้าไหน เธอปลอมเป็นชายแล้วโจนขึ้นเรือไปเป็นสลัดทะเลเอาดื้อๆ เจ้าหญิงอัลวีดานี้ค่อนข้างดัง เพราะนอกจากจะสวยจัดแล้ว ยังดุขนาดได้เลื่อนขั้นเป็นกัปตันคุมลูกน้องออกปล้น ร้อนถึงเจ้าผู้ครองเมืองท่าแถวๆ นั้นต้องรวมหัว กันส่งเจ้าชายนักรบชาวเดนมาร์กคนหนึ่ง ออกมาปราบ แล้วเลยเกิดเรื่องรักหลังรบ จนอัลวีดาทิ้งอาชีพจอมโจรไปเป็นจอมใจของเจ้าชายเดนมาร์กองค์นั้นแทน 

    แถวทะเลจีนใต้และเอเชียตะวันออกไกล ก็มีโจรชุกชุมไม่แพ้กัน ตำนานจีนโบราณพูดถึงแม่นาง เฉียวเกาฝู่เจิ้น ผู้เกรียงไกรอยู่ในทะเลจีนใต้ ราวปีที่ 600 ก่อนคริสตกาล (อาหมวยที่มีพฤติกรรม เย้ยกฎหมายเยี่ยงนี้มีหลายคน ล้วนมีกิตติศัพท์น่าเกรงขามจนน่าเชื่อว่า มีการใส่สีตีไข่เติมเข้าไป เช่น แม่นาง ชิงยี่โซว หรือ ชิงฉี ซึ่งอาละวาด อยู่ในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 19 มีเรืออยู่ในอาณัติเกือบ 2,000 ลำ ลูกน้องอีก 70,000-80,000 คน ใหญ่กว่ากองทัพเรือ บางประเทศเสียอีกหรือแม่นาง หวงเป่ยเหม่ย ผู้มีสมุนในอาณัติอยู่กว่า 50,000 ชีวิต คอยฉกทรัพย์อาเฮียอากู๋ อยู่ในทะเลจีนใต้เมื่อ 60-70 ปีก่อน โจรจีน ส่วนใหญ่ยึดเกาะไต้หวันเป็นหัวหาดบัญชาการปล้น มักจะใช้เรือใหญ่ บางลำจุคนได้ถึง 300 คน เหยื่อที่โปรดปรานคือเมืองท่าและหมู่บ้านชายฝั่ง บางทีเหิมเกริมถึงกับแล่นกองเรือเข้าไปในแม่นํ้าแยงซี เพื่อปล้นเมืองใหญ่ตามริมแม่นํ้าก็มี 

    ส่วนโจรญี่ปุ่นก็ใช่ย่อย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 16 โจรญี่ปุ่นมีชื่อเรื่องความโหดไม่แพ้พวกไวกิ้ง แถมไม่เล่นงานคนชาติเดียวกันเองเสียด้วย เน้นเรือเกาหลีเป็นหลัก จนรัฐบาลเกาหลีสมัยนั้นต้องออกมาแก้เกมด้วยการเซ็นสัญญาตกลงกับขุนนางญี่ปุ่นว่า จะจำกัดเรือสินค้าญี่ปุ่นให้เข้ามาในน่านนํ้าเกาหลีได้ไม่เกินปีละ 50 ลำนั่นแหละ ปัญหาเรื่องสลัดญี่ปุ่นจึงซาลงได้ 

    วิวัฒนาการสำคัญของอาชีพโจรสลัด (ฝรั่ง) เริ่มขึ้นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 นั่นคือการเข้าซบอกนายทุน ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากพ่อค้าวาณิชที่ถูกปล้นบ่อยๆ นั่นแหละ นายวาณิชผู้มีวิสัยทัศน์เหล่านี้แปลงวิกฤติเป็นโอกาส ด้วยการลงทุนจ้างโจรไว้เป็นลูกน้องเสียเลย นอกจากจะใช้ป้องกันเรือสินค้าของตนแล้ว ยังใช้ให้ไปปล้นเรือของพ่อค้าคู่แข่งให้ล่มจมได้อีกด้วย
    0;
    โจรแบบนี้เรียกว่า คอร์แซร์ (corsairs) คอร์แซร์ที่ดังและดีคือ คอร์แซร์ ฝรั่งเศส ซึ่งพุ่งเป้าไปที่เรือ อังกฤษ เพราะเป็นชาติคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ แต่หลังๆ ก็มีเลยเถิดไปถึงเรือชาติอื่นๆ ด้วย ยกเว้น เรือชาติฝรั่งเศสเท่านั้น ทรัพย์สินเงินทองที่ได้มา ส่วนใหญ่ตกไปถึงมือผู้ว่าจ้าง เหล่าโจรแบ่งไว้ เล็กน้อยพอเป็นกำไร ดีออกอย่างนี้ นายจ้างย่อมซึ้งนํ้าใจ ช่วยกันล็อบบี้รัฐบาลให้ออกกฎหมายคุ้มครองเหล่าคอร์แซร์ ให้อยู่สุขสบาย มีใบอนุญาตประกอบกิจการปล้นอย่างถูกกฎหมาย เล่นเอาสลัดฝรั่งเศสสบายไปหลายชั่วอายุคน 

    (กฎหมายนี้เพิ่งเลิกไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่เอง)

    วิวัฒนาการสำคัญ ของอาชีพโจรสลัด (ฝรั่ง) เริ่มขึ้นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 นั่นคือการเข้าซบอกนายทุน ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากพ่อค้าวาณิช ที่ถูกปล้นบ่อยๆ นั่นแหละ นายวาณิชผู้มีวิสัยทัศน์เหล่านี้แปลงวิกฤติ เป็นโอกาสด้วยการลงทุน จ้างโจรไว้เป็นลูกน้องเสียเลย นอกจากจะใช้ป้องกันเรือสินค้าของตนแล้ว ยังใช้ให้ไปปล้นเรือของพ่อค้าคู่แข่ง ให้ล่มจมได้อีกด้วยโจรแบบนี้เรียกว่า คอร์แซร์ (corsairs) 

    คอร์แซร์ที่ดังและดีคือ คอร์แซร์ฝรั่งเศส ซึ่งพุ่งเป้าไปที่เรืออังกฤษเพราะเป็นชาติคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ แต่หลังๆ ก็มีเลยเถิดไปถึงเรือชาติอื่นๆ ด้วย ยกเว้นเรือฝรั่งเศสเท่านั้น ทรัพย์สินเงินทองที่ได้มาส่วนใหญ่ตกไปถึงมือผู้ว่าจ้าง เหล่าโจรแบ่งไว้เล็กน้อยพอเป็นกำรี้กำไร ดีออกอย่างนี้ นายจ้างย่อมซึ้งนํ้าใจ ช่วยกันล็อบบี้รัฐบาลให้ออกกฎหมาย คุ้มครองเหล่าคอร์แซร์ให้อยู่สุขสบาย มีใบอนุญาตประกอบกิจการปล้นอย่างถูกกฎหมาย เล่นเอาสลัดฝรั่งเศสสบายไปหลายชั่วอายุคน 

    (กฎหมายนี้เพิ่งเลิกไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่เอง) 

    คอร์แซร์ที่ดังเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่คือ คอร์แซร์มุสลิม ที่ออกล่า เหยื่ออยู่ตามชายฝั่ง แอฟริกาเหนือ เรียกรวมๆ กันว่า บาร์บารี่คอร์แซร์ เพราะชุมนุม กันอยู่ตามชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ชายแดนตะวันตก ของอียิปต์ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ที่เรียกกันว่าชายฝั่งบาร์บารี่ (barbary Coast) 

    หล่งกบดานใหญ่คือ เมืองตูนิสและเมืองแอลเจียร์ นายทุนของพวกบาร์บารี่คอร์แซร์คือ ชนชั้นปกครองของตุรกี ซึ่งจะเรียกส่วนแบ่งอย่างน้อย 10% จากทรัพย์ที่ปล้นมาได้ แค่นั้นก็กำไรบาน เพราะพวกบาร์บารี่คอร์แซร์นี้ชอบปล้นเรือสเปน ที่ขนสมบัติ และทรัพยากรมาจากโลกใหม่ ปล้นทีรวยอู้ฟู่ไปหลายอาทิตย์ บาร์บารี่คอร์แซร์นาม บาร์บาโรสซ่า (Barbarossa แปลว่า อ้ายเคราแดง) มีชื่อที่สุด ด้วย
    นโยบายใครขวางหน้าฆ่าสถานเดียว จนชาวแอลจีเรียผู้รักสันติทนไม่ได้ ต้องจับมือกับชาติคริสเตียนอย่างฝรั่งเศสเพื่อกำจัดเสีย 

    เมื่อทรัพยากรของทวีปแอฟริกาเริ่มร่อยหรอลง และโคลัมบัสแกดันแล่นเรือ หลงไปเกยตื้นที่ทวีปอเมริกาเข้า สเปนเลยหันมาขนสมบัติ จากที่นั่นมาอย่างเอิกเกริก ยั่วจมูกโจรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ให้รีบชักใบไปมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียนกันเป็นแถว ทำเอาทะเลเมดิเตอร์เรเนียนปลอดภัยขึ้นมาทันตาเห็น 

    พฤติกรรมยึดทวีปของสเปน สร้างความหมั่นไส้แกมกังวล ให้กับยุโรปชาติอื่นเป็น อันมาก เพราะกลัวว่าสเปนจะกลายเป็นมหาอำนาจ เลยเกิดอาชีพโจรสลัดหลวงขึ้น เรียกว่าพวก ไพรเวเทียร์ (Privateers) ซึ่งเป็นคนที่ได้รับการ ว่าจ้างจากรัฐบาลโดยตรง ให้พิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติตน และบ่อนทำลายผลประโยชน์ของชาติศัตรู คือสเปน และอื่นๆ 

    ไพรเวเทียร์คนสำคัญคือ ท่าน เซอร์ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) ผู้สร้างเกียรติประวัติว่าเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่แล่นเรือรอบโลกได้สำเร็จ นอกจากเดินเรือเก่งแล้วยังปล้นทั้งเมืองท่า ทั้งเรือสเปน ที่แล่นอยู่แถวทะเลปานามา รวมเฉพาะเรือก็ร้อยกว่าลำเข้าไปแล้ว ทักษะทั้งสองนี้ช่วยให้เดรกเป็นบุรุษผู้มั่งคั่งที่สุดของอังกฤษ และอัศวินคนโปรดของควีนเอลิซาเบธที่ 1 ยุคของเดรกถือเป็นยุคทองของโจรเมืองผู้ดี แม้เป้าหมายหลักจะเป็นเรือสเปน แต่หากเรือของชาติอื่นที่มีของมีค่าน่าปล้นก็ไม่รังเกียจ แย่งส่วนแบ่งตลาดของโจรฝรั่งเศสไปได้โข จนนักประวัติ-ศาสตร์ฝรั่งเศสคนหนึ่งถึงกับบันทึกไว้อย่างหมั่นไส้ว่า 

    "ไม่มีใครเป็นโจรสลัด ได้ดีเท่าอังกฤษ" 

    ปี ค.ศ.1604 กษัตริย์ เจมส์ที่ 2 ซึ่ง ไม่ค่อยชอบนโยบายไพรเวเทียร์สักเท่าไร แอบไปเซ็นสัญญาสันติภาพกับสเปน ยังผลให้สลัดอังกฤษทั้งหลาย กลายเป็นโจรนอกกฎหมายไปโดยไม่รู้ตัว บ้างก็กลับมารับราชการเป็นทหาร ที่ไม่ถูกกับชีวิตเรียบง่าย ก็ออกไปเป็นโจรสลัด (Pirates) จริงๆ จะได้ปล้น โดยไม่ต้องนับญาติกันเหมือนก่อน บ้างก็กลายเป็นพวก บัคคาเนียร์ (Buccaneers) ซึ่งเป็นคำเรียกบุรุษทั้งสุภาพ และไม่สุภาพสัญชาติอังกฤษ ดัตช์ หรือฝรั่งเศสผู้ได้รับการสนับสนุน จากรัฐบาลของตนให้ปล้นสะดมเรือ และเมืองท่าของสเปน 

    "บัคคาเนียร์" มาจากคำว่า "เนื้อแห้ง" ในภาษาฝรั่งเศส คงเนื่องมาจากชีวิตในเรือ ที่ไม่ค่อยมีอะไรกิน บัคคาเนียร์ส่วนใหญ่เป็นคนใช้หนีนาย ทหารเก่า ผู้ใช้แรงงาน และชายชาตรีผู้รักการผจญภัย นายโจรเหล่านี้ไม่ได้ถูกว่าจ้างเป็นหลักเป็นฐาน แต่ทุกครั้งที่ทำความเสียหายให้กับสเปนได้ก็จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินทอง หรือตำแหน่งทางการเมือง 

    แหล่งชุมนุมแรกของเหล่าบัคคาเนียร์คือ เกาะตอร์ตูก้า (นอกชายฝั่งไฮติในปัจจุบัน) ต่อมาจึงย้ายไปที่จาเมกา บัคคาเนียร์ที่โด่งดังก็มี เซอร์เฮนรี่ มอร์แกน มีชื่อเสียงทางด้านการบุกเข้ายึดเมืองท่าสเปนแถวปานามา จาเมกาและคอสตาริกา ยึดได้แล้วก็ฆ่าเจ้าเมือง เก็บทรัพย์ แล้วเผาให้ราบ เมืองสำคัญที่เจอแบบนี้คือปานามาซิตี้ ซึ่งนอกจากจะทำให้มอร์แกนรวยกว่าเดิมทันตาเห็นแล้วยังได้ บรรดาศักดิ์เป็นอัศวิน แถมตำแหน่งเจ้าเมืองจาเมกาอีกต่างหาก 

    โจรสลัดนอกกฎหมายที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นตำนานมาถึงทุกวันนี้มีอยู่หลายคน ที่ดังที่สุดคงเป็น กัปตันคิดด์ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีฝีมือ ในการปล้นอะไรสักเท่าไหร่ แถมปกครองคนก็ไม่เก่ง เจอลูกน้องปฏิวัติประจำ แต่ก่อนถูกแขวนคอดันส่งจดหมาย ไปยังโฆษกสภาผู้แทนของอังกฤษ ขออิสรภาพแลกกับการเปิดเผย ที่ซ่อนทรัพย์สมบัติ ท่านโฆษกฯไม่เล่นด้วย และคิดด์ก็ถูกแขวนคอตาย ไปตามกำหนด 

    แต่คนรุ่นหลังๆ ลงทุนลงแรง ตามหาสมบัติกัปตันคิดด์กันจ้าละหวั่น จนสมบัติตัวเองเกลี้ยงไปหลายคนก็ยังไม่มีใครเคยได้เจอ อีกคนคือ อ้ายเคราดำ (Balckbeard) ผู้ดังเพราะความโหดเหี้ยม ส่วนสาวๆ ที่สร้างชื่อในทางนี้ก็คือ แอน บอนนี่ และ แมรี่ รี้ด คู่หูคู่ปล้นที่เล่าลือกันว่าเหี้ยมเกรียมกว่าผู้ชายหลายเท่า 

    แม้ว่าโจรสลัดแบบที่เห็นในหนัง จะหมดไปตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนื่องจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีช่วยให้การสื่อสาร การเดินทางและการค้าเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอนแรมในเรือนานๆเหมือนเมื่อก่อน แต่โจรสลัดก็ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เรายังมีสลัดอากาศมายึดเครื่องบินให้หวาดเสียวเล่น การเข้าโจมตีเรือเพื่อปล้นทรัพย์ หรือจับคนไปเรียกค่าไถ่ ก็ยังมีอยู่ในทะเลทั่วโลก 

    นิตยสารไทม์ยังเคยสรุปไว้ในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ.2540) ว่า สลัดแขกอาระเบียน มีอาวุธทันสมัยที่สุด ส่วนสลัดแอฟริกันตะวันตกยังเชื่อถือมีด และเรือแคนูขุดเองอยู่ ส่วนทางตะวันออกโจรสลัด มักเป็นสมาชิกองค์กรอาชญากรรม



    thx ; http://nwnk.truelife.com/blogs/entry/8755

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×